“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

บทเทศน์โดยพระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์  วีระ  อาภรณ์รัตน์

อาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา 
วันที่ 26 ตุลาคม 2014
 
บทอ่าน     อพย 22:20-26;     1ธส 1:5 ข-10;     มธ 22:34-40
พระวรสารสัมพันธ์กับ     คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก  (CCC)   575, 58, 1824, 2055, 2083
            ประมวลคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร  (CSDC)  112, 580
จุดเน้น     เพราะเหตุว่าพระเจ้าทรงรักเราเปล่าๆ เราจึงต้องรักผู้อื่นตอบแทน


ความรักคืออะไร  เราแต่ละคนย่อมมีคำนิยามความรักส่วนตัว มีประสบการณ์แตกต่างกันที่เรารักใครบางคน หรือมีคนรักเรา   ความรักเหมือนอากาศที่เราหายใจ     เป็นพื้นฐานประสบการณ์มนุษย์ ความรักเป็นอารมณ์   เป็นคุณธรรม  เป็นการผสมทางเคมี  หรือการอุทิศตัวทางจิตวิทยาหรือ  ในฐานะชาวคาทอลิก  เราจะพบคำตอบได้ก็โดยมองมรดกของชาวยิว-คริสตชน  นักบุญเปาโลในจดหมายฉบับแรกถึงชาวโครินธ์ กล่าวถึงลักษณะของความรัก ดังนี้ “ความรักย่อมอดทน มีใจเอื้อเฟื้อ ไม่อิจฉา ไม่โอ้อวดตัว ไม่จองหอง ไม่หยาบคาย ไม่เห็นแก่ตัว ความรักไม่ฉุนเฉียว ไม่จดจำความผิดที่ได้รับ ไม่ยินดีในความชั่ว แต่ร่วมยินดีในความถูกต้อง” (1คร 13:4-7; CCC 1825) ขอให้ใช้เวลาสักครู่หนึ่ง เพื่อไตร่ตรองว่า ความรักคืออะไร

    บทอ่านแรกจากหนังสืออพยพ กล่าวถึงความรักว่าเป็นชุดข้อห้ามจากพระเจ้า หรือพูดอีกแบบหนึ่ง อย่าปฏิบัติเช่นนี้กับคนอื่น โมเสสบอกชาวอิสราเอล วิธีที่พวกเขาต้องปฏิบัติต่อคนแปลกหน้า แม่หม้ายและลูกกำพร้า  หากพวกเขาให้ยืมเงิน   พวกเขาต้องไม่เรียกร้องผลกำไร  หากพวกเขาเอาเสื้อคลุมยาวของใครไป ต้องนำมาคืนก่อนตะวันตกดิน กฎเกณฑ์เหล่านี้ทำให้นึกถึงกฎทองคือ “ท่านอยากให้เขาทำกับท่านอย่างไร ก็จงทำกับเขาอย่างนั้นเถิด” นี่เป็นเพียงเล็กๆ น้อยๆ จากชุดบัญญัติ 613 ข้อ ที่ชาวอิสราเอลต้องปฏิบัติ เพื่อมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า และกับคนอื่นๆ

    นักบุญเปาโลได้บรรยายถึงคุณธรรมความรัก โดยมองงานธรรมทูตของเขาในชุมชนคริสตชนที่เมืองเธสะโลนิกา ในบทอ่านที่สองเปาโลพิสูจน์ความจริงว่า ท่านและผู้ร่วมงานของท่านสามารถหว่านพระวาจาพระเจ้าท่ามกลางพวกเขา กิจการยิ่งใหญ่แห่งความรักนี้ในส่วนของเขานำชาวเธสะโลนิกาบางคนให้ยอมรับความเชื่อ และความเชื่อในพระเยซูเจ้า เรื่องนี้ไม่ใช่ง่ายๆ นักบุญเปาโลและบรรดาเพื่อนร่วมงานได้เผชิญการโต้แย้งรุนแรง ถึงกระนั้น พวกเขาได้เพียรอดทน ความพยายามนี้ทำให้เป็นแบบอย่างความรักแท้ กล่าวคือ เมื่อคนหนึ่งทุ่มเทอุทิศตนเพื่อบุคคลอื่นถึงแม้จะเกิดความทุกข์ยาก

    เราหันมาหาพระเยซูเจ้า และข่าวสารพระวรสารวันนี้ คือคำสั่งยิ่งใหญ่ที่สุด (บทบัญญัติเอก) ฟาริสีคนหนึ่งได้ทูลถาม พระเยซูเจ้าทรงกระทำสองอย่างคือ อย่างแรก พระองค์ทรงตอบคำถาม ยืนยันและเคารพธรรมบัญญัติของชาวยิว แล้วพระเยซูเจ้าทรงตีความธรรมบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือ  รักพระเจ้าและตามด้วยความรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง   พระเยซูเจ้าทรงรู้ธรรมบัญญัติสำคัญนี้ ว่ามาจากเฉลยธรรมบัญญัติ บทที่ 6 และทรงรู้ว่าเป็นบทภาวนาที่ชาวยิวศรัทธาสวดวันละ 2 ครั้ง (ฉธบ 6:4-9) พระเยซูเจ้าทรงเข้าใจว่าอาศัยการทำตามพระประสงค์พระบิดา และการพูดอย่างทรงอำนาจ บรรดาผู้นำศาสนาหลายคนจะต่อต้านพระองค์ อย่างไรก็ดี ก็ไม่สามารถหยุดยั้งมิให้พระองค์ทำตามพระประสงค์พระบิดาได้ เพราะเหตุว่าพระองค์ทรงรักพระบิดาและทรงรักเรามาก  

พระเยซูเจ้าทรงมอบแบบอย่างให้เราปฏิบัติตาม  เราพร้อมที่จะรักหรือไม่  

พระสังฆราชวีระ  อาภรณ์รัตน์  แปล
จาก  Homilies  โดย Catholic  Diocese  of  Lansing,
(ตุลาคม – ธันวาคม  2014), หน้า 449 - 450.

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก