รำพึงพระวาจาประจำวัน โดยคุณพ่อสมเกียรติ  ตรีนิกร
วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม 2015
สัปดาห์ที่ยี่สิบเก้า เทศกาลธรรมดา

ลก 13:1-9…
1ในเวลานั้น คนบางคนเข้ามาทูลพระเยซูเจ้าถึงเรื่องชาวกาลิลีซึ่งถูกปีลาตสั่งประหารชีวิต ในขณะที่เขากำลังถวายเครื่องบูชา พระองค์จึงตรัสตอบเขาว่า 2“ท่านคิดว่าชาวกาลิลีเหล่านี้เป็นคนบาปมากกว่าชาวกาลิลีทุกคนหรือ จึงต้องถูกฆ่าเช่นนี้ 3มิได้ เราบอกท่านทั้งหลายว่าถ้าท่านไม่กลับใจเปลี่ยนชีวิต ทุกท่านจะพินาศไปเช่นกัน 4แล้วคนสิบแปดคนที่ถูกหอสิโลอัมพังทับเสียชีวิตเล่า ท่านคิดว่าคนเหล่านั้นมีความผิดมากกว่าคนอื่นทุกคนที่อาศัยอยู่ในกรุง เยรูซาเล็มหรือ

5มิได้ เราบอกท่านทั้งหลายว่าถ้าท่านไม่กลับใจเปลี่ยนชีวิต ทุกท่านจะพินาศไปเช่นเดียวกัน”
6พระเยซูเจ้าตรัสเป็นอุปมาเรื่องนี้ว่า “ชายผู้หนึ่งปลูกต้นมะเดื่อเทศต้นหนึ่งในสวนองุ่นของตน เขามามองหาผลที่ต้นนั้น แต่ไม่พบ 7จึงพูดกับคนสวนว่า ‘ดูซิ สามปีแล้วที่ฉันมองหาผลจากมะเดื่อเทศต้นนี้แต่ไม่พบ จงโค่นมันเถิด เสียที่เปล่าๆ’ 8แต่คนสวนตอบว่า ‘นายครับ ปล่อยมันไว้อีกสักปีหนึ่งเถิด ผมจะพรวนดินรอบต้น ใส่ปุ๋ย 9ดูซิว่าปีหน้ามันจะออกผลหรือไม่ ถ้าไม่ออกผล ท่านจะโค่นทิ้งเสียก็ได้’”


อรรถาธิบายและไตร่ตรอง
 
• “เราบอกท่านทั้งหลายว่าถ้าท่านไม่กลับใจเปลี่ยนชีวิต ทุกท่านจะพินาศไปเช่นกัน” ถ้อยพระดำรัสของพระเยซเจ้า หลังจากได้รับคำถามถึงคนจำนวนไม่น้อยที่ถูกเฮโรดตัดสินประหารชีวิต... คำถามนี้ชวนให้พระเยซูเจ้าได้คิด ให้ทรงได้ตัดสินว่าเกิดอะไรขึ้นกับคนที่ต้องตายเพราะอุบัติเหตุ ต้องเสียชีวิตเพราะคนชั่วร้าย... พวกเขาปรารถนาให้เกิดการตัดสินให้ชัดเจนว่าคนเหล่านี้ที่สิ้นชีวิตเป็นคนบาป เพียงใด?? เพราะเหตุว่าพวกเขาคงได้คิด คงได้ตัดสินกัน หรือเรียกว่าตัดสินนินทากันมาอยู่เนืองๆว่าเกิดอะไรขึ้น มีอะไรเกิดขึ้น โดยเฉพาะเมือความตายบ่อยครั้งถูกผู้ไว้กับบาปหรือความชั่วร้ายที่ได้กระทำ ทำให้ต้องตาย ดังนั้น ประชาชนจึงปรารถนาจะได้ยินคำตัดสิน หรืออย่างน้อยยืนยันความคิดการตัดสินของพระเยซูเจ้าว่า พระองค์คิดยอย่างไรเรื่องคนที่ถูกเฮโรดประหารชีวิต คนเรามักจะมีการตัดสินของตนต่อคนอื่น ย้ำว่า “ตัดสินคนอื่น” อยู่เสมอ

• พระเยซูเจ้าจึงถูกถามเพื่อให้เสนอคำตัดสินของพระองค์ต่อความตายที่เกิดจากเฮ โรด ซึ่งเฮโรดก็โหดร้าย คลั่งหลงอำนาจ ประหารชีวิต และฆ่าชาวกาลิลีจำนวนไม่น้อย (เฮโรดปกครองแคว้นกาลิลี ทางเหนือของอิสราเอลสมัยพระเยซูเจ้า) คนเรามักจะคิดและตัดสินคนอื่นๆว่าได้ทำบาปอะไรลงไป ได้กระทำความผิดหรือความชั่วร้ายอะไรจึงกระทำเช่นนั้น... พระองค์ตรัสตอบพวกเขาน่าสนใจ

o “ท่านคิดว่าชาวกาลิลีเหล่านี้เป็นคนบาปมากกว่าชาวกาลิลีทุกคนหรือ จึงต้องถูกฆ่าเช่นนี้ มิได้ เราบอกท่านทั้งหลายว่าถ้าท่านไม่กลับใจเปลี่ยนชีวิต ทุกท่านจะพินาศไปเช่นกัน”

o แล้วคนสิบแปดคนที่ถูกหอสิโลอัมพังทับเสียชีวิตเล่า ท่านคิดว่าคนเหล่านั้นมีความผิดมากกว่าคนอื่นทุกคนที่อาศัยอยู่ในกรุง เยรูซาเล็มหรือ มิได้ เราบอกท่านทั้งหลายว่าถ้าท่านไม่กลับใจเปลี่ยนชีวิต ทุกท่านจะพินาศไปเช่นเดียวกัน”


• เราได้ยินสำนวนคำตอบของพระเยซูเจ้า ประหนึ่งบอกกับพวกเขาว่า ไม่ต้องคิดถึงความตายหรือเหตุผลของคนอื่นๆโดยไม่จำเป็น แต่ให้คิดถึงตนเอง... เราได้ยินสำนวนนี้ถึงสองครั้งซ้ำกันคือ “มิได้ เราบอกท่านทั้งหลายว่าถ้าท่านไม่กลับใจเปลี่ยนชีวิต ทุกท่านจะพินาศไปเช่นเดียวกัน””

• ธรรมชาติคนเราก็มักคิดถึงคนอื่น ตัดสินคนอื่น เก่งนักเรื่องการตัดสินคนอื่นในใจหรือไตร่ตรองออกมาดังๆ คนไทยเราก็มีธรรมชาติแบบนี้เยอะหน่อยเพราะคนไทยเรามีความคิดเชื่อเรื่อง “กรรม” หรือ “กฎแห่งกรรม” ซึ่งไม่ใช่ความเชื่อของศาสนาคริสต์คาทอลิก แต่กระนั้นเพราะเราอยู่ในแวดวงศาสนาและวัฒนธรรมแบบไทย เพราะภาษา ระบบความคิด และปรัชญาความเชื่อศาสนามีอิทธิพลแก่เราด้วยไม่มากก็น้อย... เราเข้าไปดูประสบการณ์ของเราดีกว่า

o เมื่อมีอุบัติเหตุในเมืองไทย เราอ่านหนังสือพิมพ์ รายงานข่าว เราจะพบความคิดแบบนี้ เช่น คานขนาดใหญ่ที่กำลังก่อสร้าง ยกคนขึ้นสูงเหนือถนน เกิดความผิดพลาด ในที่สุดคานสะพานหล่นลงมากเพราะ “อุบัติเหตุ” หนังสือพิมพ์ก็รายง่ายข่าวซึ่งพ่ออ่านแล้วพ่อรู้ว่ามีความคิดอะไรอยู่เบื้อง หลัง... 

o เช่น “อุบัติเหตุ คานยักษ์หล่นจากรถเครน... แท็กซี่ผ่านมาพอดี...โชคร้าย ชะตาขาด ดวงถึงคาด คานทับดับทั้งคัน....” หรือ “น้ำหลากเชี่ยววังตะไคร้แตก...นักท่องเที่ยวหนีตาย แต่ที่สุดชะตาขาด จมน้ำมเสียชีวิต...” และพอมีคนสิ้นชีวิต เราคนไทยก็บอกว่า “สิ้นบุญ สิ้นกรรม” นั่นแหละครับ... คนไทย เราจึงศิโรราบให้แก่กรรม แทนที่จะไปแก้ไขหรือรอบคอบในการยกเครน หรือจัดระบบท่องเที่ยวให้รอบคอบ ประเมินล่วงหน้าให้รู้ว่าปลอดภัย... ทุกสิ่งก็เลยปล่อยไปตามคำว่า “ยถากรรม” หนักไปกันใหญ่

o หรืออุบัติเหตุแรงๆที่เกิดขึ้นจากคนขับรถขาดสติ ประมาท ขาดวินัย เมามายแล้วขับ ก่อให้เกิดอุบัติเหตุแรงๆแก่คนที่บริสุทธิ์ ไม่รู้อีโหน่อีเหน่มาเจอเข้า เสียงชีวิต บทสรุปก็ลงมาที่คำว่า “คราวเคราะห์ หรือ ซวย ชะตาดับ” ฯลฯ

o ตัดสินกันด้วยกรรม ก็ง่าย ไม่ต้องอธิบายมาก รับไปเองเต็มๆคนอื่นไม่เกี่ยว สังคมไม่ต้องรับผิดชอบ ฯลฯ เท่ากับสรุปว่าการที่คนหนึ่งต้องเจอความบกพร่อง ความไม่รับผิดชอบ หรือความผิดพลาดของคนอื่น คนออกแบบ คนคุมงานก่อสร้าง หรือคนขับรถคันอื่นที่เมามายกันมากมาย แทนที่จะแก้ไขที่ต้นเหตุจริงกับคำว่า “รับผิดชอบ วุฒิภาวะ วินัยในชีวิต ความรู้ที่เพียงพอ ฯลฯที่จำเป็น” เรามักจะเพียงสรุปว่า เคราะห์กรรม หรือชะตากรรมของคนที่เสียชีวิตเท่านั้น... และก็รอไปเกิดใหม่ก็แล้วกันถ้ายังไม่สิ้นกรรมสิ้นเวรหรือชดใช้ไม่หมด

• พระเยซูเจ้าทรงตอบคำถามเรื่องบาปกรรม โดยให้มองที่ตนเอง พิจารณาตนเองและกลับใจมากนั่นคือประเด็นสำคัญ เราจึงได้ยินคำตอบซ้ำกันสองครั้ง “เราบอกท่านทั้งหลายว่าถ้าท่านไม่กลับใจเปลี่ยนชีวิต ทุกท่านจะพินาศไปเช่นเดียวกัน”

o เราจะเป็นต้องพิจารณาตนเอง พัฒนาตนเองในความสัมพันธ์กับพระเจ้าและกับเพื่อนมุนษย์เสมอ เริ่มจากตัวเราเอง เริ่มที่การกลับใจเสมออย่างต่อเนื่อง

o เราคงจะไม่มีความสุขกับการตัดสินคนอื่น แต่ต้องต้องชื่นชม ช่วยเหลือและเห็นใจ 

o สำหรับคนที่บกพร่อง พระศาสนจักรก็มีคำสอนของพระเยซูเจ้าที่ทรงให้เวลาแก่คนบาป คนที่ต้องการการกลับใจ ดังนั้น อุปมาเรื่องต้นมะเดื่อไม่เกิดผลจึงตามมา แม้ถึงเวลาที่เกิดผลแล้วไม่เกิดผลควรโค่นทิ้ง เสียงขอร้อง ขออีกปี ให้เวลา รดน้ำพรวนดิน ให้เวลาเผื่อว่าจะเกิดผลในที่สุด

o ดังนั้น แทนการตัดสิน เราให้โอกาส ให้เวลา และเห็นใจจะดีกว่าแน่นอน ถ้าเราตัดสินกันว่าเป็นกรรม เป็นบาป ก็แย่เลย เพราะคนดีๆ หลายเจอภัยที่คิดไม่ถึง... แต่ที่สุดก็ว่ากันไปชาติที่แล้วอีกหรอ ไม่ครับ อุบัติเหตุคืออุบัติเหตุ ความบกพร่องต่างๆ ที่ควรมีวุฒิภาวะมากขึ้น อบรมแก้ไข แต่เราก็ว่ากันไป เดี๋ยวก็ลืม แล้วก็เมาประมาทกันอีก ไม่เอาครับ แก้ไขกันให้ลึกซึ้งเพื่อความปลอดภัยเพื่อชีวิตที่ดีมีค่าและยืนยาวตามเวลา ที่สมควร และได้รับการพัฒนาเพื่อความดีจากภายในจิตใจของเรา

• การกลับใจ จึงจำเป็นครับ “เราบอกท่านทั้งหลายว่าถ้าท่านไม่กลับใจเปลี่ยนชีวิต ทุกท่านจะพินาศไปเช่นกัน” พ่อเสนอร่างกฤษฎีกาที่พ่อยกร่างไว้จากสมมัชชาฯ ข้อความเรื่องการกลับใจ เพื่อเราจะได้อ่านและได้พยายามที่จะมีชีวิตคริสตชนที่มีคุณภาพ สดชื่นในชีวิตศาสนาของเราแต่ละคนนะครับ...
การกลับใจ ( Metanoia )

• การพบปะกับพระคริสตเจ้าต้องนำไปสู่การกลับใจ (Metanoia) คือ

o การเปิดหัวใจคิดไตร่ตรองแบบใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม และ

o เป็นการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงชีวิตจากเดิมที่เคยเป็นและไม่กลับไปเป็นแบบเดิมอีก 

o นักบุญเปาโล บนถนนไปเมืองดามัสกัส ได้พบกับพระคริสตเจ้าและได้กลับใจ เพราะเหตุนั้นท่านได้เป็นตัวอย่างของการกลับใจ จนกลายเป็นพลังแห่งการประกาศข่าวดีใหม่แท้จริง เป็นผู้ประกาศพระคริสตเจ้าแม้ต้องเสี่ยงชีวิต นักบุญเปาโลเป็นอัครสาวกผู้ทรงพลังที่สุดในการประกาศข่าวดีแบบใหม่ด้วยความ ยินดี กระตือรือร้น และสดชื่น