“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม

  1. บทที่ 1
  2. บทที่ 2
  3. บทที่ 3
  4. บทที่ 4
  5. บทที่ 5
  6. บทที่ 6
  7. บทที่ 7
  8. บทที่ 8
  9. บทที่ 9
  10. บทที่ 10
  11. บทที่ 11
  12. บทที่ 12
  13. บทที่ 13
  14. บทที่ 14
  15. บทที่ 15
  16. บทที่ 16


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

คำขึ้นต้นa

            1  1จากเปาโล ผู้รับใช้ของพระคริสตเยซู ซึ่งพระเจ้าทรงเรียกมาเป็นอัครสาวกb   2และทรงมอบหมายให้ประกาศข่าวดีซึ่งพระเจ้าทรงสัญญาไว้ทางประกาศกในพระคัมภีร์  3ข่าวดีนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระบุตรของพระองค์ ซึ่งโดยธรรมชาติมนุษย์  4ทรงบังเกิดในเชื้อสายของกษัตริย์ดาวิด และโดยทางพระจิตเจ้าผู้บันดาลความศักดิ์สิทธิ์ ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระบุตรผู้ทรงอำนาจของพระเจ้าโดยการกลับคืนพระ ชนมชีพจากบรรดาผู้ตายc พระองค์คือพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา  5ด้วยเดชะพระเยซู คริสตเจ้านี้ เราได้รับพระหรรษทาน และภารกิจการเป็นอัครสาวกเพื่อนำประชาชาติทั้งหลายให้มาปฏิบัติตามความเชื่อd ทั้งนี้เพื่อถวายพระเกียรติแด่พระนามของพระองค์      6และท่านทั้งหลายก็อยู่ในบรรดาบุคคลเหล่านี้ ท่านเป็นของพระเยซู คริสตเจ้าแล้วเพราะพระองค์ทรงเรียก

7ถึงทุกท่านในกรุงโรมผู้ที่พระเจ้าทรงรัก และทรงเรียกให้เป็นประชากรศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์

ขอพระหรรษทานและสันติสุขจากพระเจ้าพระบิดาของเรา และจากพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา สถิตอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด

การขอบพระคุณและคำอธิษฐาน

        8ด้วยเดชะพระเยซูคริสตเจ้า ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระเจ้าของข้าพเจ้าสำหรับท่านทุกคน เพราะความเชื่อของท่านเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก  9พระเจ้า ผู้ซึ่งข้าพเจ้าถวายพระเกียรติรับใช้eด้วยจิตใจfของข้าพเจ้าด้วยการเทศน์ประกาศข่าวดีเกี่ยวกับพระบุตรของพระองค์นั้น ทรงเป็นพยานได้ว่า ข้าพเจ้าระลึกถึงท่านทั้งหลายในคำภาวนาอยู่เสมอ  10และอธิษฐานอยู่เสมอให้ข้าพเจ้ามาเยี่ยมเยียนท่านได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งหากเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า  11เพราะข้าพเจ้าปรารถนาอย่างยิ่งที่จะพบท่านเพื่อนำพระพรพิเศษบางประการของพระจิตเจ้าไปมอบให้ ซึ่งจะทำให้ท่านเข้มแข็งมั่นคงยิ่งขึ้น  12คือเราจะได้รับกำลังใจร่วมกันจากความเชื่อเดียวกัน คือความเชื่อของท่านทั้งหลายและความเชื่อของข้าพเจ้า  13พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องการให้ท่านรู้ว่า ข้าพเจ้าวางแผนมาเยี่ยมท่านหลายครั้งแล้ว เพื่อจะทำงานกับท่านให้ได้ผลดีอย่างที่เคยได้รับจากคนต่างชาติในที่อื่น ๆ แต่ก็มีอุปสรรคมาจนถึงบัดนี้  14ข้าพเจ้ามีภารกิจต่อชาวกรีกgเช่นเดียวกับที่มีต่ออนารยชน  15ต่อผู้มีปัญญาและต่อผู้ไม่มีปัญญา ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงพร้อมที่จะเทศน์ประกาศข่าวดีแก่ท่านที่กรุงโรมเช่นกัน

ความรอดพ้นโดยอาศัยความเชื่อ

I. การบันดาลให้เป็นผู้ชอบธรรม

เนื้อเรื่องของจดหมาย

        16ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องละอายต่อข่าวดี เพราะนี่คืออานุภาพของพระเจ้าซึ่งนำความรอดพ้นให้แก่ทุกคนh ที่มีความเชื่อ ให้แก่ชาวยิวก่อนi และให้แก่คนต่างชาติด้วยเช่นกัน  17เพราะความเที่ยงธรรมที่พระเจ้าช่วยให้รอดพ้นถูกเปิดเผยในข่าวดีนี้ ความเที่ยงธรรมjดังกล่าวขึ้นอยู่กับความเชื่อk และนำไปสู่ความเชื่อดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า ผู้ชอบธรรมจะมีชีวิตโดยอาศัยความเชื่อ

ก. พระเจ้าทรงลงโทษคนต่างชาติและชาวยิวl

การลงโทษคนต่างชาติ

          18พระเจ้าจากสวรรค์ทรงแสดงให้มนุษย์เห็นการลงโทษm ความไม่เคารพนับถือพระเจ้า และความอธรรมทุกชนิดของพวกเขาที่ปิดบังความจริงในความอธรรมของตน  19ทั้ง ๆ ที่พระเจ้าทรงทำให้สิ่งที่รู้ได้เกี่ยวกับพระองค์ปรากฏชัดอยู่แล้ว      20กล่าวคือ ตั้งแต่เมื่อทรงสร้างโลก คุณลักษณะที่ไม่อาจแลเห็นได้ของพระเจ้า คือพระอานุภาพนิรันดรและเทวภาพของพระองค์ปรากฏอย่างชัดเจนแก่ปัญญามนุษย์ในสิ่งที่ทรงสร้าง ดังนั้น คนเหล่านี้จึงไม่มีข้อแก้ตัวใด ๆ  21พวกเขารู้จักพระเจ้าn แต่ไม่ได้เคารพบูชาพระองค์เป็นพระเจ้าหรือขอบพระคุณพระองค์ ความคิดหาเหตุผลของพวกเขากลับใช้การไม่ได้ และจิตใจที่ไม่ยอมเข้าใจกลับมืดบอดลง  22พวกเขาคิดว่าตนเป็นคนฉลาด แต่ในความเป็นจริง พวกเขากลับโง่จนถึงกับ  23นำพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้าผู้เป็นอมตะมาแลกกับภาพเลียนแบบ คือภาพมนุษย์ที่ไม่เป็นอมตะ ภาพสัตว์ปีก ภาพสัตว์สี่เท้า หรือภาพสัตว์เลื้อยคลาน

24ดังนั้น พระเจ้าจึงทรงทอดทิ้งพวกเขาoให้ตกอยู่ในความปรารถนาฝ่ายต่ำที่จะประพฤติชั่ว ล่วงเกินร่างกายของกันและกัน  25เนื่องจากพวกเขาแลกความจริงของพระเจ้ากับความเท็จ หันไปนมัสการสิ่งสร้างแทนพระผู้สร้างผู้สมควรได้รับการถวายพระพรตลอดนิรันดร อาเมนp

26ดังนั้น พระเจ้าจึงทรงทอดทิ้งพวกเขาให้จมลงในราคะตัณหาที่เสื่อมทราม      27พวกผู้หญิงแทนที่จะมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติ กลับมีเพศสัมพันธ์ที่ผิดธรรมชาติ พวกผู้ชายก็เช่นกัน เลิกมีเพศสัมพันธ์ตามปกติกับผู้หญิง กลับเผาผลาญตนเองด้วยความใคร่กับผู้ชายด้วยกัน ผู้ชายทำอนาจารกับผู้ชาย และได้รับผลกรรมชั่วที่สาสมกับความวิปริตของตน

28ในทำนองเดียวกัน เนื่องจากพวกเขาไม่ยอมรับรู้พระเจ้า พระองค์จึงทรงทอดทิ้งพวกเขาให้หลงผิดและประพฤติชั่ว  29ดังนั้น พวกเขาจึงจมอยู่ในความอธรรมทุกชนิดq ความเลวทราม ความโลภและความชั่วr มีแต่ความอิจฉาริษยา การฆาตกรรม การทะเลาะวิวาท การทรยศและการอาฆาต  30การใส่ร้าย การนินทา การเป็นศัตรูกับพระเจ้าs การเป็นคนหยาบคาย ความหยิ่งยโสและโอหัง การทำความชั่วอยู่เสมอ การไม่เชื่อฟังบิดามารดา  31ความไม่มีสติ ไม่มีเกียรติ ไม่มีความรักt ไม่มีความสงสาร  32พวกเขาต่างรู้ตัวดีถึงสิ่งที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้ว่า ผู้ประพฤติตนเช่นนี้สมควรจะต้องตาย พวกเขาไม่เพียงแต่จะประพฤติตนเช่นนี้เท่านั้น ยังยกย่องคนที่ทำเช่นเดียวกันอีกด้วยu

1 a ตามธรรมเนียมปฏิบัติในสมัยนั้น เปาโลเริ่มต้นจดหมายด้วยย่อหน้าที่เป็นคำขึ้นต้น (นามผู้ส่งและผู้รับคำอวยพร) ตามด้วยการขอบพระคุณและคำภาวนา อย่างไรก็ตาม เขาให้ความเป็นลักษณะเฉพาะตัวตามวิธีการของตนเองโดยใส่จิตตารมณ์คริสตชน และบ่อยครั้งยังบอกความคิดทางเทววิทยาซึ่งจะเป็นการบอกล่วงหน้าถึงหัวข้อของสาระสำคัญของจดหมาย ในจดหมายถึงชาวโรม หัวข้อดังกล่าวคือเสรีภาพของพระเจ้าในการเลือกประชากรของพระองค์ ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและการบันดาลให้ชอบธรรม ความรอดพ้นโดยทางการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า ความกลมกลืนกันระหว่างพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่

b “อัครสาวก” ตรงกับชื่อตำแหน่งของชาวยิวซึ่งหมายถึง “ผู้แทนหรือทูต” เทียบ ยน 13:16; 2 คร 8:23;       ฟป 2:25; บางครั้ง ในพันธสัญญาใหม่ คำนี้ใช้กับกลุ่มศิษย์สิบสองคนที่พระเยซูเจ้าทรงเลือก มธ 10:2;        กจ 1:26; 2:37; ฯลฯ; 1 คร 15:7; วว 21:14 เพื่อเป็นพยานถึงพระองค์ กจ 1:8 เชิงอรรถ k; แต่บางครั้งใช้ในความหมายกว้าง ๆ สำหรับผู้ที่ถูกส่งไปเพื่อเทศน์ประกาศข่าวดี รม 16:7; 1 คร 12:28; อฟ 2:20; 3:5; 4:11; ดังนี้ แม้ว่าเปาโลจะไม่อยู่ในกลุ่มของศิษย์สิบสองคนดังกล่าว แต่ความจริงที่ว่าเขาได้รับแต่งตั้งจากพระเจ้าให้เป็นอัครสาวกของคนที่ไม่ใช่ชาวยิว 11:13; กจ 26:17; 1 คร 9:2; กท 2:8; 1 ทธ 2:7 คือเป็นอัครสาวกของพระคริสตเจ้า รม 1:1; 1 คร 1:1; ฯลฯ; เทียบเท่ากับกลุ่มอัครสาวกสิบสององค์ กจ 10:41 เพราะเปาโลได้เห็นพระคริสต์ผู้กลับคืนพระชนมชีพเช่นเดียวกับอัครสาวกอื่น ๆ 1 คร 9:1 และพระองค์ทรงส่งเขาไป รม 1:5;     กท 1:16 เพื่อเป็นพยานถึงพระองค์ กจ 26:16ฯ; แม้เปาโลจะเป็น “คนเล็กที่สุดในบรรดาอัครสาวก” 1 คร 15:9 แต่ก็เทียบเท่ากับอัครสาวกอื่น ๆ 1 คร 9:5; กท 2:6-9 เพราะได้รู้ข่าวดีจากพระคริสตเจ้าโดยตรงไม่ใช่จาก  อัครสาวกอื่น ๆ กท 1:1,17,19

c สำหรับเปาโลพระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพเพราะพระเจ้าทรงยกพระองค์ขึ้น 4:25; 10:9; กจ 2:24 เชิงอรรถ q: 1 คร 6:14; 15:15; 2 คร 14:14; เทียบ กท 1:1; 1 ธส 1:10 เทียบกับ 1 ปต 1:21; ดังนั้นก็แสดงให้เห็นถึง "อำนาจ" ของพระเจ้า รม 6:4; 2 คร 13:4; อฟ 1:19ฯ; คส 2:12; ฟป 3:10 ฮบ 7:16 เพราะเหตุว่าพระเจ้าทรงยกพระองค์ขึ้นให้กลับมีชีวิต รม 8:11 พระคริสตเจ้าได้รับการสถาปนาขึ้นในสิริรุ่งโรจน์ให้มีบรรดาศักดิ์เป็น "องค์พระผู้เป็นเจ้า (Kyrios) ฟป 2:9-11,9 เชิงอรรถ l; กจ 2:36; รม 14:9 เป็นการสมควรที่พระคริสตเจ้าจะได้รับพระนามที่ทรงมีมาตั้งแต่นิรันดร นั่นคือ "พระบุตรของพระเจ้า" อีกครั้งหนึ่ง กจ 13:33 ฮบ 1:1-5; 5:5; ดู รม 8:11 เชิงอรรถ g; 9:5 เชิงอรรถ d; เป็นผลงานการไถ่กู้ของพระองค์

d หมายถึง การเชื่อฟังซึ่งเป็นคุณลักษณะของความเชื่อ มากกว่าที่จะหมายถึงการเชื่อฟังต่อสาระของข่าวดี เทียบ 6:16-17; 10:16; 15:18; 16:19,26; กจ 6:7; 2 คร 10:5-6; 2 ธส 1:8; ฮบ 5:9; 11:8; 1 ปต 1:22

e แปลตามตัวอักษรได้ว่า "ข้าพเจ้าถวายคารวกิจในจิตใจของข้าพเจ้า" หน้าที่การเป็นผู้ถูกส่งไปประกาศข่าวดีเป็นกิจของการบูชาที่มอบถวายแด่พระเจ้า ดู 15:16 เช่นเดียวกับชีวิตคริสตชนอื่น ๆ ซึ่งแรงจูงใจหลักคือความรักผู้อื่น 12:1; กจ 13:2; ฟป 2:17 เชิงอรรถ r; 3:3; 4:18; 2 ทธ 1:3; 4:6; ฮบ 9:14; 12:28; 13:15; 1 ปต 2:5

f สำหรับเปาโล คำว่า จิต (pneuma) บางครั้งหมายถึงส่วนสูงสุดของมนุษย์ รม 1:9; 8:16; 1 คร 2:11; 16:18;
2 คร 2:13; 7:13; กท 6:18; ฟป 4:23 ฟม 25; 2 ทธ 4:22 เทียบ มธ 5:3; 27:50; มก 2:8; 8:12; ลก 1:47,80; 8:55; 23:46; ยน 4:23ฯ; 11:33; 13:21; 19:30; กจ 7:59; 17:16; 18:25 เปาโลจำแนกจิตออกจากร่างกาย     (1 คร 5:3ฯ; 7:34; เทียบ รม 7:24; ยก 2:26) และจากวิญญาณ (psyche) (1 ธส 5:23 เชิงอรรถ h เทียบ ฮบ 4:12; ยด 19) จิตนี้มีความหมายใกล้เคียงกับใจหรือมโน (nous) (รม 7:25; อฟ 4:23) ดู ความโน้มเอียงของจิต ใน 2 คร 12:18; กท 6:1; ฟป 1:27 จิตเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับเนื้อหนัง" ซึ่งหมายถึงธรรมชาติมนุษย์ที่ปราศจากการดลใจของพระจิตของพระเจ้า (1 คร 5:5; 2 คร 7:1; คส 2:5; ดู มธ 26:41 //; รม 7:5; 1 ปต 4:6) ในพันธสัญญาใหม่ การเลือกใช้คำเหล่านี้ตามความหมายที่ใช้ในประเพณียิวดั้งเดิม (ดู อสย 11:2 เชิงอรรถ c) แทนที่จะใช้คำว่าใจ หรือมโน (nous) ที่มาจากความหมายของนักปรัชญากรีก  พันธสัญญาใหม่ต้องการชี้ให้เห็นความใกล้เคียงที่ลึกซึ้งระหว่างจิตของมนุษย์และพระจิตของพระเจ้า ผู้ทรงปลุกเร้าและนำจิตของมนุษย์ กจ 1:8 เชิงอรรถ j; รม 5:5 เชิงอรรถ e; มีหลายตอนที่ยากจะบอกได้ว่าจิตนี้หมายถึงจิตตามธรรมชาติหรือจิตเหนือธรรมชาติ จิตของบุคคลหรือจิตที่เข้าพำนักในบุคคล เช่น ดูตัวอย่างใน รม 12:11; 2 คร 6:6; อฟ 4:3,23; 6:18; ฟป 3:3 ในบางฉบับ; คส 1:8; ยด 19

g คำว่า "กรีก" เมื่อใช้คู่กับคำว่า อนารยชน เปาโลหมายถึงพลเมืองที่อาศัยอยู่ในโลกแห่งอารยธรรมกรีก (รวมถึงชาวโรมัน ซึ่งได้รับเอาวัฒนธรรมกรีกมาเป็นของตนด้วย) แต่คำว่า "กรีก" เมื่อใช้คู่กับคำว่า "ชาวยิว" เปาโลหมายถึง "คนต่างชาติ" ทั่ว ๆ ไป 1:16; 2:9-10; 3:9: 10:12; 1 คร 1:22-24; ฯลฯ

h ความเชื่อคือการตอบของมนุษย์ต่อพระเจ้า ในฐานะที่เป็นองค์ความจริงและความดี ดังนั้น จึงเป็นแหล่งที่มาของความรอดพ้น ความเชื่อเป็นการวางใจต่อความจริงของพระสัญญาของพระเจ้าและต่อความซื่อสัตย์ที่พระเจ้าทรงมีต่อพวกเขา (3:3ฯ; 1 ธส 5:24; 2 ทธ 2:13 ฮบ 10:23; 11:11) และต่ออำนาจของพระองค์ในการทำตามพระสัญญา (รม 4:17-21; ฮบ 11:19) หลังจากช่วงเตรียมการอันยาวนานของพันธสัญญาเดิม (ฮบ 11) พระเจ้าได้ตรัสโดยทางพระบุตรของพระองค์ (ฮบ 1:1) เราจะต้องเชื่อพระบุตร (ดู มธ 8:10 เชิงอรรถ b;       ยน 3:11ฯ; 11 เชิงอรรถ e;) และเชื่อคำประกาศ (Kerygma) (รม 10:8-17; 1 คร 1:21; 15:11,14 ดู กจ 2:22 เชิงอรรถ n) ซึ่งเป็นข่าวดี (รม 1:16; 1 คร 15:1-2; อฟ 1:13; ฟป 1:27) ที่บรรดาอัครสาวกประกาศ (รม 1:5; 1 คร 3:5; ดู ยน 17:20)

          คำประกาศ (Kerygma) มีสาระใจความว่า พระเจ้าทรงยกพระเยซูขึ้นมาจากบรรดาผู้ตาย และแต่งตั้งให้เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า (4:24ฯ; 10:9; กจ 17:31; 1 ปต 1:21 เทียบ 1 คร 15:14,17) และทรงมอบชีวิตแก่ทุกคนที่เชื่อในพระคริสตเจ้า (รม 6:8-11; 2 คร 4:13ฯ; อฟ 1:19ฯ; คส 2:12; 1 ธส 4:14) ความเชื่อในพระนามหรือพระบุคคลของพระเยซูเจ้า (3:26; 10:13 เทียบ ยน 1:12; กจ 3:16; 1 ยน 3:23) ซึ่งเป็นพระผู้ไถ่  (กท 2:16 เทียบ กจ 24:24; 1 ยน 5:1) เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า (รม 10:9; 1 คร 12:3; ฟป 2:11 เทียบ กจ 16:31) และบุตรของพระเจ้า (กท 2:20 เทียบ ยน 20:31; กจ 9:20; 1 ยน 5:5) จึงเป็นเงื่อนไขจำเป็นสำหรับความรอดพ้น (รม 10:9-13; 1 คร 1:21; กท 3:22 ดู อสย 7:9 เชิงอรรถ e; ยน 3:15-18; กจ 4:12; 16:31; ฮบ 11:6) ความเชื่อไม่เป็นเพียงการยอมรับของปัญญาแต่ยังเป็นความไว้วางใจและเชื่อฟัง (6:17; 10:16; 16:26 เทียบ กจ 6:7) ต่อความจริงที่ให้ชีวิต (2 ธส 2:12ฯ) ดังนั้น ความเชื่อซึ่งทำให้บุคคลเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้า (2 คร 13:5; กท 2:16,20; อฟ 3:17) ยังประทานพระจิตเจ้าให้กับเขาอีกด้วย (กท 3:2,5,14 เทียบ ยน 7:38ฯ; กจ 11:17) เป็นพระจิตของบุตรของพระเจ้า (กท 3:26 เทียบ ยน 1:12) ความเชื่อเป็นการพึ่งพระเจ้า และไม่ใช่การพึ่งตนเอง (3:27;  อฟ 2:9) ดังนั้น จึงแตกต่างไปจากระบอบเก่าของ  ธรรมบัญญัติ (รม 7:7 เชิงอรรถ d) ซึ่งไม่ได้ช่วยมนุษย์ให้แสวงหา (รม 10:3-4; ฟป 3:9) ความศักดิ์สิทธิ์อาศัยการกระทำของตน (รม 3:20,28; 9:31ฯ;         กท 2:16; 3:11ฯ) ความเชื่อเท่านั้นก่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ที่แท้จริง ซึ่งเป็นความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าเองที่ช่วยให้รอดพ้น (รม 1:17 เชิงอรรถ j; 3:21-26)เป็นของประทานที่เราได้รับจากพระองค์เปล่า ๆ (รม 3:24; 4:16; 5:17; อฟ 2:8 เทียบ กจ 15:11) ความเชื่อยังทำให้มีความสัมพันธ์กับพระสัญญาที่พระเจ้าประทานให้แก่อับราฮัม (4; กท 3:6-18) จึงทำให้ความรอดพ้นเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ รวมทั้งคนที่ไม่ใช่ชาวยิวด้วย         (รม 1:5,16; 3:29ฯ; 9:30; 10:11ฯ; 16:26; กท 3:8) ความเชื่อคู่กับศีลล้างบาป (6:4 เชิงอรรถ a) และเรียกร้องให้ประกาศยืนยันอย่างเปิดเผย (10:10; 1 ทธ 6:12) และแสดงออกมาในความรัก (กท 5:6 ดู ยก 2:14 เชิงอรรถ f) ความเชื่อไม่สามารถจะได้รับการสนับสนุนจากประสาทสัมผัสหรือข้อพิสูจน์ใด ๆ (2 คร 5:7;      ฮบ 11:1 เทียบ ยน 20:29) และรวมเอาความหวังควบคู่กันมาด้วย (รม 5:2 เชิงอรรถ c) ความเชื่อจะต้องเจริญขึ้น (2 คร 10:15; 1 ธส 3:10; 2 ธส 1:3) ท่ามกลางการต่อสู้และการทรมาน (อฟ 6:16; ฟป 1:29; 1 ธส 3:2-8; 2 ธส 1:4; ฮบ 12:2; 1 ปต 5:9) ความเชื่อเรียกร้องให้มีความเข้มแข็ง (1 คร 16:13; คส 1:23; 2:5,7) และความมั่นคง (2 ทธ 4:7 เทียบ 1:14; 1 ทธ 6:20)  จนกระทั่งบรรลุถึงการเห็นพระเจ้าและได้พระองค์เป็นกรรมสิทธิ์ (1 คร 13:12 เทียบ 1 ยน 3:2)

i ในขั้นตอนของประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น ชาวยิวมาก่อนเป็นพวกแรก ที่จะได้รับทั้งสิริรุ่งโรจน์หรือการลงโทษ "ความรอดพ้นมาจากชาวยิว" (ยน 4:22) ดู 2:9-10; มธ 10:5ฯ; 15:24; มก 7:27; กจ 13:5 เชิงอรรถ e

j ไม่หมายถึงความเที่ยงธรรมในแง่ของความยุติธรรมที่ให้ตามการกระทำ แต่หมายถึงความเที่ยงธรรมที่ พระเจ้าทรงช่วยมนุษย์ให้รอดพ้น (เทียบ อสย 56:1)  ดู รม 3:26 ซึ่งทำให้พระสัญญาว่า "จะทรงช่วยให้รอดพ้น" กลับเป็นความจริงโดยทางพระหรรษทาน รม 4:25 เชิงอรรถ j

k ความเชื่อเป็นเงื่อนไขจำเป็น และเงื่อนไขเดียวสำหรับการเผยแสดงนี้

l เปาโลพักบรรยายถึงข่าวดีที่พระเจ้าทรงแสดงความเที่ยงธรรมที่ช่วยให้รอดพ้นเพื่อพิจารณาถึงสภาพของมนุษยชาติ ให้เห็นหลักการความจริงทั้งสองด้าน 1:16-20   (และต่อไปใน 3:21ฯ) เพื่อพิจารณาถึงสภาพของมนุษยชาติก่อนที่จะได้รับฟังข่าวดี ในข้อความตอนนี้ ทั้งคนต่างชาติ 1:18-32 และชาวยิว 2:1-3:20 ต่างก็ถูกพระเจ้าลงโทษทั้งสิ้น การลงโทษนี้ได้แสดงออกครั้งแรกเมื่อบาปทวีขึ้น และจะขยายตัวจนถึงขั้นสูงสุดในการพิพากษาสุดท้าย 2:6 เชิงอรรถ b; มธ 3:7 เชิงอรรถ h

m แปลตามตัวอักษรได้ว่า "พระพิโรธ" ในพันธสัญญาเดิม แม้ประกาศกหรือผู้ประพันธ์เพลงสดุดีจะภาวนาเพื่อ
"พระพิโรธของพระเจ้า" (กดว 11:1 เชิงอรรถ a)  จะได้คลายลง แต่เป็นที่รู้กันว่าพระพิโรธนี้เกิดขึ้นเพราะบาป สดด 85:5-12; มคา 7:9 ในที่นี้ก็เช่นเดียวกัน (2:5-8; 4:15; 9:22 เชิงอรรถ h; อฟ 5:6; คส 3:6 เทียบ          ยน 3:36; 1 ธส 2:16) มนุษย์รอดพ้นจาก "การลงโทษ" ได้ อาศัยความเชื่อในพระคริสตเจ้า ความเชื่อนี้เองช่วยให้รอดพ้นจากบาป รม 5:9; เทียบ 1 ธส 1:10; 5:9

n การรู้ว่ามีพระเจ้าเที่ยงแท้พระองค์เดียว หมายถึง การรู้ว่าจะต้องภาวนาต่อพระองค์และนมัสการพระองค์

o วิธีการพูดของพระคัมภีร์ที่ว่า "พระเจ้าได้ทรงทอดทิ้งพวกเขา" ถึงสามครั้ง (ข้อ 24,26,28) เน้นให้เห็นว่า ความผิดพลาดทางศาสนาได้นำความเสื่อมทางศีลธรรมและสังคมเข้ามาพร้อมกันด้วย บาปก่อให้เกิดผลตามมาและการลงโทษในตัวเอง (เทียบ ปชญ 11:15-16; 12:23-27; อสย 64:6; อสค 23:28-29) แต่ถึงเปาโลจะพิพากษาและกล่าวโทษสังคมของคนต่างชาติ ก็ไม่เป็นการกล่าวโทษบุคคล (ซึ่งเจตนาความตั้งใจของพวกเขานั้น มีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่ตัดสินได้ 2:16; 1 คร 4:5; 5:12-13) เนื่องจากเปาโลคิดเอาไว้ก่อนแล้วว่า    รม 2 มีคนที่ไม่ใช่ชาวยิวที่ปฏิบัติตามกฎธรรมชาติที่มีเขียนไว้ในดวงใจของพวกเขา 2:14-15; แต่กระนั้นก็ดีมนุษย์ทุกคนจะต้องยอมรับว่าตนเป็นคนบาป

p คำว่า "อาเมน" เป็นภาษาฮีบรู ดู สดด 41:13 เชิงอรรถ f; และได้ผ่านเข้ามาใช้ในภาษาของชาวคริสต์ 9:5; 11:36; 1 คร 14:16; วว 1:6-7; 22:20-21;  และพระเยซูเจ้าทรงใช้คำนี้เพื่อเป็นการเน้น (ภาษาอังกฤษจะแปลว่า  truly หรือ in truth ซึ่งในภาษาไทยบางครั้งจะได้ยินว่า "แท้จริง" หรือ "เราขอบอกกับท่านเป็นความสัตย์ว่า . "..) ต่อมาคำนี้ถูกนำมาใช้เป็นชื่อเฉพาะของพระเยซูเจ้า (2 คร 1:20; วว 3:14) เพราะพระองค์ทรงเป็นพยานแท้จริงของพระสัญญาของพระเจ้า

q ในที่นี้และในที่อื่น ๆ เปาโลได้ใช้รายชื่อบาปจากวรรณกรรมของชาวกรีกในสมัยนั้นและโดยเฉพาะจากวรรณกรรมของชาวยิว 13:13; 1 คร 5:10-11; 6:9-10; 2 คร 12:20; กท 5:19-21; อฟ 4:31; 5:3-5; คส 3:5-8;
1 ทธ 1:9-10; 6:4; 2 ทธ 3:2-5; ทต 3:3  (ดู มธ 15:19//: 1 ปต 4:3; วว 21:8; 22:15)

r บางฉบับเสริมว่า "การผิดประเวณี"

s บางคนแปลว่า "เป็นที่เกลียดชังของพระเจ้า" แต่เทียบ 5:10; 8:7

t บางฉบับเสริมว่า "ความจงรักภักดี" ดู 2 ทธ 3:3

u ตามฉบับภาษาละตินที่ยึดถือกันมาแต่เดิมจะอ่านว่า "พวกเขารู้ว่า พระเจ้านั้นเที่ยงธรรม ถึงกระนั้น พวกเขาไม่ได้เข้าใจว่า ผู้ที่ประพฤติตนเช่นนี้สมควรจะต้องตาย และไม่เพียงแต่ผู้ที่ประพฤติตนเช่นนี้เท่านั้น แต่รวมถึงทุกคนที่สนับสนุนพวกเขาด้วย"


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

ชาวยิวประพฤติผิดa

               2  1ดังนั้น ไม่ว่าท่านจะเป็นใครก็ตามที่กล่าวคำพิพากษาผู้อื่น ท่านไม่มีข้อแก้ตัวใด ๆ เช่นกัน ท่านเองนั่นแหละที่กล่าวโทษตนเองเมื่อตัดสินผู้อื่น เพราะท่านเองที่พิพากษาก็ประพฤติตนในทำนองเดียวกัน  2เราตระหนักดีว่า คนที่ประพฤติตนเช่นนี้จะถูกพิพากษาลงโทษจากพระเจ้าตามความเป็นจริง  3แต่เมื่อท่านตัดสินคนที่ประพฤติผิดขณะที่ตนก็ทำเช่นเดียวกัน ท่านคิดหรือว่าจะรอดพ้นจากการพิพากษาลงโทษของพระเจ้าไปได้  4หรือว่าท่านไม่คำนึงถึงความดี ความอดกลั้นและความพากเพียรอันล้นเหลือของพระเจ้า ไม่ยอมรับรู้ว่าพระทัยดีของพระเจ้าทรงมีเพื่อนำท่านให้สำนึกผิดและกลับใจ     5ความดื้อดึงไม่ยอมกลับใจของท่านมีแต่จะสะสมโทษสำหรับตนในวันพิพากษาลงโทษ เมื่อพระเจ้าทรงประกาศคำตัดสินเที่ยงธรรมของพระองค์  6พระองค์จะทรงตอบสนองทุกคนตามสมควรแก่การกระทำของพวกเขาb  7ผู้ที่มุ่งหาสิริรุ่งโรจน์ เกียรติยศ และความเป็นอมตะ โดยยืนหยัดกระทำความดี จะได้รับชีวิตนิรันดร  8ส่วนผู้ที่เห็นแก่ตัวไม่ปฏิบัติตามความจริงแต่กลับปฏิบัติตามความอธรรม จะต้องถูกลงโทษอย่างหนัก  9ความทุกข์โศกจะมาถึงมนุษย์ทุกคนที่กระทำความชั่ว ถึงชาวยิวเป็นอันดับแรก แล้วจึงถึงคนต่างชาติด้วย  10ส่วนความรุ่งโรจน์ เกียรติยศและสันติ จะมาถึงทุกคนที่กระทำความดี ถึงชาวยิวเป็นอันดับแรก แล้วจึงถึงคนต่างชาติด้วย  11พระเจ้าไม่ทรงลำเอียงแต่ประการใด

ธรรมบัญญัติไม่ช่วยให้รอดพ้น

          12ทุกคนที่ทำบาปโดยไม่รู้จักธรรมบัญญัติจะพินาศไปโดยไม่มีธรรมบัญญัติ แต่ผู้ที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติและกระทำบาป จะถูกพิพากษาตามธรรมบัญญัติ  13เพราะผู้ที่พระเจ้าจะทรงบันดาลความชอบธรรมนั้น ไม่ใช่ผู้ที่ได้ยินได้ฟังธรรมบัญญัติเท่านั้น แต่เป็นผู้ที่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติด้วย  14ดังนั้น เมื่อคนต่างชาติซึ่งไม่รู้จักธรรมบัญญัติ และประพฤติตามข้อกำหนดของธรรมบัญญัติจากสามัญสำนึกc แม้พวกเขาจะไม่รู้จักธรรมบัญญัติ พวกเขาก็เป็นธรรมบัญญัติสำหรับตนเอง  15พวกเขาแสดงให้เห็นสิ่งที่ธรรมบัญญัติกำหนดไว้ในใจตามมโนธรรมที่เป็นพยาน และบางครั้งความคิดตามเหตุผลที่กล่าวโทษก็ป้องกันพวกเขาd  16ในวันที่eพระเจ้าทรงตัดสินพิพากษาความคิดที่เร้นลับของมนุษย์ทุกคนด้วยเดชะพระเยซูคริสตเจ้า ตามข่าวดีที่ข้าพเจ้าได้ประกาศไว้

17ถ้าท่านเรียกตนเองว่าเป็นยิว วางใจในบทบัญญัติ ภูมิใจในพระเจ้า  18รู้จักพระประสงค์ของพระองค์ แยกถูกแยกผิดได้เพราะท่านได้รับการสอนจากธรรมบัญญัติ 19ถ้าท่านมั่นใจว่าท่านเป็นผู้นำทางคนตาบอดและเป็นแสงสว่างให้ผู้อยู่ในความมืด    20เป็นครูสอนคนโง่สั่งสอนคนที่ไม่มีความรู้ได้ เพราะท่านมีธรรมบัญญัติที่ท่านคิดว่าบรรจุความรู้และความจริงทั้งหมดไว้  21เมื่อสอนผู้อื่น ท่านกำลังสอนตนเองอยู่ด้วยหรือเปล่า ท่านสอนว่าจะต้องไม่ลักขโมย แต่ท่านลักขโมยหรือไม่  22ท่านพูดว่าการผิดประเวณีทำไม่ได้ แต่ท่านทำผิดประเวณีหรือไม่ ท่านเกลียดรูปเคารพ แต่ปล้นพระวิหารหรือไม่  23ถ้าขณะที่ท่านภูมิใจที่รู้ธรรมบัญญัติ แต่ไม่ปฎิบัติตาม ท่านก็ดูหมิ่นพระเจ้า  24ดังที่พระคัมภีร์เขียนไว้ว่า เป็นเพราะความผิดของพวกท่านที่พระนามของพระเจ้าถูกดูหมิ่นในหมู่ประชาชาติทั้งหลาย

การเข้าสุหนัตช่วยให้รอดพ้นไม่ได้

            25การเข้าสุหนัตมีความหมายเมื่อท่านปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ แต่ถ้าท่านยังคงละเมิดธรรมบัญญัติ ท่านก็ไม่ได้เข้าสุหนัตมากไปกว่าผู้ที่ไม่ได้เข้าสุหนัตแต่อย่างใด   26และถ้าผู้ที่ไม่ได้เข้าสุหนัตปฏิบัติตามข้อกำหนดของธรรมบัญญัติ สถานะของการไม่ได้เข้าสุหนัตของเขาจะไม่เท่ากับการได้เข้าสุหนัตหรือ  27นอกจากนั้น คนที่ไม่ได้เข้าสุหนัตทางกาย แต่ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติก็พิพากษาโทษท่าน ซึ่งได้รับธรรมบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรและเข้าสุหนัตแล้ว แต่กลับละเมิดธรรมบัญญัติเสียเอง  28การเป็นยิวนั้นไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏเพียงภายนอก และการเข้าสุหนัตก็ไม่ใช่เพียงการขลิบเนื้อหนังส่วนหนึ่งออกไป  29ชาวยิวที่แท้จริงคือคนที่เป็นยิวจากภายใน และการเข้าสุหนัตที่แท้จริงก็คือการเข้าสุหนัตในใจ ไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติตามตัวอักษร แต่เป็นเรื่องของจิตใจ เขาอาจจะไม่ได้รับการยกย่องจากมนุษย์ แต่เขาจะได้รับการยกย่องจากพระเจ้า

2 a ถึงตอนนี้เปาโลหันไปกล่าวถึงชาวยิว ข้อ 1-16 โดยไม่เอ่ยชื่อพวกเขาจนกระทั่ง 2:17-3:20 ขณะที่ชาวยิวกำลังกล่าวโทษคนอื่น เขารู้ตัวดีว่า กำลังกล่าวโทษตนเองถ้าเขาประพฤติตนในทำนองเดียวกัน ข้อ 1-5;  17-24 ไม่มีสิ่งใดที่จะแทนคุณธรรมส่วนตัวได้ ไม่ว่าจะเป็นธรรมบัญญัติ ข้อ 12-16 หรือพิธีสุหนัต ข้อ 25-29 หรือแม้กระทั่งพระคัมภีร์ 3:1-8 ทั้งชาวยิวและคนต่างชาติจะถูกพระเจ้าพิพากษาเป็นรายบุคคลทั้งสิ้น 2:6-11 เนื่องจากต่างก็มีแนวโน้มที่จะทำบาปเหมือนกัน  3:9-20

b คำพยากรณ์ถึง "วันของพระยาห์เวห์" ซึ่งจะเป็นวันของการลงโทษและวันของความรอดพ้น อมส 5:18 เชิงอรรถ m; จะกลับเป็นความจริงในวาระสุดท้ายใน "วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า” เมื่อพระคริสตเจ้าจะเสด็จกลับมาในพระสิริรุ่งโรจน์ 1 คร 1:8 เชิงอรรถ e; ใน "วันพิพากษา" นี้ (ดู มธ 10:15; 11:22,24; 12:36; 2 ปต 2:9; 3:7; 1 ยน 4:17) ผู้ตายจะกลับคืนชีพ 1 คร 15:12-23,51ฯ; 1 ธส  4:13-18 และ มนุษยชาติทั้งหมดจะถูกพิพากษาในศาลของพระเจ้า รม 14:10 และในศาลของพระคริสตเจ้า 2 คร 5:10 เทียบ มธ 25:31ฯ การพิจารณาคดีนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ 2:3; กท 5:10; 1 ธส 5:3 และไม่มีความลำเอียง รม 2:11; คส 3:25 เทียบ 1 ปต 1:17 พระเจ้าเองจะเป็นผู้พิพากษา รม 12:19; 14:10; 1 คร 4:5 เทียบ มธ 7:1 //; โดยทางพระ คริสตเจ้า ข้อ 16; 2 ทธ 4:1 เทียบ ยน 5:22; กจ 17:31 พระเจ้าจะพิพากษา "ผู้เป็นและผู้ตาย" 2 ทธ 4:1 เทียบ          กจ 10:42; 1 ปต 4:5 พระองค์จะสำรวจดวงใจ รม 2:16; 1 คร 4:5 เทียบ วว 2:23; เหมือนกับพิสูจน์ด้วยไฟ    1 คร 3:13-15; พระองค์จะทำกับทุกคนตามการกระทำของเขา 1 คร 3:8; 2 คร 5:10; 11:15;  อฟ 6:8; เทียบ มธ 16:27; 1 ปต 1:17; วว 2:23; 20:12; 22:12 สิ่งที่ถูกหว่านลงไปจะถูกเก็บเกี่ยว กท 6:7-9 เทียบ    มธ 13:39; วว 14:15 พระองค์จะทำลายอำนาจชั่ว 1 คร 15:24-26: 2 ธส 2:8 และคนที่ชั่วร้าย 2 ธส 1:7-10 เทียบ มธ 13:41 อฟ 5:6; 2 ปต 3:7 วว 6:17; 11:18 ด้วยความโกรธ 9:22  แต่สำหรับผู้ที่ได้รับเลือก (หมายถึงผู้ที่โดยทางพระหรรษทานได้กระทำดี) จะได้รับอิสรภาพ อฟ 4:30; เทียบ รม 8:23; การพักผ่อน กจ 3:20 เทียบ 2 ธส 1:7; ฮบ 4:5-11; รางวัล ดู มธ 5:12; วว 11:18; ความรอดพ้น 1 ปต 1:5; เกียรติ 1 ปต 5:6;      การสรรเสริญ 1 คร 4:5 และสิริรุ่งโรจน์  รม 8:18ฯ; 1 คร 15:43; คส 3:4 เทียบ มธ 13:43

c นั่นคือมีมโนธรรมเป็นผู้นำโดยที่ไม่ได้รู้มาจากธรรมบัญญัติ ชาวยิวใช่ว่าจะได้รับความรอดพ้นโดยทางธรรมบัญญัติ ซึ่งเพียงแต่นำเขาไปสู่ความรอดพ้นเท่านั้น ดังนั้น กฎธรรมชาติในมโนธรรมจึงนำมนุษย์ให้ปฏิบัติชอบได้เช่นกัน

d หรือแปลได้ว่า "ทั้งสิ่งที่จะกล่าวหาพวกเขา และสิ่งที่จะเป็นข้อแก้ตัวให้กับพวกเขา"

e ประโยคไม่ต่อเนื่อง ข้อ 16 ควรต่อจากข้อ 13 แปลได้อีกแบบหนึ่งว่า "ในศาลซึ่งพระเจ้าพิพากษา …" เทียบ 1 คร 4:3


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

พระสัญญาของพระเจ้าจะไม่ช่วยให้รอดพ้น

             3  1ดังนั้น มีประโยชน์ใดหรือไม่ที่เป็นชาวยิวa มีข้อได้เปรียบหรือไม่ที่ได้เข้าสุหนัต

2มีมากทุกด้าน ประการแรก คำสัญญาของพระเจ้านั้นทรงมอบให้ชาวยิว

3ถ้าชาวยิวบางคนไม่ซื่อสัตย์ต่อพระสัญญา ท่านคิดว่าการไม่ซื่อสัตย์นี้จะลบล้างความซื่อสัตย์ของพระเจ้ากระนั้นหรือ

4เป็นไปไม่ได้ พระเจ้านั้นทรงสัตย์จริงเสมอ แม้มนุษย์ทุกคนจะกล่าวเท็จ ดังที่พระคัมภีร์เขียนไว้ว่า เพื่อพระองค์จะทรงแสดงความเที่ยงธรรมที่ช่วยให้รอดพ้นเมื่อทรงพิพากษา และชัยชนะจะได้ปรากฏเมื่อทรงไต่สวน

5แต่ถ้าความอธรรมbของเราทำให้ความเที่ยงธรรมของพระเจ้าปรากฏเด่นชัดขึ้น เราจะพูดได้หรือว่า พระเจ้าไม่เที่ยงธรรมเมื่อทรงลงโทษเรา

6เปล่าเลย ถ้าเป็นเช่นนั้น พระเจ้าจะทรงเป็นผู้พิพากษาโลกได้อย่างไร ข้าพเจ้าพูดตามวิสัยมนุษย์

7บางคนอาจถามว่าc“ถ้าความไม่สัตย์จริงของข้าพเจ้าทำให้พระเจ้าทรงแสดงความเที่ยงธรรมของพระองค์ และทรงแสดงพระสิริรุ่งโรจน์ได้มากยิ่งขึ้น ข้าพเจ้าก็ไม่น่าจะถูกพิพากษาลงโทษว่าเป็นคนบาป”  8ทำไมเขาไม่พูดตรง ๆ ว่าจงทำความชั่ว เพื่อความดีจะได้ปรากฏ เหมือนที่บางคนใส่ร้ายกล่าวหาว่าเราพูดเช่นนั้นd สาสมแล้ว ที่เขาจะถูกพระเจ้าลงโทษ

มนุษย์ทุกคนกระทำผิด

           9เราอยู่ในสถานะที่ดีกว่าคนอื่นหรือe เปล่าเลย เราได้กล่าวโทษชาวยิวและคนต่างชาติว่าทุกคนล้วนถูกบาปครอบงำไว้เช่นเดียวกัน  10ดังที่พระคัมภีร์กล่าวไว้ว่า

ไม่มีสักคนที่เที่ยงตรง ไม่มีแม้แต่คนเดียว

11ไม่มีสักคนที่ฉลาด ไม่มีสักคนที่แสวงหาพระเจ้า

12ทุกคนหลงผิด ทุกคนไม่มีประโยชน์เหมือนกันหมด

ไม่มีสักคนที่ทำความดี ไม่มีแม้แต่คนเดียว

13ปากของเขาเป็นหลุมศพที่เปิดกว้าง

ลิ้นของเขายั่วยวนให้ทำความชั่ว

พิษงูร้ายอยู่หลังริมฝีปาก

14คำพูดของเขามีแต่คำสาปแช่ง และนำมาแต่ความขมขื่น

15เท้าของเขามีความแคล่วคล่องว่องไวไปหลั่งเลือดผู้บริสุทธิ์

16เขาไปไหนก็ทิ้งร่องรอยความเสียหายและซากปรักหักพัง

17เขาไม่รู้จักวิถีทางสันติภาพ

18ในจิตสำนึกของเขา ไม่มีความยำเกรงพระเจ้าอยู่เลย

19เราตระหนักดีว่า ทุกสิ่งที่เขียนไว้ในธรรมบัญญัติf เขียนไว้สำหรับผู้ที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ เพื่อทุกคนจะได้สงบปากคำและโลกทั้งโลกจะถูกนำมาให้พระเจ้าทรงพิพากษา  20เมื่อนั้น ไม่มีผู้ใดเป็นผู้ชอบธรรมเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าได้โดยการ

ปฎิบัติตามธรรมบัญญัติg สิ่งเดียวที่ธรรมบัญญัติทำได้ก็คือ บอกเราว่าอะไรเป็นบาป

. ความเชื่อและการพิพากษาของพระเจ้า

การเปิดเผยถึงการพิพากษาของพระเจ้า

          21แต่บัดนี้ ความเที่ยงธรรมที่พระเจ้าทรงช่วยให้รอดพ้นตามที่หนังสือ       ธรรมบัญญัติและประกาศกเป็นพยานถึงนั้น ปรากฏให้เห็นแล้วนอกเหนือธรรมบัญญัติ 22ความเที่ยงธรรมที่พระเจ้าทรงช่วยให้รอดพ้นซึ่งพระองค์ประทานให้ทุกคนที่มีความเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า   23ไม่มีความแตกต่างใด ๆ อีก ทุกคนกระทำบาปและขาดพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้าh  24แล้วทุกคนก็ได้รับความชอบธรรมเป็นของประทานโดยทางพระหรรษทานiอาศัยการไถ่กู้เราให้เป็นอิสระjในพระคริสตเยซู  25พระเจ้าทรงสถาปนาพระเยซูเจ้าเป็นเครื่องบูชาชดเชยบาปโดยอาศัยความเชื่อkและโดยอาศัยการหลั่งโลหิต เพื่อจะได้สำแดงความเที่ยงธรรมของพระองค์ โดยอดกลั้นไม่ลงโทษบาปในอดีตl  26ในเวลาแห่งความพากเพียรของพระองค์ พระองค์ทรงสำแดงความเที่ยงธรรมในปัจจุบันmเพื่อทรงเป็นผู้ที่เที่ยงธรรมn และเพื่อทรงบันดาลให้ผู้มีความเชื่อใน      พระเยซูเจ้ากลับเป็นผู้ชอบธรรม

ผลแห่งความเชื่อ

         27ดังนั้น คำโอ้อวดของเราอยู่ที่ไหนเล่าo ไม่มีที่สำหรับจะโอ้อวดอะไรอีกแล้ว ด้วยกฎเกณฑ์อะไรหรือ ด้วยกฎเกณฑ์ของการกระทำหรือ  ไม่ใช่ ด้วยกฎเกณฑ์ของความเชื่อp  28เนื่องจากเราถือว่ามนุษย์ได้รับความชอบธรรมโดยความเชื่อ ไม่ใช่โดยปฏิบัติตามสิ่งที่ธรรมบัญญัติกำหนดไว้

29พระเจ้าเป็นพระเจ้าของชาวยิวเท่านั้นหรือ ไม่ได้เป็นพระเจ้าของคนต่างชาติด้วยหรือ

แน่นอน ยังเป็นพระเจ้าของคนต่างชาติด้วย  30เพราะพระเจ้ามีเพียงพระองค์เดียว พระองค์จะทรงบันดาลให้ผู้เข้าสุหนัตเป็นผู้ชอบธรรมโดยอาศัยความเชื่อ และจะทรงบันดาลให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าสุหนัตเป็นผู้ชอบธรรมโดยอาศัยความเชื่อเช่นเดียวกัน

31เราใช้ความเชื่อมาทำลายธรรมบัญญัติกระนั้นหรือ

ไม่เลย เรากลับสนับสนุนธรรมบัญญัติด้วยq

3 a ชาวยิวยังมีเหตุผลแก้ตัวข้อสุดท้าย คือว่า ถ้าอิสราเอลเป็นประชากรที่พระเจ้าทรงเลือกให้เป็นผู้รับพระสัญญา พวกเขาจะหลงออกจากทางแห่งความรอดพ้นไปได้อย่างไร ในบทที่ 9-11 เปาโลจะสาธยายคำตอบโดยให้รายละเอียดมากกว่า แต่ในที่นี้มีบอกไว้เพียงสั้น ๆ ว่า ไม่ว่ามนุษย์จะไม่ซื่อสัตย์ต่อพันธสัญญามากเท่าใด ก็ไม่อาจจะล้มเลิกพระสัญญาของพระเจ้าได้ ทางที่มนุษย์ประพฤติตนนั้นเพียงแต่จะทำพระสัญญาเป็นที่เด่นชัดมากขึ้นเท่านั้น ข้อเท็จจริงประการนี้ก็ไม่ได้ป้องกันคนบาปให้พ้นจากการลงโทษของพระเจ้าไปได้ (ข้อ 6) หรือยกโทษบาปให้กับเขา (ข้อ  8) บทสนทนาที่ใช้ในที่นี้ดูเหมือนจะสะท้อนการถกเถียงที่เปาโลเคยใช้ในศาลาธรรม

b เหตุผลที่ยกมาอ้างทำการเปรียบเทียบระหว่างคำ "ความซื่อสัตย์ ความจริง (ความถูกต้องกับความจริง) ความดีพร้อม" กับ "ความไม่ซื่อสัตย์ ความเท็จ และความมีบาป"

c บางฉบับว่า "โดยแท้จริงแล้ว"

d โดยบิดเบือนคำพูดของเปาโลในทำนองเดียวกันกับข้อความใน 5:20; กท 3:22; เทียบ รม 6:1, 15

e นี่เป็นคำแปลที่เป็นที่ถกเถียงกันมาก บางคนเลือกแปลว่า "มีข้อแก้ตัวอะไรที่เราจะเสนอได้

f "ธรรมบัญญัติ" ในที่นี้หมายถึงพันธสัญญาเดิมทุกเล่ม เทียบ 1 คร 14:34; ยน 10:34; ฯลฯ

g เนื่องจาก สดด 143 กล่าวว่า ไม่มีมนุษย์คนใดจะพ้นผิดหากพระเจ้าทรงพิพากษาแต่ละคนตามการกระทำของเขา เพราะฉะนั้น จะต้องมีอย่างอื่นที่จะเป็นมูลเหตุการบันดาลความชอบธรรมให้มนุษย์ และเปาโลพบว่าสิ่งนั้นคือ พระสัญญาของพระเจ้าที่จะช่วยประชากรของพระองค์ให้รอดพ้น นี่คือ "ความเที่ยงธรรมที่พระเจ้าทรงช่วยให้รอดพ้น" ซึ่งเป็นคำสัญญาที่จะประทานให้ในยุคของพระผู้ไถ่ และ อย่างที่เปาโลกล่าวไว้ในข้อ 22 พระสัญญานี้จะปรากฏมาในพระเยซูคริสต์ ส่วนธรรมบัญญัติซึ่งเพียงแต่ควบคุมความประพฤติ  พระเจ้าไม่ได้ประทานมาเพื่อลบล้างบาป แต่เพื่อทำให้คนบาปตระหนักถึงข้อเท็จจริง ดู ยน 1:16  เชิงอรรถ h; 7:7  เชิงอรรถ d

h "สิริรุ่งโรจน์" ในที่นี้ใช้ตามความหมายของพันธสัญญาเดิม อพย 24:16 เชิงอรรถ f; นั่นคือ พระเจ้าผู้ทรงประทับอยู่ตรงหน้ามนุษย์ และทรงแสดงพระองค์แก่พวกเขายิ่งทียิ่งมากขึ้น เป็นกระบวนการที่จะบรรลุถึงจุดสุดยอดในยุคของพระผู้ไถ่เท่านั้น เทียบ สดด 84:9; อสย 40:5

i คำว่า "พระหรรษทาน" แปลคำว่า charis คำคำนี้ เมื่อใช้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน อาจหมายถึงคุณสมบัติซึ่งทำให้คนหนึ่งอยู่ในความสนใจของผู้อื่น (เสน่ห์) (กจ 2:47) หรืออาจหมายถึงการขอบคุณสำหรับของที่ได้รับ (ลก 6:32-34; 17:9) หรือสิ่งที่ให้เปล่า และไม่ใช่สิ่งที่หามาได้หรือได้เป็นค่าตอบแทน       (1 คร 16:3; 2 คร 8:6-7,19) ในความหมายสุดท้ายนี้ พันธสัญญาใหม่ โดยเฉพาะเปาโลมักจะใช้ในบทเขียนของตน (ยอห์นจะใช้คำว่า agape) เปาโลใช้คำนี้เพื่อบรรยายวิธีที่พระเจ้าทรงช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นโดยทาง      พระเยซูเจ้า กล่าวคือ ความรอดพ้นเป็นผลของความรักโดยเสรี ซึ่งไม่มีใครอาจอ้างสิทธิว่าตนควรจะได้รับ    ดังนั้น จึงเป็นการกระทำที่เนื่องมาจาก "พระหรรษทาน" (ความดี ความโปรดปราน ผู้แปล) ที่พระเยซูเจ้าเสด็จมาในโลก (ยน 1:14,17; 2 คร 8:9; ทต 2:11)  และได้สิ้นพระชนม์( ฮบ 2:9) เป็น "พระหรรษทาน" ของ      พระบิดาอีกเช่นกันที่ทรงมอบพระบุตรให้เป็นของประทานสำหรับเรา ของประทานที่รวมพระพรทุกประการของพระเจ้า (รม 8:32; เทียบ 1 คร 2:12; อฟ 1:6ฯ) อันได้แก่ การบันดาลให้เป็นผู้ชอบธรรม ความรอดพ้น และสิทธิที่จะได้รับมรดกโดยการมีความเชื่อในพระองค์ และไม่ใช่เพราะได้ปฏิบัติข้อกำหนดของธรรมบัญญัติ     (รม 3:24; 4:4ฯ; อฟ 2:5,8; ทต 3:7; เทียบ กจ 15:11) และเป็นการกระทำอันเนื่องมาจาก "พระหรรษทาน" อีกเช่นกันที่พระคริสตเจ้าจะเสด็จมาอีกในวันสุดท้ายของโลก และที่เราจะได้รับพระสิริรุ่งโรจน์นิรันดร 2 ธส 1:12; 1 ปต 1:13; เป็นเพราะพระหรรษทานที่อับราฮัมได้รับพระสัญญา (4:16; กท 3:18) และที่ชาวอิสราเอลน้อยคนได้รับเลือกให้รอดชีวิต (รม 11:5ฯ) เนื่องจาก "พระหรรษทาน" เป็นความรักของพระเจ้าสำหรับเรา จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีวันเหือดแห้งไป (อฟ 1:7; 2:7; เทียบ 2 คร  4:15; 9:8,14; 1 ทธ 1:14)  และชนะบาป (รม 5:15,17,20-21) คำว่า "พระหรรษทาน" คำเดียวจึงเป็นคำที่มีความหมายมากจนใช้บรรยายยุคพระผู้ไถ่ได้ทั้งหมดทีเดียว     (รม 5:21) ซึ่งเป็นยุคที่ตามมาหลังจากยุคของธรรมบัญญัติ (6:14; กท 2:21; 5:4) เป็นยุคพระผู้ไถ่เดียวกันกับที่ครั้งหนึ่งประกาศกได้ประกาศไว้ (1 ปต 1:10) และบัดนี้ได้ประกาศเป็นข่าวดี (พระวรสาร) (คส 1:6; เทียบ    กจ 14:3; 20:24,32) คำคำนี้สรุปรวมพระคุณของพระเจ้าได้ดีจนว่าเปาโลจะเริ่มและจบจดหมายด้วยการอวยพรให้ "พระหรรษทาน" ของพระเจ้าสถิตอยู่กับผู้อ่านทุกคน (1 ทธ 1:1; 5:28; ฯลฯ ; ดู 1 ปต 1:2; 5:10,12;        2 ปต 1:2; 3:18; 2 ยน 3; วว 1:4; 22:21) เป็นเพราะ "พระหรรษทาน" อีกเช่นกันที่ "พระเจ้าแห่งพระ      หรรษทาน" ทุกประการ (1 ปต 5:10) ทรงเรียกประชากรให้มารับความรอดพ้น (กท 1:6; 2 ทธ 1:9; 1 ปต 3:7) ทรงหลั่งพระพรฝ่ายจิตทุกประการให้แก่พวกเขา (1 คร 1:4-7 ดู กจ 6:8; 2 ธส 2:16) ทำให้เปาโลเป็น      อัครสาวกของชนต่างชาติ (รม 1:5; 15:15ฯ; 1 คร 3:10; กท 1:15ฯ; 2:7-9; อฟ 3:1-2,7,8; ฟป 1:7) และกำหนดให้คริสตชนแต่ละคนมีบทบาทในชีวิตของพระศาสนจักร (รม 12:6; 1 คร 12:1 เชิงอรรถ a; 2 คร 8:1; อฟ 4:7; 1 ปต 4:10) ในทำนองเดียวกันเป็นเพราะ "พระหรรษทาน" อีกเช่นกันอีกที่คริสตชนจะรับทรมานเพื่อพระคริสตเจ้าได้ (ฟป 1:29; 1 ปต 2:19-20) พระนางมารีย์ "เปี่ยมด้วยพระหรรษทาน" ก็หมายความว่า พระนางเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า (ลก 1:30 เทียบ กจ 7:46) พระเยซูเจ้าเองทรงได้รับ "พระหรรษทาน" ที่ได้รับพระนามยิ่งใหญ่กว่านามใด ๆ ( ฟป 2:9 เทียบ ลก 2:40) มนุษย์จะเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าได้ขึ้นอยู่กับการริเริ่มของพระเจ้าเป็นอันดับแรก และขึ้นกับการตอบสนองของเขาต่อพระองค์เป็นอันดับสอง เป็นไปได้ที่จะได้รับพระหรรษทานอย่างไร้ประโยชน์ (2 คร 6:1) ที่จะพลาดไปจากพระหรรษทาน (กท 5:4) ที่จะสูญเสีย   พระหรรษทาน (ฮบ 12:15) ซึ่งเป็นการสบประมาทพระจิตเจ้าแห่งพระหรรษทาน (ฮบ 10:29) พระหรรษทานที่ได้รับจึงต้องได้รับการดูแลรักษาไว้ด้วยความเอาใจใส่ (5:2; ฮบ 12:28; 1 ปต 5:12) และนำมาใช้อย่างฉลาด  (1 ปต 4:10) ไม่เพียงพอที่จะคงอยู่ในพระหรรษทาน (กจ 13:43 เทียบ 14:26; 15:40) แต่พระหรรษทานจะต้องทวีขึ้น (2 ปต 3:18) เพื่อเสริมเราให้เข้มแข็ง (2 ทธ 2:1) และช่วยเราให้ยืนหยัดมั่นคงอยู่ในความตั้งใจดี        (ฮบ 13:9) พระเจ้าจะประทานความช่วยเหลือนี้ให้แก่ผู้ที่ถ่อมตน (ยก 4:6; 1 ปต 5:5 ) ที่อธิษฐานภาวนา เนื่องจากการภาวนาเป็นการเข้าใกล้ "บัลลังก์แห่งพระหรรษทาน" ได้ด้วยความมั่นใจ (ฮบ 4:16) พระเจ้าจะประทานพระหรรษทานอย่างเพียงพอให้แต่ละคน พระหรรษทานเป็นอำนาจของพระคริสตเจ้าที่ทำงานอยู่ในมนุษย์ที่อ่อนแอ (2 คร 12:8-9 เทียบ 1 คร 15:10) และพระหรรษทานของพระคริสตเจ้านี้พิชิตปรีชาญาณฝ่ายโลกทุกชนิด (2 คร 1:12) แต่คำว่า "charis" เดียวกันนี้ยังใช้ในความหมายของ "การขอบพระคุณ" (6:17; 7:25;         1 คร 10:30; 15:57; 2 คร 2:14; 8:16; 9:15; คส 3:16; 1 ทธ 1:12; 2 ทธ 1:3 และลองเปรียบเทียบกับคำกริยา eucharistein ดู ) ทั้งนี้เนื่องจากว่าความรู้คุณต่อพระเจ้าเป็นท่าทีพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อจะได้รับพระหรรษทานนั่นเอง จากความหมายหลายหลากที่แตกต่างกันเล็กน้อยเหล่านี้จึงปรากฏชัดว่า คำว่า "charis" (ที่เราแปลว่า       "พระหรรษทาน" ) ถูกนำมาใช้เพื่อเน้นว่าพระคุณที่ได้รับเป็นสิ่งได้รับมาเปล่า ๆ  แต่บางครั้งเพื่อเน้นอำนาจและลักษณะของพระหรรษทานว่าเป็นเรื่องภายใน เปาโลยังใช้คำว่า pneuma (ซึ่งเราแปลว่า จิต) ด้วยเช่นกัน (ดู รม 5:5 เชิงอรรถ e) ให้ดูเชิงอรรถ h ของบทที่ 1;  และเน้นถึงความศักดิ์สิทธิ์ว่าเป็นของประทานที่ได้รับจากพระเจ้าโดยไม่เสียอะไรเลย

j พระยาห์เวห์ได้ทรง "ไถ่กู้” อิสราเอลโดยนำออกมาจากการเป็นทาสในประเทศอียิปต์เพื่อให้เป็นประชากร

เป็น "สมบัติ" ของพระองค์ (ฉธบ 7:6 เชิงอรรถ b) เมื่อบรรดาประกาศกพูดถึง "การไถ่กู้" จากบาบิโลน (อสย 41:14 เชิงอรรถ g) เขาได้บ่งไว้เป็นนัยถึงการปลดปล่อยที่ลึกซึ้งมากกว่าและกว้างกว่า อันได้แก่การอภัยโทษซึ่งเป็นการปลดปล่อยให้พ้นจากบาป (อสย 44:22 เทียบ สดด 130:8) การไถ่กู้ของพระผู้ไถ่นี้สำเร็จเป็นจริงไปในพระคริสตเจ้า 1 คร 1:30; เทียบ ลก 1:68; 2:38;  พระบิดาเจ้า โดยทางพระคริสตเจ้าและจริง ๆ แล้ว คือพระคริสตเจ้าเอง ได้ "ช่วย" อิสราเอลใหม่ให้พ้นจากการเป็นทาสของธรรมบัญญัติ กท 3:13; 4:5; และการเป็นทาสของบาป อฟ 1:7; คส 1:14; ฮบ 9:15 โดย "ได้ตัวอิสราเอลใหม่" กจ 20:28 ให้เป็นของพระองค์ ทต 2:14 "โดยซื้อตัวมา " 1 คร 6:20; 7:23 เทียบ กท 3:13; 4:5 เทียบ 2 ปต 2:1; ราคาค่าตัวนั้นคือพระโลหิตของพระคริสตเจ้า กจ 20:28; อฟ 1:7; ฮบ 9:12; 1 ปต 1:18ฯ; วว 1:5; 5:9 การไถ่กู้นี้เริ่มต้นที่ภูเขากัลวาริโอและมีพระพรปัจจุบันของพระจิตเจ้าเป็นประกัน อฟ 1:14; 4:30 จะสำเร็จสมบูรณ์เมื่อพระองค์เสด็จมาอย่างรุ่งเรืองในวันสุดท้าย (parousia) ลก 21:28 เมื่อการกลับคืนชีพของร่างกายจะรับรองว่า มนุษย์รอดพ้นจากความตายแล้ว รม 8:23

k แปลตามตัวอักษรได้ว่า "ซึ่งพระเจ้าตั้งให้เป็นที่ไถ่บาปโดยทางความเชื่ออาศัยพระโลหิตของพระองค์" เกี่ยวกับ " ที่ไถ่บาป" หรือ "บัลลังก์แห่งพระกรุณา" ดู อพย 25:17 เชิงอรรถ h; และเปรียบเทียบกับ ฮบ 9:5; ในวันชดเชยบาป ลนต 16:1 เชิงอรรถ a มหาสมณะเอาเลือดสัตว์มาพรมที่บัลลังก์นี้ ลนต 16:15; พระโลหิตของพระคริสตเจ้าได้กระทำสิ่งที่จารีตพิธีดั้งเดิมเป็นได้เพียงแต่สัญลักษณ์นั้นคือการชำระล้างให้พ้นจากบาป ลองเปรียบเทียบความคิดนี้กับความคิดเกี่ยวกับเลือดของพันธสัญญา อพย 24:8 เชิงอรรถ c; มธ 26:28 เชิงอรรถ h

l พระเจ้าไม่ทรงเอาผิด (paresis แปลว่า "การไม่เอาผิด" หรือ "การมองข้าม") การ "ไม่เอาผิด" เป็นกระบวนการที่ไม่มีความหมายหากไม่มีการอภัยโทษตามมา นั่นคือ การทำลายบาปลงอย่างสิ้นเชิงด้วยการบันดาลความชอบธรรม บางคนแปลว่า "ด้วยความตั้งใจที่จะอภัยบาป"

m “ในปัจจุบันนี้” ในแผนการความรอดของพระเจ้าเป็น “เวลาที่กำหนด” กจ 1:7 เชิงอรรถ i; เพื่องานไถ่กู้ของพระคริสตเจ้า รม 5:6; 11:30; 1 ทธ 2:6; ทต 1:3 ซึ่งจะมาถึงตามเวลาที่กำหนดไว้ กท 4:4 เชิงอรรถ c ครั้งเดียวแต่มีผลตลอดไป ฮบ 7:27 เชิงอรรถ g และ เริ่มยุคสุดท้าย เทียบ มธ 4:17//; 16:3//; ลก 4:13; 19:44; 21:8; ยน 7:6,8

n นั่นคือ พระเจ้าทรงใช้ความเที่ยงธรรมที่ทรงช่วยให้รอดพ้น ดู 1:17 เชิงอรรถ j ตามที่ได้ทรงสัญญาไว้โดยบันดาลให้มนุษย์กลับเป็นผู้ชอบธรรม

o คำภาษากรีกแสดงถึงท่าทีของคนหนึ่งซึ่งอวดอ้างความสำเร็จของตนเอง วางใจในความสำเร็จนั้น และอ้างว่าบรรลุถึงจุดหมายชีวิตเหนือธรรมชาติได้ด้วยพละกำลังของตนเอง ท่าทีนี้ใช้ไม่ได้ เนื่องจากมนุษย์ไม่ได้รับการอภัยโทษจากพระเจ้า เพราะการมีกำลังเหนือผู้อื่น แต่ได้รับการอภัยโทษเป็นของประทาน ความเชื่ออยู่ตรงข้ามกับการพึ่งพาตนเอง เพราะเมื่อคนหนึ่งเชื่อ เขาก็ประกาศว่าเขาพึ่งตนเองไม่ได้

p หมายความว่า หลักนั้นคือความเชื่อ เปาโลนำธรรมบัญญัติที่จารึกไว้บนแผ่นศิลา 2 คร 3:3 มาเปรียบเทียบกับความเชื่อ รม 1:16 เชิงอรรถ h; ซึ่งเป็นธรรมบัญญัติที่พระเจ้าทรงเขียนไว้ในดวงใจมนุษย์ (เทียบ         ยรม 31:33) ซึ่งมีผลบังคับอาศัยความรัก กท 5:6 และเป็น "ธรรมบัญญัติของพระจิตเจ้า" รม 8:2

q แปลตามอักษร "เราตั้งธรรมบัญญัติ" โดยอาศัยระบบความเชื่อเท่านั้นที่ธรรมบัญญัติบรรลุจุดหมาย นั่นคือเพื่อทำให้ประชากรศักดิ์สิทธิ์ ดู 7:7 เชิงอรรถ d


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

. แบบอย่างของอับราฮัม

อับราฮัมเป็นผู้ชอบธรรมด้วยความเชื่อ

          4  1มีสิ่งใดที่เราจะพูดได้เกี่ยวกับอับราฮัมa บรรพบุรุษผู้ซึ่งเราสืบเชื้อสายตามธรรมชาติb  2ถ้าอับราฮัมเป็นผู้ชอบธรรมเพราะกิจการที่เขากระทำ เขาย่อมมีเหตุผลที่จะภูมิใจได้c แต่ไม่ใช่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า  3พระคัมภีร์ไม่ได้กล่าวไว้หรือว่า อับราฮัมมีความเชื่อในพระเจ้า และนี่ก็นับได้ว่าเป็นความชอบธรรมสำหรับเขาd  4เมื่อคนหนึ่งทำงาน ค่าจ้างที่ได้รับจากงานนั้นก็ไม่นับเป็นบุญคุณ แต่เป็นสิทธิที่พึงได้ 5เมื่อไม่ได้มองที่ความประพฤติ  คนที่มีความเชื่อในผู้ที่บันดาลให้คนชั่วกลับเป็นผู้ชอบธรรม ความเชื่อนี้เองนับว่าเป็นความชอบธรรม  6กษัตริย์ดาวิดก็ตรัสไว้เช่นเดียวกันนี้     พระองค์ทรงเรียกบางคนว่าเป็นผู้มีความสุข ถ้าพระเจ้าประทานความชอบธรรมให้ผู้นั้นโดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่เขาได้กระทำ โดยตรัสว่า

7เป็นความสุขของผู้ที่ได้รับการอภัยความผิด

ผู้ซึ่งบาปของเขาถูกลบล้าง

8เป็นความสุขของผู้ที่พระเจ้าไม่ทรงถือโทษ

อับราฮัมเป็นผู้ชอบธรรมก่อนเข้าสุหนัต

         9ความสุขที่ว่านี้เป็นความสุขของผู้ที่เข้าสุหนัตเท่านั้นหรือ หรือรวมไปถึงผู้ที่ไม่ได้เข้าสุหนัตด้วย เราพูดถึงอับราฮัมว่า ความเชื่อของเขานับได้ว่าเป็นความชอบธรรม 10ความเชื่อของเขานับเป็นความชอบธรรมได้อย่างไร เมื่ออับราฮัมเข้าสุหนัตแล้วหรือยังไม่ได้เข้าสุหนัต มิใช่เมื่อเข้าสุหนัตแล้วแน่ ๆ แต่เมื่อยังไม่ได้เข้าสุหนัต  11พิธีสุหนัตตามมาภายหลังเป็นเครื่องหมายและเป็นประกันeว่า ความเชื่อซึ่งเขามีขณะยังไม่ได้เข้าสุหนัตนับว่าเป็นความชอบธรรม ด้วยเหตุนี้ อับราฮัมจึงเป็นบิดาของผู้มีความเชื่อทุกคนที่ไม่ได้เข้าสุหนัต เพื่อจะนับได้ว่าพวกเขาเป็นผู้ชอบธรรม  12อับราฮัมเป็นบิดาของผู้เข้าสุหนัต ผู้เข้าสุหนัตเหล่านี้ไม่เพียงแต่เข้าพิธีเท่านั้น แต่ยังได้ดำเนินชีวิตตามอับราฮัมบิดาของเรา ไปตามทางความเชื่อที่เขาได้ดำเนินไปก่อนที่จะเข้าสุหนัต

 

การปฏิบัติตามธรรมบัญญัติไม่ทำให้อับราฮัมเป็นผู้ชอบธรรม

          13พระสัญญาที่ประทานให้อับราฮัมและลูกหลานที่ว่าเขาจะได้ครอบครองโลกเป็นมรดกนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมบัญญัติ แต่เกิดขึ้นโดยความชอบธรรมอันเนื่องมาจากความเชื่อf  14ถ้าผู้ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติจะได้รับมรดก ความเชื่อก็ไม่มีค่าและพระสัญญาก็ไม่มีความหมาย  15เพราะธรรมบัญญัติไม่ให้ผลสิ่งใดนอกจากการลงโทษของพระเจ้า เมื่อไม่มีธรรมบัญญัติการละเมิดก็ไม่มี  16เพราะเหตุนี้ การรับมรดกโดยอาศัยพระสัญญาจึงมาจากความเชื่อ เพื่อให้พระสัญญาเป็นของประทานที่ให้เปล่า และประทานให้เชื้อสายทั้งหมดของอับราฮัม มิใช่เพียงให้ผู้ที่ปฏิบัติตามบทบัญญัติเท่านั้น แต่รวมถึงเชื้อสายทุกคนที่มีความเชื่อเช่นเดียวกับอับราฮัมซึ่งเป็นบิดาของเราทุกคนด้วย  17ดังที่พระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า เราได้ตั้งเจ้าให้เป็นบิดาของประชาชาติจำนวนมากอับราฮัมเป็นบิดาของเราเฉพาะพระพักตร์พระเจ้า ผู้เป็นพระเจ้าที่อับราฮัมเชื่อ และทรงเป็นผู้นำคนตายให้คืนชีพ และทรงทำให้สิ่งที่ยังไม่มีภาวะความเป็นอยู่ได้มีภาวะความเป็นอยู่g

ความเชื่อของอับราฮัมเป็นแบบฉบับความเชื่อของคริสตชน

         18แม้ดูเหมือนจะไม่มีความหวัง แต่อับราฮัมก็หวังและเชื่อว่า เขาจะเป็นบิดาของประชาชาติจำนวนมากสมจริงตามพระสัญญาที่ว่า ลูกหลานของเจ้าจะมีจำนวนมากเช่นนั้น  19แม้เมื่ออับราฮัมคิดว่าร่างกายของตนดูเหมือนตายไปแล้ว ขณะนั้นเขามีอายุหนึ่งร้อยปี และครรภ์ของนางซาราห์ก็นับว่าตายไปแล้วเช่นกัน แต่ความเชื่อของเขาก็ไม่หวั่นไหวh  20เขาไม่สงสัยเพราะความไม่เชื่อในพระสัญญาของพระเจ้า แต่กลับได้รับพละกำลังจากความเชื่อi และถวายเกียรติแด่พระองค์  21โดยเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่า สิ่งใดที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้ พระองค์ย่อมมีพระอำนาจที่จะทำสิ่งนั้นให้เป็นจริงตามพระสัญญาได้  22นี่คือความเชื่อซึ่งนับได้ว่าเป็นความชอบธรรมสำหรับเขา                        23ประโยคนี้มิได้เขียนขึ้นโดยหมายถึงอับราฮัมเท่านั้น แต่หมายถึงเราทุกคนด้วย      24ความเชื่อจะนับได้ว่าเป็นความชอบธรรมสำหรับเราเช่นกัน เพราะเราเชื่อในพระองค์ผู้ทรงบันดาลให้พระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา ทรงกลับคืนพระชนม์ชีพจากบรรดาผู้ตาย  25พระเยซูคริสตเจ้าทรงยอมสละพระชนมชีพเพราะบาปของเรา และทรงกลับคืนพระชนมชีพเพื่อให้เราเป็นคนชอบธรรม j

4 a บางฉบับว่า "และเราจะพูดว่าอับราฮัมได้อะไรมา”

b การกล่าวซ้ำถึง "อับราฮัมบรรพบุรุษ" เป็นการพัฒนาความคิดเรื่องความเชื่อ การเข้าสุหนัต และธรรมบัญญัติ (ข้อ 1,12,16-22)

c ธรรมประเพณีของชาวยิวเน้นความจงรักภักดีและความเข้มแข็งของอับราฮัมเมื่อถูกทดลอง ได้ยกย่องเขาเป็นแบบอย่างที่เด่นชัดในการเป็นผู้ชอบธรรมโดยการกระทำของตน 1 มคบ 2:52; ปชญ 10:5 บสร 44:20ฯ) และโดยเฉพาะใน Book of Jubilees 11-12; 16:19ฯ; ดู ยก 2:21 เชิงอรรถ j; เทียบ รม 2:14  เชิงอรรถ c;  อย่างไรก็ตาม เปาโลพบว่าความชอบธรรมนี้และกิจการดีเหล่านี้มาจากความเชื่อของอับราฮัมต่างหาก ปฐก 12:1 เชิงอรรถ a; และ 15:6 เชิงอรรถ c; เทียบ ฮบ 11:8ฯ

d ข้อความนี้อาจตีความได้หลายแง่ เช่น 1)  เพราะความเชื่อพระเจ้าจึงถือว่าอับราฮัมเป็นผู้ชอบธรรม แม้ว่าในความเป็นจริงเขาจะไม่เป็นก็ตาม หรือ 2) เพราะความเชื่ออับราฮัมได้รับความชอบธรรมจากพระเจ้าเปล่า ๆ ซึ่งไม่เป็นของเขามาก่อน หรือ 3) ต่อหน้าพระเจ้า (ตามความจริง) ความเชื่อและความชอบธรรมมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมากจนกระทั่งจะแยกออกจากกันไม่ได้ การตีความแบบแรกขัดกับหลักคำสอนของเปาโล และการตีความในแบบที่สองก็ดูเหมือนจะขัดด้วยเช่นกัน การตีความในแบบที่สามเท่านั้นที่สอดคล้องกับหลักคำสอนของเปาโล

e หลังสมัยพระเยซูเจ้าไม่นาน คำว่า sphragis (ตามตัวอักษร "ตรา" หรือ "ภาพพิมพ์" ที่เกิดจากการประทับตรา) ได้ถูกนำมาใช้กับศีลล้างบาป ซึ่งถือว่าเป็นศีลแห่งความเชื่อของคริสตชน 2 คร 1:22 อฟ 1:13; 4:30;  ดู ยน 6:27 เชิงอรรถ g; วว 7:2-8; 9:4;

f แปลตามตัวอักษรได้ว่า "ความชอบธรรมของความเชื่อ" นั่นคือ ความชอบธรรมซึ่งเป็นการเชื่ออย่างจริงจัง   พระเจ้าได้ประทานมรดกให้ มิใช่เพื่อเป็นรางวัลแก่ประชากรที่ได้ถือตามข้อตกลง (ธรรมบัญญัติ) แต่ประทานให้ตามพระสัญญา พระเจ้าประทานพระสัญญา ปฐก 12:1 เชิงอรรถ a ให้แก่ผู้มีความเชื่อ ผู้ที่เชื่อในพระบุคคลและในพระราชกิจของพระเยซูคริสตเจ้าเท่านั้น จึงจะรู้ว่าพระสัญญานั้นสำเร็จลงแล้ว 9:4-8; 15:8; ยน 8:56;       กจ 2:39; 13:23; กท 3:14-19; อฟ 1:13,14; 2:12; 3:6; ฮบ 11:9-10,13; เทียบกับ 3:27

g เช่นเดียวกับเมื่อทรงสร้างโลก การอ้างถึงอำนาจสองประการนี้ เตรียมผู้อ่าน  (หรือผู้ฟัง) ให้คิดถึงการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้าในข้อ 25

h "ความเชื่อของเขาไม่สั่นคลอน อีกทั้งเขาไม่ได้สนใจต่อร่างกายที่ตายไปแล้วของตน" ตาม Textus  receptus ได้แก่ ตัวบทที่ยอมรับกันมาแต่โบราณก่อนที่จะมีการวิเคราะห์อย่างจริงจัง

i ความเชื่อมีอำนาจทุกประการ มก 9:23 ความเชื่อทำให้อำนาจของพระเจ้าทำงานในเราได้ ดู 2 คร 12:9-10

j เปาโลไม่เคยคิดถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้าแยกออกจากการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ "การบันดาลความชอบธรรม" เป็นการเข้าสู่ชีวิตของพระคริสต์ผู้กลับคืนพระชนมชีพ 6:4; 8:10 ในพันธสัญญาเดิมพระเจ้าประทานความชอบธรรมที่ช่วยให้รอดพ้นด้วยการพิพากษา สดด 9:8 ในพันธสัญญาใหม่เราจึงรอคอยพระองค์ผู้ทรงเป็นตุลาการในวันสุดท้าย รม 2:6 "พระเจ้าจะบันดาลความชอบธรรม" (การอภัยความผิด) อาศัยพระคริสตเจ้าให้แก่ผู้ที่เชื่อเท่านั้น รม 1:17 เชิงอรรถ k และจะไม่คำนึงถึง "งาน" อันหมายถึงการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ รม 3:27 เชิงอรรถ p; 7:7 เชิงอรรถ d;


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

II. ความรอดพ้น

ความเชื่อประกันความรอดพ้นa

            5  1ดังนั้น เมื่อได้เป็นผู้ชอบธรรมด้วยความเชื่อแล้ว เราย่อมมีสันติbกับพระเจ้า เดชะพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา  2โดยทางพระองค์ เราจึงเข้าถึงพระหรรษทานและกำลังดำรงอยู่ในพระหรรษทานนี้  เราภูมิใจในความหวังที่จะได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้าc  3ยิ่งกว่านั้น เรายังภูมิใจในความทุกข์ เพราะรู้ว่า ความทุกข์ก่อให้เกิดความพากเพียร  4ความพากเพียรก่อให้เกิดคุณธรรมที่แท้จริง คุณธรรมที่แท้จริงก่อให้เกิดความหวัง  5ความหวังนี้ไม่ทำให้เราผิดหวัง เพราะพระจิตเจ้าซึ่งพระเจ้าประทานให้เรา d ได้หลั่งความรักของพระเจ้า e ลงในดวงใจของเรา  6ขณะที่เรายังอ่อนแอ พระคริสตเจ้าสิ้นพระชนม์เพื่อคนบาปตามเวลาที่กำหนด  7ยากที่จะหาคนที่ยอมตายเพื่อคนชอบธรรม  บางครั้งอาจจะมีคนยอมตายแทนคนดีจริง ๆ ได้  8แต่พระเจ้าทรงพิสูจน์ว่าทรงรักเรา เพราะพระคริสตเจ้าสิ้นพระชนม์เพื่อเราขณะที่เรายังเป็นคนบาป  9บัดนี้ เมื่อเราได้รับความชอบธรรมโดยอาศัยพระโลหิตของพระองค์แล้ว เดชะพระองค์ เราก็ยิ่งจะได้รับความรอดพ้นจากการถูกพระเจ้าลงโทษ  10ถ้าเรากลับคืนดีกับพระเจ้าเดชะการสิ้นพระชนม์ของพระบุตรขณะที่เรายังเป็นศัตรูอยู่ ยิ่งกว่านั้นเมื่อกลับคืนดีแล้ว เราก็จะรอดพ้นเดชะพระชนมชีพของพระองค์ด้วย  11มิใช่เพียงเท่านั้น เรายังภูมิใจในพระเจ้า เดชะพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา เดชะพระองค์ บัดนี้พระองค์ทรงทำให้เราคืนดีกับพระเจ้าแล้ว

. การปลดปล่อยให้พ้นจากบาป จากความตาย และจากบทบัญญัติ

อาดัมและพระเยซูคริสตเจ้าf

        12บาปเข้ามาในโลกเพราะมนุษย์คนเดียว และความตายgเข้ามาเพราะบาปฉันใด ความตายก็แพร่กระจายไปถึงมนุษย์ทุกคนเพราะทุกคนทำบาปhฉันนั้น  13ก่อนที่จะมีธรรมบัญญัติ บาปมีอยู่ในโลกแล้ว แต่เมื่อยังไม่มีธรรมบัญญัติก็ไม่นับว่าเป็นบาป 14ถึงกระนั้น ความตายก็มีอานุภาพเหนือมนุษยชาติตั้งแต่อาดัมมาจนถึงโมเสส มีอานุภาพเหนือแม้คนที่ไม่ได้ทำบาปเหมือนกับอาดัมที่ได้ล่วงละเมิด อาดัมเป็นรูปแบบล่วงหน้าiของผู้ที่จะมาในภายหลัง

     15แต่การล่วงละเมิดต่างกับของประทานให้เปล่าถ้ามวลมนุษย์j ต้องตายเพราะการล่วงละเมิดของมนุษย์คนเดียว พระหรรษทานของพระเจ้าและของประทานโดยทางพระหรรษทานจากมนุษย์คนเดียว คือพระเยซูคริสตเจ้า ก็ยิ่งสมบูรณ์ขึ้นสำหรับมวลมนุษย์  16ของประทานต่างกับการล่วงละเมิดของมนุษย์คนเดียวที่ทำบาป บาปของมนุษย์คนเดียวเป็นเหตุให้มนุษยชาติถูกพระเจ้าลงโทษ แต่เมื่อมนุษย์ทำบาปมากแล้ว ของประทานที่ให้เปล่านั้นกลับนำความชอบธรรมมาให้  17ถ้ามนุษย์คนเดียวล่วงละเมิด ทำให้ความตายมีอำนาจปกครองเหนือมนุษยชาติเพราะการล่วงละเมิดของมนุษย์คนเดียวนั้น เดชะพระเยซูคริสตเจ้าพระองค์เดียว ทุกคนที่ได้รับพระหรรษทานอย่างสมบูรณ์และความชอบธรรมเป็นของประทาน ก็ยิ่งจะมีชีวิตและมีอำนาจปกครองมากขึ้น  18ด้วยเหตุนี้ การล่วงละเมิดของมนุษย์คนเดียวเป็นเหตุให้มนุษย์ทุกคนถูกลงโทษฉันใด กิจการชอบธรรมของมนุษย์คนเดียวก็นำความชอบธรรมที่บันดาลชีวิตมาให้มนุษย์ทุกคนฉันนั้น  19มวลมนุษย์กลายเป็นคนบาปเพราะความไม่เชื่อฟังของมนุษย์คนเดียวฉันใด มวลมนุษย์ก็จะเป็นผู้ชอบธรรมkเพราะความเชื่อฟังของมนุษย์คนเดียวฉันนั้น  20ธรรมบัญญัติเข้ามาl เพื่อการล่วงละเมิดจะได้ทวีขึ้น ที่ใดบาปทวีขึ้น ที่นั่นพระหรรษทานก็ยิ่งทวีขึ้นมากกว่า  21ดังนี้ บาปเข้ามามีอำนาจปกครองนำความตายมาให้ฉันใด พระหรรษทานก็จะมีอำนาจปกครองโดยอาศัยความชอบธรรมนำไปสู่ชีวิตนิรันดร เดชะพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราฉันนั้น

5 a เนื้อเรื่องของจดหมายตอนที่ 2 (บทที่ 5-11) กล่าวถึง ความรักของพระเจ้าและของประทานจากพระจิตเจ้าเป็นประกันความรอดพ้นสำหรับคริสตชนที่ได้รับความชอบธรรมแล้ว (ดู บทที่ 1-4) 5:12-7:25 เป็นการเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างอาดัมกับพระคริสตเจ้า ความศักดิ์สิทธิ์และบาป ผลของบาปและผลของความชอบธรรม ฯลฯ ความคิดเรื่องความรักของพระเจ้าจะดำเนินต่อไปในบทที่ 8

b บางฉบับว่า "ให้เรามีสันติ"

c สำหรับคริสตชน ความหวังก็คือการวางใจว่าจะได้รับของประทานแห่งยุคสุดท้าย นั่นคือการกลับคืนชีพของร่างกาย 8:18-23; 1 ธส 4:13ฯ; เทียบ กจ  2:26; 23:6; 24:15; 26:6-8  มรดกอันมั่งคั่งของบรรดานักบุญ     อฟ 1:18; เทียบ 1 ปต 1:3ฯ; ชีวิตนิรันดร ทต 1:2; เทียบ 1 คร 15:19; สิริรุ่งโรจน์ รม 5:2;  กล่าวสั้น ๆ คือความรอดพ้นนั่นเอง 1 ธส 5:8; เทียบ 1 ปต 1:3-5; ทั้งของตัวเองและพี่น้อง 2 คร 1:6ฯ; 1 ธส 2:19; แม้ว่าความหวังหมายถึงคุณธรรมการรอคอยนี้เป็นอันดับแรก แต่ "ความหวัง" ในบางครั้งก็ใช้ในความหมายถึงของประทานที่คาดว่าจะได้รับ กท 5:5;  คส  1:5; ทต 2:13; ฮบ 6:18; ในสมัยก่อน ความหวังนี้ให้แก่อิสราเอล     อฟ 1:11-12; เทียบ ยน 5:45; รม 4:18; และไม่ให้แก่คนต่างชาติ อฟ  2:12; เทียบ 1 ธส 4:13; แต่ความหวังที่พระเจ้าประทานให้แก่อิสราเอลนี้ เป็นขั้นตอนแรกที่นำไปสู่ความหวังที่เหนือกว่า ฮบ 7:19;  ซึ่งเวลานี้ถูกยื่นให้แก่โลกของคนต่างชาติด้วย คส  1:27; อฟ 1:18; เทียบ มธ 12:21; รม 15:12; โดยทาง "ธรรมล้ำลึก" ของพระ คริสตเจ้า  รม 16:25 เชิงอรรถ l;  พื้นฐานของความหวังนี้คือพระเจ้าเอง 6:17; 1 ปต 1:21;  3:5;  ความรักของพระองค์ 2 ธส 2:16;  คำเชื้อเชิญของพระองค์ 1 ปต 1:13-15;  เทียบ  อฟ 1:18;  4:4;  อำนาจของพระองค์  รม 4:17-21; ความสัตย์จริงของพระองค์ ทต 1:2 ฮบ 6:18; ความซื่อสัตย์  ฮบ 10:23; ในการทำตามพระสัญญาที่ได้ประกาศในคำที่เขียนไว้ รม  15:4; และในเรื่องราวของข่าวดี คส 1:23; พระสัญญาที่สำเร็จไปในองค์พระ คริสตเจ้า 1 ทธ 1:1; 1 ปต 1:3,21 ดังนั้น ความหวังจึงไม่ใช่มายา 5:5 และเนื่องจากว่า ของประทานที่เราหวังจะได้รับนั้นอยู่ในอนาคต 8:24; ฮบ 11:1; ความเชื่อจึงสนับสนุนความหวัง รม 4:18; 5:1ฯ; 15:13; กท 5:5    ฮบ 6:11ฯ; 1 ปต 1:21; มีความรักคอยหล่อเลี้ยง รม 5:5; 1 คร 13:7; คุณธรรมทางเทววิทยาสามประการ คือความหวัง ความเชื่อและความรัก จึงสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด บ่อเกิดสูงสุดของความหวังคือพระจิตเจ้า เทียบ กท 5:5 ซึ่งเป็นของประทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุคสุดท้าย โดยส่วนหนึ่งได้ถูกประทานให้แล้ว รม 5:5    เชิงอรรถ e; กจ 1:8 เชิงอรรถ j; พระจิตเจ้านี้ให้ความสว่าง อฟ 1:17ฯ; และเสริมความหวังให้เข้มแข็ง          รม 15:13; เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการภาวนา รม 8:26-27; ก่อให้เกิดเอกภาพของพระกายทิพย์ เพราะความหวังนี้เป็นของทุกคน อฟ 4:4; เนื่องจากว่าความหวังนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความชอบธรรมอาศัยความเชื่อในพระคริสตเจ้า 5:1ฯ เทียบ  กท 5:5; ความหวังนี้จึงมีผลหลายประการ คือความเชื่อมั่นเต็มเปี่ยม 2 คร 3:12; ฮบ 3:6; การบรรเทาใจ 2 ธส 2:16; ฮบ 6:18; ความยินดี รม 12:12; 15:13; 1 ธส 2:19; และเป็นสิ่งที่ควรภูมิใจ รม 5:2; 1 ธส 2:19; ฮบ 3:6; ความทุกข์ทรมานของยุคปัจจุบันนี้เทียบกับความหวังไม่ได้เลย 8:18; ตรงข้าม ความทุกข์ทรมานยังสนับสนุนให้มีความหวังมากขึ้นอีก โดยทำให้เกิดการยืนหยัดมั่นคง 8:25; 12:12; 15:4; 1 ธส 1:3; เทียบ 1 คร 13:7 เป็นการทดสอบ รม 5:4 และทำให้ความหวังเข้มแข็งขึ้น 2 คร 1:7

 

d  พระจิตเจ้าที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้ อฟ 1:13; ดู กจ 2:33 เชิงอรรถ u; กท 3:14; เครื่องหมายบอกลักษณะเฉพาะของพันธสัญญาใหม่เมื่อเทียบพันธสัญญาเดิม รม 2:29; 7:6; อสค 36:27 เชิงอรรถ f; 2 คร 3:6; เทียบ กท 3:3; 4:29; ไม่เป็นเพียงการแสดงอำนาจการรักษาโรคหรือพระพรพิเศษต่าง ๆ เท่านั้น กจ 1:8 เชิงอรรถ j; แต่ยังเป็นบ่อเกิดภายในของชีวิตใหม่ เป็นบ่อเกิดที่พระเจ้าเอง "ประทานให้" 1 ธส 4:8; ฯลฯ; เทียบ ลก 11:13; ยน 3:34; 14:16ฯ; กจ 1:5; 2:38; ฯลฯ; 1ยน 3:24; "ทรงส่ง" กท 4:6; เทียบ ลก 24:49; ยน 14:26; 1ปต 1:12; "ทรงหลั่งลงมา" รม 5:5; ทต 3:5ฯ; เทียบ กจ 2:33; เมื่อคริสตชนได้รับพระจิตเจ้านี้เข้ามาโดยทางความเชื่อ  กท 3:2,14; เทียบ ยน 7:38ฯ; กจ 11:17; และโดยทางศีลล้างบาปแล้ว 1 คร 6:11; ทต 3:5; เทียบ ยน  3:5;  กจ 2:38; 19:2-6; พระองค์ทรงประทับอยู่ในตัวของคริสตชน รม 8:9; 1 คร 3:16; 2 ทธ 1:14; เทียบ ยก 4:5; ในจิตใจของเขา รม 8:16; ดู รม 1:9 เชิงอรรถ e; และแม้กระทั่งในร่างกาย 1 คร 6:19; พระจิตเจ้าองค์นี้ซึ่งเป็นพระจิตของพระคริสตเจ้า 8:9; กท 4:6; ฟป 1:19; เทียบ ยน 14:26; 15:26; 16:7,14; กจ 16:7; 2 คร 3:17 ทำให้คริสตชนเป็นบุตรของพระเจ้า รม 8:14-16; กท 4:6ฯ; และสถาปนาพระคริสตเจ้าขึ้นในดวงใจ อฟ 3:16; สำหรับคริสตชน (เช่นเดียวกับสำหรับพระคริสตเจ้า 1:4 เชิงอรรถ c) พระจิตเจ้านี้ทรงเป็นบ่อเกิดการกลับคืนชีพ 8:11 เชิงอรรถ g; ในฐานะที่เป็นพระพรพิเศษแห่งยุคสุดท้าย แต่ในชีวิตนี้ก็เริ่มทำงานแล้วเหมือนดังเป็นตราประทับ 2 คร 1:22; อฟ 1:13; 4:30; และซึ่งมาประทับอยู่ด้วยเป็นประกัน 2 คร 1:22; 5:5; อฟ 1:14; และเป็นผลแรกของการกลับคืนชีพ รม 8:23; พระจิตเจ้าเข้ามาแทนที่เนื้อหนัง อันเป็นบ่อเกิดความไม่นับถือพระเจ้าในมนุษย์ 7:5 เชิงอรรถ c และกลับเป็นบ่อเกิดความรู้เหนือธรรมชาติ 1 คร 2:10-16; 7:40; 12:8ฯ; 14:2ฯ; อฟ 1:17; 3:16,18; คส 1:9 ดู ยน 14:26 เชิงอรรถ r;  บ่อเกิดความรัก รม 5:5; 15:30; คส 1:8 และการบันดาลให้ศักดิ์สิทธิ์ รม 15:16; 1 คร 6:11; 2 ธส 2:13 เทียบ 1 ปต 1:2; บ่อเกิดความประพฤติดีงาม รม 8:4-9,13;  กท 5:16-25: บ่อเกิดความกล้าหาญในการแพร่ธรรม ฟป 1:19; 2 ทธ 1:7ฯ; ดู กจ 1:8 เชิงอรรถ j; ความหวัง      รม 15:13; กท 5:5; อฟ 4:4; การภาวนา รม 8:26ฯ; เทียบ ยก 4:3,5; ยด 20; เราต้องไม่ดับพระจิตเจ้า          1 ธส 5:19; หรือทำให้พระองค์เศร้าโศก อฟ 4:30; พระจิตเจ้าทรงรวมมนุษย์เข้าเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้า 1 คร 6:17; ดังนี้ จึงทรงเป็นประกันให้เกิดเอกภาพของพระกายทิพย์ 1 คร 12:13; อฟ 2:16,18; 4:4;

e หมายถึง ความรักของพระเจ้าต่อเรา ซึ่งพระจิตเจ้าทรงเป็นประกันและทรงเป็นพยานให้แก่เรา โดยประทับอยู่กับเราและช่วยเหลือเราอยู่เสมอ เทียบ 8:15 และ กท 4:6 ในพระจิตเจ้า เราพูดกับพระเจ้าเยี่ยงบุตรกับบิดา ความรักเป็นการให้และรับ ในพระองค์ก็เช่นกัน ความรักของเราต่อพี่น้องก็คือความรักเดียวกันกับที่พระบิดาทรงรักพระบุตรและทรงรักเรานั่นเอง ดู ยน 17:26; 1 ยน 4:7ฯ ;

f บาป "มีชีวิตอยู่" ในมนุษยชาติ 7:14-24 ความตายซึ่งเป็นผลของบาปได้เข้ามาในโลกเพราะความไม่เชื่อฟังของอาดัม ปชญ 2:24 เพราะฉะนั้น เปาโลจึงสรุปว่า บาปได้เข้ามายังมนุษยชาติโดยทางบาปประการแรกนั้น นี่คือคำสอนเรื่องบาปกำเนิด เปาโลกล่าวถึงเรื่องนั้นที่นี่ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างกิจการของอาดัมคนแรกที่นำไปสู่ความตาย  และการชดเชยที่เหลือเฟือของ "อาดัมคนที่สอง" ข้อ 15-19; 1 คร 15:21ฯ,25 ดังนั้น พระคริสตเจ้าเป็นพระผู้ไถ่ของมนุษยชาติ ดู 1 คร 15:22 เชิงอรรถ m; ในฐานะที่ทรงเป็นหัวหน้าคนใหม่ของมนุษยชาติ เป็นภาพที่พระเจ้าจะทรงใช้เป็นแบบเพื่อสร้างทุกสิ่งขึ้นใหม่ 8:29 เชิงอรรถ n; 2 คร 5:17 เชิงอรรถ h;

g บาปก่อให้เกิดการแยกจากพระเจ้า การแยกนี้คือ "ความตาย" เป็นความตายฝ่ายจิตและตลอดนิรันดร ความตายทางกายเป็นสัญลักษณ์ของความตายฝ่ายจิตนี้ ดู ปชญ 2:24 ฮบ 6:1 เชิงอรรถ b

h ความหมายแท้ ๆ ของวลีนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ อาจจะหมายความว่า 1. "ทุกคนได้ทำบาปในอาดัม" นั่นคือโดยเข้าร่วมมีส่วนในการทำบาปของอาดัม หรือ  2. อาจหมายถึงทุกคนที่ทำบาปโดยตนเอง ในกรณีนี้ วลีที่ใช้ในภาษากรีกน่าจะแปลว่า "เนื่องจากทุกคนได้ทำบาป" ทั้งนี้ หมายถึง สถานการณ์ปัจจุบันซึ่งความตายได้แพร่มาถึงทุกคน ในกรณีของผู้ใหญ่ (เปาโลพิจารณาเรื่องนี้เท่านั้น) อำนาจของบาปซึ่งได้เข้าในโลกพร้อมกับ อาดัม ได้แสดงผลในบาปของแต่ละคน บาปของแต่ละคนนี้รับรองการกบฏของอาดัมอย่างใดอย่างหนึ่ง 3. วลีนี้ยังอาจแปลได้อีกว่า "เพราะบาปนี้ ทุกคนได้ทำบาป"

i "เป็นรูปแบบ" ดู 1 คร 10:6 เชิงอรรถ d; ดังนั้น ความเหมือนจึงไม่สมบูรณ์ การเปรียบเทียบที่เริ่มในข้อ 12 และถูกขัดจังหวะด้วยประโยคที่เข้ามาคั่นตั้งแต่ ข้อ 13-14 กลับเป็นตัวเทียบให้เห็นความแตกต่างใน ข้อ 15

j ต้นฉบับว่า "จำนวนมาก" หมายถึงคนทุกคน ดู ข้อ 18 ดู มธ 20:28 เชิงอรรถ h

k การที่มนุษย์จะรับความชอบธรรมไม่เป็นเพียงเหตุการณ์ในอนาคตอันยาวไกลเมื่อมีการพิพากษาครั้งสุดท้ายเท่านั้น (เพราะเปาโลถือว่าการบันดาลความชอบธรรมเป็นสภาพปัจจุบัน ดู 5:1; ฯลฯ) แต่ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นทีละเล็กละน้อย ขณะที่แต่ละคนเกิดใหม่ในพระคริสตเจ้า

l หมายถึงสภาพการดำเนินชีวิตตามธรรมบัญญัติของโมเสส


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

ศีลล้างบาป

           6  1แล้วเราจะว่าอย่างไร  เราควรจะทำบาปต่อไปเพื่อพระหรรษทานจะได้มากขึ้นกระนั้นหรือ  2หามิได้ เราตายจากบาปแล้ว เรายังจะมีชีวิตอยู่ในบาปต่อไปได้อย่างไรเล่า  3ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือว่า เราทุกคนที่ได้รับศีลล้างบาปเดชะพระคริสตเยซู ก็ได้รับศีลล้างบาปเข้าร่วมกับการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ด้วย  4ดังนั้น เราถูกฝังไว้ในความตายพร้อมกับพระองค์aอาศัยศีลล้างบาป เพื่อว่าพระคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตายเดชะพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดาฉันใด เราก็จะดำเนินชีวิตแบบใหม่ด้วยฉันนั้น  5ถ้าเรารวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ในการสิ้นพระชนม์  เราก็จะรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ในการกลับคืนพระชนมชีพด้วยเช่นกัน  6เรารู้ว่า สภาพเดิมของความเป็นมนุษย์ของเราถูกตรึงกางเขนไว้กับพระองค์แล้ว เพื่อว่าร่างกายที่ใช้ทำบาปของเราจะถูกทำลาย และเราจะไม่เป็นทาสของบาปbอีกต่อไป  7เพราะคนที่ตายแล้ว ก็ย่อมพ้นจากบาป

8แต่cเราเชื่อว่า ถ้าเราตายพร้อมกับพระคริสตเจ้าแล้ว เราก็จะมีชีวิตพร้อมกับพระองค์ด้วย  9เรารู้ว่าพระคริสตเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตายแล้วจะไม่สิ้นพระชนม์อีก ความตายไม่มีอำนาจเหนือพระองค์อีกต่อไป  10เพราะเมื่อสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็ทรงตายครั้งเดียวจากบาปd ตลอดไป เมื่อมีพระชนมชีพก็มีพระ ชนมชีพเพื่อพระเจ้า  11ดังนี้ ท่านทั้งหลายก็เช่นกันต้องถือว่า ท่านตายจากบาปแล้ว แต่มีชีวิตอยู่เพื่อพระเจ้าในพระคริสตเยซูe

บาปต้องไม่เป็นนาย

           12ดังนั้น อย่าให้บาปครอบงำร่างกายที่ตายได้ของท่านf จนท่านต้องยอมตามราคะตัณหาของร่างกาย  13อย่ามอบร่างกายส่วนหนึ่งส่วนใดให้แก่บาปเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำความชั่ว แต่จงถวายตัวของท่านแด่พระเจ้าดุจดังคนที่กลับคืนชีพจากความตายมามีชีวิตใหม่ จงถวายทุกส่วนของร่างกายแด่พระเจ้าเป็นเครื่องมือในการประกอบความชอบธรรม  14บาปจะไม่เป็นนายเหนือท่านอีก เพราะท่านไม่อยู่ใต้อำนาจธรรมบัญญัติอีกแล้ว แต่อยู่ใต้อำนาจพระหรรษทาน

คริสตชนเป็นอิสระจากการเป็นทาสของบาปg

           15จะเป็นอย่างไรต่อไป เราจะทำบาปได้เพราะเราไม่อยู่ใต้อำนาจบทบัญญัติ แต่อยู่ใต้อำนาจพระหรรษทานกระนั้นหรือ หามิได้  16ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือว่า เมื่อท่านมอบตัวเป็นทาสเชื่อฟังนายคนหนึ่ง ท่านก็เป็นทาสของนายคนที่ท่านเชื่อฟังนั้น ไม่ว่านายคนนั้นจะเป็นบาปซึ่งนำไปสู่ความตาย หรือจะเป็นความเชื่อฟังซึ่งนำไปสู่ความชอบธรรมก็ตาม  17ขอบพระคุณพระเจ้าที่ท่านเคยเป็นทาสของบาป แต่ท่านเต็มใจเชื่อฟังพระธรรมคำสอนที่ท่านได้รับมา  18และเมื่อเป็นไทยพ้นจากบาปแล้ว ท่านก็มาเป็นทาสรับใช้ความชอบธรรม  19ข้าพเจ้าขอพูดตามวิสัยมนุษย์เพราะท่านยังเป็นคนอ่อนแอ แต่เมื่อก่อนนี้ ท่านได้มอบร่างกายเป็นทาสของความโสมมและความอธรรมซ้ำแล้วซ้ำอีกฉันใด บัดนี้ ท่านจงมอบร่างกายให้เป็นทาสของความชอบธรรม เพื่อจะได้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์hฉันนั้นเถิด

ผลของบาปและผลของความชอบธรรม

           20เมื่อท่านยังเป็นทาสของบาปอยู่ ท่านมิได้อยู่ในอำนาจของความชอบธรรมเลย  21และเวลานั้น ท่านได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการทำความชั่วเช่นนั้น ซึ่งบัดนี้ทำให้ท่านต้องอับอาย จุดจบของกิจการเหล่านั้นคือความตาย  22แต่บัดนี้ท่านได้รับอิสระจากบาปมาเป็นทาสรับใช้พระเจ้าแล้ว ท่านได้รับประโยชน์อันนำไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ ผลสุดท้ายก็คือชีวิตนิรันดร  23เพราะ ค่าตอบแทนที่ได้จากบาปคือ ความตาย ส่วนของประทานที่พระเจ้าประทานให้เปล่า คือชีวิตนิรันดรในพระคริสตเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา

6 a ศีลล้างบาปไม่ขัดกับความเชื่อ แต่ควบคู่กัน กท 3:26ฯ; อฟ 4:5; ฮบ 10:22; เทียบ กจ 8:12ฯ,37; 16:31-33; 18:8; 19:2-5; และเป็นการแสดงความเชื่อออกมาภายนอกโดยทางพิธีของศีลล้างบาป เพราะฉะนั้น เปาโลจึงถือว่าความเชื่อและศีลล้างบาปให้ผลเดียวกัน (เทียบ รม 6:3-9; และ กท 2:16-20)  คนบาปถูกจุ่มลงในน้ำ(ความหมายตามนิรุกติศาสตร์ของคำว่า baptise คือ จุ่ม) และดังนั้นจึง "ถูกฝัง" ไว้พร้อมกับพระคริสตเจ้า     คส 2:12 และพร้อมกับพระองค์คริสตชนจะโผล่ขึ้นมีชีวิตใหม่เช่นเดียวกัน รม 8:11 เชิงอรรถ g; เป็น "สิ่งสร้างใหม่"  2 คร 5:17 เชิงอรรถ h; เป็น "บุคคลใหม่"  อฟ 2:15 เชิงอรรถ n; เป็นสมาชิกของพระกายทิพย์ที่ได้รับชีวิตจากพระจิตเจ้าองค์เดียวกัน 1 คร 12:13; อฟ 4:4ฯ; การกลับคืนชีพนี้จะไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์หรือบรรลุถึงขั้นสุดท้ายจนกว่าจะถึงวันสิ้นพิภพ 1 คร 15:12; (แต่ ดู อฟ 2:6 เชิงอรรถ e ด้วย) แต่เริ่มเกิดขึ้นแล้วในรูปแบบของชีวิตใหม่ที่ดำเนินไปในพระจิตเจ้า" รม 8:2 เชิงอรรถ f,8-11,13; กท 5:16-24 สัญลักษณ์ความตายการกลับคืนชีพของศีลล้างบาปเป็นความคิดเฉพาะของเปาโล แต่มีการพูดถึงพิธีเข้าเป็นคริสตชนนี้ ฮบ 6:2 ในหนังสืออื่น ๆ ของพันธสัญญาใหม่ว่าเป็นการล้างชำระให้สะอาด อฟ  5:26; ฮบ 10:22; เทียบ 1 คร 6:11; ทต 3:5; เป็นการเกิดใหม่ ยน 3:5; ทต 3:5 เทียบ 1 ปต 1:3; 2:2; เป็นการส่องสว่างด้วย ฮบ 6:4; 10:32; เทียบ        อฟ 5:14; เกี่ยวกับการล้างด้วยน้ำ และการล้างด้วยพระจิตเจ้า เทียบ กจ 1:5  เชิงอรรถ f ถือว่าเป็นการมองการเจิมถวายคริสตชนทั้งสองด้าน คือ "การเจิม" และการ "ประทับตรา" ของ 2 คร 1:21ฯ; ตามความคิดของ   1 ปต 3:20-21 สำเภาของโนอาห์เป็นรูปแบบของศีลล้างบาปด้วย

b อาจมีความหมายว่า เราไม่มีเครื่องมือสำหรับทำบาปอีก เพราะได้สูญเสีย "ร่างกายที่ใช้ทำบาป" แล้ว ข้อ 6 หรือเพราะไม่อยู่ในเนื้อหนังอีก 8:9 และดังนี้จึงเป็นอิสระจากบาปตลอดไป เทียบ 1 ปต 4:1 หรืออาจมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่าตามกฎหมาย ความตายของจำเลยทำให้คดีสิ้นสุด เทียบ 7:1

c บางฉบับว่า "เพราะ"

d พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ไม่มีบาป 2 คร 5:21; แต่การที่ทรงมีร่างกายเหมือนกับเรา รม 8:3; พระองค์ก็อยู่ในระบอบของบาป เมื่อทรงกลับคืนพระชนมชีพและร่างกายเป็นจิตแล้ว 1 คร 15:45-46; พระองค์ก็อยู่แต่ในระดับของพระเจ้า ในทำนองเดียวกัน คริสตชนเราแม้ว่าจะยังคงอยู่ "ในเนื้อหนัง" อีกชั่วระยะหนึ่ง แต่ก็ดำเนินชีวิตโดยทางพระจิตเจ้าแล้ว

e ต้นฉบับที่ยอมรับทั่วไปมีว่า "พระคริสตเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา" เทียบ 14:7ฯ; 1 คร 3:23 เชิงอรรถ h;
2 คร 5:15; กท 2:20; 1 ปต 2:24

f แม้ศีลล้างบาปจะได้ทำลายบาปแล้ว แต่ตราบใดที่ร่างกายยังไม่ "สวมความเป็นอมตะ" 1 คร 15:54; บาปก็ยังมีทางที่จะกำเริบขึ้นมาอีกใน "ร่างกายที่ตายได้" ซึ่งยังคงมีความโน้มเอียงตามประสามนุษย์

g พระคริสตเจ้าได้ทรงปลดปล่อยมนุษย์จากความชั่วร้าย เพื่อคืนเขาให้กับพระเจ้า เปาโลพัฒนาความคิดของพระคัมภีร์เกี่ยวกับ "การไถ่" 3:24 เชิงอรรถ j; และการปลดปล่อยจากความตาย 7:1 เชิงอรรถ b; และเพื่อจะอธิบายความหมายของการไถ่กู้ให้ชัดเจนขึ้น ท่านได้ใช้การอุปมา ที่มีความหมายสำหรับผู้ร่วมสมัย คือ ทาสที่ได้รับการไถ่และเป็นอิสระแล้วจะเป็นทาสต่อไปอีกไม่ได้ แต่จะต้องรับใช้เจ้านายใหม่ด้วยความสมัครใจและด้วยความซื่อสัตย์ พระคริสตเจ้าได้สละชีวิตของพระองค์เป็นเหมือนค่าไถ่ตัวเรา 1 คร 6:20; 7:23; กท 3:13; 4:5; และได้ทรงทำให้เราเป็นอิสระอย่างถาวร กท 5:1,13; คริสตชนเองจะต้องระวังไม่ปล่อยให้ตนเองถูกจับโดยนายเก่า กท 2:4ฯ; 4:9; 5:1; ซึ่งได้แก่บาป รม 6:18-22; ธรรมบัญญัติ รม 6:14; 8:2; กท 3:13; 4:5; เทียบ รม 7:1ฯ พร้อมกับการถือพิธีต่าง ๆ กท 2:4; เจ้าแห่งโลกนี้ กท 4:3,8; ดู คส 2:20-22; และความเสื่อมทางศีลธรรม รม 8:21-23; คริสตชนเป็นอิสระ 1 คร 9:1 เป็นบุตรจากมารดาที่เป็นอิสระ นั่นคือ นครเยรูซาเล็มทางจิต           กท 4:26,31 อิสรภาพนี้ไม่ใช่การปล่อยตัวทำบาป กท 5:13 เทียบ 1 ปต 2:16; 2 ปต 2:19-21 แต่หมายถึงการรับใช้เจ้านายใหม่ คือพระเจ้า 6:22 เทียบ 1 ธส 1:9; 1 ปต 2:16 พระเยซูคริสตเจ้า รม 1:1; 14:8; 16:8;       ยก 1:1; 2 ปต 1:1; ยด 1; ฯลฯ ซึ่งเวลานี้ คริสตชนเป็นของพระองค์แล้ว 1 คร 6:19; 3:23 และเขาจะดำเนินชีวิตและตายเพื่อพระองค์ รม 7:1 เชิงอรรถ b การรับใช้ด้วยความเชื่อฟังนี้เกิดขึ้นโดยความเชื่อซึ่งนำไปสู่ความชอบธรรมและความศักดิ์สิทธิ์  รม 6:16-19 นี่เป็นอิสรภาพที่บุตรคนหนึ่งจะพึงมี กท 4:7 เมื่อถูกปล่อยให้เป็นอิสระโดยทางกฎของพระจิตเจ้าแล้ว รม 8:2 เทียบ 7:6; 8:14ฯ; 2 คร 3:17 (และดู ยก 1:25; 2:12) และเขาต้องเตรียมใจที่จะยอมมอบอิสรภาพนี้เพื่อรับใช้พี่น้องของเขาในความรัก กท 5:13 เทียบ 2 คร 4:5 และเพื่อเคารพต่อมโนธรรมอ่อนไหวของบางคนด้วย รม 14; 1 คร 10:23-33 เทียบ 1 คร 6:12-13; 1 คร 9:19; การมีทาสเป็นสถาบันทางสังคมอาจพออนุโลมให้มีได้ในสังคมที่จะผ่านพ้นไป 1 คร 7:20-24,31; แต่ไม่มีความหมายใด ๆ ในระบอบใหม่ที่พระคริสตเจ้าทรงสถาปนาขึ้น 1 คร 12:13; กท 3:28; คส 3:11; ทาสที่เป็นคริสตชนได้รับการปลดปล่อยโดยพระคริสตเจ้า และทั้งทาสและนายต่างเป็นคนใช้ของพระคริสตเจ้าเช่นเดียวกัน 1 คร 7:22; เทียบ   อฟ 6:5-9; คส 3:22-4:1; ฟม 16;

h ความศักดิ์สิทธิ์เฉพาะของพระเจ้า ลนต 17:1 เชิงอรรถ a  ซึ่งพระองค์ประทานแก่ประชากรของพระองค์   อพย 19:3 เชิงอรรถ c; และข้อ 6 ก็ได้ประทานให้แก่ผู้ที่เชื่อในพระคริสตเจ้า กจ 9:13 เชิงอรรถ g; คส 1:12 เชิงอรรถ c; ถ้าในอดีตความศักดิ์สิทธิ์เป็นเพียงพิธีภายนอก บัดนี้ไม่เป็นเช่นนั้นอีกแล้ว แต่เป็น "การกลายเป็นเหมือนกับพระคริสตเจ้า องค์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า" คริสตชนที่เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์เพราะได้รับความชอบธรรม และเป็นสมาชิกของประชากรศักดิ์สิทธิ์ มีพระจิตเจ้าเข้าพำนักอยู่ในตัวแล้ว 5:5 เชิงอรรถ c ยังจะต้องแสดงความศักดิ์สิทธิ์ให้ปรากฏออกมาในกิจการต่าง ๆ ของชีวิต และต้องก้าวหน้าในความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง ๆ ขึ้น ข้อ 22; 1 ธส 4:3-7, ดู 4:3 เชิงอรรถ c; 2 ธส 2:13


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

คริสตชนเป็นอิสระจากธรรมบัญญัติa

         7  1พี่น้องทั้งหลาย ในฐานะที่ท่านรู้จักธรรมบัญญัติ ท่านไม่รู้หรือว่า ธรรมบัญญัติมีอำนาจเหนือมนุษย์ตราบเท่าที่เขายังมีชีวิตอยู่b  2ตัวอย่างเช่น หญิงที่แต่งงานแล้วก็มีพันธะทางกฎหมายต่อสามีตราบที่สามียังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อสามีถึงแก่กรรม นางก็พ้นพันธะทางกฎหมายต่อสามีนั้น  3ถ้านางมีสัมพันธ์กับชายอื่น ขณะสามียังมีชีวิตอยู่ นางจะได้ชื่อว่ามีชู้ แต่ถ้าสามีถึงแก่กรรมแล้ว นางก็พ้นจากพันธะทางกฎหมาย และไม่เป็นหญิงมีชู้ถ้านางมีสัมพันธ์กับชายอื่น  4ในทำนองเดียวกัน พี่น้องทั้งหลาย ท่านตายจากธรรมบัญญัติแล้วโดยพระกายของพระคริสตเจ้า ท่านจึงเป็นของคนอื่นได้ นั่นคือเป็นของพระองค์ผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย เพื่อชีวิตของเราจะเกิดผลดีถวายแด่พระเจ้าได้  5ขณะที่ยังดำเนินชีวิตตามธรรมชาติมนุษย์c ราคตัณหาที่ชวนให้ทำบาปก็แสดงพลังอยู่ในทุกส่วนของร่างกายของเราอาศัยธรรมบัญญัติ เพื่อส่งผลสู่ความตาย  6บัดนี้ เราพ้นจากธรรมบัญญัติแล้ว เพราะตายจากสิ่งที่พันธนาการเราไว้ เพื่อเราจะได้รับใช้ในแบบใหม่ตามพระจิตเจ้า ไม่ใช่ในแบบเก่าตามตัวอักษรของบทบัญญัติ

บทบาทของธรรมบัญญัติd

         7แล้วเราจะพูดอะไรอีก   จะพูดว่าธรรมบัญญัติเป็นบาปหรือ ไม่ใช่แน่นอน ถ้าไม่มีธรรมบัญญัติ ข้าพเจ้าก็คงไม่รู้จักบาป ตัวอย่างเช่น ถ้าธรรมบัญญัติไม่ได้บอกว่า อย่าโลภ ข้าพเจ้าคงไม่รู้ว่าความโลภคืออะไร  8แต่เมื่อธรรมบัญญัติเปิดโอกาสให้  บาปจึงถือโอกาสทำให้ความโลภทุกชนิดกำเริบขึ้นในตัวข้าพเจ้า เพราะถ้าไม่มีธรรมบัญญัติ บาปก็เหมือนยังตายอยู่

9ในอดีต เมื่อยังไม่มีธรรมบัญญัติ ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่e แต่เมื่อมีธรรมบัญญัติ บาปกลับฟื้นคืนชีพ  10และข้าพเจ้าก็ตาย ข้าพเจ้าพบว่าธรรมบัญญัติซึ่งมีไว้เพื่อนำชีวิตนั้น กลับนำความตายมาให้  11เพราะบาปซึ่งฉวยโอกาสจากธรรมบัญญัติ หลอกลวงข้าพเจ้าและใช้ธรรมบัญญัตินั่นเองฆ่าข้าพเจ้า

        12ดังนั้น ธรรมบัญญัติย่อมศักดิ์สิทธิ์ และพระบัญญัติก็ย่อมดีศักดิ์สิทธิ์และยุติธรรม  13เพราะฉะนั้น สิ่งดีกลายเป็นความตายสำหรับข้าพเจ้าหรือ หามิได้ บาปfนั่นแหละ ที่อาศัยสิ่งดีเป็นสื่อนำความตายมาให้ข้าพเจ้าเพื่อแสดงความเป็นบาปมากขึ้น ดังนั้น เมื่อบาปอาศัยพระบัญญัติ บาปก็ยิ่งแสดงตนเป็นสิ่งชั่วร้ายหาขอบเขตมิได้

การต่อสู้ภายในg

         14เรารู้ว่า ธรรมบัญญัติเป็นเรื่องของฝ่ายจิต แต่ข้าพเจ้ามีธรรมชาติมนุษย์ที่ถูกขายเป็นทาสของบาป  15ข้าพเจ้าไม่เข้าใจสิ่งที่ข้าพเจ้ากระทำ สิ่งที่ข้าพเจ้าอยากทำข้าพเจ้ากลับไม่ทำ สิ่งที่ข้าพเจ้าไม่อยากทำข้าพเจ้ากลับทำ  16ถ้าข้าพเจ้าทำสิ่งที่ข้าพเจ้าไม่อยากทำข้าพเจ้าก็ยอมรับว่าธรรมบัญญัตินั้นดี  17ดังนั้น จึงไม่ใช่ข้าพเจ้าที่กระทำกิจการนั้น แต่เป็นบาปซึ่งอาศัยในตัวข้าพเจ้า  18เพราะข้าพเจ้ารู้ว่าในตัวข้าพเจ้านั้น ธรรมชาติมนุษย์ของข้าพเจ้าไม่มีความดีอยู่เลย เพราะความปรารถนานั้นมีอยู่แล้ว แต่ขาดพลังที่จะกระทำ  19เพราะ ข้าพเจ้าไม่ทำความดีที่ข้าพเจ้าปรารถนา กลับทำความชั่วที่ไม่ปรารถนาจะทำ  20ถ้าข้าพเจ้าทำสิ่งที่ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาจะทำ การกระทำนั้นก็มิใช่การกระทำที่แท้จริงของข้าพเจ้า แต่เป็นการกระทำของบาปซึ่งแฝงอยู่ในตัวข้าพเจ้าh

21ข้าพเจ้าจึงพบกฎนี้ว่าi เมื่อใดที่ข้าพเจ้าอยากทำดี เมื่อนั้นความชั่วก็มาอยู่ใกล้ข้าพเจ้าเสมอ  22ในส่วนลึกของจิตใจj ข้าพเจ้านิยมชมชอบธรรมบัญญัติของพระเจ้าk  23แต่ข้าพเจ้าเห็นว่า มีกฎอีกข้อหนึ่งในร่างกายของข้าพเจ้า ซึ่งสู้รบกับกฎแห่งจิตใจของข้าพเจ้า และล่ามข้าพเจ้าไว้กับกฎของบาปซึ่งอยู่ในร่างกายของข้าพเจ้า

24ข้าพเจ้าช่างเป็นคนน่าสมเพชจริงๆ ใครจะช่วยดึงข้าพเจ้าออกมาให้พ้นจากร่างกายที่จะต้องตายนี้เล่าl  25ขอขอบพระคุณพระเจ้า เดชะพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา

ดังนั้น ในส่วนลึกของจิตใจm ข้าพเจ้ารับใช้ธรรมบัญญัติของพระเจ้า แต่ในธรรมชาติที่บกพร่อง ข้าพเจ้ากลับรับใช้กฎของบาปn

7 a บัดนี้เปาโลเริ่มพิจารณาเรื่องที่อยู่ในความคิดของตนมานานแล้ว 3:20; 4:15; 5:20; 6:14 นั่นคือการที่คริสตชนหลุดพ้นจากธรรมบัญญัติ และนี่ทำให้เปาโลต้องอธิบายบทบาทของธรรมบัญญัติตามที่พระเจ้าทรงตั้งไว้ ดู เชิงอรรถ d

b ในที่อื่น ๆ เปาโลพูดวถึงการปลดปล่อยคริสตชน ทั้งในรูปแบบของพระคัมภีร์ว่าเป็น "การไถ่กู้" 3:24 เชิงอรรถ j; ทั้งรูปแบบของกรีกว่าเป็น "การปล่อยทาส" 6:15 เชิงอรรถ g บ่อยครั้งเปาโลยังบรรยายการปลดปล่อยนี้ว่าเป็นการช่วยให้พ้นโดยทางความตาย ทั้งนี้เนื่องจากความตายทำให้คนหนึ่งเป็นอิสระจากอดีตพร้อมกับข้อเรียกร้องที่กดขี่ของมัน 6:7; 7:1-3; คริสตชนร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าผู้สิ้นพระชนม์และกลับคืนพระชนมชีพ 8:11 เชิงอรรถ g; และอาศัยความเชื่อ 1:16 เชิงอรรถ h; และศีลล้างบาป 6:4 เชิงอรรถ a; บัดนี้จึงตายต่อบาป 6:2,11 เทียบ 1 ปต 4:1; ต่อธรรมบัญญัติ รม 7:6; กท 2:19 เชิงอรรถ l; ต่อเจ้าของโลกนี้         คส 2:20; ดังนั้น จึงดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้ระบบใหม่ของพระหรรษทานและพระจิตเจ้า รม 8:5-13 ทาสที่หลุดพ้นและเป็นทาสของเจ้านายคนใหม่ฉันใด 6:15 เชิงอรรถ g;  คริสตชนที่กลับคืนชีพในพระคริสตเจ้า ก็ไม่ดำเนินชีวิตเพื่อตนเองอีกต่อไปฉันนั้น แต่ดำเนินชีวิตเพื่อพระคริสตเจ้าและเพื่อพระเจ้า  6:11-13; 14:7ฯ เทียบ         2 คร 5:15; กท 2:20

c แปลตามตัวอักษรได้ว่า "ในเนื้อหนัง"

  1. 1. ความหมายแรกของ "เนื้อหนัง" คือสสารที่ประกอบเป็นร่างกาย 1 คร 15:39; เทียบ ลก 24:39; วว 17:16; 19:18 เป็นส่วนที่ตรงข้ามกับจิต รม 1:9 เชิงอรรถ e; หมายถึงร่างกายพร้อมกับประสาทสัมผัส คส 2:1,5; และโดยเฉพาะเป็นเครื่องมือสำหรับเพศสัมพันธ์ 1 คร 6:16; 7:28; อฟ 5:29,31; เทียบ มธ 19:5//; ยน 1:13; ยด 7; ที่ทำให้มนุษย์เราเป็นบิดามารดาและทายาท รม 4:1; 9:3,5; 11:14 เทียบ ฮบ 12:9; ดังนั้น เนื้อหนัง มีความหมายคล้ายกันกับคำว่า basar ในภาษาพระคัมภีร์ และเน้นถึงส่วนที่อ่อนแอและเสื่อมสลายได้ของมนุษย์ 6:19; 2 คร 7:5; 12:7; กท 4:13ฯ เทียบ มธ 26:41 //; และความไม่สลักสำคัญของมนุษย์เมื่อเทียบกับพระเจ้า รม 3:20 และ กท 2:16; 1 คร 1:29; เทียบ มธ 24:22 //; ลก 3:6; ยน 17:2; กจ 2:17; 1 ปต 1:24  ดังนั้น เพื่อจำแนกสิ่งที่เป็นส่วนของธรรมชาติมนุษย์ออกจากสิ่งที่เป็นของพระหรรษทาน จึงใช้ "ตามเนื้อหนัง"  ในความหมายตามประสามนุษย์ 1 คร 1:26; 2 คร 1:17 อฟ 6:5; เทียบ ยน 8:15; ฟม 16; หรือใช้ว่า "เนื้อและเลือด" 1 คร 15:50; กท 1:16; อฟ 6:12;  ฮบ 2:14; เทียบ มธ 16:17; และ "ในทางเนื้อหนัง" 1 คร 3:1,3; 9:11; 2 คร 1:12; 10:4
  2. 2. เนื่องจากการส่งพระจิตเจ้าเป็นลักษณะยุคสุดท้ายนี้ เปาโลจึงใช้คำว่า "เนื้อหนัง" เพื่อหมายถึงระบบเก่า ตรงกันข้ามกับระบบใหม่ 9:8; ยน 3:6; 6:63; กท 3:3; 6:12ฯ; ฟป 3:3ฯ; อฟ 2:11; เทียบ ฮบ 9:10,13 และทำนองเดียวกันยังใช้วลีว่า "ตามเนื้อหนัง" 2 คร 11:18; กท 4:23,29; เทียบ รม 1:3ฯ;         2 คร 5:16; และแบบเนื้อหนัง ฮบ 7:16; แต่ดู 1 คร 10:3ฯ ด้วย 
  3. 3. สำหรับเปาโล คำว่า "เนื้อหนัง" ยังมีความหมายพิเศษ หมายถึงแวดวงที่ราคตัณหาและบาปทำงานอยู่ 7:5,14,18,25; 13:14; 2 คร 7:1; กท 5:13,19; อฟ 2:3; คส 2:13,18,23; เทียบ 1 ปต 2:11; 2 ปต 2:10,18; 1 ยน 2:16; ยด 8,23; เพื่อจะต้องรับโทษให้เสื่อมสลาย 1 คร 15:50; กท 6:8; เทียบ กจ 2:26-27,31; ยก 5:3; และตาย รม 8:6,13; 1 คร 5:5; 2 คร 4:11; ดู 1 ปต 4:6; จนกระทั่งว่า "เนื้อหนัง" ถูกสมมติราวกับเป็นบุคคล เป็นอำนาจของความชั่วที่เป็นศัตรูกับพระเจ้า รม 8:7ฯ และกับพระจิต รม 8:4-9,12ฯ; กท 5:16ฯ พระคริสตเจ้าได้เอาชนะอำนาจนี้ด้วยการรับเอา "เนื้อหนังที่เป็นบาป" 8:3; เทียบ ยน 1:14; 1 ทธ 3:16; 1 ยน 4:2; 2 ยน 7; และนำเนื้อหนังนี้ไปสู่ความตายบนไม้กางเขน รม 8:3; อฟ 2:14-16; คส 1:22; เทียบ ฮบ 5:7ฯ; 10:20; 1 ปต 3:18; 4:1; เพราะคริสตชนเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ ยน 6:51ฯ พวกเขาจึงไม่อยู่ "ในเนื้อหนังอีกต่อไป" รม 7:5; 8:9; เนื่องจากกพวกเขาได้ตรึงเนื้อหนังไว้กับไม้กางเขน กท 5:24; เทียบ 1 ปต 4:1; และขจัดทิ้งไปโดยทางศีลล้างบาป คส 2:11; หรือจะให้ตรงกว่านั้นคือ พวกเขา "ยังอยู่ในเนื้อหนัง" ตราบเท่าที่ยังอยู่ในโลกนี้ ฟป 1:22-24; เทียบ 1 ปต 4:2; แต่ไม่เป็นทาสของเนื้อหนังอีกต่อไป 2 คร 10:3; พวกเขาเป็นนายของเนื้อหนังอาศัยการเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าโดยทางความเชื่อ กท 2:20; และการทรมาน คส 1:24; ในเชิงอรรถทางเทววิทยานี้ เพื่อความกระจ่างเราใช้คำว่า "เนื้อหนัง" ตลอด แต่ในการแปลตัวบทพระคัมภีร์ มีการใช้หลายคำที่แตกต่างออกไปเช่น "ร่างกาย" "ธรรมชาติมนุษย์" "ประสามนุษย์" "อุดมการณ์ประสามนุษย์" "ความโน้มเอียงตามธรรมชาติ" "การสืบเชื้อสาย" ฯลฯ เพื่อให้เห็นแง่มุมต่าง ๆ ของมโนภาพนี้

d ธรรมบัญญัติเองนั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และดี เนื่องจากแสดงพระประสงค์ของพระเจ้า 7:12-25; 1 ทธ 1:8; อีกทั้งยังเป็นสิทธิพิเศษที่เป็นเกียรติของอิสราเอลอีกด้วย รม 9:4; แต่ดู 2:14ฯ ถึงกระนั้นดูเหมือนว่าธรรมมบัญญัติได้ประสบความล้มเหลว เพราะแม้จะมีธรรมบัญญัติชาวยิวก็ยังเป็นคนบาปเหมือนกับคนอื่น ๆ ทุกคน 2:21-27; กท 6:13; อฟ 2:3; และการถือตามธรรมบัญญัติยังทำให้พวกเขามีความมั่นใจเกินไป  รม 2:17-20; 3:27; 4:2,4; 9:31ฯ; ฟป 3:9; อฟ 2:8; จนว่าพวกเขาถูกธรรมบัญญัติปิดกั้นไว้ไม่ให้รับพระหรรษทานของพระคริสตเจ้า กท 6:12; ฟป 3:18; เทียบ กจ 15:1 กล่าวสั้น ๆ  ก็คือ ธรรมบัญญัตติไม่มีอำนาจที่จะทำให้ผู้ใดเป็นคนชอบธรรมได้ 3:20; กท 3:11,21ฯ; เทียบ ฮบ 7:19; เหตุผลที่เปาโลอ้างเพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม  มีลักษณะเหมือนขัดกับความจริง คือ การที่ธรรมบัญญัติดูเหมือนจะล้มเหลวเกิดขึ้นเนื่องจากธรรมชาติของธรรมบัญญัติเองและเนื่องจากบทบาทของธรรมบัญญัติในประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น ธรรมบัญญัติให้ความรู้แต่ไม่ได้ให้กำลังฝ่ายจิต ไม่มีกฎหมายข้อใด ไม่ว่าจะเป็นของโมเสสหรือกฎหมายอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งบัญญัติแรกที่ให้แก่อาดัมเอง ดู 9-11; สามารถป้องกันบาปได้ อันที่จริง กฎหมายทำให้บาปเลวร้ายยิ่งขึ้น เพราะว่า

1) แม้ว่ากฎหมายจะไม่ใช่แหล่งที่มาของบาป แต่ก็เป็นเครื่องมือของบาปโดย "ทวีการละเมิดให้มากขึ้น" 7:7ฯ;

2) กฎหมายให้ความรู้แก่สติปัญญา จึงทำให้มีความผิดมากขึ้น เพราะทำให้เป็นการล่วงละเมิดโดยจงใจ 4:15; 5:13;

3) วิธีแก้ไขที่กฎหมายให้ไว้แต่เพียงอย่างเดียว คือการลงโทษ  4:15; การสาปแช่ง กท 3:10; การกล่าวโทษ 2 คร 3:9; ความตาย 2 คร 3:6; ดังนั้น จึงอาจเรียกกฎหมายได้ว่า "เป็นกฎแห่งบาปและความตาย" รม 8:2; เทียบ รม 7:13; 1 คร 15:56; อย่างไรก็ตาม พระเจ้ามีพระประสงค์ให้มีระบบที่ยังไม่สมบูรณ์นี้ เป็นช่วงของการอบรมชั่วคราว กท 3:24; เพื่อทำให้มนุษย์รู้สำนึกถึงบาปของตน รม 3:19ฯ; 5:20; กท 3:19; และสอนพวกเขาให้แสวงหาความชอบธรรมโดยทางพระหรรษทานของพระเจ้าเท่านั้น รม 11:32; กท 3:22 เนื่องจากว่าสถานการณ์เช่นนี้เป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราว จึงจะต้องเปิดทางรับความสมบูรณ์ของพระสัญญาที่ได้ให้ไว้แก่อับราฮัมและลูกหลานของเขาก่อนที่จะมีธรรมบัญญัติ กท 3:6-22; รม 4  พระคริสตเจ้าได้ทำให้ธรรมบัญญัติจบสิ้นลง อฟ 2:15; เทียบ รม 10:4; โดยทำให้ทุกสิ่งในธรรมบัญญัติที่เป็นคุณค่าทางบวก รม 3:31; 9:31; บรรลุถึงความสมบูรณ์ ดู มธ 3:15; 5:17 โดยการสิ้นพระชนม์ ซึ่งแสดงความรักของพระองค์อย่างสูงสุด รม 5:8; 8:35,39; กท 2:20; ฟป 2:5-8; และทรงตอบสนองข้อเรียกร้องของธรรมบัญญัติแทนคนบาป ซึ่งพระองค์ทรงทำพระองค์ให้เหมือนกับพวกเขานั่นเอง รม 8:3 เชิงอรรถ c; กท 3:13 เชิงอรรถ e; คส 2:14; พระองค์ช่วยทำให้บุตรพ้นจากการดูแลของผู้ปกครอง กท  3:25ฯ; พร้อมกับพระองค์ พวกเขาตายต่อธรรมบัญญัติ  7:4-6; กท 2:19; เทียบ คส 2:20; พระองค์ได้ทรงไถ่พวกเขาจากธรรมบัญญัติ กท 3:13; เพื่อทำให้พวกเขาเป็นบุตรบุญธรรม กท 4:5; โดยทางพระจิตเจ้าที่ได้สัญญาไว้ พระองค์ประทานให้มนุษยชาติที่ได้รับการฟื้นฟูดังกล่าว อฟ 2:15 เชิงอรรถ n ให้มีกำลังภายในที่จะประกอบความดีตามที่ธรรมบัญญัติกำหนดไว้ รม  8:4ฯ; ระบบพระหรรษทานนี้เข้ามาแทนที่ระบบพระบัญญัติเดิม ยังอาจจะเรียกว่าเป็นกฎหมายได้ แต่เป็น "กฎของความเชื่อ" 3:27; เป็น "กฎของพระคริสตเจ้า" กท 6:2; "กฎของพระจิตเจ้า" รม 8:2; และมีความรักเป็นคำสั่งที่สำคัญที่สุด รม 13:8-10; กท 5:14; เทียบ ยน 13:34; ยก 2:8 ซึ่งเป็นการมีส่วนในความรักของพระบิดาและพระบุตร รม 5:5 เชิงอรรถ d; กท 4:6

e เปาโลพูดในนามของมนุษยชาติก่อนที่พระเจ้าจะประทานธรรมบัญญัติให้ เทียบ 5:13

f พูดถึงบาปเหมือนกับเป็นบุคคลหนึ่ง เทียบ 5:12 ในที่นี้บาปแทนที่ของงู ใน ปฐก 3:1; และแทนปีศาจ ใน     ปชญ 2:24

g ที่นี่ เปาโลพูดในนามของมนุษยชาติซึ่งยังอยู่ใต้อำนาจของบาปและยังไม่ได้รับความชอบธรรม แต่ในบทที่ 8 เขาพูดในนามของคริสตชนที่ได้รับความชอบธรรมแล้ว เดชะพระคุณของพระจิตเจ้า อย่างไรก็ตามคริสตชนก็ยังตระหนักถึงการต่อสู้ภายในขณะที่ยังอยู่ในโลกนี้ กท 5:17ฯ

h เปาโลไม่ได้ปฏิเสธความรับผิดชอบส่วนตัวสำหรับความผิด หรือความดีที่กระทำ เทียบ กท 2:20

i "กฎ" ในความหมายของประสบการณ์ตามปกติ

j "ส่วนลึก" เป็นส่วนของมนุษย์ที่คิดตามเหตุผล ซึ่งต่างกับ "ส่วนนอก" 2 คร 4:16 คือร่างกายที่เสื่อมสลายได้ การแยกแยะนี้ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากความคิดของกรีกไม่เหมือนกันกับการแยกแยะระหว่าง "สภาพคนเก่า" และ "สภาพคนใหม่" คส 3:9-10 เชิงอรรถ e  ซึ่งมาจากความคิดเกี่ยวกับอวสานกาลของยิว แต่มีบางตอนที่เปาโลพูดถึง "ส่วนลึก" ในความหมายของ "คนใหม่" 2 คร 4:16; อฟ 3:16

k บางฉบับว่า “กฎแห่งจิตใจ” เช่นเดียวกับในข้อ 23

l แปลตามตัวอักษรได้ว่า "จากร่างกายของความตายนี้" เปาโลสนใจกับร่างกายและองค์ประกอบของร่างกาย 12:4; 1 คร 12:12,14ฯ; นั่นคือสนใจกับตัวมนุษย์อย่างที่เป็นอยู่ คือมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งสร้างที่มีความรับรู้            1 คร 5:3; 2 คร 10:10 พร้อมกับสมรรถภาพทางเพศ รม 4:19; 1 คร 6:16; 7:4; อฟ 5:28 เพราะว่าในร่างกายนี้เท่านั้นที่มนุษย์เราดำเนินชีวิตทางศีลธรรมและทางศาสนา ร่างกายนี้แม้จะเป็นทาสของ "เนื้อหนัง" (เท่ากับ ธรรมชาติมนุษย์ที่บกพร่อง) 7:5 เชิงอรรถ c; ของบาป 1:24; 6:12 เชิงอรรถ c; 7:23; 8:13; 1 คร 6:18; ของความตาย รม 8:10; และดังนั้น  "ร่างกายของเนื้อหนัง" คส 2:11; เทียบ "ร่างกายของบาป" รม 6:6; และ         "ร่างกายของความตาย" 7:24; แต่ก็ไม่ถูกกำหนดให้ต้องเสื่อมสลายอย่างที่นักปรัชญากรีกคิด แต่ตามคำสอนของพระคัมภีร์ 2 มคบ 7:9 เชิงอรรถ c; อสค 37:10 เชิงอรรถ d; ร่างกายนี้ถูกกำหนดให้มีชีวิต รม 8:13;        2 คร  4:10 โดยการกลับคืนชีพ รม 8:11 เชิงอรรถ g; บ่อเกิดของการมีชีวิตใหม่นี้ก็คือพระจิตเจ้า 5:5 เชิงอรรถ e; ซึ่งจะเข้าแทนที่ "จิต" (psyche) ของมนุษย์ 1 คร 15:44 เชิงอรรถ w; และจะเปลี่ยนแปลงร่างกายของคริสตชนให้เป็นเหมือนกับพระกายของพระคริสตเจ้าผู้คืนพระชนม์ ฟป 3:21 จนกว่าการปลดปล่อยสุดท้ายนี้จะเกิดขึ้น 8:23 ร่างกายของคริสตชนซึ่งได้รับการปลดปล่อยชั่วคราวจาก "เนื้อหนัง" โดยการชิดสนิทกับการสิ้นพระชนม์ของพระคริสตเจ้า 6:6; 8:3ฯ; ตั้งแต่เวลานี้ก็เป็นที่พำนักของพระจิตเจ้า 1 คร 6:19; ผู้บันดาลให้เนื้อหนังนี้มีชีวิตใหม่ตามความชอบธรรมและความศักดิ์สิทธิ์ รม 6:13,19; 12:1; 1 คร 7:34; อันน่ายกย่องสรรเสริญ        2 คร 5:10; และถวายสิริมงคลแด่พระเจ้า 1 คร 6:20; ฟป 1:20

m จิตใจ (nous) หรือเหตุผล หรือปัญญาของมนุษย์เป็นความคิดแบบกรีก ซึ่งแตกต่างจาก "จิต" (pneuma) หรือพระจิตเจ้า 5:5 เชิงอรรถ e; และความแตกต่างจากจิตที่หมายถึงส่วนประเสริฐในตัวมนุษย์ ตามความหมายในพระคัมภีร์ 1:9 เชิงอรรถ e; "จิตใจ" นี้เป็นที่มาของความเข้าใจ 1 คร 14:14,15,19; ฟป 4:7; 2 ธส 2:2; เทียบ ลก 24:45; วว 13:18; 17:9; และของการตัดสินทางศีลธรรม รม 14:5; 1 คร 1:10; โดยทั่วไปนั้น จิตใจนี้เชื่อถือได้ 7:23,25 แต่บางครั้งก็ไขว้เขวไป 1:28; อฟ 4:17-19; 1 ทธ 6:5; 2 ทธ 3:8; ทต 1:15; เพราะ "เนื้อหนัง"    คส 2:18; ดู รม 7:5 เชิงอรรถ c; และจะต้องได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่ รม 12:2 ภายในจิตใจของมนุษย์โดยพระจิตของพระเจ้า อฟ 4:23ฯ เทียบ คส 3:10

n ประโยคนี้ ซึ่งน่าจะมาก่อนข้อ 24 เปาโลเองอาจจะต่อเติมมาในภายหลังก็ได้


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

. ชีวิตฝ่ายจิตของคริสตชน

ชีวิตฝ่ายจิต

    1ดังนั้น ไม่มีการตัดสินลงโทษผู้ที่อยู่ในพระคริสตเยซูอีกต่อไป

  2กฎของพระจิตเจ้าซึ่งประทานชีวิตในพระคริสตเยซูนั้นช่วยท่านaให้พ้นจากกฎของบาปและกฎของความตายb  3เนื่องจากสิ่งที่ธรรมบัญญัติทำไม่ได้เพราะธรรมชาติมนุษย์cเป็นเหตุให้อ่อนกำลังไปนั้น พระเจ้าทรงกระทำแล้วโดยทรงส่งพระบุตรของพระองค์มา ให้มีธรรมชาติเหมือนกับธรรมชาติมนุษย์ที่มีบาป เพื่อขจัดบาป พระเจ้าdทรงตัดสินลงโทษบาปในธรรมชาติมนุษย์  4เพื่อให้ข้อเรียกร้องeอันชอบธรรมของธรรมบัญญัติสำเร็จไปในตัวเรา ซึ่งดำเนินชีวิตที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติที่บกพร่องอีกแล้ว แต่ดำเนินชีวิตตามพระจิตเจ้า  5ผู้ที่ยังดำเนินชีวิตตามธรรมชาติ ย่อมสนใจสิ่งที่เป็นของธรรมชาติ ส่วนผู้ที่ดำเนินชีวิตตามพระจิตเจ้า ก็สนใจสิ่งที่เป็นของพระจิตเจ้า  6ความต้องการตามธรรมชาติมนุษย์นำไปสู่ความตาย แต่ความปรารถนาของพระจิตเจ้านำไปสู่ชีวิตและสันติ  7ความต้องการตามธรรมชาติมนุษย์นำไปสู่เป็นศัตรูกับพระเจ้า เพราะไม่ยอมเชื่อฟังธรรมบัญญัติของพระองค์ และไม่อาจอ่อนน้อมยอมรับด้วย  8ผู้ที่ดำเนินชีวิตตามธรรมชาติไม่อาจเป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าได้  9ส่วนท่านทั้งหลาย ท่านไม่ดำเนินชีวิตตามธรรมชาติ แต่ดำเนินชีวิตตามพระจิตเจ้า เพราะพระจิตของพระเจ้าสถิตอยู่ในตัวท่าน ถ้าผู้ใดไม่มีพระจิตของพระคริสตเจ้าผู้นั้นก็ไม่เป็นของพระองค์      10ถ้าพระคริสตเจ้าสถิตอยู่ในท่านแล้ว แม้ร่างกายของท่านตายเพราะบาป จิตของท่านก็มีชีวิตเพราะความชอบธรรมf  11และถ้าพระจิตของพระผู้ทรงบันดาลให้พระเยซูเจ้ากลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตายนั้นสถิตอยู่ในท่าน พระผู้ทรงบันดาลให้พระคริสตเยซูทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตายก็จะทรงบันดาลให้ร่างกายที่ตายได้ของท่านกลับมีชีวิต เดชะพระจิตของพระองค์ ซึ่งสถิตอยู่ในท่านด้วยg

12ดังนั้น พี่น้องทั้งหลาย เราไม่มีภารกิจใด ๆ ที่จะต้องดำเนินชีวิตตามธรรมชาติฝ่ายต่ำ  13ถ้าท่านดำเนินชีวิตตามธรรมชาติฝ่ายต่ำ ท่านก็จะตาย แต่ถ้าท่านกำจัดกิจการตามธรรมชาติฝ่ายต่ำ ด้วยเดชะพระจิตเจ้า ท่านก็จะมีชีวิต

บุตรของพระเจ้า

          14ทุกคนที่มีพระจิตของพระเจ้าเป็นผู้นำh ย่อมเป็นบุตรของพระเจ้า  15ท่านทั้งหลายไม่ได้รับจิตการเป็นทาสซึ่งมีแต่ความหวาดกลัวอีก แต่ได้รับจิตการเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งทำให้เราร้องออกมาว่า “อับบา พ่อจ๋า”i  16พระจิตเจ้าทรงเป็นพยานยืนยันร่วมกับจิตของเราว่า เราเป็นบุตรของพระเจ้า  17เมื่อเราเป็นบุตร เราก็เป็นทายาทด้วย เป็นทายาทของพระเจ้าและเป็นทายาทร่วมกับพระคริสตเจ้า ถ้าเรารับการทรมานร่วมกับพระองค์ เราก็จะรับพระสิริรุ่งโรจน์ร่วมกับพระองค์ด้วย

จุดหมายของเราคือสิริรุ่งโรจน์   

       18ข้าพเจ้าคิดว่า ความทุกข์ทรมานในปัจจุบันเปรียบไม่ได้เลยกับพระสิริรุ่งโรจน์ที่จะทรงบันดาลให้ปรากฏแก่เรา  19เพราะสรรพสิ่งต่างกำลังรอคอยอย่างกระวนกระวาย เพื่อพระเจ้าจะได้ทรงบันดาลให้บรรดาบุตรของพระองค์ปรากฏในพระสิริรุ่งโรจน์j  20สรรพสิ่งต้องอยู่ใต้อำนาจของอนิจจังมิใช่โดยสมัครใจ แต่ตามความประสงค์ของผู้ที่บังคับให้สรรพสิ่งต้องอยู่ในสภาพดังกล่าวk  21ถึงกระนั้น สรรพสิ่งยังมีความหวังว่า จะได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นทาสของความเสื่อมสลายเพื่อไปรับ         อิสรภาพอันรุ่งเรืองของบรรดาบุตรของพระเจ้า  22เรารู้ดีว่า จนถึงเวลานี้ สรรพสิ่งกำลังร้องครวญครางด้วยความเจ็บปวดราวกับสตรีคลอดบุตร  23มิใช่เพียงแต่สรรพสิ่งเท่านั้น แม้แต่เราเองซึ่งได้รับผลิตผลครั้งแรกของพระจิตเจ้าแล้ว ก็ยังคร่ำครวญอยู่ภายใน ในเมื่อเรามีความกระตือรือร้นรอคอยlให้พระเจ้าทรงรับเราเป็นบุตรบุญธรรม ให้ร่างกายของเราได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ  24เพราะ เราได้รอดพ้นเพียงในความหวัง แต่ความหวังที่มองเห็นได้ก็ไม่ใช่ความหวัง เพราะสิ่งที่มองเห็นแล้ว เขาจะหวังไปทำไมอีกเล่า  25แต่ถ้าเราหวังสิ่งที่เรามองไม่เห็น เราก็ย่อมมีความมานะพากเพียรรอคอยสิ่งนั้น

26ในทำนองเดียวกัน พระจิตเจ้าเสด็จมาช่วยเหลือเราผู้อ่อนแอ เพราะเราไม่รู้ว่าจะต้องอธิษฐานภาวนาขอสิ่งใดที่เหมาะสม แต่พระจิตเจ้าทรงอธิษฐานภาวนาวอนขอแทนเราด้วยคำที่ไม่อาจบรรยาย  27และพระผู้ทรงสำรวจจิตใจ ทรงทราบความปรารถนาของพระจิตเจ้า เพราะว่าพระจิตเจ้าทรงอธิษฐานเพื่อบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ตามพระประสงค์ของพระเจ้าm

พระเจ้าทรงเรียกเราให้ร่วมรับพระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์

        28เรารู้ว่า พระเจ้าทรงบันดาลnให้ทุกสิ่งกลับเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่รักพระองค์ ผู้ที่ทรงเรียกมาตามพระประสงค์ของพระองค์  29เพราะผู้ที่พระองค์ทรงทราบล่วงหน้านั้น พระองค์ทรงกำหนดจะให้เป็นภาพลักษณ์ของพระบุตรของพระองค์ด้วยo เพื่อพระบุตรจะได้เป็นบุตรคนแรกในบรรดาพี่น้องจำนวนมาก  30ผู้ที่ทรงกำหนดไว้แล้วนั้นพระองค์ทรงเรียก ผู้ที่ทรงเรียกนั้น พระองค์ทรงบันดาลให้เป็นผู้ชอบธรรม ผู้ที่ทรงบันดาลให้ชอบธรรมนั้น พระองค์ประทานพระสิริรุ่งโรจน์pให้ด้วย

บทเพลงสรรเสริญความรักของพระเจ้า

        31แล้วเราจะพูดอะไรอีกในเรื่องนี้ ถ้าพระเจ้าทรงอยู่ข้างเรา ใครจะสู้เราได้ พระองค์มิได้ทรงหวงแหนพระบุตรของพระองค์  32แต่ทรงมอบพระบุตรเพื่อเราทุกคน แล้วพระองค์จะไม่ประทานทุกสิ่งให้เราพร้อมกับองค์พระบุตรหรือ  33ใครเล่าจะฟ้องร้องผู้ที่ทรงเลือกสรรไว้แล้วได้ พระเจ้าประทานความชอบธรรม  34ใครเล่าจะตัดสินลงโทษ พระคริสตเยซูสิ้นพระชนม์ ทั้งยังทรงกลับคืนพระชนมชีพ ประทับอยู่เบื้องขวาของพระเจ้า ทรงวอนขอแทนเราอีกด้วย  35ใครจะพรากเราจากความรักของพระคริสตเจ้าได้ ความทุกข์ลำเค็ญหรือ ความคับแค้นใจหรือ การเบียดเบียนข่มเหงหรือ การขาดอาหารและเครื่องนุ่งห่มหรือ ภยันตรายและคมดาบหรือ  36ดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า

“เพราะพระองค์ ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงถูกประหารตลอดเวลา

เขาจัดว่าข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นเหมือนแกะสำหรับนำไปฆ่า

37แต่ในการทดลองทั้งหมดนี้ เราชนะได้ง่ายอาศัยพระผู้ทรงรักเรา  38เพราะข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ไม่ว่าความตายหรือชีวิต ไม่ว่าทูตสวรรค์หรือผู้มีอำนาจปกครอง ไม่ว่าปัจจุบันหรืออนาคต  39ไม่ว่าฤทธิ์อำนาจใดหรือความสูง ความลึกq ไม่มีสรรพสิ่งใด ๆ  จะพรากเราได้จากความรักของพระเจ้า ซึ่งปรากฏในพระคริสตเยซู องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา

8 a บางฉบับว่า "ข้าพเจ้า" หรือ "เรา"

b เปาโลเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างระบบของบาปและของความตายกับระบบใหม่ของพระจิตเจ้า คำว่า "จิต" ในที่นี้หมายถึงพระจิตเจ้าเอง (อย่างในข้อ 9 ) หรือจิตของมนุษย์ที่ได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่โดยการประทับอยู่ของพระจิตเจ้า ดู 5:5 เชิงอรรถ e; 1:9 เชิงอรรถ f

c ธรรมบัญญัติของโมเสสซึ่งถูกกำหนดให้จากภายนอก ไม่เป็นบ่อเกิดจากภายในที่ช่วยให้รอดพ้นได้ 7:7 เชิงอรรถ d; พระคริสตเจ้าเพียงพระองค์เดียว โดยการสิ้นพระชนม์ได้ทรงทำลายธรรมชาติฝ่ายต่ำ (แปลตามตัวอักษรคือ ธรรมชาติของเนื้อหนัง) ในตัวพระองค์เอง และสามารถทำลายบาปซึ่งมีอำนาจเหนือ "เนื้อหนัง"  ได้

d แปลตามตัวอักษรได้ว่า "ทรงส่งพระบุตรของพระองค์มาในความเหมือนกับเนื้อหนังของบาป และในเนื้อหนังนั้น…"

e ข้อเรียกร้องเหล่านี้ของธรรมบัญญัติปฏิบัติให้สำเร็จได้อาศัยความเชื่อและการรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าเท่านั้น ข้อเรียกร้องเหล่านี้ถูกนำมาสรุปรวบยอดได้ในบทบัญญัติเรื่องความรัก เทียบ 13:10; กท 5:14 และใน มธ 22:40; ดู 7:7 เชิงอรรถ d

f ร่างกายต้องถูกกำหนดให้ตายเพราะบาป 5:12 เชิงอรรถ  h  และบาปยังใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือนำความตายฝ่ายจิตมาอีกด้วย แต่พระจิตเจ้าทรงเป็นชีวิต คือ อำนาจของการกลับคืนชีพ ดู เชิงอรรถข้อต่อไป

g การกลับคืนชีพของคริสตชนขึ้นอยูกับการกลับคืนชีพของพระคริสตเจ้าอย่างใกล้ชิด 6:5; 1 คร 6:14; 15:20ฯ;
2 คร 4:14; 13:4; อฟ 2:6; คส 1:18;  2:12ฯ; 1 ธส 4:14; 2 ทธ 2:11 อาศัยอำนาจและพระคุณของพระจิตเจ้าอันเดียวกัน ดู รม 1:4 เชิงอรรถ c; พระบิดาจะทรงบันดาลให้พวกเขากลับคืนชีพเช่นกัน กระบวนการนี้ได้เตรียมไว้พร้อมแล้ว ชีวิตใหม่ทำให้คริสตชนกลับเป็นบุตร (ข้อ 14) เหมือนกับพระบุตรเอง 8:29 เชิงอรรถ n; อาศัยความเชื่อ 1:16 เชิงอรรถ h; และศีลล้างบาป 6:4 เชิงอรรถ a  พวกเขาร่วมเป็นกายเดียวกับพระคริสตเจ้าผู้กลับคืนพระชนมชีพ

h พระจิตเจ้าทรงเป็นหลักที่ให้ชีวิตพระเจ้าแก่มนุษย์ในพระคริสตเจ้า มากกว่าที่จะเป็นเพียง "ผู้นำอยู่ภายใน"  ดู

5: 5 เชิงอรรถ e; กท 5:20

i คำว่า "อับบา" เป็นคำที่ลูกใช้เรียกพ่อด้วยความสนิทสนมคล้ายกับภาษาไทยว่า "พ่อจ๋า" พระคริสตเจ้าทรงใช้คำนี้เมื่อทรงอธิษฐานภาวนาในสวนเกธเสมานี มก 14:36

j โลกที่เป็นวัตถุที่สร้างขึ้นเพื่อมนุษยชาติได้เข้าร่วมชะตากรรมของมนุษย์ด้วย มันได้ถูกสาปเพราะบาป       ปฐก 3:17 ดังนั้น จึงเสื่อมทรามและต้องตกอยู่ภายใต้ "ความล้มเหลว" (ข้อ 20) ซึ่งเป็นสภาพทางศีลธรรมเป็นผลมาจากบาป และ "ความเสื่อมสลาย" อันเป็นสภาพทางวัตถุ แต่เช่นเดียวกับที่ร่างกายมนุษย์ถูกกำหนดไว้ให้ได้รับสิริรุ่งโรจน์ สิ่งสร้างจะต้องได้รับการไถ่กู้ด้วยเช่นกัน ข้อ 21 สำหรับนักปรัชญากรีกบางคน วัตถุเป็นสิ่งชั่วร้าย และจิตจะต้องได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากมัน คริสตศาสนาได้ถือว่าวัตถุเองก็เป็นทาสที่จะต้องได้รับการปลดปล่อยเช่นกัน ยังมีข้อความในพระคัมภีร์ตอนอื่นกล่าวว่าสิ่งสร้างอื่นเช่น ทูตสวรรค์นอกเหนือจากมนุษย์จะได้รับความรอดพ้นด้วย ดู คส 1:20; วว 21:1-5; เกี่ยวกับการสร้างใหม่ ดู 2 คร 5:17 เชิงอรรถ h;

k ผู้บังคับในที่นี้อาจจะหมายถึงมนุษยชาติที่ได้ทำบาป หรืออาจจะเข้าใจได้อีกว่าหมายถึงพระเจ้าผู้ทรงลงโทษ หรือพระเจ้าในฐานะพระผู้สร้าง

l บางฉบับตัด "ให้พระเจ้าทรงรับเราเป็นบุตรบุญธรรม"

m เปาโลเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องภาวนาอยู่เสมอ (12:12 อฟ 6:18 ฟป 4:6; คส 4:2; 1 ธส 5:17;          1 ทธ 2:8; 5:5; เทียบ 1 คร 7:5) ตามที่พระเยซูเจ้าเองได้ทรงสอนไว้ (มธ 6:5; 14:23 เชิงอรรถ f) และที่คริสตชนรุ่นแรก ๆ ได้ปฏิบัติ (กจ 2:42 เชิงอรรถ hh) เปาโลภาวนาเสมอสำหรับผู้ที่เชื่อ (1:10; อฟ 1:16; ฟป 1:4; คส 1:3,9; 1 ธส 1:2; 3:10; 2 ธส 1:11; ฟม 4) และขอให้พวกเขาทำเช่นเดียวกัน สำหรับตน (รม 15:30;          2 คร 1:11; อฟ 6:19; ฟป 1:19; คส 4:3; 1 ธส 5:25; 2 ธส 3:1; ฟม 22; ฮบ 13:18) และสำหรับกันและกัน     (2 คร 9:14; อฟ 6:18) เกี่ยวกับการภาวนาเพื่อคนบาปและคนป่วย ดู 1 ยน 5:16; ยก 5:13-16) การภาวนาเหล่านี้จะต้องอ้อนวอนขอความเจริญในความศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับเพื่อขจัดอุปสรรคต่อความศักดิ์สิทธิ์ที่มาจากภายนอก (1 ธส 2:18 และ 3:10; และภายใน 2 คร 12:8-9) เราจะต้องภาวนาสำหรับความเป็นไปอย่างราบรื่นของประเทศ (1 ทธ 2:1-2) เปาโลเน้นย้ำคำภาวนาขอบพระคุณเป็นพิเศษ (2 คร 1:11 เชิงอรรถ e; อฟ 5:4; ฟป 4:6; คส 2:7; 4:2; 1 ธส 5:18; 1 ทธ 2:1) สำหรับพระพรต่าง ๆ ที่ได้รับจากพระเจ้า (อฟ 5:20; คส 3:17) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอาหารที่พระเจ้าประทานให้เรา(รม 14:6; 1 คร 10:31; 1 ทธ 4:3-5) เปาโลเริ่มจดหมายทุกฉบับด้วยบทภาวนาขอบพระคุณ (รม 1:8 ฯลฯ) และต้องการให้คริสตชนทุกคนมีจิตตารมณ์การขอบพระคุณ ในการติดต่อระหว่างกัน (1คร 14:17; 2 คร 1:11; 4:15; 9:11-12) ในการชุมนุมร่วมพิธีกรรมการภาวนาขอบพระคุณและการสรรเสริญจะต้องเด่นชัด (1 คร 11-14) และความรู้สึกเหล่านี้จะต้องเป็นแรงบันดาลใจสำหรับบทเพลงสรรเสริญซึ่งคริสตชนได้ประพันธ์ขึ้นสำหรับโอกาสเหล่านี้ (อฟ 5:19; คส 3:16) เป็นพระจิตเจ้าเองที่ทรงดลใจการภาวนาของคริสตชน เปาโลพอใจที่จะเน้นจุดนี้แทนที่จะกล่าวซ้ำคำแนะนำจากวรรณกรรมปรีชาญาณ ที่กล่าวถึงเงื่อนไขจำเป็นสำหรับการภาวนาและประสิทธิผลของการภาวนา (ดู ยก 1:5-8; 4:2-3; 5:16-18; 1 ยน 3:22; 5:14-16) เปาโลรับประกันว่า คำภาวนามีผลก็เพราะการประทับอยู่ของพระจิตของพระคริสตเจ้าภายในคริสตชน ทำให้คริสตชนอ้อนวอนเหมือนกับบุตรอ้อนวอนขอบิดาของตน              (รม 8:15,26-27 กท 4:6 เทียบ อฟ 6:18 ยด 20) ขณะที่พระคริสตเจ้าทรงอ้อนวอนแทนอยู่ ณ เบื้องขวาของพระเจ้า รม 8:34 เทียบ ฮบ 7:25; 1 ยน 2:1) พระบิดาจึงทรงตอบสนองคำภาวนาด้วยพระทัยกว้าง (อฟ 3:20) ดังนั้น คริสตชนจึงถูกเรียกว่า ผู้เรียกหาพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า 1 คร 1:2; เทียบ รม 10:9-13; กจ 2:21 เชิงอรรถ m; 9:14,21; 22:16; 2  ทธ 2:22; ยก 2:7; เกี่ยวกับท่าทีที่จะต้องมีเมื่อภาวนา ดู  1 คร 11:14-16;    1 ทธ  2:8;

n บางคนคิดว่า ประธานของประโยคคือ "ทุกสิ่ง" หรือ "พระจิต" (ต่อจากข้อ 27) "สำหรับผู้ที่รักพระเจ้า … ทุกสิ่งจะกลายเป็นความดีสำหรับพวกเขา"

o พระคริสตเจ้า ภาพลักษณ์ของพระเจ้าเมื่อทรงสร้างโลก คส 1:14 เชิงอรรถ d เทียบ ฮบ 1:3 เวลานี้ได้เสด็จมาเพื่อสร้างใหม่ 2 คร 5:17 เชิงอรรถ n;  เพื่อฟื้นฟูมนุษยชาติที่ตกต่ำลงให้มีสง่าราศีของภาพลักษณ์นั้นซึ่งมัวหมองไปเพราะบาป 5:12 เชิงอรรถ h; ปฐก 1:26 เชิงอรรถ m; 3;  3:22-24; พระองค์ทรงทำดังนี้โดยปั้นแต่งมนุษยชาติให้เป็นภาพลักษณ์ที่รุ่งเรืองสดใสมากยิ่งขึ้นเพราะเป็นบุตรของพระเจ้า (8:29) ดังนั้น มนุษย์ได้รับการไถ่กู้ "เป็นคนใหม่" จึงตัดสินอะไรถูกอะไรผิดได้ คส 3:10 เชิงอรรถ e; และในทำนองเดียวกันยังมีสิทธิจะได้รับสิริรุ่งโรจน์ที่ได้สูญเสียไปเพราะบาปผิดได้อีก รม 3:23 เชิงอรรถ  h; สิริรุ่งโรจน์ ซึ่งพระคริสตเจ้าทรงมีโดยสิทธิเพราะทรงเป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้า 2 คร 4:4; ได้ค่อย ๆ ประทานให้แก่คริสตชนที่ละน้อย 2 คร 3:18; จนกว่าร่างกายของคริสตชนจะสวมภาพลักษณ์ของมนุษย์ "สวรรค์" 1 คร 15:49;

p พระเจ้าทรงจัดให้ทุกสิ่งนำไปสู่สิริรุ่งโรจน์ของผู้รับเลือกสรร พวกเขาได้รับเรียกให้มีความเชื่อ และได้รับความชอบธรรมโดยศีลล้างบาปเพื่อจุดประสงค์นี้เอง ดังนี้อาจกล่าวได้ว่าพวกเขาได้รับสิริรุ่งโรจน์เป็นการล่วงหน้าแล้ว

q ผู้มีอำนาจปกครองหมายถึง "พลังลึกลับแห่งจักรวาล" เช่นเดียวกับ "ทูตสวรรค์" และ “เทพนิกรเจ้า" ซึ่งตามความคิดของคนสมัยโบราณมีความเป็นอริกับมนุษย์โดยทั่วไป ดู อฟ 1:21; 3:18 "ความสูง" “ความลึก” หมายถึงสวรรค์และนรกซึ่งถือกันว่าเป็นพลังลึกลับเช่นกัน


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

. บทบาทของชาวอิสราเอลa

สิทธิพิเศษของชาวอิสราเอล

          9  1ข้าพเจ้าพูดความจริงในพระคริสตเจ้า ข้าพเจ้าไม่มุสา มโนธรรมของข้าพเจ้าและพระจิตเจ้าร่วมเป็นพยานได้ว่า  2ข้าพเจ้ามีความเศร้าโศกใหญ่หลวง และมีความทุกข์ใจอยู่ตลอดเวลา  3ข้าพเจ้ายินดีถูกสาปแช่งb ถูกตัดขาดจากพระคริสตเจ้า ถ้าหากจะเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องของข้าพเจ้าซึ่งมีเลือดเนื้อเชื้อไขเดียวกันc  4พี่น้องเหล่านี้คือชาวอิสราเอล ที่ได้เป็นบุตรบุญธรรม ได้รับเกียรติ พันธสัญญา ธรรมบัญญัติ รวมทั้งศาสนพิธีและพระสัญญาต่าง ๆ  5พวกเขามีบรรพบุรุษเป็นต้นตระกูลของพระ คริสตเจ้าตามธรรมชาติมนุษย์ พระองค์ทรงอยู่เหนือสรรพสิ่ง เป็นพระเจ้าและทรงได้รับการถวายสดุดีตลอดนิรันดรd อาเมน

พระเจ้าทรงรักษาพระสัญญา

            6พระวาจาของพระเจ้ามิได้สูญเปล่าอย่างแน่นอน คนที่สืบเชื้อสายจากอิสราเอลมิใช่เป็นชาวอิสราเอลเสมอไป e  7และคนที่เป็นเชื้อสายของอับราฮัม ก็มิใช่บุตรของอับราฮัมเสมอไป ดังที่พระเจ้าตรัสแก่อับราฮัมว่า “แต่อิสอัคคือผู้ที่จะสืบเชื้อสายของเจ้า”

8นั่นคือ บุตรตามธรรมชาติมิได้นับว่าเป็นบุตรของพระเจ้า แต่บุตรตามพระสัญญาเท่านั้นที่นับว่าเป็นเชื้อสาย  9ถ้อยคำของพระสัญญาเป็นดังนี้ ปีหน้าในเวลานี้ เราจะกลับมาหาและนางซาราห์จะมีบุตร  10ยิ่งกว่านั้น นางเรเบคคาได้ตั้งครรภ์มีบุตรจากอิสอัค บิดาของเราแต่ผู้เดียว  11เพื่อพระประสงค์ของพระเจ้าจะได้เป็นพระประสงค์จากการเลือกโดยอิสระเสรี คือไม่ใช่จากกิจการที่ดีของมนุษย์ แต่จากพระเจ้าผู้ทรงเรียกก่อนที่บุตรจะเกิดมา และก่อนที่เขาจะทำอะไรดีหรือไม่ดีได้  12นางได้รับการบอกกล่าวว่า คนพี่จะรับใช้คนน้อง  13ดังที่มีเขียนไว้ว่า “เรารักยาโคบ มากกว่าเอซาว

พระเจ้าทรงเที่ยงธรรม

           14แล้วเราจะพูดอะไรอีกเล่า พระเจ้าทรงอยุติธรรมกระนั้นหรือ เป็นไปไม่ได้     15เพราะพระองค์ตรัสกับโมเสสว่า เราเมตตาต่อผู้ที่เราเมตตา และสงสารผู้ที่เราสงสาร 16ดังนั้น ทุกสิ่งจึงขึ้นกับพระเมตตาของพระเจ้า ไม่ขึ้นกับความตั้งใจหรือความอุตสาหะของมนุษย์  17ในพระคัมภีร์พระเจ้าตรัสกับฟาโรห์ว่า เราแต่งตั้งท่านให้มีอำนาจเพื่อfแสดงอำนาจของเราในตัวท่าน และเพื่อนามของเราจะได้รับการประกาศไปทั่วโลก     18 ดังนั้น พระเจ้ามีพระประสงค์จะเมตตาผู้ใด ก็ทรงเมตตาผู้นั้น และทรงประสงค์จะทำให้ผู้ใดมีจิตใจแข็งกระด้าง พระองค์ก็ทรงทำเช่นนั้นได้

19แล้วท่านจะถามว่า “ทำไมพระองค์ยังทรงเอาผิดเราอีก ในเมื่อไม่มีใครต่อต้านพระประสงค์ของพระองค์ได้”g  20มนุษย์เอ๋ย เจ้าเป็นใครกัน จึงบังอาจมาเถียงกับพระเจ้า รูปปั้นจะพูดกับผู้ปั้นได้หรือว่า “ทำไมจึงทำฉันอย่างนี้”   21ช่างปั้นย่อมมีอำนาจเหนือก้อนดินเหนียวมิใช่หรือ ช่างปั้นย่อมใช้ดินก้อนเดียวกันปั้นให้เป็นภาชนะที่มีเกียรติ หรือภาชนะธรรมดาก็ได้

22ดังนั้น แม้พระเจ้ามีพระประสงค์ที่จะแสดงพระฤทธานุภาพ และแจ้งการลงโทษแก่ผู้ที่สมควรถูกลงโทษและถูกทำลาย พระองค์ก็ยังทรงอดกลั้นอย่างยิ่งที่จะไม่ทำเช่นนั้นh  23และทรงแสดงพระสิริรุ่งโรจน์อันยิ่งใหญ่ของพระองค์ต่อผู้ที่สมควรจะได้รับพระกรุณาธิคุณ ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดไว้แล้วi เพื่อรับพระสิริรุ่งโรจน์j  24คือพวกเราซึ่งพระองค์ทรงเรียกมา ทั้งจากชาวยิว และจากคนต่างชาติ

ทุกคำมีพยากรณ์ในพันธสัญญาเดิม

             25ดังที่พระองค์ตรัสไว้ในหนังสือประกาศกโฮเชยาว่า เราจะเลือกผู้ที่ไม่ใช่ประชากรของเราว่า “เป็นประชากรของเรา” และเรียกผู้ที่ไม่เป็นที่รักว่า “เป็นที่รัก”  26และในสถานที่ซึ่งได้มีคำกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายไม่ใช่ประชากรของเรา” ที่นั่นเขาจะถูกเรียกเป็น “บุตรของพระเจ้าผู้ทรงชีวิต”k  27ประกาศกอิสยาห์ยังประกาศถึงอิสราเอลอีกว่าl แม้บุตรอิสราเอลจะมีมากเท่ากับเม็ดทรายในทะเล เฉพาะแต่กลุ่มชนที่เหลือเท่านั้นจะได้รับความรอดพ้น  28เพราะองค์พระผู้เป็นเจ้าจะทรงทำให้พระวาจาสัมฤทธิผลmบนแผ่นดินโดยสมบูรณ์และโดยรวดเร็ว  29ดังที่อิสยาห์ยังกล่าวไว้ล่วงหน้าอีกว่า ถ้าองค์พระผู้เป็นเจ้าจอมโยธาไม่ทรงทิ้งเชื้อสายไว้ให้เราแล้ว เราคงเป็นเหมือนกับเมืองโสดมและเหมือนกับเมืองโกโมราห์ไปแล้ว

30แล้วเราจะพูดอะไรอีกเล่าn จะพูดว่าคนต่างชาติ ซึ่งไม่ได้แสวงหาความชอบธรรม ได้บรรลุถึงความชอบธรรม เป็นความชอบธรรมที่มาจากความเชื่อ  31แต่        อิสราเอลซึ่งแสวงหาธรรมบัญญัติที่จะนำความชอบธรรมมาให้ตน กลับไม่บรรลุถึงธรรมบัญญัตินั้นo  32เพราะเหตุใดหรือ เพราะเหตุว่า พวกเขามิได้แสวงหาความชอบธรรมจากความเชื่อ แต่แสวงหาความชอบธรรมจากกิจการ พวกเขาจึงสะดุดหินหกล้ม 33ดังที่มีเขียนไว้ว่า ดูซิ เราวางหินที่ทำให้สะดุดไว้ในศิโยน หินที่ทำให้หกล้ม แต่ผู้ที่มีความเชื่อในพระองค์ จะไม่ได้รับความอับอาย

9 a เพื่ออธิบายเรื่องพระเจ้าบันดาลความชอบธรรมอาศัยความเชื่อ เปาโลได้ใช้เหตุผลจากความชอบธรรมของอับราฮัมในบทที่ 4 มาแล้ว ในทำนองเดียวกัน เรื่องความรอดพ้นในฐานะเป็นของประทานที่พระเจ้าทรงให้เปล่า ๆ โดยพระจิตเจ้านั้น เรียกร้องให้เปาโลพิจารณากรณีของอิสราเอลเป็นพิเศษ ในบทที่ 9-11 อิสราเอลเป็นประชากรที่ไม่ได้ตอบสนองด้วยความเชื่อ แม้ว่าได้รับพระสัญญาแห่งความรอดพ้นแล้วก็ตาม บทที่ 9-11 นี้จึงไม่พิจารณาเรื่องการกำหนดล่วงหน้าให้แต่ละคนได้รับสิริรุ่งโรจน์หรือได้รับความเชื่อ แต่พิจารณาปัญหาบทบาทของอิสราเอลในประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นจากคำยืนยันต่าง ๆ ในพันธสัญญาเดิม

b ตามตัวอักษรคือ "anathema" หมายถึง สิ่งที่ถูกสาปแช่งให้ทำลายเสียให้หมด ดู ยชว 6:17 เชิงอรรถ c; และ
ลนต 27:28 เชิงอรรถ e

c หมายถึง เชื้อสายของยาโคบ (ที่เรียกกันว่า "อิสราเอล" ปฐก 32:29) สิทธิพิเศษอื่น ๆ ที่มาจากการสืบเชื้อสายนี้ อันได้แก่การเป็นบุตรบุญธรรม อพย 4:22 ดู ฉธบ 7:6 เชิงอรรถ b; สิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า อพย 24:16 เชิงอรรถ f;  ผู้ทรงพำนักอยู่กับประชากรของพระองค์ อพย 25:8 เชิงอรรถ f; ฉธบ 4:7 เชิงอรรถ b; ดู ยน 1:14 เชิงอรรถ m; พันธสัญญากับอับราฮัม ปฐก 15:1 เชิงอรรถ  a; 15:17 เชิงอรรถ f; 17:1 เชิงอรรถ a; กับยาโคบอิสราเอล ปฐก 32:29; กับโมเสส อพย 24:7-8; การนมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้แต่พระองค์เดียว ธรรมบัญญัติซึ่งแสดงพระประสงค์ของพระองค์ คำสัญญาจะประทานพระผู้ไถ่ 2 ซมอ 7:1 เชิงอรรถ a; และสัมพันธภาพทางสายเลือดกับพระคริสตเจ้า

d บริบทและการพัฒนาความคิดในประโยคแสดงให้เห็นว่า บทสรรเสริญนี้มุ่งถวายแด่พระคริสตเจ้า แต่เปาโลใช้นาม "พระเจ้า" (God) เรียกพระเยซูเจ้าไม่กี่ครั้ง ดู ทต 2:11-14; เทียบ ฮบ 13:21; ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าตามปกติเปาโลสงวนนามพระเจ้านี้ไว้สำหรับพระบิดา ดู รม 15:6; ฯลฯ เปาโลมักจะพิจารณาพระบุคคลของพระเจ้าไม่ใช่ในแง่นามธรรมของธรรมชาติพระเจ้า แต่ในแง่รูปธรรมของบทบาทของแต่ละพระบุคคลในกระบวนการความรอดพ้น นอกนั้นเปาโลยังคิดถึงพระคริสตเจ้าดังที่พระองค์ทรงเจริญพระชนม์ในประวัติศาสตร์ ความเป็นจริงที่เป็นรูปธรรมในฐานะที่เป็นพระเจ้าผู้บังเกิดเป็นมนุษย์ ดู ฟป 2:5 เชิงอรรถ d; คส 1:15 เชิงอรรถ d; เพราะเหตุนี้เปาโลจึงกล่าวถึงพระคริสตเจ้าว่าทรงอยู่ใต้อำนาจของพระบิดา 1 คร 3:23; 11:3 ไม่เพียงแต่ในงานเนรมิตสร้างเท่านั้น 1 คร 8:6; แต่ในการฟื้นฟูสิ่งสร้างในวาระสุดท้ายอีกด้วย 1 คร  15:27ฯ; เทียบ รม 16:27; ฯลฯ อย่างไรก็ตามพระนาม "องค์พระผู้เป็นเจ้า" (Kyrios=Lord)  ที่พระคริสตเจ้าได้รับเมื่อทรงกลับคืนพระชนมชีพนั้น ฟป 2:9-11; ดู อฟ 1:20-22; ฮบ 1:3ฯ เป็นพระนามที่พันธสัญญาเดิมฉบับ เซปตูอายิน (LXX) ใช้กับพระยาห์เวห์ รม 10:9,13; 1 คร 2:16 สำหรับเปาโล พระเยซูเจ้าทรงเป็น "พระบุตรของพระเจ้า" รม 1:3-4,9; 5:10; 8:29; 1 คร 1:9; 15:28; 2 คร 1:19 กท 1:16; 2:20; 4:4,6; อฟ 4:13; 1 ธส 1:10 ดู ฮบ 4:14 ด้วย ทรงเป็น      "พระบุตรของพระบิดาเอง" รม 8:3,32 "เป็นพระบุตรที่พระบิดาทรงรัก" คส 1:13; โดยสิทธิพระองค์ทรงอยู่ในระดับพระเจ้า พระองค์เสด็จลงมา 1 คร 15:47; เพราะพระเจ้าส่งมา รม 8:3; กท 4:4 พระนาม "พระบุตรของพระเจ้า" เป็นของพระองค์ในแบบใหม่เมื่อทรงกลับคืนพระชนมชีพ รม 1:4 เชิงอรรถ c; เทียบ ฮบ 1:5; 5:5  แต่ไม่ใช่ว่าพระองค์เพิ่งได้รับนามนี้ในขณะนั้น เนื่องจากพระองค์ได้มีความเป็นอยู่ก่อนแล้ว และไม่เพียงแต่กล่าวล่วงหน้าไว้ในพันธสัญญาเดิมเท่านั้น 1 คร 10:4; แต่เป็นของพระองค์โดยธรรมชาติ ฟป 2:6 เทียบ 2 คร 8:9; พระคริสตเจ้าเป็นพระปรีชาญาณ 1 คร 1:24,30; และภาพลักษณ์ 2 คร 4:4 ทุกสิ่งถูกสร้างขึ้นมาตามและในภาพลักษณ์นี้ และในพระองค์ คส 1:15-17; เทียบ ฮบ 1:2; 1 คร 8:6; และถูกสร้างขึ้นใหม่ รม 8:29 เทียบ     คส 3:10; 1:18-20; เพราะว่าความสมบูรณ์แห่งเทวภาพและของจักรวาลรวมอยู่ในพระองค์ คส  2:9 เชิงอรรถ e; ในพระคริสตเจ้า พระเจ้าได้ทรงคิดแผนการแห่งความรอดพ้นขึ้น อฟ 1:3ฯ; และพระคริสสตเจ้าทรงทำให้แผนการนั้นสำเร็จไปไม่น้อยไปกว่าพระบิดา(เทียบ รม 11:36; 1 คร 8:6 และ คส 1:16,20) พระบิดาทรงบันดาลให้กลับคืนชีพและทรงพิพากษาฉันใด พระบุตรก็ทรงบันดาลให้กลับคืนชีพ (ดู รม 1:4 เชิงอรรถ c; 8:11 เชิงอรรถ g และ ฟป 3:21) และทรงพิพากษาฉันนั้น (เทียบ รม 2:16 และ 1 คร 4:5; รม 14:10 และ             2 คร 5:10) สรุปแล้ว พระคริสตเจ้าเป็นพระบุคคลหนึ่งในสามพระบุคคลในสูตรเรียกพระตรีเอกภาพนั่นเอง     2 คร 13:13 เชิงอรรถ e;

e เช่น ชาวอิชมาเอล และโดยเฉพาะชาวเอโดมผู้สืบเชื้อสายจากเอซาว ปฐก 36:1; ซึ่งในช่วงท้ายของพันธสัญญาเดิม ได้กลายเป็นศัตรูคู่แค้นของอิสราเอล ฉธบ 23:8; สดด 137:7 เชิงอรรถ d

f เช่นเดียวกับบรรดาผู้เขียนพันธสัญญาเดิม เปาโลให้พระเจ้าเป็นต้นเหตุสุดท้ายของกิจการทุกอย่างของมนุษย์ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี เทียบ 1:24ฯ (เน้นที่วลีของ อพย ที่ว่า "เรายกเจ้าขึ้น")

g ถ้าความชั่วของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของแผนการของพระเจ้า คนหนึ่งจะถูกกล่าวหาได้อย่างไรว่า ไม่ทำตามพระประสงค์ของพระองค์  เปาโลตอบในทำนองเดียวกับที่เคยทำในกรณีที่คล้ายคลึงกัน (3:7; 6:1,15) โดยพยายามลบล้างคำโต้แย้งเนื่องจากว่าพระเจ้าเป็นเจ้านายสูงสุดของสิ่งที่ได้ทรงสร้างมา ปัญหาเกี่ยวกับความไม่ยุติธรรมจึงไม่เกิดขึ้น เทียบ มธ 20:15

h เปาโลกำลังอธิบายว่า การทำให้ใจของฟาโรห์แข็งกระด้างในเวลานั้น และความไม่เชื่อของอิสราเอลในเวลานี้ ไม่ผิดต่อความยุติธรรมถ้าหากคำนึงถึงว่าเป็นส่วนหนึ่งในแผนการของพระเจ้า  พระเจ้าทำลายประชากรยิวได้อย่างที่ได้ทำลายฟาโรห์ แต่พระองค์ได้ทรงอดกลั้นด้วยความพากเพียร ดังนั้น (ขณะที่พระองค์ประทานเวลาเพื่อให้เป็นทุกข์กลับใจ 2:4) พระองค์ได้สำแดงพระพิโรธ (โดยปล่อยให้บาปทวีขึ้น ดู บทที่ 1-3 ซึ่งก็ยังเปิดทางไปสู่การกลับใจ) พระองค์ทรงทำให้ฤทธิอำนาจปรากฏแจ้ง โดยขจัดอุปสรรคที่มาขวางกั้นให้หมดสิ้นไป ข้อ 17 อย่างเช่นการขัดสู้ของชาวยิวในปัจจุบันต่อข่าวดี แต่เหนือสิ่งอื่นใด พระองค์ทรงดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการอันเมตตากรุณาต่อผู้ที่ไม่ใช่ชาวยิว ดู 11:11-12 ซึ่งได้รับการประกาศข่าวดีเมื่อชาวยิวได้ปฏิเสธไม่ยอมรับ ดู กจ 13:5 เชิงอรรถ e

i บางฉบับอ่านว่า "และพระองค์ได้ทรงเปิดเผย"

j ในฉบับภาษากรีก ข้อ 22-24 ประโยคไม่จบ จึงควรเติมข้อความลงไปอีกว่า “เราจะต้องว่าอย่างไรหรือถ้าสิ่งนี้ถูกต้อง เราจะพูดถึงความไม่ยุติธรรมของพระเจ้าได้อย่างไร" ในที่สุด ทุกสิ่งล้วนนำไปสู่ความรอดพ้นทั้งของชาวยิวและคนที่ไม่ใช่ชาวยิว ดู 11:32

k เรื่องราวของอิสราเอลที่ไม่ซื่อสัตย์ แต่พระเจ้าทรงต้อนรับกลับมา เป็นรูปแบบของการเชื้อเชิญคนที่ไม่ใช่ยิวมารับความรอดพ้น ทั้ง ๆ ที่พวกเขาไม่มีสิทธิเข้ามาในงานเลี้ยงฉลองของพระผู้ไถ่

l ข้อความที่อ้างถึงนี้ประกาศทั้งความไม่ซื่อสัตย์ของอิสราเอลและการกลับมาของ "กลุ่มชนที่เหลือ" ดู อสย 4:3 เชิงอรรถ c; ในกลุ่มชนนี้เองพระสัญญาได้รับการรักษาไว้ ข้อความนี้จึงเตรียมผู้อ่านไว้สำหรับบทที่ 11

m ข้อความที่เปาโลยกมาอ้างนี้เป็นการย่อความคิดจากพระคัมภีร์ฉบับ LXX (อสย 10:22-23) มิได้ยกข้อความมาตรง ๆ

n ข้อสรุปนี้เตรียมความคิดสำหรับเรื่องราวในบทต่อไป ซึ่งจะพิจารณาสาเหตุของความไม่ซื่อสัตย์ของอิสราเอล ไม่ใช่มองจากแผนการของพระเจ้าอีกแล้ว แต่มองจากความประพฤติของชาวยิวเอง

o มีแต่คริสตชนเท่านั้นที่จะปฏิบัติตามธรรมบัญญัติได้ 3:31; 8:4; 10:4; เทียบ 7:7 เชิงอรรถ d; กจ 13:39


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

อิสราเอลมองข้ามความจริงที่ว่า

“พระเจ้าเท่านั้นทรงบันดาลความศักดิ์สิทธิ์”

          10  1พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้ามีความปรารถนาสูงสุดและภาวนาต่อพระเจ้า เพื่อชาวอิสราเอลจะได้รอดพ้น  2ข้าพเจ้ายืนยันได้ว่าพวกเขามีความกระตือรือร้นเพื่อพระเจ้า แต่เป็นความกระตือรือร้นที่ขาดความรู้a  3พวกเขาไม่รู้ว่าพระเจ้าเป็นผู้ประทานความชอบธรรม จึงพยายามสร้างความชอบธรรมของตนเอง ไม่ยอมรับความชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้b  4จุดหมายของธรรมบัญญัติก็คือองค์พระคริสตเจ้า ดังนั้น ทุกคนที่มีความเชื่อจะได้รับความชอบธรรม

โมเสสเป็นสักขีพยาน

         5โมเสสเขียนถึงความชอบธรรมซึ่งมาจากธรรมบัญญัติว่า คนที่ประพฤติตามธรรมบัญญัติจะมีชีวิตเพราะธรรมบัญญัติ  6แต่ความชอบธรรมจากความเชื่อกล่าวไว้ดังนี้c อย่าคิดว่าใครจะขึ้นสวรรค์   7ซึ่งหมายความว่า เพื่ออัญเชิญพระคริสตเจ้าลงมา หรือคิดว่าใครจะลงไปในเหวลึกd ซึ่งหมายความว่าลงไปอัญเชิญพระคริสตเจ้าขึ้นมาจากบรรดาผู้ตาย  8พระคัมภีร์กล่าวว่าอย่างไร พระคัมภีร์กล่าวว่า พระวาจาอยู่ใกล้ท่าน อยู่ในปากและในใจของท่าน คือพระวาจาที่นำความเชื่อ ที่เราประกาศไว้  9เพราะถ้าท่านประกาศด้วยปากว่า พระเยซูทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า และมีความเชื่อในใจว่า พระเจ้าทรงบันดาลให้พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตายe ท่านก็จะรอดพ้น  10การเชื่อด้วยใจจะบันดาลความชอบธรรม การประกาศด้วยปากจะบันดาลความรอดพ้น  11เพราะพระคัมภีร์กล่าวว่า ทุกคนที่มีความเชื่อในพระองค์จะไม่ได้รับความอับอาย  12เพราะไม่มีความแตกต่างกันระหว่างชาวยิวกับผู้ที่ไม่ใช่ชาวยิว พระองค์เท่านั้นทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าสำหรับมนุษย์ทุกคน ประทานพระพรมากมายให้กับทุกคนที่เรียกขานพระองค์  13เพราะทุกคนที่เรียกขานพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า ก็จะรอดพ้น

อิสราเอลไม่อาจแก้ตัวได้

        14ฉะนั้น ชาวอิสราเอลจะเรียกขานพระองค์ได้อย่างไรถ้าพวกเขาไม่เชื่อf จะเชื่อได้อย่างไรถ้าไม่เคยได้ยิน จะได้ยินได้อย่างไรถ้าไม่มีใครประกาศสอน  15จะมีผู้ประกาศสอนได้อย่างไรถ้าไม่มีใครส่งไป ตามที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า เท้าของผู้ประกาศข่าวดีช่างงดงามจริงหนอg

16บางคนเท่านั้นได้เชื่อฟังข่าวดี ดังที่ประกาศกอิสยาห์กล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้า ใครเล่าได้เชื่อคำประกาศของเรา  17ดังนั้น ความเชื่อจึงมาจากการฟัง สิ่งที่ได้ฟังก็มาจากพระวาจาของพระคริสตเจ้าh

18ข้าพเจ้าขอถามว่า เป็นไปได้หรือที่เขาไม่ได้ยิน เขาได้ยินแน่นอน เพราะเสียง ของผู้ประกาศข่าวดีกระจายไปทั่วแผ่นดิน และวาจาของเขา i แพร่ไปจนสุดปลายพิภพ 19ข้าพเจ้าขอถามอีกว่า “เป็นไปได้หรือที่อิสราเอลไม่เข้าใจ” ก่อนอื่นโมเสสเคยพูดว่า เราจะยั่วยุท่านทั้งหลายให้อิจฉาคนต่างชาติ เราจะยั่วยุให้ท่านโกรธชนชาติที่โง่เขลาj      20และอิสยาห์ก็กล้าพูดว่า คนที่ไม่เสาะแสวงหาเรา เราก็จะให้พบ คนที่ไม่ถามถึงเรา เราก็จะแสดงตนให้รู้   21แต่เกี่ยวกับอิสราเอล ประกาศกอิสยาห์พูดว่า ตลอดวัน เราได้ยื่นมือออกไปหาประชากรที่ไม่เชื่อฟังและดื้อรั้นk

10 a เช่นเดียวกับเปาโลก่อนที่จะกลับใจ กจ 22:3; กท 1:14; ฟป 3:6; เทียบ 1 ทธ 1:13

b ความชอบธรรมไม่ใช่สิ่งที่หาได้มาด้วยความพยายาม แต่เป็นของประทานที่ได้รับมาอาศัยความเชื่อในพระ
คริสตเจ้า ดู 1:16 เชิงอรรถ h; 7:7 เชิงอรรถ d

c เรื่องที่กล่าวถึงนี้ดูแปลกเมื่ออ่านเป็นครั้งแรก เพราะข้อความจากหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติที่ยกมาเป็นคำสรรเสริญความชอบธรรมที่มาจากธรรมบัญญัติ แต่เปาโลมองเห็นในข้อความนี้ว่า เป็นข้อสรุปธรรมบัญญัติทั้งหมดไว้ในพระบัญญัติแห่งความรักและเป็น "การเข้าสุหนัตด้านจิตใจ" ฉธบ 30:6,16,20; เป็นการเกริ่นถึงธรรมบัญญัติใหม่ ซึ่งเปรียบได้กับการประทานธรรมบัญญัติที่ "จารึกไว้ในใจ" ยรม 31:33

d หมายถึง ทะเลใน ฉธบ 30:13 แต่ในที่นี้เปาโลหมายถึงแดนผู้ตาย ในเรื่องนี้หนังสือทาร์กุม (พันธสัญญาเดิมฉบับแปลเป็นภาษาอาราเมอิค) ได้ตีความไว้ว่าหมายถึงการที่ลงมาจากภูเขาซีนายของโมเสส และโยนาห์ขึ้นมาจากท้องทะเลลึก

e การประกาศความเชื่อ อย่างที่กระทำเมื่อรับศีลล้างบาป เป็นการแสดงให้เห็นการสมัครใจภายในที่จะมอบตนเองรับใช้พระเจ้า

f เช่นเดียวกับในกรณีอื่น ๆ เปาโลสมมติว่าตนเป็นผู้ฟังและตั้งคำถามโต้แย้งความคิดและเหตุผลของตนเอง

g คำว่า "ข่าวดี" แต่เดิมหมายถึง "การประกาศอิสรภาพแก่เชลย" อสย 52:7 คริสตชนนำคำนี้มาใช้กับการเทศน์สอนของพระคริสตเจ้าเรื่องความรอดพ้น

h บางฉบับว่า "พระวาจาของพระเจ้า"

i คำสอนของผู้ประกาศข่าวดี

j การพูดถึงความอิจฉาริษยาของอิสราเอลนี้ เป็นการปูทางไว้สำหรับเรื่องที่กล่าวใน 11:11,14

k ในพระคัมภีร์ภาษาฮีบรู ทั้งสองประโยค (ข้อ 20 และ 21) กล่าวถึงประชากรชาวอิสราเอล  แต่ในประโยคแรกประกาศกพูดถึง "อิสราเอลที่ไม่ร้องเรียกหาพระนามของพระยาห์เวห์" ดังนั้น พวกเขาจึงไม่ดีไปกว่าคนต่างชาติ ในข้อ 20 เปาโลประยุกต์ใช้ข้อความนี้กับคนต่างศาสนา (ethne) ซึ่งทำได้ง่ายมาก เพราะในพระคัมภีร์ฉบับภาษากรีก อสย 65:1 ใช้คำว่า "ethnos" ซึ่งหมายถึงชนต่างชาติอยู่แล้วและไม่ใช้คำว่า "laos" (ซึ่งหมายถึง   อิสราเอล "ประชากร" ของพระเจ้า) อย่างใน อสย 65:2


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

ความรอดพ้นของประชากรอิสราเอลส่วนที่เหลือ

        11  1 ดังนั้น ข้าพเจ้าขอถามว่า “จริงหรือที่ว่าพระเจ้าทรงทอดทิ้งประชากรของพระองค์”a เป็นไปไม่ได้ ข้าพเจ้าเป็นชาวอิสราเอลเชื้อสายของอับราฮัมจากตระกูลเบนยามิน  2พระเจ้าไม่ทรงทอดทิ้งประชากรที่ทรงเลือกสรรไว้ก่อนแล้ว พวกท่านไม่รู้หรือว่า ข้อความในพระคัมภีร์กล่าวถึงประกาศกเอลียาห์ เมื่ออ้อนวอนพระเจ้าโดยกล่าวโทษชาวอิสราเอลว่า  3ข้าแต่พระเจ้า พวกเขาประหารประกาศกของพระองค์ ทำลายแท่นบูชาของพระองค์ ข้าพเจ้าคนเดียวเท่านั้นที่ยังเหลืออยู่และพวกเขายังพยายามเอาชีวิตของข้าพเจ้าด้วย  4 และพระเจ้าตรัสตอบท่านว่าอย่างไร  “เราสงวนคนเจ็ดพันคนไว้สำหรับเราผู้ไม่คุกเข่าให้พระบาอัล”  5เช่นเดียวกัน ปัจจุบันนี้มีประชาชนที่เหลือกลุ่มหนึ่ง ได้รับการเลือกสรรด้วยเดชะพระหรรษทาน      6ถ้าการเลือกสรรนี้เป็นไปด้วยพระหรรษทาน การเลือกสรรนี้ก็มิได้เป็นไปเพราะกิจการ มิฉะนั้น พระหรรษทานก็ไม่ใช่พระหรรษทานอีกต่อไป  7 แล้วเป็นอย่างไร  ชาวอิสราเอลไม่ได้รับสิ่งที่ตนแสวงหาเว้นแต่ผู้ที่ได้รับการเลือกสรร ส่วนคนอื่นกลับมีจิตใจกระด้าง  8ดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า พระเจ้าประทานจิตใจที่มึนชาให้กับเขา ให้มีตาที่มองไม่เห็น มีหูที่ไม่อาจได้ยิน จนถึงทุกวันนี้  9กษัตริย์ดาวิดตรัสว่า ขอให้โต๊ะอาหารbของพวกเขากลายเป็นกับดัก เป็นบ่วงแร้ว เป็นที่สะดุด เป็นการลงโทษพวกเขา  10ขอให้ตาของพวกเขามืดมัวไปจนมองไม่เห็น และขอให้หลังของพวกเขาค้อมลงตลอดไป

ชาวยิวจะได้รับการฟื้นฟูในอนาคต

       11ข้าพเจ้าจึงถามต่อไปว่า “จริงหรือที่ชาวอิสราเอลสะดุดล้มอยู่เช่นนั้นตลอดไปc ไม่ใช่เลย แต่เพราะพวกเขาสะดุดล้ม ความรอดพ้นจึงมาถึงชนต่างชาติd เพื่อให้ชาวอิสราเอลเกิดความอิจฉา  12ถ้าการสะดุดล้มของพวกเขาทำให้โลกได้รับความไพบูลย์และความเสียหายของพวกเขาเป็นความไพบูลย์ของชนต่างชาติแล้ว ความไพบูลย์จะมีมากเพียงใด ถ้าชาวอิสราเอลทุกคนมีความเชื่อ

13ข้าพเจ้าขอพูดกับพวกท่านที่เป็นคนต่างชาติว่าe ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นธรรมทูตมายังชนต่างชาติ ข้าพเจ้ามีความภาคภูมิใจในศาสนบริการนี้  14โดยหวังจะยั่วยุพี่น้องร่วมชาติของข้าพเจ้าให้เกิดความอิจฉา และดังนี้ก็จะช่วยพวกเขาบางคนให้รอดพ้นได้  15เพราะการที่พระเจ้าทรงทอดทิ้งพี่น้องร่วมชาติของข้าพเจ้าเป็นเหตุให้มนุษยโลกกลับคืนดีกับพระองค์ การที่พระองค์ทรงรับพวกเขากลับมาอีกเป็นสิ่งใดเล่า ถ้าไม่ใช่เป็นชีวิตที่คืนมาจากบรรดาผู้ตายf

ชาวยิวยังคงเป็นประชากรที่พระเจ้าทรงเลือกสรร

        16ถ้าขนมปังก้อนที่ถวายพระเจ้าศักดิ์สิทธิ์ แป้งที่เหลือทั้งหมดก็ศักดิ์สิทธิ์ด้วยg และถ้ารากศักดิ์สิทธิ์ กิ่งก้านก็ศักดิ์สิทธิ์ด้วย  17ถ้ากิ่งบางกิ่งถูกตัดออกไป และท่านhซึ่งเป็นต้นมะกอกป่าถูกนำมาทาบเข้ากับiกิ่งที่ยังไม่ถูกตัดของต้นมะกอกบ้าน ท่านก็มีส่วนรับน้ำเลี้ยงjที่อุดมของต้นมะกอกบ้านด้วย  18ดังนั้นท่านอย่าโอ้อวดข่มกิ่งที่ถูกตัดทิ้งไป ถ้าท่านโอ้อวดก็จงรู้เถิดว่า ไม่ใช่ท่านที่พยุงราก แต่เป็นรากที่พยุงท่านไว้  19ท่านอาจจะพูดว่า “กิ่งถูกตัดเพื่อให้ข้าพเจ้าถูกนำมาทาบ”  20จริงอยู่ ชาวอิสราเอลถูกตัดทิ้งเพราะไม่มีความเชื่อ ส่วนท่านยืนอยู่ได้เพราะมีความเชื่อ ดังนั้น อย่าหยิ่ง ลำพองแต่จงมีความยำเกรง  21เพราะถ้าพระเจ้าไม่ทรงผ่อนปรนให้กิ่งมะกอกบ้าน พระองค์ก็จะไม่ทรงผ่อนปรนให้ท่านด้วยเช่นเดียวกัน  22ฉะนั้น จงพิจารณาน้ำพระทัยดีงามและความเคร่งครัดของพระเจ้า พระองค์ทรงแสดงความเคร่งครัดต่อผู้ที่ไม่มีความเชื่อk แต่ทรงแสดงน้ำพระทัยดีงามนั้นต่อท่านหากท่านยังถือซื่อสัตย์ต่อน้ำพระทัยดีงามนั้น ถ้าท่านไม่ถือซื่อสัตย์ท่านก็จะถูกตัดทิ้งเช่นกัน  23แต่ถ้าชาวอิสราเอลเลิกดื้อรั้นแล้วหันมาเชื่อ พวกเขาจะถูกนำมาทาบกิ่งอีกเพราะพระเจ้าทรงพระอานุภาพที่จะทรงทำเช่นนั้นได้  24ท่านที่เป็นมะกอกป่าตามธรรมชาติ ยังถูกนำมาทาบเข้ากับต้นมะกอกบ้านอย่างฝืนธรรมชาติได้ พวกเขาที่เป็นมะกอกบ้านอยู่แล้วตามธรรมชาติ ก็ย่อมจะถูกนำมาทาบกับต้นมะกอกพันธุ์เดียวกันได้ง่ายขึ้น

ชาวยิวกลับใจ

        25พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าต้องการให้ท่านรู้ธรรมล้ำลึกประการนี้ เพื่อมิให้ท่านทะนงว่าตนฉลาด นั่นคือ การที่ชาวอิสราเอลส่วนหนึ่งมีจิตใจกระด้าง จนกระทั่งคนต่างชาติเข้ามามีความเชื่อครบจำนวนเสียก่อนl  26ต่อจากนั้นชาวอิสราเอลทั้งหมดก็จะรอดพ้น ดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่าm

พระผู้ไถ่จะเสด็จมาจากศิโยน

จะทรงขจัดความอธรรมออกไปจากยาโคบ

27และนี่จะเป็นพันธสัญญาของเรากับพวกเขา

เมื่อเราจะขจัดบาปของพวกเขาให้สิ้นไป

28ชาวอิสราเอลยังคงเป็นปฏิปักษ์ต่อข่าวดี ซึ่งเป็นผลดีต่อท่านทั้งหลาย แต่พวกเขาได้รับการเลือกสรรn พวกเขาจึงยังคงเป็นที่รักของพระเจ้าตามพระสัญญาที่ทรงให้ไว้แก่บรรพบุรุษ  29ทั้งนี้ เพราะพระเจ้าไม่ทรงเปลี่ยนพระทัยเพิกถอนของประทานที่ทรงให้เปล่าและพระกระแสเรียกของพระองค์

30ท่านทั้งหลายเคยไม่เชื่อฟังพระเจ้า แต่บัดนี้ได้รับพระกรุณาเพราะชาว       อิสราเอลมิได้เชื่อฟังฉันใด  31บัดนี้ชาวอิสราเอลไม่เชื่อฟังพระเจ้า แต่ในที่สุดพวกเขาก็จะได้รับพระกรุณา ดังที่ได้ทรงแสดงพระกรุณาต่อท่านฉันนั้น  32เพราะพระเจ้าทรงปล่อยให้มนุษย์ทุกคนไม่เชื่อฟังพระองค์ เพื่อจะได้แสดงพระกรุณา

บทเพลงสรรเสริญพระกรุณาธิคุณและพระปรีชาญาณของพระเจ้า

33พระเจ้าทรงพระปรีชาและทรงรอบรู้ลึกล้ำเพียงใด คำตัดสินของพระองค์สุดที่จะหยั่งรู้ได้ และมรรคาของพระองค์สุดที่จะเข้าใจได้  34ใครเล่าจะล่วงรู้พระดำริของพระเจ้า ใครเล่าเป็นที่ปรึกษาของพระองค์  35ใครเล่าเคยถวายสิ่งใดแด่พระองค์ พระองค์จึงจะต้องประทานตอบแทนเขา  36เพราะทุกสิ่งล้วนมาจากพระองค์ โดยทางพระองค์และเพื่อพระองค์ ขอพระสิริรุ่งโรจน์จงมีแด่พระองค์ตลอดนิรันดร อาเมน

11 a คำถามแบบนี้เคยใช้แล้วใน 10:18,19 เป็นบทนำการประณามอิสราเอล บัดนี้ถูกใช้เป็นอารัมภบทถึงการประกาศความรอดพ้นของอิสราเอล (เช่นเดียวกับในข้อ 11 แม้ว่าอิสราเอลไม่ยอมเชื่อฟัง (10:21) แต่อิสราเอลก็ยังเป็นประชากรที่พระเจ้าทรงเลือกสรร 11:2; "กลุ่มชนที่เหลือรอด" อสย 4:3 เชิงอรรถ c; ซึ่งเป็นตัวแทนชั่วคราวของอิสราเอล จะเป็นหลักประกันถึงการฟื้นฟูที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

b ข้อความที่ยกมาอ้างจากเพลงสดุดีบทนี้บรรยายถึงการลงโทษคนซึ่งอิ่มหนำแล้วไม่สงสารผู้มีความเชื่อที่ทนทุกข์และมีความกระหาย อาจเป็นการกล่าวถึง(เช่นเดียวกับในหนังสือทาร์กุม)  การเลี้ยงในโอกาสถวายเครื่องบูชาก็เป็นได้ ถ้าเป็นดังนั้นจริงถ้อยคำของประกาศกนี้ก็สำเร็จไปตามตัวอักษรทีเดียว ชาวยิวไม่สามารถรับรู้ถึงพระผู้ไถ่ซึ่งรับทนทรมานได้ เพราะพวกเขายึดมั่นอยู่กับศาสนพิธี ซึ่งเป็นเพียงพิธีภายนอกเท่านั้น

c หมายความได้ว่า พวกเขาสะดุดล้มลงไปโดยไม่มีหวังที่จะลุกขึ้นได้อีก

d การที่ชาวยิวไม่ยอมเชื่อในปัจจุบัน ถือว่าเป็นเพียงการก้าวผิด ซึ่งพระเจ้าทรงอนุญาตให้เกิดขึ้นเพื่อให้คนต่างชาติได้กลับใจ 9:22; 11:12,19,25,30; และในที่สุดชาวยิวเองด้วยจะได้กลับใจ พระเจ้าจะทำให้พวกเขารู้สึก     "อิจฉา" 10:19; คนต่างชาติเพื่อความดีของพวกเขาเอง

e หมายถึง คริสตชนที่ไม่ใช่ยิว ดังนั้น แม้ในฐานะที่เป็นอัครสาวกของคนที่ไม่ใช่ชาวยิว เปาโลกำลังทำงานสำหรับความรอดพ้นของชาวยิวซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชาติของตนด้วย (แปลตามตัวอักษรว่า "เนื้อหนังของตนเอง")

f ประโยคนี้ได้รับการอธิบายหลายแบบ ความหมายน่าจะเป็นดังนี้ ถ้าการกลับใจของคนต่างชาติ เปรียบได้กับ
"การที่โลกคืนดีกับพระเจ้า" (หมายถึงขั้นตอนแรกในแผนการไถ่กู้แล้ว) การกลับใจของอิสราเอลก็จะเป็นพระพรยิ่งใหญ่ ที่อาจจะเปรียบได้กับการกลับคืนชีพในวันสุดท้ายเท่านั้น (ซึ่งหมายถึงขั้นตอนที่สองของความรอดพ้น) ถ้าเป็นเช่นนี้จริง เปาโลก็กำลังคิดถึงการกลับคืนชีพของทุกคน ในวันสิ้นพิภพ แต่ท่านก็ไม่ได้กล่าวว่า การกลับคืนชีพนี้จะเกิดขึ้นทันทีหลังจากการกลับใจของอิสราเอล บางคนแปลวลีนี้ว่า "ชีวิตจากบรรดาผู้ตาย" การทำให้ผู้ตายกลับคืนชีพเป็นอัศจรรย์พิเศษ ซึ่งอำนาจของพระเจ้าเท่านั้นทำได้ ดู 4:17 เชิงอรรถ g; 2 คร 1:9 การกลับใจของอิสราเอล เปรียบได้กับการกลับมาของลูกล้างผลาญและในกรณีนี้ อิสราเอลก็ยังเป็นบุตรหัวปีอีกด้วย จึงเป็นอัศจรรย์ที่น่าพิศวงไม่น้อยไปกว่านั้น เทียบดู ลก 15:24,32

g การกลับใจของอิสราเอลในอนาคต ข้อ 11-15 และที่ชัดเจนกว่าคือ ข้อ 25-26 จะแสดงให้เห็นความจริงที่ว่าชนกลุ่มน้อยที่ยังคงซื่อสัตย์เป็น "กลุ่มชนที่เหลือรอด" ที่แท้จริงและเป็น "เครื่องหมาย" ว่า อิสราเอลจะได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่ง ชนกลุ่มใหญ่ที่ไม่เชื่อยังคงมีความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวอยู่บ้างกับชนกลุ่มน้อยที่ซื่อสัตย์ ดังนั้น จึงยังมีส่วนในความศักดิ์สิทธิ์อยู่บ้างในระดับหนึ่งด้วย เช่นเดียวกับที่แป้งเพียงเล็กน้อยที่ "ถวาย" เป็นผลแรก ทำให้แป้งทั้งหมดที่จะใช้ทำขนมปังศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย (กดว 15:19-21)

h หมายถึงคริสตชนที่ไม่ใช่ยิว

i หรือ "ในที่ของ"

j บางฉบับอ่านว่า "มีส่วนในรากและรับน้ำเลี้ยง"

k แปลตามตัวอักษรได้ว่า "ผู้ที่ล้ม"

l เปาโลพูดถึงชนทั้งชาติไม่ใช่ทีละคน ทั้งประชากรชาวยิวเป็นส่วนรวมและชาวต่างชาติทั้งกลุ่ม

m พันธสัญญาเดิมได้กล่าวไว้ว่า เมื่อพระผู้ไถ่จะเสด็จมา อิสราเอลจะได้รับการชำระบาปทั้งสิ้น เปาโลเรียกการกระทำของพระเจ้าเช่นนี้ว่าเป็น "ธรรมล้ำลึก"  (ข้อ 25) และสอนว่า พระสัญญานี้ได้สำเร็จไปส่วนหนึ่งเมื่อคนต่างชาติได้กลับใจ ซึ่งจะต้องรวมไปถึงการกลับใจของชาวยิวด้วย

n ประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น แบ่งเป็นสองขั้นตอนอย่างชัดเจน อย่างที่เคยเรียกว่า "การเลือกสรร" และ

"ข่าวดี" ในช่วงข่าวดี ชาวยิวที่ปฏิเสธพระคริสตเจ้าได้กลายเป็นศัตรูของพระเจ้า และพระเจ้าได้ปล่อยให้เกิดขึ้นเช่นนี้เพื่อคนต่างชาติจะได้กลับใจ ดู 9:22 เชิงอรรถ h; 11:11 เชิงอรรถ c; ในสมัยแรกของบรรพบุรุษมีแต่ชาวยิวเท่านั้นที่ได้รับเลือกสรร


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

คำเตือนใจ

คารวกิจด้วยจิตใจa

         12  1พี่น้อง เพราะเห็นแก่พระกรุณาธิคุณของพระเจ้า ข้าพเจ้าอ้อนวอนท่านทั้งหลายให้ถวายร่างกายของท่านเป็นเครื่องบูชาที่มีชีวิต ที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่พอพระทัยแด่พระเจ้า นี่เป็นคารวกิจด้วยจิตใจของท่านb  2อย่าคล้อยตามความประพฤติของโลกนี้ แต่จงเปลี่ยนแปลงตนเองโดยการฟื้นฟูความคิดขึ้นใหม่ เพื่อจะได้รู้จักวินิจฉัยว่าสิ่งใดเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า สิ่งใดดี และสิ่งใดเป็นที่พอพระทัยอันสมบูรณ์พร้อมของพระองค์

ความถ่อมตนและความรัก

       3เดชะพระหรรษทานที่ข้าพเจ้าได้รับ ข้าพเจ้าขอกล่าวกับท่านแต่ละคนว่า อย่าคิดว่าตนเองเหนือกว่าผู้อื่น แต่จงคิดให้ถูกต้องว่าพระเจ้าประทานความเชื่อc ให้แต่ละบุคคลมากน้อยต่างกัน  4เพราะร่างกายของเรามีองค์ประกอบหลายส่วน และส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ไม่มีหน้าที่เดียวกันฉันใด  5แม้เราจะมีจำนวนมาก เราก็รวมเป็นร่างกายเดียวในพระคริสตเจ้าฉันนั้น โดยแต่ละคนต่างเป็นส่วนร่างกายของกันและกันd  6เรามีพระพรพิเศษแตกต่างกันตามพระหรรษทานที่พระองค์ประทานให้ ผู้ได้รับพระพรที่จะประกาศพระวาจา ก็จงใช้พระพรนั้นมากน้อยตามส่วนความเชื่อของตนe   7ผู้ที่ได้รับพระพรที่จะรับใช้ ก็จงรับใช้ ผู้ที่ได้รับพระพรที่จะสอน ก็จงสอน   8ผู้ที่ได้รับพระพรที่จะตักเตือน ก็จงตักเตือน ผู้ที่บริจาค ก็จงบริจาคด้วยความเอื้อเฟื้ออย่างจริงใจ ผู้ที่เป็นผู้นำ ก็จงทำหน้าที่ผู้นำด้วยความเอาใจใส่ ผู้ที่แสดงความเมตตากรุณา ก็จงแสดงความเมตตากรุณาด้วยใจยินดี  9จงรักด้วยใจจริง จงหลีกหนีความชั่ว จงยึดมั่นในสิ่งที่ดี  10จงรักกันฉันพี่น้อง จงคิดว่าผู้อื่นดีกว่าตนf  11อย่าเฉื่อยชา จงมีจิตใจกระตือรือร้นในการรับใช้องค์พระผู้เป็นเจ้าg  12จงชื่นชมยินดีในความหวัง จงมีความอดทนต่อความทุกข์ยาก จงพากเพียรในการภาวนา  13จงเห็นอกเห็นใจช่วยเหลือพี่น้องคริสตชนในยามขัดสน จงต้อนรับด้วยอัธยาศัยไมตรี

จงรักทุกคน รวมทั้งศัตรูh

         14จงอวยพรผู้ที่เบียดเบียนท่าน จงอวยพรเขา อย่าสาปแช่ง  15จงร่วมยินดีกับผู้ที่ยินดี จงร้องไห้กับผู้ที่ร้องไห้  16จงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อย่ามักใหญ่ใฝ่สูง แต่จงยอมทำสิ่งต่ำต้อยเถิด อย่าทะนงว่าตนฉลาด  17อย่าตอบแทนความชั่วด้วยความชั่ว  จงพยายามทำดีต่อมนุษย์ทุกคน  18ในส่วนของท่าน จงอยู่อย่างสันติกับทุกคนถ้าเป็นไปได้  19พี่น้องที่รักยิ่ง อย่าแก้แค้นเลย  แต่จงให้พระเจ้าทรงตัดสินลงโทษiเถิด ดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า การแก้แค้นเป็นของเรา เราจะตอบแทนการกระทำของทุกคน พระเจ้าตรัสดังนี้  20ตรงกันข้าม ถ้าศัตรูของท่านหิว จงให้อาหารแก่เขา ถ้าเขากระหาย จงให้เขาดื่ม เพราะเมื่อทำเช่นนี้ ท่านจะทำให้เขาสำนึกและละอายใจj  21อย่าให้ความชั่วเอาชนะท่าน แต่จงชนะความชั่วด้วยความดี

12 a กลุ่มคริสตชนได้เข้ามาแทนที่พระวิหารกรุงเยรูซาเล็ม สดด 2:6 เชิงอรรถ b; 40:8 เชิงอรรถ c; และการประทับอยู่ของพระจิตเจ้าในแต่ละคนทำให้การประทับอยู่ของพระเจ้าท่ามกลางประชากรศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์แน่นแฟ้นขึ้น 1คร 3:16-17; 2คร 6:16; อฟ 2:20-22; การประทับอยู่เช่นนี้ของพระจิตเจ้าเป็นแรงบันดาลใจให้
คริสตชนถวายคารกิจแบบใหม่ด้วยจิตใจแด่พระเจ้า รม 1:9 เชิงอรรถ f; 12:1; เพราะผู้มีความเชื่อเป็นส่วนพระ วรกายของพระคริสตเจ้า 1 คร 6:15-20; ที่ถูกตรึงกางเขนและกลับคืนชีพ จึงกลายเป็นที่พำนักใหม่ของพระเจ้าและเป็นคารวกิจใหม่แด่พระเจ้า มธ 12:6-7; 26:61 //; 6 เชิงอรรถ a; 27:40 //; ยน 2:19-22,21  เชิงอรรถ i;  4:20-21; กจ 6:13-14; 7:48; ฮบ 10:4-10 เชิงอรรถ a; วว 21:22

b "ด้วยจิตใจ" เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างคารวกิจของคริสตชนกับพิธีบูชาของชาวยิวและของคนต่างศาสนา ซึ่งเป็นการถวายสิ่งของตามที่กำหนดไว้ เทียบ ฮชย 6:6; เทียบ รม 1:9 เชิงอรรถ f;

c "ความเชื่อ" ที่ใช้ในที่นี้หมายถึงพระพรฝ่ายจิตที่พระเจ้าประทานให้แก่สมาชิกของกลุ่มคริสตชน เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตและเสริมสร้างการเจริญเติบโต

d ประโยคนี้ไม่ได้เน้นว่าคริสตชนเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้า 1 คร 12:27 มากเท่ากับการที่พวกเขาต้องพึ่งกันและกัน

e ยังแปลได้อีกแบบหนึ่งว่า "ตามกฎของความเชื่อ" นั่นคือตามคำสอนสามัญของพระศาสนจักรอย่างใน          1 คร 12:3; ซึ่ง "การประกาศหรือการแสดงความเชื่อ" เป็นมาตรการทดสอบว่าพระพรของพระจิตเจ้านั้น เป็นพระพรแท้หรือไม่ แต่การแปลเช่นนี้มีทางเป็นไปได้น้อยกว่า

f หรือ "จงแข่งขันในการยกย่องกันและกัน"

g บางฉบับว่า "รับใช้กาลเวลา" ซึ่งมีความหมายว่า เตรียมพร้อมเมื่อโอกาสมาถึง

h ขณะนี้ เปาโลกล่าวถึงความรักต่อมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะตั้งแต่ข้อ 17 เป็นต้นไป

i หมายถึง พระพิโรธของพระเจ้าที่คอยลงโทษบาป

j แปลตามตัวอักษรว่า "สุมถ่านไฟที่ลุกโชนไว้บนศีรษะของเขา" คริสตชนทำการแก้แค้นศัตรูด้วยการทำความดี ภาพของถ่านไฟลุกโชนเป็นสัญลักษณ์ของความเจ็บปวดที่ร้อนรุ่ม หมายถึง ความทุกข์ใจซึ่งจะนำคนบาปให้กลับใจ


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

ความนอบน้อมต่อเจ้าหน้าที่บ้านเมืองa

         13  1ทุกคนจงนอบน้อมต่อผู้มีอำนาจปกครอง เพราะไม่มีอำนาจใดที่ไม่มาจากพระเจ้า และอำนาจทั้งหลายที่มีอยู่ก็ได้รับจากพระเจ้าทั้งสิ้น  2ดังนั้น ผู้ที่ต่อต้านอำนาจก็ต่อต้านพระบัญชาของพระเจ้า และผู้ที่ต่อต้านก็จะถูกตัดสินลงโทษ  3ผู้กระทำความดีไม่ต้องเกรงกลัวผู้มีอำนาจปกครอง แต่ผู้กระทำความชั่วต้องเกรงกลัว ท่านไม่ประสงค์จะกลัวผู้มีอำนาจปกครองหรือ จงทำดีเถิด และท่านจะได้รับคำชมจากผู้มีอำนาจปกครอง  4เพราะผู้มีอำนาจปกครองเป็นผู้รับใช้พระเจ้าเพื่อความดีของท่าน ถ้าท่านทำผิด จงเกรงกลัวเถิด เพราะผู้มีอำนาจปกครอง จะไม่เพียงถือดาบไว้เท่านั้น แต่มีดาบไว้เพื่อลงโทษผู้กระทำชั่วเพราะเขาคือผู้รับใช้พระเจ้า  5ดังนั้น ท่านจำเป็นต้องนอบน้อมไม่เพียงเพราะกลัวการลงโทษ แต่นอบน้อมเพราะมโนธรรมด้วย  6ดังนั้น ท่านจงเสียภาษี เพราะผู้ทำหน้าที่นี้เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า  7จงให้ทุกคนตามสิทธิของเขา จงเสียภาษีแก่ผู้มีสิทธิรับภาษี จงเสียค่าธรรมเนียมแก่ผู้มีสิทธิเก็บค่าธรรมเนียม จงเกรงกลัวผู้ที่ควรเกรงกลัว จงให้เกียรติแก่ผู้สมควรจะได้รับเกียรติ

ความรักและบทบัญญัติ

        8อย่าเป็นหนี้ผู้ใด นอกจากเป็นหนี้ความรักซึ่งกันและกัน ผู้ที่รักเพื่อนมนุษย์ก็ปฏิบัติตามธรรมบัญญัติครบถ้วนแล้วb  9พระบัญญัติกล่าวว่า อย่าผิดประเวณี อย่าฆ่าคน อย่าลักขโมยc อย่าโลภ และถ้ามีบทบัญญัติอื่นอีกก็สรุปได้ในข้อความนี้ว่า จงรักเพื่อนมนุษย์dเหมือนรักตนเอง  10ความรักไม่ทำความเสียหายแก่เพื่อนมนุษย์ ความรักเป็นการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติอย่างครบถ้วน

บุตรแห่งความสว่าง

        11ท่านทั้งหลายจงรู้เถิดว่า เวลาeที่จะประพฤติปฏิบัติเช่นนี้มาถึงแล้ว บัดนี้ถึงเวลาที่จะต้องตื่นขึ้นจากความหลับ ขณะนี้ความรอดพ้นอยู่ใกล้เรามากกว่าเมื่อเราเริ่มมีความเชื่อ  12กลางคืนล่วงไปมากแล้ว กลางวันก็ใกล้จะมาถึง ดังนั้น เราจงละทิ้งกิจการของความมืดมนเสีย แล้วสวมเกราะของความสว่าง  13เราจงดำเนินชีวิตอย่างมีเกียรติเหมือนกับเวลากลางวัน มิใช่กินเลี้ยงเสพสุราเมามาย มิใช่ปล่อยตัวเสพกามอย่างผิดศีลธรรม มิใช่วิวาทริษยา  14แต่จงดำเนินชีวิตโดยสวมพระเยซูคริสตเจ้าเป็นอาภรณ์ อย่าทำตามความต้องการของเนื้อหนัง

13 a เปาโลประกาศหลักการที่ว่า อำนาจทุกอย่างที่ชอบด้วยกฎหมายล้วนมาจากพระเจ้าทั้งสิ้น คริสตศาสนาไม่ขัดสู้อำนาจบ้านเมือง 13:1-7 และคริสตชนก็ต้องปฏิบัติหน้าที่และภาระต่าง ๆ ของพลเมืองดีด้วย หลักการข้อนี้ยังปฏิบัติอยู่แม้เมื่ออำนาจบ้านเมืองได้เริ่มเบียดเบียนคริสตชนแล้วก็ตาม ทต 3:1; 1 ทธ 2:1-2

b อาจจะหมายถึงกฎหมายโดยทั่วไป โดยไม่เจาะจงว่าจะต้องเป็นธรรมบัญญัติของโมเสส

c บางฉบับเสริมว่า "อย่าเป็นพยานเท็จ"

d ในหนังสือเลวีนิติ คำว่า "เพื่อนบ้านหรือเพื่อนมนุษย์" หมายถึงเพื่อนร่วมชาติ ในที่นี้หมายถึงมนุษย์ทุกคน ซึ่งบัดนี้ได้มาเป็นหนึ่งเดียวกันในพระคริสตเจ้าแล้ว มธ 25:40; กท 3:28;

e ความคิดเรื่อง "เวลา" (kairos) เป็นพื้นฐานในการสอนศีลธรรมของเปาโล "เวลา" ที่ว่านี้หมายถึงยุคสุดท้าย หรือ "วันสุดท้าย" ที่เริ่มต้นขึ้นพร้อมกับการสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระคริสตเจ้า และอยู่คู่ไปกับยุคของพระศาสนจักร บนแผ่นดินนี้ เป็นยุคของความรอดพ้น 2 คร 6:2 เชิงอรรถ a "เวลา" ที่ว่านี้เป็นยุคตรงข้ามกับยุคก่อน แตกต่างกันในด้านธรรมชาติมากกว่าในด้านเวลา ดังนั้น ตั้งแต่บัดนี้ไป คริสตชนจึงเป็น     "บุตรของเวลากลางวัน" ได้รับการช่วยให้พ้นจากโลกที่ชั่วร้าย กท 1:4 และจากอาณาจักรของความมืด เข้าอยู่ในอาณาจักรของพระเจ้าและของพระบุตรของพระองค์แล้ว คส 1:13; จึงเป็นพลเมืองของสวรรค์ตั้งแต่บัดนี้ด้วย ฟป 3:20; สถานภาพใหม่เอี่ยมเหล่านี้เป็นมาตรการความคิดทางศีลธรรมทั้งหมดของเปาโล ดู 6:3ฯ


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

จงเคารพมโนธรรมของพี่น้อง

       14  1จงยอมรับผู้ที่ความเชื่อยังไม่มั่นคงa อย่าตัดสินเขา เพราะความลังเลใจของเขา  2คนหนึ่งเชื่อว่ากินทุกอย่างได้ แต่อีกคนหนึ่งยังมีความเชื่อไม่มั่นคง กินแต่ผักเท่านั้น  3ผู้ที่กินทุกอย่าง อย่าดูถูกผู้ที่ไม่กิน และผู้ที่ไม่กินก็อย่าตัดสินประณามผู้ที่กิน เพราะพระเจ้าทรงยอมรับเขาแล้ว  4ท่านเป็นใครกันที่จะตัดสินคนรับใช้ของผู้อื่น เขาจะยืนอยู่หรือล้มลงก็เป็นเรื่องของนายของเขา แต่เขาจะยืนอยู่ได้เพราะองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงทำให้เขายืนอยู่ได้  5คนหนึ่งคิดว่าวันหนึ่งสำคัญกว่าอีกวันหนึ่ง แต่อีกคนหนึ่งคิดว่าทุกวันมีความสำคัญเท่ากัน แต่ละคนจงปฏิบัติตามความเชื่อมั่นของตน  6ผู้ที่ถือวันสำคัญ ก็ถือเพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่กิน ก็กินเพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า เพราะเขาขอบพระคุณพระองค์ ผู้ที่ไม่กิน ก็งดกินเพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า และขอบพระคุณพระองค์เช่นกัน  7เพราะไม่มีพวกเราคนใดที่มีชีวิตอยู่เพื่อตนเอง และไม่มีผู้ใดตายเพื่อตนเองเช่นเดียวกัน  8ถ้าเรามีชีวิตอยู่ ก็มีชีวิตอยู่เพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า ถ้าเราตาย เราก็ตายเพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า ดังนั้น ไม่ว่าเรามีชีวิตอยู่หรือตาย เราก็เป็นขององค์พระผู้เป็นเจ้า  9เพราะเหตุนี้เอง พระคริสตเจ้าจึงสิ้นพระชนม์และกลับคืนพระชนมชีพ เพื่อจะเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าทั้งของผู้ตายและของผู้เป็น  10แล้วท่านเล่า ทำไมจึงตัดสินพี่น้องของท่าน หรือท่านเล่า ทำไมท่านจึงดูหมิ่นพี่น้องของท่าน ในเมื่อเราทุกคนจะต้องไปยืนอยู่หน้าพระบัลลังก์พิพากษาของพระเจ้าb  11เพราะมีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า “พระเจ้าตรัสว่า เรามีชีวิตอยู่แน่นอนฉันใด ก็เป็นที่แน่นอนฉันนั้นว่า ทุกคนจะคุกเข่าลงกราบเรา และทุกคนจะกล่าวสรรเสริญพระเจ้า  12ดังนั้น เราแต่ละคนต่างจะต้องทูลรายงานเกี่ยวกับตนเองต่อพระเจ้า

         13ดังนั้น เราจงเลิกตัดสินกันเถิด และจงเลิกคิดที่จะเป็นอุปสรรคให้พี่น้องสะดุดล้ม  14ข้าพเจ้ารู้และแน่ใจในองค์พระเยซูเจ้าว่า ไม่มีสิ่งใดเป็นมลทินในตัวเอง แต่ถ้าใครคิดว่าเป็นมลทินก็เป็นมลทินสำหรับเขา  15ถ้าอาหารที่ท่านกินc เป็นเหตุให้พี่น้องไม่สบายใจ ท่านก็ไม่ได้ประพฤติตนตามความรัก อย่าใช้เรื่องอาหารมาทำลายพี่น้องคนนั้นที่พระคริสตเจ้าสิ้นพระชนม์เพื่อเขา  16อย่าให้สิทธิdของท่านถูกตำหนิได้         17เพราะอาณาจักรของพระเจ้าไม่ใช่เรื่องการกินการดื่ม แต่เป็นความชอบธรรม สันติและความชื่นชมยินดีในพระจิตเจ้า  18ผู้ที่รับใช้พระคริสตเจ้าดังนี้เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้าและเป็นที่เคารพนับถือของมนุษย์  19ฉะนั้น เราจงพยายามทำกิจการที่นำไปสู่สันติและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่กันและกัน  20อย่าทำลายงานeของพระเจ้าด้วยเรื่องอาหาร อาหารทุกชนิดบริสุทธิ์อย่างแน่นอน แต่การกินอาหารโดยทำให้ผู้อื่นไม่สบายใจfเป็นความผิด  21เป็นการดีที่จะงดกินเนื้อ งดดื่มเหล้าองุ่นและงดทุกสิ่งที่เป็นเหตุทำให้พี่น้องของท่านไม่สบายใจ

         22จงเก็บความเชื่อมั่นgของท่านไว้สำหรับตนเองเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าเถิด ผู้ที่ไม่ตัดสินลงโทษตนเองในสิ่งที่ตนเห็นชอบแล้วก็มีสุข  23แต่ผู้ที่ยังสงสัยอยู่ ถ้ากิน ก็ตัดสินลงโทษตนเอง เพราะกระทำโดยไม่เชื่อมั่นh ทุกสิ่งที่ไม่ได้มาจากความเชื่อมั่น ย่อมเป็นบาป

14 a หมายถึง คริสตชนที่ยังไม่มีฐานความเชื่อมั่นคง จึงไม่มีความมั่นใจที่จะทำให้มีมโนธรรมชัดเจน ข้อ 2,5,22; บุคคลเหล่านี้คิดว่าตัวเองยังต้องถือวันบางวัน ข้อ 5 และจะต้องละเว้นจากการกินเนื้อหรือเหล้าองุ่น ข้อ 2,21 เป็นข้อผูกมัดถาวร ข้อ 21 การงดเว้นเช่นนี้เป็นเรื่องธรรมเนียมในโลกของคนต่างศาสนา เช่น ศิษย์ของ  ปีทาโกรัสและชาวยิว พวกเอสเซนและยอห์นบัปติสต์ ที่นี่เปาโลวางหลักการเดียวกันกับที่ให้ไว้ใน 1 คร 8; 10:14-33 คือแต่ละคนจะต้องกระทำ "เพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า" ตามที่มโนธรรมสั่ง ข้อ 5-6 ตราบใดที่มโนธรรมชัดเจน ข้อ 23 แต่เหนือสิ่งอื่นใด ความรักจะต้องเป็นหลักความประพฤติของผู้ที่ "เข้มแข็งในความเชื่อ" ข้อ 1,15,19-21 และ 15:1-13

b พระเจ้าผู้เดียวทรงรู้ถึงความลับของจิตใจ เทียบ 2:16; 1คร 4:3ฯ

c หรือ "แต่ถ้า"

d คงหมายถึงเสรีภาพที่คริสตชนผู้มีความเชื่อเข้มแข็งนำมาอ้างเป็นสิทธิพิเศษ ซึ่งคนอื่นอาจจะคิดว่าเป็นความผิด ดู 3:8 เชิงอรรถ d

e งานของพระเจ้าในที่นี้ หมายถึง พี่น้องคริสตชนที่ความเชื่อยังไม่มั่นคง ข้อ 15 หรือหมายถึงกลุ่มคริสตชนทั่ว ๆ ไป เทียบ 1 คร 3:9

f แปลตามตัวอักษรว่า "เป็นที่สะดุด"

g หรืออาจจะแปลได้อีกว่า "ท่านมีความเชื่อมั่นแบบหนึ่งหรือ  จงยึดถือความเชื่อมั่นนั้นไว้เถิด" ความเชื่อมั่นจะมีคุณค่าแท้จริงต่อหน้าพระเจ้า ก็เพราะความเชื่อมั่นนั้นถูกต้อง แต่ถึงกระนั้น ความรักก็ยังมีค่ามากกว่า "ความเชื่อมั่น" อยู่นั่นเอง

h ในที่นี้หมายถึงการมีมโนธรรมที่ถูกต้อง ดู 14:1 เชิงอรรถ a; มีคำแปลอื่น ๆ อีกว่า "เนื่องจากเขาไม่ได้ทำไปตามความเชื่อมั่น" หรือ "เนื่องจากการกระทำของเขาไม่ได้เกิดขึ้นจากความมั่นใจของความเชื่อ"


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

        15 1พวกเราที่เข้มเข็งต้องอดทนต่อความพลาดพลั้งของคนที่อ่อนแอ และไม่ทำตามใจชอบของเราเอง  2พวกเราแต่ละคนต้องเอาใจพี่น้องเพื่อความดีและค้ำจุนกัน  3เพราะพระคริสตเจ้ามิได้ทรงถือพระทัยของพระองค์เป็นใหญ่ แต่ทรงอดทน ดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า คำสบประมาทของผู้ที่เหยียดหยามพระองค์ตกอยู่กับข้าพเจ้า  4สิ่งที่เขียนไว้ก่อนนั้นก็เขียนไว้สำหรับสั่งสอนเรา เพื่อเราจะมีความหวังอาศัยความอดทนพากเพียรและการปลอบใจที่มาจากพระคัมภีร์  5ขอให้พระเจ้าผู้ประทานความพากเพียรและการปลอบใจ โปรดให้ท่านเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันa ตามแบบฉบับของพระคริสตเยซู  6เพื่อท่านจะได้พร้อมใจกันและเปล่งวาจาเป็นเสียงเดียวกัน ถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าผู้ทรงเป็นบิดาของพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา

        7ดังนั้น ท่านจงยอมรับกันและกัน เช่นเดียวกับที่พระคริสตเจ้าทรงยอมรับท่านเพื่อพระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า  8ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า พระคริสตเจ้าทรงยอมเป็นผู้รับใช้พวกที่เข้าสุหนัต เพราะทรงเห็นแก่ความสัตย์จริงของพระเจ้า เพื่อยืนยันพระสัญญาที่ประทานไว้กับบรรพบุรุษ  9ส่วนคนต่างชาตินั้นถวายเกียรติแด่พระเจ้าเพราะพระเมตตาของพระองค์b ดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า เพราะเหตุนี้ข้าพเจ้าจะสรรเสริญพระองค์ท่ามกลางนานาชาติ ร่วมขับร้องสดุดีพระนามของพระองค์  10และมีเขียนไว้อีกว่า ประชาชาติทั้งหลาย จงชื่นชมยินดีพร้อมกับประชากรของพระองค์  11และเขียนอีกตอนหนึ่งว่า จงสรรเสริญพระเจ้าเถิด ประชาชาติทั้งหลาย จงร้องสรรเสริญพระองค์เถิด ประชากรทั้งหลาย  12ประกาศกอิสยาห์ยังกล่าวอีกว่า รากของเจสซีจะงอกขึ้น พระองค์จะทรงขึ้นมาปกครองประชาชาติ นานาชาติจะมีความหวังในพระองค์

13ขอพระเจ้าผู้ประทานความหวังโปรดให้ท่านทั้งหลายเปี่ยมด้วยความยินดีและสันติทุกประการในการที่ท่านเชื่อเช่นนั้น เพื่อว่าท่านทั้งหลายจะได้มีความหวังอย่างเต็มเปี่ยมc เดชะพระฤทธานุภาพของพระจิตเจ้า

บทส่งท้าย

ศาสนบริการของเปาโล

       14พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าแน่ใจว่า ท่านมีความดีและมีความรู้อย่างเต็มเปี่ยม สั่งสอนตักเตือนกันได้  15แต่บางตอนของจดหมายนี้ข้าพเจ้าใช้ถ้อยคำรุนแรงไปบ้างเพื่อเตือนความจำของท่านอีกครั้งd เพราะพระหรรษทานที่พระเจ้าประทานให้กับข้าพเจ้า  16เพื่อให้ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของพระคริสตเยซูไปยังคนต่างศาสนา โดยทำหน้าที่สมณะในการประกาศข่าวดีeของพระเจ้า เพื่อให้คนต่างศาสนาได้เป็นเสมือนเครื่องบูชาที่พอพระทัยซึ่งพระจิตเจ้าทรงบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ให้

      17ข้าพเจ้าจึงมีความภูมิใจในพระคริสตเยซูถึงงานที่ข้าพเจ้ากระทำเพื่อพระเจ้า 18เพราะข้าพเจ้าไม่กล้ากล่าวถึงสิ่งใดนอกจากสิ่งที่พระคริสตเจ้าทรงกระทำโดยผ่านข้าพเจ้า เพื่อให้คนต่างศาสนาเชื่อฟังพระเจ้า ข้าพเจ้ากระทำเช่นนี้โดยอาศัยคำพูดและ กิจการ  19อาศัยฤทธิ์อำนาจของเครื่องหมายอัศจรรย์ต่าง ๆ เดชะพระฤทธานุภาพของพระจิตเจ้า ข้าพเจ้าประกาศข่าวดีของพระคริสตเจ้าอย่างครบถ้วนตั้งแต่กรุงเยรูซาเล็มและเขตปริมณฑลไปจนถึงแคว้นอิลลีริคุมf  20ข้าพเจ้าตั้งเป็นกฎไว้ว่าจะประกาศข่าวดีในที่ที่ยังไม่มีผู้รู้จักพระนามของพระคริสตเจ้ามาก่อน เพื่อข้าพเจ้าจะได้ไม่ก่อสร้างบนรากฐานที่คนอื่นวางไว้แล้ว  21ดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า ผู้ที่ไม่เคยฟังคำประกาศเรื่องพระองค์จะแลเห็น และผู้ที่ไม่เคยได้ยินเรื่องพระองค์จะเข้าใจพระองค์

แผนการของเปาโล

         22เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงถูกขัดขวางหลายครั้งไม่ให้มาพบท่านทั้งหลาย  23แต่บัดนี้ไม่มีหน้าที่ใดที่จะต้องทำในท้องที่เหล่านี้อีกแล้วg ข้าพเจ้าต้องการจะมาพบท่านหลายปีมาแล้ว  24ข้าพเจ้าหวังว่าจะแวะมาพบท่านขณะที่ข้าพเจ้าเดินทางไปยังสเปน และท่านจะช่วยให้เดินทางต่อไปถึงที่นั่น หลังจากที่ได้รับความสดชื่นบ้างจากการพำนักอยู่กับท่าน  25เวลานี้ ข้าพเจ้ากำลังเดินทางไปยังกรุงเยรูซาเล็มเพื่อรับใช้บรรดาคริสตชนที่นั่น  26เนื่องจากจากชาวมาซีโดเนียและชาวอาคายาต้องการทำบุญช่วยเหลือคนยากจนในกลุ่มคริสตชนที่กรุงเยรูซาเล็ม

27พวกเขาต้องการทำเช่นนี้ เพราะพวกเขาเองก็เป็นหนี้บุญคุณคริสตชนที่กรุงเยรูซาเล็ม เพราะถ้าคนต่างศาสนาได้มีส่วนในสมบัติฝ่ายจิต พวกเขาก็ควรรับใช้คริสตชนที่กรุงเยรูซาเล็มในความต้องการฝ่ายกายด้วย  28 ดังนั้น เมื่อข้าพเจ้าทำธุรกิจนี้สำเร็จ และนำของบริจาคไปให้พวกเขาเป็นทางการเรียบร้อยแล้วh ข้าพเจ้าจะแวะมาเยี่ยมท่านระหว่างทางไปสเปน  29ข้าพเจ้ารู้ว่า เมื่อข้าพเจ้ามาถึง ข้าพเจ้าจะนำพระพรอันมากล้นของพระคริสตเจ้ามาให้ท่านด้วย

30พี่น้องทั้งหลาย เพราะเห็นแก่พระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา และเพราะเห็นแก่ความรักจากพระจิตเจ้า ข้าพเจ้าอ้อนวอนท่านให้ร่วมแรงiกับข้าพเจ้าในการภาวนาต่อพระเจ้า  31เพื่อข้าพเจ้าจะได้พ้นจากผู้ไม่มีความเชื่อในแคว้นยูเดีย และเพื่อให้กลุ่มคริสตชนที่กรุงเยรูซาเล็มพอใจศาสนบริการของข้าพเจ้า  32ข้าพเจ้าจะได้มาพบท่านด้วยความชื่นชมยินดี ถ้าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าเพื่อจะได้พักผ่อนกับท่าน

33ขอพระเจ้าผู้ประทานสันติ สถิตอยู่กับท่านทั้งหลายเทอญ อาเมน

15 a หมายถึง การเอาใจเขามาใส่ใจเรา

b พระคริสตเจ้าได้ทรงต้อนรับคนต่างศาสนาและดังนี้ได้ถวายเกียรติแด่พระเจ้า แต่ขณะที่ยังทรงอยู่ในโลกนี้ พระคริสตเจ้าได้ประกาศข่าวดีเฉพาะในแวดวงชาวอิสราเอลเท่านั้น เทียบ มธ 15:24 พระคริสตเจ้าทรงแสดงว่าพระเจ้าซื่อสัตย์ต่อพระสัญญา ส่วนชนต่างศาสนาที่กลับใจเป็นพยานที่มีชีวิตแสดงถึงพระเมตตาของพระเจ้า ดังนั้น ชนต่างศาสนาที่กลับใจควรแสดงความเมตตาต่อบรรดาพี่น้องในความเชื่อ ดู 12:1

c คำอวยพรนี้สรุปหลักของคำสอนของเปาโลที่บรรจุอยู่ในจดหมายฉบับนี้

d ในตอนท้าย ๆ ของจดหมาย เปาโลได้แสดงเจตนาอีกครั้งหนึ่งที่จะเขียนถึงพระศาสนจักรที่เขาเองไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้ง ลองเปรียบเทียบกับ 1:13

e ชีวิตคริสตชนเป็นคารวกิจถวายแด่พระเจ้าอยู่แล้ว 12:1 เทียบ ฟป 2:17 การแพร่ธรรมยิ่งแสดงคารวกิจเป็น
ศาสนพิธีมากขึ้น ดู 1:9 กล่าวคืออัครสาวก หรือพระคริสตเจ้าโดยทางอัครสาวก ข้อ 18 ทรงถวายมนุษยชาติทั้งสิ้นแด่พระเจ้า

f จุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของการเดินทางประกาศข่าวดีของเปาโลขณะเขียนจดหมาย ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าเขาได้มาถึงแคว้นอิลลีริคุมจริงหรือไม่

g ไม่ใช่ว่าคนต่างศาสนาที่อยู่ที่นั่นทุกคนได้กลับใจแล้ว แต่หมายถึงว่าหน้าที่ของเปาโลคือการวางรากฐาน และปล่อยให้ศิษย์ทำหน้าที่สร้างพระศาสนจักรขึ้นมาบนรากฐานนั้น ดู 1 คร 3:6,10; คส 1:7; ฯลฯ

h แปลตามตัวอักษรได้ว่า "ได้ประทับตราแล้ว"

i แปลตามตัวอักษรได้ว่า “ร่วมต่อสู้พร้อมกับข้าพเจ้า” เปาโลขอให้กลุ่มคริสตชนต่าง ๆ ภาวนาสำหรับเขาอยู่บ่อย ๆ ดู 8:27 เชิงอรรถ m; เกี่ยวกับการภาวนาที่เข้าใจในทำนองที่ว่าเป็นการเร่งรัดพระเจ้า ดูตัวอย่างจาก อับราฮัม ปฐก 18:17ฯ; จากยาโคบ ปฐก 32:29; จากโมเสส อพย 32:11-14,30-32; ฉธบ 9:18,25; และจากพระวรสาร มก 7:24-30; ลก 11:1-8


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

คำทักทายและความปรารถนาดี

        16a 1ข้าพเจ้าขอฝากเฟบีbไว้กับท่านทั้งหลาย เธอเป็นพี่น้องคนหนึ่งของเรา เป็นศาสนบริกรสตรีของพระศาสนจักรที่เคนเครีย  2จงต้อนรับเธอในองค์พระผู้เป็นเจ้าให้สมควรกับผู้เป็นคริสตชน และจงช่วยเหลือเธอในสิ่งที่เธอต้องการจากท่าน เธอเคยช่วยเหลือข้าพเจ้าและอีกหลาย ๆ คน

                     3ขอฝากความคิดถึงปริสสิลลาและอาควิลลา ผู้ร่วมงานกับข้าพเจ้าในพระคริสตเยซู  4เขาเสี่ยงต่อการถูกตัดคอเพื่อช่วยชีวิตข้าพเจ้ามาแล้วc มิใช่ข้าพเจ้าเท่านั้นที่ขอขอบคุณเขาทั้งสองคน แต่พระศาสนจักรทั้งหลายของชนต่างชาติก็ขอบคุณเขาทั้งสองด้วย  5ขอฝากความคิดถึงกลุ่มคริสตชนที่ชุมนุมกันในบ้านของเขาด้วย

            ขอฝากความคิดถึงเอเปเนทัสที่รักของข้าพเจ้า เขาเป็นคนแรกในแคว้นอาเชียที่มีความเชื่อในพระคริสตเจ้าd  6ขอฝากความคิดถึงมารีย์ ซึ่งเหน็ดเหนื่อยมากเพื่อท่านทั้งหลาย  7ขอฝากความคิดถึงอันโดรนิคัสและยูนิอัส ผู้เป็นญาติและเคยถูกจองจำร่วมกับข้าพเจ้าe ทั้งสองคนนี้เป็นคนเด่นในหมู่อัครสาวกและได้มานับถือพระคริสตเจ้าก่อนข้าพเจ้า  8ขอฝากความคิดถึงอัมพลีอาทัส ผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้าในองค์พระผู้เป็นเจ้า  9ขอฝากความคิดถึงอูรบานัสผู้ร่วมงานกับพวกเราในพระคริสตเจ้า และขอฝากความคิดถึงสทาคิสที่รักของข้าพเจ้าด้วย  10ขอฝากความคิดถึงอาเปลเลสผู้พิสูจน์ตนเองแล้วในพระคริสตเจ้า ขอฝากความคิดถึงทุกคนในครอบครัวของอาริสโทบูลัส  11ฝากความคิดถึงเฮโรดิโอน ญาติของข้าพเจ้าและฝากความคิดถึงทุกคนที่เป็นของพระเยซูเจ้าในครอบครัวของนารซิสสัส  12ขอฝากความคิดถึงตรีเฟนาและตรีโฟสาผู้ทำงานเพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า ขอฝากความคิดถึงเปอร์สิสที่รัก ผู้ทำงานมากมายเพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้า 13ขอฝากความคิดถึงรูฟัสf ผู้ที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเลือกสรร และขอฝากความคิดถึงมารดาของเขา ซึ่งเป็นเสมือนมารดาของข้าพเจ้าด้วย  14ขอฝากความคิดถึงอาสินครีตัส ฟะเลโกน เฮอร์เมส ปัทโรฟัส เฮอร์มาสและบรรดาพี่น้องที่อยู่กับพวกเขา  15ขอฝากความคิดถึงฟีโลโลกัสและยูเลีย เนเรอัสและน้องสาวของเขา และขอฝากความคิดถึง   โอลิมปัสและคริสตชนทุกคนที่อยู่กับพวกเขา  16ท่านทั้งหลาย จงทักทายกันด้วยการจุมพิตศักดิ์สิทธิ์g พระศาสนจักรทุกแห่งของพระคริสตเจ้าขอฝากความคิดถึงท่านทั้งหลาย

คำตักเตือนและปัจฉิมลิขิตครั้งที่หนึ่ง

         17พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอเตือนท่านให้ระวังและหลีกเลี่ยงบุคคลhที่ทำให้เกิดการแตกแยกและขัดขวางคำสอนที่ท่านทั้งหลายเรียนรู้มา  18เพราะพวกเขาไม่รับใช้พระคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา แต่รับใช้ท้องของตนเอง และใช้วาจาไพเราะประจบประแจงมาหลอกลวงจิตใจของคนซื่อ  19การเชื่อฟังของท่านเป็นที่เลื่องลือไปถึงทุกคน ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงชื่นชมท่าน ต้องการให้ท่านเป็นผู้รอบรู้ในสิ่งที่ดีและไม่เกี่ยวข้องกับความชั่ว  20พระเจ้าผู้ประทานสันติจะทรงบดขยี้ซาตานลงใต้เท้าของท่านทั้งหลายโดยเร็ว

ขอพระหรรษทานขององค์พระผู้เป็นเจ้าของเราสถิตอยู่กับท่านทั้งหลายเทอญi

คำทักทายส่งท้ายและปัจฉิมลิขิตครั้งที่สอง

       21ทิโมธีผู้ร่วมงานของข้าพเจ้า ขอฝากความคิดถึงท่านทั้งหลาย ลูสีอัส ยาโสนและโสสิปาเทอร์ญาติของข้าพเจ้าก็ขอฝากความคิดถึงเช่นเดียวกัน  22ข้าพเจ้า      เทอร์ทิอัส ผู้เขียนจดหมายฉบับนี้ ขอฝากความคิดถึงท่านทั้งหลายในองค์พระผู้เป็นเจ้า  23กายอัสเจ้าบ้านผู้ต้อนรับข้าพเจ้าและกลุ่มคริสตชนทุกคนขอฝากความคิดถึงท่าน  24เอรัสทัส สมุห์บัญชีของเมือง และควารทัส น้องของเรา ขอฝากความคิดถึงท่านทั้งหลายด้วย

คำถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าj

25ขอพระสิริรุ่งโรจน์จงมีแด่พระผู้โปรดให้ท่านทั้งหลายมั่นคงkตามข่าวดีของข้าพเจ้า และตามการประกาศสอนเรื่องพระเยซูคริสตเจ้า เป็นการเปิดเผยธรรมล้ำลึกl ที่เก็บเป็นความลับตลอดเวลานานมาแล้ว

26แต่บัดนี้เปิดเผยให้ปรากฏแล้ว ตามข้อเขียนของบรรดาประกาศก ตามพระบัญชาของพระเจ้าผู้ทรงดำรงอยู่ตลอดนิรันดร ให้นานาชาติได้รู้ เพื่อจะได้นำพวกเขามายอมรับความเชื่อ  27ขอพระสิริรุ่งโรจน์จงมีแด่พระเจ้าผู้ทรงพระปรีชาญาณmแต่เพียงพระองค์เดียว โดยทางพระเยซูคริสตเจ้า ขอพระองค์ทรงได้รับพระสิริรุ่งโรจน์ตลอดนิรันดร อาเมนn

 

16 a บทนี้อาจไม่ใช่ส่วนหนึ่งของจดหมายฉบับดั้งเดิม (ดู ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับจดหมายของนักบุญเปาโล)

b คงหมายถึง ผู้ถือจดหมายไป

c คงหมายถึง ที่เมืองเอเฟซัส เมื่อมีการจลาจลอย่างที่บรรยายไว้ใน กจ 19:23ฯ หรือเมื่อเปาโลถูกจองจำที่นั่น (ดู ข้อ 7) ดู ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับจดหมายของนักบุญเปาโล

d แปลตามตัวอักษรว่า "ผลแรกของอาเซียสำหรับพระคริสตเจ้า" คงจะหมายความว่าเป็นผู้กลับใจคนแรกของแคว้นอาเซีย

e เปาโลได้ถูกจองจำหลายครั้งแล้ว ดู 2 คร 11:23 อันโดรนิคัสและยูนีอัส (บางฉบับว่า ยูเลียส) เป็นอัครสาวกในความหมายกว้าง ๆ รม 1:1 เชิงอรรถ b

f อาจจะหมายถึงบุตรของซีโมน ชาวไซรีน มก 15:21

g "การจุมพิตอันศักดิ์สิทธิ์" ในวัฒนธรรมของหลาย ๆ ชาติ การจูบเป็นวิธีทักทายแสดงความเป็นมิตร คริสตชนนำวิธีทักทายนี้มาใช้ในศาสนพิธีจึงเรียกว่า "การจุมพิตอันศักดิ์สิทธิ์" ลักษณะการทักทายแบบนี้ไม่พบใน      จดหมายอื่นของเปาโลแสดงให้เห็นเกียรติพิเศษที่เปาโลให้กับพระศาสนจักรที่กรุงโรม

h คำเตือนสั้น ๆ นี้ชวนให้คิดถึง กท 6:12-17; เปาโลคงจะหมายถึงนักเทศน์ที่ชักชวนให้ถือธรรมเนียมยิว เทียบ กท 5:7-12; โดยเฉพาะ ฟป 3:18-19

i สูตรนี้ "ขอพระหรรษทาน..." ในต้นฉบับบางฉบับขาดไป บางฉบับนำไปใส่ไว้หลังข้อ 23 หรือข้อ 27

j หลักฐานต้นฉบับส่วนใหญ่จัดบทถวายเกียรติไว้ที่ตรงนี้ แต่ในบางฉบับก็อยู่ในตอนท้ายของบทที่ 15 หรือบทที่ 14 บางฉบับก็ไม่มี บทถวายเกียรตินี้เป็นการแสดงความคิดหลักของจดหมายนี้อย่างสง่า เทียบ อฟ 3:20      ยด 24-25

k โดยตั้งมั่นคงในหลักคำสอนและเข้มแข็งในการปฏิบัติชีวิตคริสตชน เทียบ 1:11; 1 คร 1:8; 2 คร 1:21;      คส 2:7; 1 ธส 3:2,13; 2 ธส 2:17; 3:3

l ความคิดเกี่ยวกับ "ธรรมล้ำลึก" ของพระปรีชาญาณ ข้อ 27; 1 คร 2:7; อฟ 3:9; คส 2:2-3 ที่ซ่อนเร้นอยู่เป็นเวลานานในพระเจ้าและบัดนี้ได้ถูกเผยออกมา รม 16:25-26; 1 คร 2:7,10; อฟ 3:5,9ฯ; คส1:26; เป็นความคิดที่เปาโลยืมมาจากวรรณกรรมวิวรณ์ของชาวยิว ดนล 2:18-19, 18 เชิงอรรถ e แต่เขาได้เพิ่มความหมายของคำนี้โดยเอามาประยุกต์ใช้กับจุดสุดยอดของประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น นั่นคือไม้กางเขนของพระคริสตเจ้าที่นำความรอดพ้นของพระคริสตเจ้า 1 คร 2:8 การเรียกคนต่างศาสนา รม 11:25; 16:26; คส 1:26-27; อฟ 3:6 ให้มายังความรอดพ้นนี้ที่เปาโลได้เทศน์สอน รม 16:25; คส 1:23; 4:3 อฟ 3:3-12; 6:19 ในที่สุดการฟื้นฟูทุกสิ่งในพระคริสตเจ้าในฐานะที่ทรงเป็นศีรษะของพระกายทิพย์ อฟ 1:9-10; ดู มธ 13:11 //; 1 คร 4:1; 13:2; 14:2; 15:51; อฟ 5:32; 2 ธส 2:7; 1 ทธ 3:9,16; 2 ทธ 1:9-10; วว 1:20; 10:7; 17:5-7

m เทียบ 11:33-36; 1 คร 1:24; 2:7; อฟ 3:10; คส 2:3; วว 7:12

n พันธสัญญาใหม่นำคำอวยพรและบทสรรเสริญของอิสราเอลมาใช้เป็นของตนเอง ปฐก 14:19 เชิงอรรถ h;   สดด 41:13 เชิงอรรถ f; แต่มักจะเรียกพระเจ้าว่าพระบิดาและนำพระเยซูคริสตเจ้ามารวมเข้ากับพระองค์ด้วย 9:5; 11:35-36; 1 คร 8:6; เทียบ กท 1:5; อฟ 3:21; ฟป 4:20; 1 ทธ 1:17; 6:16; 2 ทธ 4:18; ฮบ 13:21;       1 ปต 4:11; 2 ปต 3:18; ยด 25; วว 1:6 เชิงอรรถ k บทสรรเสริญที่เขียนขึ้นในภายหลังมักจะเรียกขานพระนามของทั้งสามพระบุคคล ดู 2 คร 13:13 เชิงอรรถ e

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก