“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

ข้อคิดจากพระวาจาประจำวัน  โดย..คุณพ่อฉลองรัฐ สังขรัตน์

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม 2016

วันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา ลก.12:49-53

เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า
‘เรามาเพื่อจุดไฟ ในโลก เราปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้โลกนี้ลุกเป็นไฟ เรามีการล้างที่จะต้องรับ และเราเป็นทุกข์กังวลใจอย่างมากจนกว่าการล้างนี้จะสำเร็จ


‘ท่านคิดว่าเรามาเพื่อนำสันติภาพมาสู่โลกหรือ มิได้ เราบอกท่านทั้งหลายว่า เรานำความแตกแยกมาต่างหาก ตั้งแต่นี้ไป คนห้าคนในบ้านหนึ่งจะแตกแยกกัน คนสามคนจะแตกแยกกับคนสองคน และคนสองคนจะแตกแยกกับคนสามคน บิดาจะแตกแยกกับบุตรชาย และบุตรชายจะแตกแยกกับบิดา มารดาจะแตกแยกกับบุตรหญิง และบุตรหญิงจะแตกแยกกับมารดา มารดาของสามีจะแตกแยกกับบุตรสะใภ้ และบุตรสะใภ้จะแตกแยกกับมารดาของสามี’

(พระวาจาของพระเจ้า)

----------------

       พี่น้องที่รัก ความคิดที่มีมาอยู่เสมอ ก็คือ “ความคิดในกรอบ” เราถูกอบรมให้มีกรอบ “เข้าตามตรอก ออกตามประตู” “ไปลามาไหว้” ที่เป็น “วัตรปฎิบัติ” ที่ดีงาม จนเราไม่ปรารถนาให้ “คิดนอกกรอบ มาบอกมุมมองอีกด้านหนึ่ง”

      ดังนั้น เราจึงเรียกคน “เดินนอกกรอบ ออกนอกรอย” ภาษาดนตรี เรียกว่า “อินดี้” ภาษาทหารเรียกว่า “กบฏ” ภาษาเอ็นจีโอเรียกว่า “ฮาร์ดคอร์” ภาษาสภากาแฟเรียกว่า “ไม่เข้าท่า” ภาษาวิชาการ เรียกว่า “วิจัยนอกกรอบ ปฎิรูปวิชาการ” ดังนั้น ความเห็นต่าง ความคิดนอกกรอบ จึงไม่ใช่ เรื่องความแตกแยก แตกต่าง
ความคิดต่าง ในพระวาจาวันนี้ ‘เรามาเพื่อจุดไฟ ในโลก เราปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้โลกนี้ลุกเป็นไฟ เรามีการล้างที่จะต้องรับ”

      การล้างด้วยไฟ ร่อนแร่ด้วยไฟฟอน เป็นภาพของสกัด แยกธาตุ เพื่อให้ร่อนหา “ธาตุแท้” “ธาตุบริสุทธิ์” ไม่ปลอมเปื้อน ปลอมปน ต่างหาก ไม่ใช่ “แตกหัก แตกแยก จบสิ้น”
ประสบการณ์แห่งความคิดต่าง มุมมองเหมือนเหรียญคนละด้าน แต่เรื่องแบบนี้ แทนที่จะต้อง “แตกหัก หักล้าง ยืนละฝั่ง ไปคนละข้าง” กลับเสริมสร้าง ความเห็นที่มองรอบด้าน  ความคิดที่มองต่างมุม ข้อตกลงที่ฟังความครบถ้วน

      ดังนั้น ประสบการณ์ความเชื่อในพระเจ้า ก็เช่นเดียวกัน เราไม่มี “เส้นตรง” เพียงเส้นเดียวที่จะ ชี้วัด จัดวาง ว่าต้องมีลักษณะนี้ ลักษณะเดียว ที่จะทำให้เรา เข้าใจความสัมพันธ์กับพระเจ้า ด้วยคำสอนเพียงข้อเดียว

      ประสบการณ์คิดต่างของประกาศกเยเรมีย์ ในบทอ่านแรก กำลังบอกเราความเชื่อในพระเจ้า ไม่ได้มีวิธีการดังมีเชือกเส้นเดียว หรือ หนทางเดียว ที่จะไปให้ถึงได้ ดังเรื่องเล่า กษัตริย์เศเดคียาห์ กับ ประกาศกเยเรมีย์ ที่มีความเห็นต่างกัน เพราะอำนาจและคำสั่ง “เขาจึงจับเยเรมีย์หย่อนลงไปในบ่อเก็บน้ำของมัลคียาห์พระโอรส ซึ่งอยู่ในลานกองทหารองครักษ์ เขาใช้เชือกมัดหย่อนเยเรมีย์ลงไป ในบ่อขังน้ำนั้นไม่มีน้ำ มีแต่โคลน เยเรมีย์จึงจมลงไปในโคลน”

     ความเห็นต่าง อาจทำให้เราถูกกระทำ แต่เราจะไม่จมลงไป อาจมีโคลนรับเอาไว้ ไม่จมน้ำตาย ที่มีความหมายว่า แม้เราจะทุกข์มากเพราะไม่ได้มีการดำรงชีวิต ความคิดเห็นตรงกับคนอื่น แม้เราจะถูกเอาคืน เพราะเราไม่ยอมตาม แต่เรื่องแบบนี้ ทำให้คนที่มีความเชื่อ ไม่หลงประเด็น ไม่ไหวเอนเพราะการล่อใจ ไม่เสียหลักไม่เปลี่ยนใจง่าย เพราะผลประโยชน์ รักษาความเชื่อไว้ได้ แม้จะถูกกระทำ เพราะความเห็นต่าง ความประพฤติที่ไม่ได้เอาพวกพ้อง ร้องตามใคร

        เรื่องที่น่ารักเรื่องหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อวันแม่ นักเรียนในชั้นเรียนหนึ่ง “มีการบ้านให้ไปจัดหาดอกไม้สำหรับให้คนที่เรารักที่สุด ในวันแม่” ความคิดของทุกคนโดยทั่วไป วันแม่ก็ต้องดอกมะลิ คนที่เรารักที่สุดในช่วงเวลานี้ ต้องเป็น “แม่”
วันรุ่งขึ้น ทุกคนในชั้นเรียน เตรียม “ดอกมะลิ” มากันทุกคน ยกเว้นแต่ เด็กผู้ชายคนหนึ่ง นำ “ดอกกุหลาบ” มาแสดง ทุกคนแปลกใจ รวมทั้งคุณครู
“ทำไม? นำดอกกุหลาบมา” คุณครูถามเด็กผู้ชาย แล้วคุณครูถามอีกว่า “ดอกไม้สำหรับคนที่เรารักที่สุด” นักเรียนเข้าใจคำถามหรือไม่?
นักเรียนคนนั้นตอบว่า “เข้าใจครับ แต่ดอกกุหลาบ นำมาให้สำหรับคนที่ผมรักที่สุด ก็คือ แม่ แต่ที่นำดอกกุหลาบมาให้ เพราะว่า ผมได้ยินแม่บ่นบ่อยๆ ว่า ไม่เคยมีดอกไม้สำหรับคนรักเลย วันไหนๆ ก็ไม่เคยมีดอกไม้สำหรับคนรักเลย วันวาเลนไทน์ก็แล้ว วันเกิดก็แล้ว ไม่เคยมีดอกไม้สำหรับคนรักเลย ดังนั้น ผมจึงซื้อกุหลาบให้คนที่ผมรักที่สุดครับ”
แม้ “ดอกมะลิ” เป็นวันของวันแม่ แต่ดอกกุหลาบก็เป็นของให้คนรัก ดังนั้น ความคิดที่แตกต่างนี้ ไม่ได้ทำลายจุดประสงค์ของการมอบดอกไม้ให้คนรักเลย
จึงบอกกับเราว่า ความคิดเห็นที่แตกต่าง กลับเสริมสร้างตัวเราเอง ให้เป็นคนมุมกว้าง มองความต่างเป็นทางเสริม มองความไม่เหมือนเป็นแง่งาม มองความไม่ลงตัวเป็นการยกระดับความคิด มองชีวิตเป็นการเรียนรู้

         พระเจ้า จัด “สิ่งไม่สมบูรณ์” “สิ่งที่ไม่ไหลตามช่อง ไม่ลงตัวตามรูปแบบ” ก็เพราะเรื่องความท้าทาย การยกระดับปรับจิตใจไม่ให้การติดยึด ความเคยชินเดิมๆ เป็น “ความเฉยชา เย็นชืด ในความเชื่อ”
ความเชื่อ มีการท้าทาย ไม่ใช่ เส้นตรง เส้นเดียว ตรงไปจนจบ ดังนั้น อุปสรรค การไม่ลงตัว ความทุกข์ยาก ความสงสัย การไม่เข้าใจ เป็นเรื่องท้าทาย ไม่ใช่เรื่องทำลาย
จะสวดขอให้มีความทุกข์ เพราะความทุกข์เป็น “ปัญญา” ไม่ใช่ “ปัญหา”
จะสวดขอปรีชาญาณ ให้เผชิญอุปสรรคได้ จะได้ไม่ต้องการ ลมที่พัดให้ผ่าน อะไรที่ผ่านพ้นตัว ไม่ต้องเจอ ไม่ต้องพบ เพราะนั่นไม่ใช่ปรีชาญาณ แต่เป็นการเอาตัวรอด
ความเชื่อในพระเจ้า จึงมีความแตกต่างจากการพร่ำสอนเรื่องพระเจ้าเป็นผู้วิเศษ ปัดเป่า หยิบแก้วสารพัดนึก อยู่ข้างแบ่งฝั่งอยู่ข้างคนดี มีอะไรก็เห็นมองอะไรก็รู้เอาใจเราผู้ถวายเงินทำบุญอุ้มชูเราสารพัดด้วยการพอใจในปัจจัยที่ใส่ซอง

       นี่เป็นการดูถูกพระเจ้า ไม่ต่างอะไรจาก “ตู้หยอดเหรียญ” “บัตรกดเงินสด”
การนำเสนอภาพพระเจ้าในความแตกต่างจากความเคยชินที่สอน การว่าตามกันทีเคยมี ถูกสำทับชัดเจน ในจดหมายถึงชาวฮีบรูว่า “จงเพ่งมองไปยังพระเยซูเจ้าผู้ทรงบุกเบิกความเชื่อและทรงทำให้ความเชื่อนั้นสมบูรณ์ พระองค์ทรงยอมสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ไม่ทรงถือว่าเป็นความตายที่น่าอับอาย”

          ความเชื่อที่สมบูรณ์ ถูกเพาะบ่ม ขัดเกลา ด้วยความพยายามผ่านหนทางแห่งไม้กางเขน ไปสู่สิริรุ่งโรจน์ ที่นั่นไม่ใช่ “เรื่องต่างตอบแทน” “เส้นทางแห่งผลประโยชน์” “ปลายทางแห่งความสุขสบาย” แต่กระบวนการการผ่านความยากลำบาก การพิสูจน์ตนเอง การบากบั่นฝ่าฟันอดทนเพราะความเชื่อ การอยู่กับคน พี่น้อง การอดทนกับคนไม่น่ารัก พยายามองหนทางแห่งการขัดเกลาตน มากกว่า หลีกหนีเอาสบายตามใจตัว เราจะพบว่า “ในความแตกต่างแบบนี้” “ในการดำเนินชีวิตนอกกรอบแบบนี้” เราจะพบความสุขในความเชื่อ ไม่ใช่สบายตัวขึ้น มีผลตอบแทนมากขึ้น แต่ มีวิธีคิดที่หลากหลาย มีความเข้าใจที่เติบโต หรือที่เรามักนิยามว่า “ปรีชาญาณในชีวิตฝ่ายจิต” ที่ไม่ได้มาจากการเติมใส่ แต่มาจากการบากบั่นทุกวันไปในความไม่ลงตัว จนปัญญาเติบใหญ่ จนความเข้าใจอิ่มตัว จนเวลาสร้างวุฒิภาวะและภูมิปัญญาฝ่ายจิต ที่ไม่ได้เรื่องนี้ วันสองวัน หรือ ใครทำให้ แต่ต้อง “เจ้าตัว” ต้องผ่านไปด้วยตัวเอง จึงจะเสริมสร้างและเป็นปรีชาญาณของตัว
ดังนั้น การแตกแยกในนัยยะแห่งพระวรสารที่ว่า “ท่านคิดว่าเรามาเพื่อนำสันติภาพมาสู่โลกหรือ มิได้ เราบอกท่านทั้งหลายว่า เรานำความแตกแยกมาต่างหาก”
ความแตกแยกในความหมายพระวรสาร ไม่เป็นการแตกคอ การเห็นต่างในความแตกต่าง แต่เป็น “รับผิดชอบเฉพาะตัว” “การไม่ปะปน เป็นคนไหลไปในกระแส” แต่เป็นการแสดงตัวให้ชัด ที่จะปฎิเสธที่ไม่ใช่ ที่จะตอบ “ใช่” กับเรื่องที่ “ใช่” ไม่ใช่คนโลเล ไม่ใช่คนเลือกสบาย ไม่ใช่คนเลือกพวกมาก ไม่ใช่คนเลือกฝั่งผลประโยชน์ ที่เป็นเรื่องของคนไม่ชัดเจน คนวิสัยทัศน์สั้น คนไม่แสดงความเชื่อ
จึงเป็นมุมมองที่ “ชัดเจน” ตามพระวาจาในวันนี้
ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน

(Credit จาก Facebook คุณพ่อฉลองรัฐ สังขรัตน์)

 

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2024
วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2024 ฉลองนักบุญฟีลิป และ นักบุญยากอบ อัครสาวกบทอ่านจากจดหมายนักบุญเปาโลอัครสาวกถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่หนึ่ง (1 คร 15:1-8) พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอเตือนท่าน ให้คำนึงถึงข่าวดีที่ข้าพเจ้าประกาศกับท่าน ท่านได้รับไว้แล้วและยังคงเชื่อมั่นในข่าวดีนี้ ท่านกำลังรับความรอดพ้นอาศัยข่าวดีนี้ ถ้าท่านยังยึดมั่นตามที่ข้าพเจ้าประกาศ แต่ถ้าท่านไม่ยึดมั่น ความเชื่อของท่านก็ไร้ประโยชน์ ข้าพเจ้ามอบธรรมประเพณีสำคัญที่สุดให้กับท่าน เป็นธรรมประเพณีที่ข้าพเจ้าได้รับมาอีกทอดหนึ่ง คือพระคริสตเจ้าได้สิ้นพระชนม์เพราะบาปของเรา ตามที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ และทรงถูกฝังไว้...
วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2024 ระลึกถึง นักบุญอาทานาส พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักรบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 15:7-21) หลังจากโต้เถียงกันมากแล้ว...
วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2024 นักบุญโยเซฟ กรรมกรบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 15:1-6) ในครั้งนั้น คริสตชนชาวยิวบางคนลงมาจากแคว้นยูเดีย...
วันอังคารที่ 30 เมษายน 2024 นักบุญปีโอที่ 5 พระสันตะปาปาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 14:19-28) เวลานั้น...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)
การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)+++++++++++วันที่ 14 มีนาคม 2024 7 โมงเช้าวันนี้ ซิสเตอร์...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)
การประชุม CBF -SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)13 มีนาคม 2024 + 9...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)อังคารที่ 12 มีนาคม เริ่มเช้าวันใหม่...
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง++++++++++11 มีนาคม 2024 อาร์คบิชอป ไซม่อน โป แห่งอัครสังฆมณฑล คูชิง...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 1 /2024
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society-TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 /2024 วันจันทร์ที่ 4...
โครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ ร่วมกับ แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ "ผู้หว่าน" รุ่นที่ 8 วันพุธที่...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (2)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (2) - ครั้นเข้าไปภายในพระคูหา...
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (1)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (มก 16:1-8) 161เมื่อวันสับบาโตล่วงไปแล้ว...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (2)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พระธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่แห่งความเชื่อคือ การที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (1)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (มก 15:42-47) 1542วันนั้นเป็นวันเตรียม คือวันก่อนวันสับบาโต 43ครั้นถึงเวลาเย็น โยเซฟชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นสมาชิกน่านับถือคนหนึ่งของสภาซันเฮดรินและกำลังรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้า...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์