“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)


(ไฟล์ "เสียงวรสาร" โดย วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ กรุงเทพฯ)

คำแนะนำเฉพาะบุคคล

2 1ท่านจงเทศน์สอนสิ่งที่สอดคล้องกับหลักคำสอนที่ถูกต้อง 2จงสอนชายสูงอายุให้มัธยัสถ์ในการกินการดื่ม ทำตนเป็นที่ควรเคารพนับถือ มีเหตุผล มีความมั่นคงในความเชื่อ ความรัก และความอดทน 3ทำนองเดียวกัน จงสอนสตรีสูงอายุให้ประพฤติตนเหมาะสมกับการเป็นผู้มีความเชื่อ ไม่ใส่ความ ไม่นินทา และไม่ติดสุรา 4พวกเขาเหล่านั้นจะเป็นผู้อบรมสั่งสอนหญิงที่เยาว์วัยกว่าให้รู้ว่าจะต้องรักสามีและบุตรของตนอย่างไร 5จะต้องมีเหตุผลและทำตนให้บริสุทธิ์อย่างไร จะต้องทำงานบ้าน ต้องสุภาพอ่อนโยนและนอบน้อมต่อสามีอย่างไร เพื่อจะไม่ทำให้พระวาจาของพระเจ้าถูกกล่าวร้าย 6จงตักเตือนชายหนุ่มให้รู้จักมีเหตุผลaในทุกสิ่ง 7โดยท่านจะต้องเป็นแบบอย่างในกิจการที่ดี เมื่อสอนก็จงสอนด้วยความจริงใจและจริงจัง 8โดยสอนคำสอนที่ถูกต้องไม่มีผู้ใดตำหนิได้ เพื่อฝ่ายปฏิปักษ์จะรู้สึกอายและไม่มีสิ่งใดตำหนิเราได้ 9จงสอนผู้เป็นทาสให้อยู่ใต้อำนาจของนายในทุกเรื่องโดยไม่โต้แย้ง เพื่อให้เป็นที่พอใจของนาย 10ไม่ลักขโมย แต่ต้องแสดงความซื่อสัตย์อย่างเคร่งครัด เพื่อทุกคนจะยกย่องคำสอนของพระเจ้าพระผู้ไถ่ของเราว่าเป็นคำสอนที่ดีงามทุกประการ

พื้นฐานการดำเนินชีวิตตามหลักศีลธรรม

11พระหรรษทานของพระเจ้าปรากฏขึ้นเพื่อช่วยมนุษย์ทุกคนให้รอดพ้นb 12สอนเราให้ละทิ้งอธรรมและโลกียตัณหา เพื่อดำเนินชีวิตอย่างมีสติสัมปชัญญะด้วยความชอบธรรมและด้วยความเคารพเลื่อมใสพระเจ้าในโลกนี้ 13ขณะที่เรากำลังรอคอยความหวังที่ให้ความสุข คือการสำแดงพระองค์ในพระสิริรุ่งโรจน์ของพระคริสตเยซูc พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่และพระผู้ไถ่ของเรา 14พระองค์ทรงมอบพระองค์เพื่อเรา เพื่อไถ่กู้เราจากอธรรมทั้งหลายd ชำระประชากรให้บริสุทธิ์เพื่อจะเป็นประชากรของพระองค์ และเป็นผู้ปรารถนาจะทำแต่ความดี

15ท่านจงสอนข้อความเหล่านี้ จงตักเตือนอย่างผู้มีอำนาจ อย่าให้ใครดูถูกท่านได้

 

2 a คำสั่งสอนให้ “รู้จักมีเหตุผล” หรือ “รู้จักประมาณตน” ซึ่งให้กับคนหนุ่ม เป็นลักษณะคำแนะนำทางศีลธรรมของกรีก “ในทุกสิ่ง” อาจจะอยู่เป็นวลีแรกในข้อ 7 ก็ได้ คือเป็นแบบอย่างในทุกสิ่ง

b พระหรรษทาน หรือ พระเมตตาของพระเจ้าที่มีประสิทธิผล (ฮชย 2:2 เชิงอรรถ c) และความดีของพระองค์ ความรักของพระองค์ต่อมนุษยชาติ (3:4;) ได้ปรากฏขึ้นนำหน้า “การสำแดงพระองค์” (ข้อ 13) (1 ทธ 6:14 เชิงอรรถ f) และในทำนองเดียวกัน (เหมือนกับข้อ 1-3) ข้อ 11-14 และ 3:4-7 เป็นการบรรยายถึงข้อเรียกร้องและผลของงานกอบกู้ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

c การยืนยันอย่างชัดเจนถึงความเป็นพระเจ้าของพระคริสตเจ้า (ดู รม 9:5 เชิงอรรถ d) ที่นี่พระผู้ไถ่ยังได้รับชื่อว่าเป็นพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ด้วย (ดู 1 ทธ 1:1 เชิงอรรถ b)

d หมายถึง การฝ่าฝืนพระบัญญัติ (มธ 24:12//; 1 ยน 3:4)

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก