“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

"พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ใดสำหรับข้าพเจ้า" อธิบายพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก โดย บาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์
“ถ้าผู้ใดอยากติดตามเรา ”

42. เงื่อนไขในการติดตามพระคริสตเจ้า(3)
-ในยุคของคนไม่ซื่อสัตย์และชั่วร้ายนี้ “คนไม่ซื่อสัตย์” แปลตามตัวอักษรได้ว่า “การเป็นชู้ นอกใจ” เป็นคำที่มาจากข้อเขียนของบรรดาประกาศก และเราพบบ่อย ๆ ทั้งในพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่บรรดาประกาศกมองความสัมพันธ์ของพระยาห์เวห์กับอิสราเอลในภาพการแต่งงาน เสนอภาพประชากรอิสราเอลเป็นเจ้าสาวของพระยาห์เวห์

และทุกครั้งที่เขาไม่ซื่อสัตย์ต่อคำสัญญาที่ให้ไว้กับเจ้าบ่าวโดยล่วงละเมิดกฎหมายของพันธสัญญาและหลงไปนับถือรูปเคารพก็ได้ชื่อว่า “เป็นชู้” พระเยซูเจ้าทรงกล่าวถึงยุคพระเมสสิยาห์เป็นเหมือนงานมงคลสมรสเช่นกัน และตรัสถึงพระองค์เองว่าทรงเป็นเสมือนเจ้าบ่าว

- บุตรแห่งมนุษย์ก็จะอับอายเพราะเขา เหตุผลอีกประการหนึ่งที่เราไม่ต้องอับอายเพราะพระคริสตเจ้าและข่าวดีก็คือ เพื่อเราจะเป็นที่รู้จักของพระเยซูเจ้าเมื่อพระองค์จะเสด็จมาในฐานะบุตรแห่งมนุษย์ผู้ทรงพระสิริรุ่งโรจน์ จำเป็นที่พระเยซูเจ้าทรงรับทรมาน แต่สักวันหนึ่งพระองค์จะเสด็จมาพิพากษามนุษย์ทุกคน และจะทรงบันดาลให้ผู้ที่อับอายเพราะพระองค์ในโลกนี้ถูกขจัดตลอดไป การอับอายเพราะพระองค์จึงเท่ากับว่า รักษาชีวิตของตนเพียงในโลกนี้ พระองค์จึงทรงเตือนเราให้ตัดสินใจเลือกชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  

- เมื่อพระองค์จะเสด็จมาในพระสิริรุ่งโรจน์ของพระบิดาพร้อมกับบรรดาทูตสวรรค์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ด้วยเช่นเดียวกัน”บุตรแห่งมนุษย์ผู้จะเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์คือพระเยซูเจ้า ผู้ทรงสมควรได้รับพระสิริรุ่งโรจน์เดียวกับพระบิดา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพระองค์จะทรงพิพากษามนุษย์ทุกคนในวันสิ้นพิภพ

- พระองค์ยังตรัสกับบรรดาศิษย์อีกว่า นี่เป็นสูตรที่นักบุญมาระโกใช้บ่อย ๆ (เทียบ 2:27; 4:11,13; 6:10; 7:14; 8:34) เพื่อแยกพระวาจาที่เขาได้อ้างมาก่อนออกจากข้อความที่จะอ้างต่อไป แม้พระวาจานี้พระองค์อาจจะได้ตรัสในสถานการณ์อื่น

- เราบอกความจริงกับท่านว่า นี่เป็นสูตรที่พระเยซูเจ้าทรงใช้เมื่อทรงเปิดเผยความจริงสำคัญแก่มนุษย์ทุกคน เพื่อเชิญชวนให้ตั้งใจฟังพระวาจาที่กำลังตรัส (เทียบ 3:28; 8:12) และเพื่อแสดงความแน่นอนของความจริงนั้น

- บางท่านที่ยืนอยู่ที่นี่จะไม่ลิ้มรสความตาย “ลิ้มรสความตาย” เป็นสำนวนภาษาอาราเมอิกที่ใช้ในความหมายเดียวกันกับ “ตาย” (เทียบ มธ 16:28; ลก 9:27; ยน 8:52; ฮบ 2:9; 8:34)

- จนกว่าจะเห็นพระอาณาจักรของพระเจ้ามาถึงพร้อมด้วยพระอานุภาพ” ตั้งแต่สมัยปิตาจารย์มีความคิดหลากหลายในการอธิบายพระวาจานี้ แม้ในปัจจุบันก็ยังไม่มีนักพระคัมภีร์ผู้ใดอธิบายความหมายได้อย่างเป็นที่ยอมรับของทุกคน ปัญหาอยู่ที่ว่าคำ “พระอาณาจักรของพระเจ้า” ในบริบทนี้หมายหมายอะไร แน่นอนไม่หมายถึงขบวนการที่เกิดจากการเทศน์สอนและการกระทำอัศจรรย์ของพระเยซูเจ้า เพราะขบวนการนี้เป็นที่ปรากฏต่อสายตาของทุกคนไม่ใช่เพียงบางคน พระอาณาจักรนี้ก็ไม่ใช่การเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์ของพระเยซูเจ้าเมื่อสิ้นพิภพ เพราะไม่มีพระวาจาอื่นใดที่ยืนยันว่าการเสด็จมาอย่างรุ่งโรจน์นี้จะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ บางคนจึงคิดว่าพระเยซูเจ้าคงหมายถึงการสำแดงความรุ่งโรจน์ของพระองค์บนภูเขาทาบอร์ ซึ่งนักบุญมาระโกจะเล่าในข้อต่อไป (เทียบ 9:2-8) นักพระคัมภีร์ปัจจุบันบางคนคิดว่าหมายถึงการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า บางคนคิดว่าการที่กรุงเยรูซาเล็มถูกทำลาย และอีกบางคิดว่าการเผยแผ่ของพระศาสนจักรอย่างรวดเร็วและเข้มแข็งในยุคของบรรดาอัครสาวก ไม่ว่าจะตีความหมายพระวาจานี้อย่างไรก็เป็นเพียงคำทำนายถึงอนาคตเพื่อให้กำลังใจแก่ผู้ฟังเท่านั้น

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก