“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

รำพึงพระวาจาประจำวัน โดยคุณพ่อสมเกียรติ  ตรีนิกร
วันเสาร์ที่ 16 เมษายน 2016

สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา 

กจ 9:31-42…
31ขณะนั้น พระศาสนจักร มีสันติภาพทั่วแคว้นยูเดีย กาลิลีและสะมาเรีย พระศาสนจักรเติบโตขึ้น มีความเคารพยำเกรงองค์พระผู้เป็นเจ้า และได้รับกำลังใจจากพระจิตเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม
32เมื่อเปโตรเดินทางไปเยี่ยมผู้มีความเชื่อในที่ต่าง ๆ เขาไปเยี่ยมบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในเมืองลิดดาด้วย 33ที่นั่นเขาพบชายคนหนึ่งชื่อไอเนอัส เป็นอัมพาตนอนอยู่บนแคร่มาแปดปีแล้ว 34เปโตรจึงพูดกับเขาว่า “ไอเนอัสเอ๋ย พระเยซูคริสตเจ้าทรงรักษาท่านให้หาย จงลุกขึ้นและเก็บที่นอนเถิด” เขาก็ลุกขึ้นทันที 35เมื่อเห็นดังนี้ ทุกคนที่อยู่ในเมืองลิดดาและในที่ราบชาโรนก็กลับใจมีความเชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้า


           ในบรรดาศิษย์ที่เมืองยัฟฟามีหญิงคนหนึ่งชื่อทาบีธา แปลว่า “เนื้อทราย” ทำความดีและให้ทานเป็นอันมาก 37ระหว่างนั้นนางป่วยและถึงแก่กรรม เขาทำความสะอาดศพและตั้งศพไว้ในห้องชั้นบน 38เมืองลิดดาอยู่ใกล้กับเมืองยัฟฟา บรรดาศิษย์รู้ว่าเปโตรอยู่ที่เมืองลิดดา จึงส่งชายสองคนไปเชิญเขาว่า “โปรดรีบมาหาเราเถิด” 39เปโตรไปกับเขาทันที เมื่อไปถึง เขาก็พาเปโตรขึ้นไปยังห้องชั้นบน บรรดาหญิงม่ายมาห้อมล้อม ทุกคนต่างร้องไห้และชี้ให้เปโตรดูเสื้อผ้าทั้งชั้นนอกชั้นในที่ทาบีธาทำให้เมื่อนางยังมีชีวิต 40เปโตรจึงสั่งให้ทุกคนออกไปข้างนอก เขาคุกเข่าอธิษฐานภาวนาแล้วหันมาดูศพ พูดว่า “ทาบีธาเอ๋ย จงลุกขึ้นเถิด” นางก็ลืมตาขึ้นมองดูเปโตรและลุกขึ้นนั่ง 41เปโตรจึงยื่นมือพยุงให้นางยืน แล้วเรียกบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์และบรรดาหญิงม่ายเข้ามา ชี้ให้เห็นว่านางยังมีชีวิต 42เรื่องนี้เป็นที่รู้กันทั่วเมืองยัฟฟา หลายคนมีความเชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้า

อรรถาธิบายประเด็นสำคัญและไตร่ตรอง
• “ผู้หญิงก็อ่อนโยนและใจดีเสมอในพระศาสนจักร”
o วันนี้ขอกล่าวถึงผู้หญิงในพระศาสนจักรหน่อยครับ ประสบการณ์ของพ่อเองตั้งแต่เด็กๆ พ่อจำได้ดีว่า ผู้หญิงคือคนส่วนใหญ่เสมอที่มาวัด ใกล้ชิดวัด ช่วยเหลืองานวัด
o พ่อจำความน่ารักมากมายที่ได้เห็นมาตลอดตั้งแต่เป็นเด็ก วันนี้พ่ออยากเล่าเรื่องเก่าๆ สักหน่อย...

• พ่อยังคงจำภาพเก่าๆของวัดพ่อสมัยเป็นเด็ก วัดเจ้าเจ็ด ความทรงจำดีๆ ที่ได้รับจากบรรดาซิสเตอร์ที่มาทำงานวัดของเรา จำบ้านซิสเตอร์ บ้านพ่อ สมัยก่อนนั้น บ้านซิสเตอร์ บ้านพ่อ ก็เก่า โทรมพอๆ กันเพราะความเรียบง่าย ความยากจนของวัด ของชุมชนวัดของเรา บ้านซิสเตอร์ บ้านพ่อ ต้องเดินกันด้วยความระมัดระวังเพราะว่าบ้านไม้เก่าๆ ไม่ได้ทาสีแต่เป็นสีไม้ธรรมชาติจริงๆครับ
o พ่อวิ่งไปวิ่งมาอยู่เสมอระหว่างบ้านพ่อกับบ้านซิสเตอร์ มีสะพานเชื่อมกันเป็นสะพานไม้ และก็เชื่อมมาที่วัดซึ่งเป็นไม้ทั้งหมดทาสีหน่อยที่วัด สวยหน่อย แต่ก็ไม่ได้มีอะไรมากมาย พ่อจำได้บรรยากาศเก่า... ขอเล่าให้ฟังถึงความน่ารักของคนที่มาอยู่ใกล้วัด คนที่ช่วยวัดเสมอในบรรดาพวกเรา... ขอเล่าเป็นกลุ่มๆเลยดีไหมครับ...

• ซิสเตอร์ วัดเรามีอธิการ มีซิสเตอร์เล็ก คณะพระหฤทัยขอพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ
o พ่อจำได้ว่า พวกเราเด็กกับซิสเตอร์ มีแต่ความรู้สึกดีๆเสมอ มีซิสเตอร์แปลว่า วัดเราไม่อดตาย
o พ่อเองในยามที่เป็นเด็กๆ มีอาหารอร่อยเพียงพอเสมอ วัดสะอาดเสมอ เพราะซิสเตอร์จะเกณฑ์พวกเราให้ไปทำความสะอาดวัด เด็กๆชายหญิงจะสนุกมากๆ กับการทำงานวัด กวาดวัด ทำความสะอาดวัด และที่ชอบมากคือกาบมะพร้าวที่พวกเราช่วยกันวิ่งลงเทียนและขัดพื้นวัด สนุกมาก...
o บ่อยครั้งเราก็ช่วยกันขัดภาชนะทองเหลืองเครื่องใช้หรือศาสนภัณฑ์ในวัด เรารู้สึกเป็นเกียรติมากที่เราได้ทำงานเหล่านี้กันในวัด มีความสุขมาก ส่งเสียงดังๆ ซิสเตอร์จะ “จุๆๆๆ” ดุเราให้เงียบพร้อมสำทับว่า “วัดนะ มีพระเยซูนะ เงียบๆหน่อย” และชี้ไปที่ตู้ศีลในวัด เราก็จะเงียบกัน สงบกันสักพักก่อนจะเริ่มใหม่กันอีก ซนกันเหมือนลิงๆน่ารัก

• กะละมังศักดิ์สิทธิ์
o พ่อจำได้ว่า ครั้งหนึ่งซิสเตอร์เรียกพ่อกับเพื่อนๆช่วยกันซักผ้าศักดิ์สิทธิ์ พ่อก็กระตือรือร้นมากครับ เพราะเราจะได้ซักผ้าศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพิธีมิสซา ผ้าเช็ดจอกกาลิส ผ้าปูที่เรียกว่าผ้าศักดิ์สิทธิ์ ซิสเตอร์จะให้เรารวบรวมอย่างระมัดระวังไปที่บ้านซิสเตอร์ เราก็จะให้ความสำคัญมากเพราะผ้าขาวๆ สะอาด ที่ต้องระวังอย่างดีที่จะดูแล
o เมื่อไปถึง ซิสเตอร์บอกว่า “สมเกียรติไปเอากะละมังซักผ้ามาซิ” พ่อวิ่งทันทีด้วยความเร็วสมัยเด็กเพราะตอนเด็กๆพ่อเป็นคนเร็วมากๆ จนชื่อเล่นของพ่อไม่เคยเปิดเผยมาก่อนที่ไหนว่า พ่อมีชื่อเล่นแต่ไม่มีใครเคยรู้... มันเกี่ยวกับความเร็วที่แหละ แต่ขอเก็บไว้ก่อน...
o พ่อวิ่งไปเอามาอย่างเร็ว.. หน้าระรื่นจะได้ซักผ้าศักดิ์สิทธิ์ แต่เมื่อมาถึงขณะที่พ่อหน้าชื่อตาบานจะได้ช่วยซักผ้าศักดิ์สิทธิ์... แต่ทว่าซิสเตอร์ก็บอกว่า “ใช้ไม่ได้ กะละมังนี้ใช้ไม่ได้ ต้องเป็นใบสีเขียวที่แขวนอยู่ ใบนั้นใช้ซักผ้าศักดิ์สิทธิ์ ส่วนใบนี้ใช้ซักเสื้อผ้าอื่นๆ” เบรคสนิทเลย...โห พ่อได้เรียนรู้ว่า “มีกะละมังศักดิ์สิทธิ์ด้วย” พ่อจึงได้เรียนรู้ว่า เรื่องของวัดของพระเจ้า ต้องแยกนะอย่าปนเปเด็กขาด... จำจนทุกวันนี้... บางทีเราอาจลืมไป เราอาจจะใช้กะละมังซักชุดชั้นในหรือล้างจานมาซักผ้าศักดิ์สิทธิ์ก็ได้ในทุกวันนี้... น่าคิด
o เอาเป็นว่า มีซิสเตอร์เวลานั้นสมัยพ่อเป็นเด็ก เราเห็นได้ถึงความน่ารัก ความศักดิ์สิทธิ์ ความเอาใจใส่ วัด ดอกไม้ ทุกอย่างเยี่ยมยอดเสมอมา พระเจ้าได้รับเกียรติจากบรรดาบุคคลเหล่านี้ที่เรียกได้ว่า “สตรีใจศรัทธา” เสมอมาครับ

• กลุ่มสตรีที่วัด แม่บ้านแม่เรือน... พวกเขาก็ศรัทธาช่วยวัดมากเสมอ พ่อจำได้
o เวลามีงานที่วัด แม่บ้านทั้งหลายก็มารวมกันมากมายที่โรงอาหารของวัดหรือของโรงเรียน เช่นงานฉลองวัด แม่บ้านมารวมกันทั้งหมู่บ้าน ช่วยกันเตรียมการรับแขก ทำอาหาร เตรียมอาหารมากมาย พ่อก็วิ่งๆวนๆ ป้วนเปี้ยนอยู่แถวๆนั้น เพราะได้ชิม ได้อิ่มตลอดทั้งวันแหละ วิ่งหยิบโน่นหยิบนี่ตามคำสั่งแต่ก็คุ้มกับการได้ชิมโน่นชิมนี่ไปเรื่อยเช่นกัน เป็นความสุขของวัดและของวัยเรา
o ผู้หญิงในหมู่บ้านใจดี ร่วมมือกันทุกคน สนุกดีครับ ทำอาหาร หั่นผัก เตรียมสิ่งต่างๆกันไปก็คุยกันไปนินทากันบ้าง บ่นกันบ้าง ชมกึ่งนินทาถึงความน่ารักของเจ้าวัดบ้าง พ่อก็ว่าบรรยากาศดีนะครับ... แต่ที่แน่ๆพวกผู้หญิงแม่บ้านคริสตชนใจดีและรักวัดจริงๆครับ
o เวลามิสซา สมัยพ่อเป็นเด็ก ในวัดแยกที่นั่งฝั่งชายหญิงเสมอ แต่ที่แน่ๆ ฝั่งหญิงแน่นกว่าฝั่งชายตลอดกาล ฝั่งชายจะมาวัดช้าหน่อย หรือมาเร็วก็นั่งคุยกันหน้าวัดก่อน เทศน์เสร็จแล้วค่อยเข้ามา... พ่อสมัยเป็นเด็กก็ได้สิทธิ์ที่จะไปนั่งกับแม่ในฝั่งหญิงได้... โตหน่อยก็ต้องไปนั่งแถวหน้าฝั่งเด็กชายแล้ว... บรรยากาศดีครับ...

• พี่น้องที่รัก วันนี้พ่อกล่าวถึงผู้หญิงในพระศาสนจักรในความทรงจำของพ่อ เพื่อเชิดชูความงดงามแห่งความรักในพระศาสนจักรที่มีผู้หญิงที่ช่วยเหลือวัด
o ซิสเตอร์นักบวชมากมายที่พ่อจำได้ว่า พวกท่านรักวัดและรักพระศาสนจักรเสมอ ไม่ใช่เพราะผู้ชายไม่รักวัดนะครับ แต่คงจะเป็นการดีที่เราจะให้เกียรติผู้หญิงมากๆ ในพระศาสนจักรเพราะ สตรีใจศรัทธาเป็นเครื่องหมายที่น่ารัก และมีพลังของพระศาสนจักรเสมอ
o คงจะเป็นการดีเสมอถ้าเราจะเชยชมซึ่งกันและกัน ให้กำลังหนุนใจกันและกันในความดีและความเชื่อ เพื่อเสริมสร้างความศรัทธาต่อกันและกัน

• และวันนี้ในพระคัมภีร์ เราได้พบหญิงคนหนึ่งที่ดีเหลือเกินในสมัยกิจการอัครสาวก เชื่อน่ารักครับ “ทาบีธา แปลว่าเนื้อทราย” และนางคือตัวอย่างของคนที่เป็นสตรีที่อ่อนโยนและสนับสนุนพระศาสนจักรตั้งแต่สมัยแรกเริ่ม สนับสนุนบรรดาอัครสาวกและชุมชนแห่งความเชื่อด้วยความรักและความใจดี....

• พ่อเชื่อว่า จะเป็นการดีมาก
1. ถ้าเราคริสตชนได้มีประสบการณ์ที่ดีๆต่อกัน
2. คิดถึงกันในด้านดีๆ เสมอ
3. คิดถึงกันพูดถึงกันในด้านบวกเสมอคงจะทำให้พระศาสนจักรงดงามมาก ต้นไม้ปกติจะต้องหันและเติบโตไปในทางที่มีแสงสว่างสาดส่องมาเสมอ
4. ถ้าเราหันหน้าไปหาแสงแห่งความรักของพระเจ้าและแสงแห่งความดีแก่กันและกัน ชีวิตพระศาสนจักรคงจะมีด้านบวกๆและสวยงามมากขึ้นเสมอๆครับ...
5. ขอพระเจ้าอวยพร ให้เราคิดถึงประสบการณ์ในความเชื่อ ประสบการณ์ด้านศาสนาที่ดีๆต่อกันนะครับ.. นั่นคือกิจการอัครสาวกที่งดงามเสมอแน่นอนครับ...
6. ขอพระเจ้าประทานผู้มีใจศรัทธาสตรีใจศรัทธามากมายเพื่อเสริมความเชื่อในพระศาสนจักรเสมอครับ...
7. ขอให้เราคริสตชนได้คิดถึงเรื่องดีๆต่อกันและกัน ในกันและกัน ก็มีความุสุขแล้วครับ

• พ่อขอส่งท้ายด้วยคำสอนของพระสันตะปาปาฟรังซิส ใน Evangelii Gaudium เรื่อง “ผู้หญิงหรือสตรี” น่าสนใจครับ เพื่อบทความรู้ของเราจะได้ทันสมัยคำสอนปัจจุบัน EG 103-104
103. พระศาสนจักรตระหนักถึงสิ่งที่บรรดาสตรีจะนำมาให้แก่สังคม จากความรู้สึกอ่อนไหว สัญชาตญาณ และความสามารถพิเศษซึ่งโดยทั่วไปเป็นลักษณะของสตรีมากกว่าบุรุษ ตัวอย่างเช่น ความใส่ใจของสตรีที่มีต่อผู้อื่นเป็นพิเศษ ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะการเป็นมารดา ข้าพเจ้ายินดีที่ได้เห็นสิ่งนี้ในบรรดาสตรีจำนวนมาก ที่แบ่งปันความรับผิดชอบงานอภิบาลร่วมกับบรรดาพระสงฆ์ ให้ความร่วมมือในการเป็นเพื่อนร่วมทางกับบุคคล ครอบครัว หรือกลุ่มต่าง ๆ และให้ความคิดใหม่ ๆ แก่การไตร่ตรองทางเทววิทยา อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องขยายพื้นที่เพื่อให้สตรีมีบทบาทมากขึ้นในพระ ศาสนจักร เพราะ “อัจฉริยภาพของสตรีเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อแสดงออกในชีวิตทางสังคมทุกประการ การปรากฏของสตรีในหน่วยงานต่าง ๆ ต้องได้รับการรับรอง” (72) และในสถานที่ต่างๆ ที่ต้องมีการตัดสินใจสำคัญ รวมทั้งในพระศาสนจักร และในโครงสร้างทางสังคมด้วย

104. การเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมของสตรี เริ่มจากความเชื่อมั่นว่าบุรุษและสตรีมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ซึ่งทำให้พระศาสนจักรตั้งคำถามสำคัญที่ท้าทาย และเราไม่อาจตอบได้เพียงผิวเผิน สังฆภาพซึ่งสงวนไว้สำหรับบุรุษเป็นเครื่องหมายของพระคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นเจ้าบ่าวที่มอบพระองค์เองในศีลมหาสนิท เรื่องนี้เป็นคำถามที่ไม่ต้องถกเถียงกัน แต่อาจกลายเป็นเครื่องกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้ง โดยเฉพาะหากเราเน้นว่าพลานุภาพของศีลศักดิ์สิทธิ์และอำนาจเป็นสิ่งเดียวกัน เราต้องไม่ลืมว่าเมื่อเราพูดถึงอำนาจของสงฆ์ “เราอยู่ในความคิดเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งมิใช่เป็นเรื่องของศักดิ์ศรีและความศักดิ์สิทธิ์” (73) หน้าที่การเป็นสงฆ์เป็นวิธีหนึ่งที่พระเยซูเจ้าทรงใช้ เพื่อรับใช้ประชากรของพระองค์ แต่ศักดิ์ศรีที่ยิ่งใหญ่นั้นมาจากศีลล้างบาปซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนได้รับ การที่พระสงฆ์เป็นเหมือนพระคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็นศีรษะ ซึ่งหมายความว่าเป็นต้นธารแห่งพระหรรษทานนั้น มิได้หมายถึงการยกย่องที่ทำให้พระสงฆ์อยู่เหนือทุกสิ่ง หน้าที่ต่างๆ ในพระศาสนจักรนั้น “มิได้หมายถึงการอยู่เหนือผู้อื่น” (74) อันที่จริง มีสตรีผู้หนึ่งชื่อ มารีย์ ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าบรรดาสังฆราช อย่างไรก็ตาม เมื่อเราคิดว่าหน้าที่ของสงฆ์เป็น “ฐานานุกรม” (hierachical) จึงเป็นเรื่องเหมาะสมที่จะกล่าวว่า “หน้าที่สงฆ์มีไว้เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของสมาชิกในพระคริสตเจ้า” (75) กุญแจหลักสำคัญมิใช่อำนาจปกครอง แต่เป็นอำนาจการบริการศีลมหาสนิท และสิ่งนี้คืออำนาจของสงฆ์ซึ่งเป็นการรับใช้ประชากรอยู่เสมอ นี่เป็นข้อท้าทายสำคัญที่ต้องนำเสนอต่อบรรดาผู้อภิบาล และนักเทววิทยา ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจบทบาทของสตรีได้ดียิ่งขึ้น ในการตัดสินใจที่สำคัญของหน่วยงานต่าง ๆ ในพระศาสนจักร

 

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2024
วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม 2024 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 18:23-28) หลังจากอยู่ในเมืองอันทิโอกระยะหนึ่ง เปาโลออกจากที่นั่น เดินทางไปทั่วแคว้นกาลาเทียและฟรีเจีย เพื่อทำให้บรรดาศิษย์มีความเชื่อมั่นคงยิ่งขึ้น ในช่วงเวลานั้น ชาวยิวคนหนึ่งชื่ออปอลโล ชาวเมืองอาเล็กซานเดรีย มาที่เมืองเอเฟซัส เขารอบรู้พระคัมภีร์ มีวาทศิลป์ ได้รับการสั่งสอนเรื่องวิถีทางขององค์พระผู้เป็นเจ้า มีจิตใจกระตือรือร้นมากในการพูด และสอนเรื่องเกี่ยวกับพระเยซูเจ้าอย่างถูกต้อง แต่รู้จักเพียงพิธีล้างของยอห์นเท่านั้น เขาเริ่มเทศน์สอนอย่างกล้าหาญในศาลาธรรม ปริสซิลลาและอาควิลาได้ฟังจึงเชิญเขาไปที่บ้าน...
วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2024 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 18:9-18) คืนหนึ่ง...
วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2024 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 18:1-8) หลังจากนั้น...
วันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2024 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 17:15, 22-18:1)...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)
การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)+++++++++++วันที่ 14 มีนาคม 2024 7 โมงเช้าวันนี้ ซิสเตอร์...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)
การประชุม CBF -SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)13 มีนาคม 2024 + 9...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)อังคารที่ 12 มีนาคม เริ่มเช้าวันใหม่...
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง++++++++++11 มีนาคม 2024 อาร์คบิชอป ไซม่อน โป แห่งอัครสังฆมณฑล คูชิง...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 1 /2024
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society-TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 /2024 วันจันทร์ที่ 4...
โครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ ร่วมกับ แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ "ผู้หว่าน" รุ่นที่ 8 วันพุธที่...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (3)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (3) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน...
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (2)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (2) - ครั้นเข้าไปภายในพระคูหา...
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (1)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (มก 16:1-8) 161เมื่อวันสับบาโตล่วงไปแล้ว...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (2)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พระธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่แห่งความเชื่อคือ การที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์