“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์/ข้อคิดวันอาทิตย์

รำพึงพระวาจาประจำวัน โดยคุณพ่อสมเกียรติ  ตรีนิกร
วันพุธที่ 7 ตุลาคม 2015
สัปดาห์ที่ยี่สิบเจ็ด เทศกาลธรรมดา

ระลึกถึง แม่พระลูกประคำ
ลก 11:1-4….

1วันหนึ่ง พระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานภาวนาอยู่ในสถานที่แห่งหนึ่ง เมื่อทรงอธิษฐานจบแล้ว ศิษย์คนหนึ่งทูลพระองค์ว่า “พระเจ้าข้า โปรดสอนเราให้อธิษฐานภาวนาเหมือนกับที่ยอห์นสอนศิษย์ของเขาเถิด” 2พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า “เมื่อท่านทั้งหลายอธิษฐานภาวนา จงพูดว่า
“ข้าแต่พระบิดา พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ
พระอาณาจักรจงมาถึง
3โปรดประทานอาหารประจำวันแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายทุกวัน
โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
4เหมือนข้าพเจ้าทั้งหลายให้อภัยแก่ผู้อื่น
โปรดช่วยข้าพเจ้าทั้งหลายไม่ให้แพ้การผจญ”



อรรถาธิบายและไตร่ตรอง
 
• พ่อชอบวัดแห่งหนึ่งที่อิสราเอล ที่เยรูซาเล็ม บนฝั่งภูเขามะกอก ชื่อวัด “ข้าแต่พระบิดา” วัดนี้สร้างขึ้น ณ สถานที่ ตามธรรมประเพณี ที่พระวรสารนักบุญลูกาวันนี้ที่เราได้อ่าน พระเยซูเจ้าภาวนาในสถานที่แห่งหนึ่ง และบรรดาศิษย์ได้ขอให้พระองค์สอนให้พวกเขาสวดภาวนาบ้าง พ่อชอบไปที่วัดนี้บ่อยๆ และในบริเวณ ก็เป็นของอารามคาร์แมล วัดที่ไม่ได้ใหญ่เลย แต่มีบริเวณรอบๆ ที่ติดบทภาวนาข้าแต่พระบิดาจากภาษาต่างๆเป็นร้อยภาษาทีเดียว


• พ่อชอบเดินไปและสำรวจบริเวณ ณ ที่ที่มีเสน่ห์มากจุดหนึ่งก็คือ ถ้ำเล็กๆ ธรรมชาติ และแต่งเติมนิดหน่อยตามกาลเวลาและเพื่อการแสวงบุญ เป็นถ้ำที่เชื่อว่าพระเยซูเจ้ากับบรรดาศิษย์ข้ามมาจากฝั่งนครเยรูซาเล็ม มาอยู่บริเวณนี้บนภูเขามะกอก และพระองค์กับบรรดาศิษย์ก็สนทนา ค้างคืน ภาวนาที่นี่เป็นประจำ.. และ ณ ที่นี้ พระองค์ทรงสอนบรรดาศิษย์ให้สวดภาวนา บท “ข้าแต่พระบิดา” ครับ ทุกวันนี้ผู้แสวงบุญมากมาย และนักท่องเที่ยวมาที่นี่ วัดที่ชื่อว่า “วัดข้าแต่พระบิดา” (Pater Noster) และคนมากมายก็เข้าคิวรอเข้าไปในถ้ำเล็กนี้ เข้าไปได้มากสุดน่าจะสามสิบคนก็คงแน่นมากๆ และทุกคนทุกกลุ่ม จากทุกชาติภาษา เมื่อเข้ามาในถ้ำนี้ สิ่งที่ทำกันเป็นประเพณีคือสวดบทข้าแต่พระบิดาในภาษาของตนเอง หรือร้องเพลงข้าแต่พระบิดาในภาษาของตนเอง ซึ่งตลอดทั้งวันที่วัดเปิด กลุ่มนักท่องเที่ยวก็จะเข้ามา และเข้าคิดเป็นกลุ่มๆลงไปภาวนาแบบนี้ น่าประหลาดใจครับ คนจากทุกชาติภาษา ต่างเข้ามาและร้องเรียกพระเจ้าสูงสุดว่า “พระบิดา” พระเจ้าเดียวกันที่พระเยซูเจ้าสอนให้บรรดาศิษย์เรียก น่าทึ่งจริง เสียงจากทุกภาษาทั่วโลกแม้ไม่ได้มาที่เยรูซาเล็ม แต่ทุกวัน ทุกนาที ทุกวินาที ไม่ได้ขาด แม้แต่เสี้ยววินาทีด้วย ที่โลกใบนี้จากทุกมุมทุกแห่งของโลก ต่างมีเสียงสวดภาวนา “ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย” น่าทึ่งจริงๆครับ


• ในวัดข้าแต่พระบิดานี้ มีบริเวณกำแพงขยายไปโดยรอบ... มีคำภาวนาข้าแต่พระบิดาเป็นภาษาต่างๆ เขียนไว้บนกระเบื้องและนำมาติดไว้ในวัด ขนาดใหญ่เล็กต่างกันไป มีภาษาต่างๆ ทั่วโลกมากกว่าร้อยภาษา และทุกชาติที่มาแสวงบุญต่างก็เดินหาภาษาของตนเอง เพื่อสวดภาวนา มีเสน่ห์ดี แปลกดี


• แต่ประเด็นที่พ่ออยากจะบอกคือ อัศจรรย์ครับ พระเจ้าทรงเป็นพระบิดาของมนุษย์ทุกชาติทุกภาษา พระองค์ถูกเรียกว่า “พระบิดา” และพระเยซูเจ้าทรงเรียกพระเจ้าแบบนี้ สอนบรรดาศิษย์ให้ภาวนา และเรียกพระเจ้าว่า “พระบิดา” 

o สำหรับชาวยิว อาจารย์ รับบี ไม่เคยมีใครสอนให้เรียกพระเจ้าว่าพระบิดา มีแต่เน้นความยิ่งใหญ่ ไกลห่างเอื้อมไม่ถึง ต้องเกรงกลัวตัวสั่น พระเจ้าเป็นพระผู้สูงสุด ผู้สร้างสวรรค์และแผ่นดิน พระผู้ควรรับการถวายพระพร และคำอื่นๆที่ใช้เรียกพระเจ้าตามแบบของรับบีชาวยิว

o แต่พระเยซูเจ้า เมื่อศิษย์คนหนึ่งขอให้พระองค์สอนพวกเขาให้ภาวนาถึงพระเจ้า แบบที่รับบีหรืออาจารย์ทั่วไปสอน แบบที่ยอห์นบัปติสสอนศิษย์ของตน เสียงร้องขอนั้นชัดในพระวรสารวันนี้ “พระเจ้าข้า โปรดสอนเราให้อธิษฐานภาวนาเหมือนกับที่ยอห์นสอนศิษย์ของเขาเถิด” และผลตามมาจากคำขอ ก็คือการเรียกขานพระนามพระเจ้า การร้องหาพระเจ้า พลิกโฉมประวัติศาสตร์ของการภาวนาของชาวยิว คือ ความใกล้ชิด การร้องหาแบบเด็กเล็กๆเรียกบิดาของตน “พระบิดา พ่อ อับบา”

• แน่นอนครับ ภาษากรีกต้นฉบับที่พ่อได้พบในพระคัมภีร์ ใช้คำว่า Pater บันทึกในพระวรสาร แต่ขณะที่พ่อเดินสำรวจภาษาที่พระเยซูเจ้าใช่พูดในสมัยของพระองค์ ภาษาที่พระองค์คุ้นเคย และใช้สอนบรรดาศิษย์ พ่อเดินไปดูภาษาอารายมายอิก ภาษาฮีบรู ภาษาซีเรียก... คำที่ใช้สวดข้าแต่พระบิดาคือคำที่มีรากมาจาก “อับบา อาบูนา อาบูน” ทั้งสามภาษาที่ใกล้กันที่พ่อบอก ใช้รากเดียวกันหมดเลย.... เป็นคำที่เด็กเล็กๆใช้เรียก “คุณพ่อ พ่อ ป๊า จา อาปา ฯลฯ” เป็นภาษาของความใกล้ชิดจริงๆ ใกล้ชิดแบบเด็กเล็กๆที่ใกล้ชิดบิดาของตนเอง... น่าทึ่งครับ

• พี่น้องที่รัก “พ่อ” “บิดา” คือความรักความวางใจที่สุด ไว้ใจที่สุด รักที่สุดด้วยหรือไม่ก็แล้วแต่ แต่ละคนล่ะ แต่ แต่ แต่ ความหมายของพ่อ บิดา คือ แน่ๆ ท่านรักลูก รักเรา พ่ออยากจะบอกว่า.. เราอาจรู้สึกรักบิดา พ่อ มากน้อยต่างกันไปตามสภาพของสังคม แต่ความหมาย Meaning ของคำว่า “บิดา” นั่นหมายถึง ความรัก การปกป้อง การเลี้ยงดู การเอาใจใส่ และการช่วยเหลือให้พันอันตรายใดๆ ซึ่งทั้งหมดนี้เราพบได้ในบทภาวนา “ข้าแต่พระบิดา” ที่พระเยซูเจ้าสอนเราจริงๆ 


• นอกจากนั้น เป็นการยืนยัน ความรักยิ่งใหญ่ของพระเจ้าต่อเรา เป็นการยืนยันมิติใหม่ของความรักและความใกล้ชิดกับพระเจ้าที่เคยห่างไกล แต่พระเยซูเจ้าทรงสอนเราด้วยประสบการณ์ของพระองค์ที่ทรงมีกับพระเจ้าพระบิดา พระองค์สอนและแบ่งปันความจริงๆแห่งการเป็นพระเจ้า “พระบิดาให้กับเรา” พ่อคิดว่าพวกเราคริสตชน เราต้องเรียนรู้ รักพระเจ้าให้ลึกซึ้งขึ้นเสมอทุกวันในการภาวนา

• แน่นอนครับ... เด็กๆคงจะดื้อบ้าง ไม่น่ารักบ้าง หรือขัดใจบิดาบ้าง แต่ปกติ คนที่เป็นพ่อ หรือเป็นบิดาจะมีธรรมชาติหนึ่งที่มีแน่นอนคือรัก ปกป้อง คุ้มครอง เลี้ยงดูใหอาหาร รักษา และเอาใจใส่จริงๆ “บิดา” ปกติ (ย้ำว่าปกติ) เป็นเช่นนั้นครับ


• ในวันนี้ พระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ที่สุด ที่พระเยซูสอนเราให้เรียกพระองค์ว่า “พระบิดา” พ่อจึงคิดว่า สิ่งที่เรามั่นใจได้จริงๆ นะครับ... เราอาจไม่ได้รักพระองค์มากนัก บ่อยๆ อาจดื้อ เสเพล แต่พระบิดาผู้เป็นพระเจ้าที่เราเรียกว่า “พระบิดา” พ่ออยากบอกกับพี่น้องว่า พระองค์รักเราแน่นอนอย่างไม่ต้องสงสัยใดๆ แม้ในยามที่เราไม่ได้รักพระองค์ เราลืมพระองค์ ทอดทิ้งห่างไกลจากพระองค์ แต่ที่แน่ๆ พระองค์ “บิดา” ไม่มีวันไม่รักลูกของพระองค์ได้เลย เพราะพระองค์เป็นพระบิดา พระเจ้าที่สมบูรณ์แบบในการเป็นพระบิดาของเราครับ...


• เขียนไปแล้วดูไกลตัวใช่ไหม เทศน์ไปแล้วใกล้สุดจริงๆคือพระบิดา แต่ดูไกลๆใช่ไหม ต้องมีการเปรียบเทียบสักหน่อยไหมครับ... Analogy 

o พ่อเองก็มี “จา” (บิดาของพ่อที่พ่อเรียก “จา” จนหลายคนก็เรียกตาม เชื่อสายญวณครับ) ประสบการณ์ที่พ่อมั่นใจ... พ่อเห็นจาพ่อเมื่อยังมีชีวิตอยู่สวดภาวนาทุกวันไม่เคยขาด แม้ยามเจ็บป่วยก็ยิ่งสวดมากขึ้น จาพ่อลูกเยอะ 15 คน เลยสวดเยอะ 

o ถ้าไปถามจาว่า จาสวดอะไร สวดให้ใคร จาจะตอบว่า “สวดให้ลูกๆ...ทุกคน” และจะมีคำตอบที่โยงตามมาว่า “สวดให้พ่อเกียรติเยอะที่สุด” โอ...พ่อโดนเต็มๆ จาห่วงมาก สวดขอพระให้มากๆ เพราะพ่อเป็นพระสงฆ์ จารัก ห่วง เป็นห่วง และทำอะไรไม่ได้นอกจากสวดให้ เวลาพ่อเดินทางไกลๆ จาก็จะจดจ่อสวดให้ปลอดภัย 

o พ่อก็เข้าใจจริงๆ เพราะว่าทุกวันจาของพ่อจะหามุมเงียบๆส่วนตัวและก็สวดภาวนา “สายประคำ” คิดถึงลูกๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คิดถึงและภาวนาให้พ่อสมเกียรตินี่แหละ พ่อเองนี่แหละที่จาห่วงและคิดถึงในคำภาวนา... พ่ออาจจะสรุปว่า มีหลายๆวันที่ผ่านไปในชีวิตการงานของพ่อ หลายวันที่พ่อไม่ได้คิดถึงจาจนบางทีผ่านไปสักสี่ห้าวัน จาจะโทรมาคำถามนี้ทุกที... “หมู่นี้งานยุ่งหรอพ่อ...” เงียบเลยพ่อไม่มีข้อแก้ตัวครับ...

o แต่ แต่ แต่ พ่อคิดว่าในชีวิตของจา น่าจะไม่มีสักวัน นับจากที่ลูกคนนี้บวชเป็นพระสงฆ์แล้ว น่าจะไม่มีสักวันที่จาไม่ได้คิดถึงพ่อ และภาวนาให้พ่อ...

• ตัวอย่างเปรียบเทียบนี้คงทำให้เข้าใจความหมายของคำว่า “บิดา” นี่เป็นแบบที่เราสัมผัสได้ในโลกของเราที่มีความจำกัดมากมายนะครับ แล้วสำหรับพระเจ้า “พระบิดา พระบิดาเจ้าสวรรค์ พระบิดาของเรา” พระเจ้าที่พระเยซูเจ้าสอนให้เราเรียกว่า “พระบิดา” เราจึงไม่มีความจำเป็นต้องต้องสงสัยในความเชื่อ เชื่อในความรักของพระองค์อีกเลย

• พี่น้องที่รัก สวดภาวนาขอพรบิดากันเสมอนะครับ สรรเสริญพระบิดากันเสมอ ตามที่พระเยซูเจ้าทรงสอนเรา และให้เราแน่ใจว่า พระองค์เป็นพระบิดาของมนุษย์ทุกคนจริงๆครับ.. ขอพระเจ้าพระบิดาทรงรักและอวยพรทุกท่าน ทั้งนี้ อาศัยพระบารมีพระคริสตเจ้า ผู้พระผู้เป็นเจ้าของเราทั้งหลายเทอญ

พระวาจาประจำวัน

พระวาจาวันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2024
วันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2024 ระลึกถึง นักบุญกาธารีนาแห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์ของพระศาสนจักรบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 14:5-18) เวลานั้น เมื่อคนต่างศาสนาและชาวยิวร่วมกับบรรดาผู้ปกครองเมืองวางแผนจะทำร้ายและใช้ก้อนหินขว้างเปาโลและบารนาบัส ทั้งสองคนรู้เรื่อง จึงหลบหนีไปที่เมืองลิสตรา เมืองเดอร์บี และชนบทรอบๆ ในแคว้นลิคาโอเนีย ทั้งสองคนประกาศข่าวดีที่นั่นด้วย ที่เมืองลิสตรา ชายคนหนึ่งยืนไม่ได้ เพราะเป็นง่อยมาแต่กำเนิด เขานั่งอยู่กับที่ ไม่เคยเดินเลย เขากำลังฟังเปาโลพูด เปาโลจ้องมองดูเขา เห็นว่าเขามีความเชื่อพอจะรับการรักษาให้หายจากโรคได้...
วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2024 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 9:26-31) ในเวลานั้น...
วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 13:44-52) วันสับบาโตต่อมา...
วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2024 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกาบทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก (กจ 13:26-33) ในครั้งนั้น...

ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)
การประชุม CBF-SEA ที่คูชิง (วันสุดท้าย)+++++++++++วันที่ 14 มีนาคม 2024 7 โมงเช้าวันนี้ ซิสเตอร์...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)
การประชุม CBF -SEA ที่คูชิง (วันที่ 3)13 มีนาคม 2024 + 9...
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)
การประชุม CBF – SEA ที่คูชิง (วันที่ 2)อังคารที่ 12 มีนาคม เริ่มเช้าวันใหม่...
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง
พิธีเปิดการประชุม CBF-SEA ที่คูชิง++++++++++11 มีนาคม 2024 อาร์คบิชอป ไซม่อน โป แห่งอัครสังฆมณฑล คูชิง...
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย ครั้งที่ 1 /2024
ประชุมกรรมการอำนวยการสมาคมพระคริสตธรรมไทย (Thailand Bible Society-TBS) สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 /2024 วันจันทร์ที่ 4...
โครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์ ร่วมกับ แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯจัดโครงการสร้างบุคลากรทำงานด้านพระคัมภีร์ "ผู้หว่าน" รุ่นที่ 8 วันพุธที่...

"ข้าพเจ้าจะเข้าใจได้อย่างไร ถ้าไม่มีใครอธิบาย"

“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” (1)
“พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ ผู้ถูกตรึงกางเขน ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว” 88. พระคูหาว่างเปล่า ข่าวดีจากทูตสวรรค์ (มก 16:1-8) 161เมื่อวันสับบาโตล่วงไปแล้ว...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (2)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พระธรรมล้ำลึกยิ่งใหญ่แห่งความเชื่อคือ การที่พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์...
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” (1)
“เชิญพระศพลงมา วางพระศพในคูหา” 87. การฝังพระศพของพระเยซูเจ้า (มก 15:42-47) 1542วันนั้นเป็นวันเตรียม คือวันก่อนวันสับบาโต 43ครั้นถึงเวลาเย็น โยเซฟชาวอาริมาเธียซึ่งเป็นสมาชิกน่านับถือคนหนึ่งของสภาซันเฮดรินและกำลังรอคอยพระอาณาจักรของพระเจ้า...
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ” (2)
“สตรีบางคนมองดูเหตุการณ์อยู่ห่าง ๆ” 86. กลุ่มสตรีที่เนินกัลวารีโอ (2) b) ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในสตรีเหล่านี้ เราเห็นความรักมั่นคง ความซื่อสัตย์...

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

บทสวดของฉัน บทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 487 เมื่อลูกทำตัวเหมือนศักเคียส:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::
บทสวดของฉัน บทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 486 บทสวดวันปีใหม่ 2024:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 485 คริสต์มาสปี 2023:::: อ่าน/ดาวน์โหลด...
บทสวดของฉัน บทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ
My Little Prayers บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่งบทที่ 484 คำถามที่ไม่มีคำตอบ:::: อ่าน/ดาวน์โหลด ::::

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก

สมณลิขิตVerbum Domini

สมณลิขิตเตือน Verbum Domini ของสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 1

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

สกู๊ป-พระวาจาบันดาลชีวิต

เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

E-book เชิญมาอ่านพระคัมภีร์กันเถอะ

บทสวดของฉัน

บทสวดของฉัน โดย ลูกของพระองค์คนหนึ่ง

ศิลปะเพื่อพระเจ้า Art for God

ศิลปะเพื่อพระเจ้า โดย ศรินทร เมธีวัชรานนท์