“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

บทเทศน์โดยพระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์  วีระ  อาภรณ์รัตน์

สัปดาห์ที่  17  เทศกาลธรรมดา
28 กรกฎาคม 2013
บทอ่าน        ปฐก  18: 20-32  ; คส  2: 12-14  ; ลก  11: 1-13
พระวรสารสัมพันธ์กับ    คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก  (CCC)  443, 520, 728, 1425, 2601, 2613, 2623, 2632, 2759, 2671, 2773, 2845
ประมวลคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร  (CSDC)  453
จุดเน้น        จงขอเถิด  แล้วท่านจะได้รับ


    ทำไมเราวอนขอสิ่งต่างๆ จากพระเจ้าในการภาวนา  เราพยายามให้พระเจ้าเปลี่ยนใจใช่ไหม  ทำไมเราต้องขอ  หากพระเจ้าทรงล่วงรู้แล้วว่าเราต้องการอะไร

    ในบทอ่านที่หนึ่ง  เราได้ยินเรื่องอับราฮัมต่อรองกับพระเจ้า  พี่น้องอาจรู้สึกแปลกใจ  อย่างไรก็ดี  มันเป็นเรื่องธรรมดา  ที่ประชาชนคุ้นเคยกับการต่อราคาของในตลาด  จุดที่เป็นบทสอนเรื่องนี้  คือ  การยืนหยัดของอับราฮัม  ท่านพยายามให้ได้  ท่านไม่ยอมแพ้เพื่อความรอดของคนดี

    ถ้าเราภาวนาเฉพาะเวลาเราลำบาก  เราไม่ยืนหยัดสม่ำเสมอ  ใครๆ ก็สามารถภาวนาได้  การภาวนาแบบต่อเนื่อง  แม้ดูเหมือนพระเจ้าไม่ตอบ  พระองค์เงียบ  ก็ขอให้เราเพิ่มพูนความปรารถนาและทำให้ความเชื่อเข้มแข็ง  นักบุญเกรโกรี่มหาราช  เป็นสมเด็จพระสันตะปาปา  ระหว่าง  ค.ศ. 590-604  กล่าวว่า  “ความปรารถนาที่ศักดิ์สิทธิ์ค่อยๆ เติบโตช้าๆ  และถ้าจางหายไป  เพราะว่าค่อยๆ เติบโตช้าๆ  ความปรารถนาเหล่านี้ไม่ศักดิ์สิทธิ์”
    คำภาวนาไม่ได้เปลี่ยนแปลงพระเจ้า  คำภาวนาเปลี่ยนเราต่างหาก  ทุกครั้งที่เราบอกความจำเป็นของเราต่อพระเจ้าเวลาภาวนา  เราก็เปิดตัวของเราให้พระองค์ทำงานในชีวิตของเรา  นี่คือเหตุผลที่พระเยซูเจ้าทรงสอนเราให้ภาวนา  ขอความต้องการสำหรับตนเอง  และสำหรับคนอื่น  แม้ว่าพระเจ้าทรงรู้ความต้องการเหล่านั้นแล้วก็ตาม

    เมื่อเราภาวนา  เรายอมรับว่าเราขึ้นกับพระเจ้า  พระองค์มิได้ต้องการให้เราเตือน  แต่เราต้องการ  เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปได้ดี  เรามักลืมง่ายๆ ว่า  เรายังต้องการพระเจ้า  การหลงลืมเช่นนี้บ่อยๆ มานำหน้าการตกต่ำน่าอับอาย  การประกันที่ดีที่สุดต่อการตกต่ำเช่นนี้  คือ  ต้องภาวนาต่อพระเจ้า  ทั้งเวลาสุขสบายดีและเวลาลำบาก
    ถึงแม้เราพยายามทำดีที่สุดเพื่อให้เข้าใจคำภาวนา  อย่างไรก็ดี  การภาวนาเป็นธรรมล้ำลึก  เหมือนทุกสิ่งที่เกี่ยวกับพระเจ้า  การภาวนาเป็นธรรมล้ำลึก  มิใช่ในความหมายว่าเราไม่เข้าใจอะไรเลยเกี่ยวกับการภาวนา  แต่หมายความว่า  เราเข้าใจได้บางส่วนเท่านั้น  เราสามารถเข้าใจดีขึ้นถึงวิธีที่จิตใจมนุษย์ทำงานอย่างไรมากกว่า  เราเข้าใจชัดๆ ว่า  คำภาวนาบังเกิดผลอย่างไร

    แม้แต่นักบุญเปาโลได้สารภาพว่า  การภาวนาก็ยังเป็นธรรมล้ำลึกสำหรับท่าน  เราไม่รู้ว่าจะต้องอธิษฐานภาวนาขอสิ่งใดที่เหมาะสม  นักบุญเปาโลเขียนจดหมายถึงชาวโรมว่า  “เพราะเราไม่รู้ว่าจะต้องอธิษฐานภาวนาขอสิ่งใดที่เหมาะสม  แต่พระจิตเจ้าทรงอธิษฐานภาวนาวอนขอแทนเรา  ด้วยคำที่ไม่อาจบรรยาย  และพระผู้ทรงสำรวจจิตใจทรงทราบความปรารถนาของพระจิตเจ้า  เพราะพระจิตเจ้าทรงอธิษฐานเพื่อบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ตามพระประสงค์ของพระเจ้า”  (รม  8: 26-27)

    ดังนั้น  เหนือสิ่งใด  เราจำเป็นต้องวอนขอพระพรของพระจิตเจ้า  พระเยซูเจ้าทรงสอนเราในตอนท้ายของพระวรสารวันนี้ว่า  เราจะได้รับสิ่งนั้น

    “ท่านทั้งหลายที่เป็นคนชั่ว  ยังรู้จักให้ของดีๆ แก่ลูก  แล้วพระบิดาผู้สถิตในสวรรค์  จะไม่ประทานพระจิตเจ้า  แก่ผู้ที่ทูลขอพระองค์มากกว่านั้นหรือ”

พระสังฆราชวีระ  อาภรณ์รัตน์  แปล
จาก  Homilies  โดย Catholic  Diocese  of  Lansing,
(กรกฎาคม - กันยายน 2013), หน้า 290-292.

หมายเหตุ    วันอาทิตย์นี้  สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส  ถวายมิสซากับบรรดาเยาวชน  
ที่  นครรีโอ  เดอ  จาเนโร  ประเทศบราซิล

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2024
วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 13:44-52) วันสับบาโตต่อมา ชาวเมืองเกือบทั้งหมดมาชุมนุมฟังพระวาจาของพระเจ้า เมื่อชาวยิวเห็นประชาชนมากมายเช่นนี้ ก็เกิดความอิจฉาอย่างมาก จึงคัดค้านคำพูดของเปาโลและด่าว่าเขา เปาโลและบารนาบัสตอบเขาอย่างกล้าหาญว่า “จำเป็นที่เราจะต้องประกาศพระวาจาของพระเจ้าให้ท่านฟังก่อนผู้อื่น แต่เมื่อท่านปฏิเสธไม่ยอมรับ และไม่คิดว่าตนเหมาะสมจะรับชีวิตนิรันดร เราจึงหันไปหาคนต่างศาสนา เพราะองค์พระผู้เป็นเจ้ามีพระบัญชาแก่เราดังนี้ว่า ‘เราแต่งตั้งท่านให้เป็นแสงสว่างส่องนานาชาติ เพื่อท่านจะได้นำความรอดพ้นไปจนสุดปลายแผ่นดิน’ ” เมื่อคนต่างศาสนาได้ยินดังนี้ ก็มีความยินดี...
วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 13:26-33) ในครั้งนั้น...
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2024 ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสารบทอ่านจากจดหมายนักบุญเปโตรอัครสาวก ฉบับที่หนึ่ง (1ปต 5:5ข-14) ท่านที่รักทั้งหลาย...
วันพุธที่ 24 เมษายน 2024 นักบุญฟีเดลิส แห่งซิกมาริงเก็น พระสงฆ์และมรณสักขีบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 12:24 -13:5ก)...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)
การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)+++++++++++วันที่ 14 มีนาคม 2024 7 โมงเช้าวันนี้ ซิสเตอร์...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)
การประชุม CBF -SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)13 มีนาคม 2024 + 9...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)อังคารที่ 12 มีนาคม เริ่มเช้าวันใหม่...
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง++++++++++11 มีนาคม 2024 อาร์คบิชอป ไซม่อน โป แห่งอัครสังฆมณฑล คูชิง...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 1 /2024
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society-TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 /2024 วันจันทร์ที่ 4...
โครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ ร่วมกับ แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ "ผู้หว่าน" รุ่นที่ 8 วันพุธที่...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (1)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (มก 16:1-8) 161เมื่อวันสับบาโตล่วงไปแล้ว...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (2)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พระธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่แห่งความเชื่อคือ การที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (1)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (มก 15:42-47) 1542วันนั้นเป็นวันเตรียม คือวันก่อนวันสับบาโต 43ครั้นถึงเวลาเย็น โยเซฟชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นสมาชิกน่านับถือคนหนึ่งของสภาซันเฮดรินและกำลังรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้า...
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ” (2)
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่าง ๆ” 86. กลุ่มสตรีที่เนินกัลวารีโอ (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในสตรีเหล่านี้ เราเห็นความรักมั่นคง ความซื่อสัตย์...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์