ไตร่ตรองพระวาจา  โดย..คุณพ่อชวลิต  กิจเจริญวันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน 2017
สมโภชนักบุญเปโตรและเปาโล
บทอ่าน กจ 12:1-11 / 2ทธ 4:6-8,17-18 / มธ 16:13-19
         ทั้งอัครสาวกเปโตรและเปาโล ได้ตายเป็นมรณะสักขีที่กรุงโรม พวกท่านได้ทำงานอย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเพื่อการประกาศข่าวดี

ไม่ใช่เฉพาะ กับประชากรอิสราเอลเท่านั้น แต่กับคนทุกชาติทุกภาษา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมพระเยซูเจ้าได้ทดสอบบรรดาสานุศิษย์ของพระองค์


ด้วยการตั้งคำถามว่า “ผู้คนคิดว่าเราเป็นใคร? และพวกท่านคิดว่าเราเป็นใคร?” (มธ16:13) พระเยซูเจ้าเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ในท่ามกลางประชาชน เมื่อเปรียบเทียบกับบรรดาประกาศกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด กับยอห์น บัปติสต์ กับเอลียาห์ และกับเยเรมีย์ และเปโตรได้ตอบทันทีว่า

 “พระองค์ คือ พระคริสต์ พระบุตรพระเจ้าผู้ทรงชีวิต”

         ขณะที่เปาโล ได้เขียนในจดหมายถึงทิโมธีทีฉบับที่ 2 ว่า “ข้าพเจ้าต่อสู้มาอย่างดีแล้ว ข้าพเจ้าวิ่งมาถึงเส้นชัยแล้ว
ข้าพเจ้ารักษาความเชื่อไว้แล้ว”( 2 ทธ 4:7) ความมั่นใจของเปาโล เป็นสิ่งธรรมดา แต่เด็ดขาด เพราะเป็นเจ้าแต่ผู้เดียวสามารถที่จะไถ่กู้มนุษยชาติ ไม่มีความพยายามของมนุษย์คนใด
แม้แต่คนที่ถือธรรมบัญญัติอย่างเคร่งครัดที่สุด ก็ไม่สามารถที่จะทำให้มนุษย์เป็นคนดี จนสามารถชดเชยบาป และสามารถแจกจ่ายพระหรรษทาน เพื่อความรอดพ้นจากบาป จากความชั่วร้ายและจากความตาย มนุษยชาติต้องเปิดตัวเอง ให้แก่อำนาจของการไถ่กู้แก่พระเยซูเจ้าแต่ผู้เดียว
เปโตรเป็นตัวอย่าง ในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ พระเยซูเจ้าได้ตรัสกับเรา อย่างที่เคยตรัสกับเปโตรว่า “ไม่ใช่ท่านที่เลือกเรา แต่เป็นเราที่เลือกท่าน”
เปโตรไม่ใช่บุคคล ที่เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปได้ โดยอาศัยปรีชาญาณของมนุษย์อย่างเดียว แต่เป็นการเปิดเผยของพระบิดาเจ้าบนสวรรค์ต่างหาก

นักบุญเปาโลได้มีประสบการณ์กับพระเยซูเจ้า ผู้กลับคืนชีพบนถนนไปสู่เมืองดามัสกัส ที่เป็นพลังผลักดันให้ท่านมีความกระตือรือร้น
มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความกล้าหาญ ในฐานะเป็นตัวแทนของพระคริสตเจ้า มากกว่าใครๆ แต่ว่าการเบียดเบียน การได้รับการสบประมาท และ
ความอ่อนแอ

กลายเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ท่านต้องแบกกางเขนแต่ละวันตลอดชีวิต เปรียบเหมือนกับวัตถุที่ต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง.