“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

ไตร่ตรองพระวาจา  โดย..คุณพ่อชวลิต  กิจเจริญวันอังคารที่ 21 มีนาคม 2017
สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต
บทอ่าน ดนล 3:25,34-43 / มธ 18:21-35

         นิทานเปรียบเทียบเรื่องคนใช้ไร้เมตตา มีจุดประสงค์ที่จะกล่าวถึงความจำเป็นของการให้อภัย มีเหตุผลว่าทำไมเราต้องให้อภัย? แล้วเราจะต้องให้อภัยอย่างไร? เพราะว่าพระเยซูเจ้า พระอาจารย์และพระเป็นเจ้าของเรา ได้ให้ตัวอย่างของการให้อภัยแก่เรา

และพระองค์ยังทรงต้องการให้เราให้อภัยคนอื่น เหมือนอย่างที่เราได้รับการอภัยจากพระองค์ ประสบการณ์ของการได้รับการอภัยจากเพราะเป็นเจ้า คือ เงื่อนไขที่สำคัญที่สุดที่เราจะให้อภัยคนอื่น คนใช้ที่เคยได้รับการให้อภัยมาก่อน จะต้องเห็นคุณค่าของการให้อภัย เขาจึงจะสามารถให้อภัยเพื่อนคนใช้ด้วยกัน
ความพร้อมที่จะให้อภัยนั้น คือพื้นฐานของการเจริญชีวิตแบบคริสตชน และจะต้องลงมือปฏิบัติโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ

       การที่พระเยซูเจ้าทรงตอบแก่เปโตรว่า เขาจะต้องยกโทษให้พี่น้องกี่ครั้ง ถ้าพี่น้องได้ทำผิดต่อเขา? พระเยซูเจ้าทรงตอบว่า 7 ครั้ง 70 หน
เลข7หมายถึงความสมบูรณ์ ตัวอย่างเรื่องการสร้างโลกในหนังสือปฐมการบทที่1 พระเป็นเจ้าได้สร้างโลกสำเร็จใน 6 วัน และในวันที่ 7 พระองค์ได้ทรงพักผ่อน

ส่วน 7 ครั้ง 70 หน หมายถึง”ไม่มีกำหนด” ไม่ว่าในครอบครัวของเรา ในหมู่คณะของเรา หรือในสังคมของเรา ความเข้าใจผิด การทะเลาะเบาะแว้ง และความขัดแย้ง ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ โดยอาศัยนิทานเปรียบเทียบเรื่องคนใช้ที่ไร้เมตตา พระเยซูเจ้าทรงต้องการจะสอนว่า พระเป็นเจ้าได้ให้อภัยโทษเราอย่างไร เราก็ต้องให้อภัยคนอื่นซึ่งได้ทำผิดต่อเราอย่างนั้น ถ้าเราไม่ยินดียกโทษให้ เราก็ไม่สามารถที่จะหวังให้พระบิดาเจ้าสวรรค์ยกโทษให้แก่เรา
 เพราะฉะนั้น เราต้องมีความจริงใจเมื่อเราสวดภาวนาว่า “โปรดอภัยโทษแก่ข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผู้อื่น”...

”คนอ่อนแอไม่สามารถให้อภัยคนอื่นได้

การให้อภัย คือ คุณสมบัติของผู้เข้มแข็ง”...

        ความจริงเป็นอย่างนี้ คือ ถ้าท่านไม่ปล่อยวาง ถ้าท่านไม่ให้อภัยแก่ตัวเอง ถ้าท่านไม่ให้อภัยแก่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ถ้าท่านไม่คิดว่าเหตุการณ์นั้นจบไปแล้ว ท่านจะไม่สามารถที่จะเคลื่อนตัวไปข้างหน้าได้”

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก