“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

รำพึงพระวาจาประจำวัน โดยคุณพ่อสมเกียรติ  ตรีนิกร
วันจันทร์ที่ 25 กันยายน 2017
สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา
อสร 1:1-6…. (อ่านถึงจบบทที่ 1 เลยครับ)
       1ปีแรกในรัชกาลกษัตริย์ไซรัสแห่งเปอร์เซีย พระยาห์เวห์ทรงบันดาลให้พระวาจาที่ตรัสโดยประกาศกเยเรมีย์เป็นความจริง จึงทรงดลใจกษัตริย์ไซรัสแห่งเปอร์เซียให้ทรงประกาศทั่วพระราชอาณาจักร และมีพระราชสารเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยว่า


      2“กษัตริย์ไซรัสแห่งเปอร์เซียตรัสดังนี้ว่า ‘พระยาห์เวห์ พระเจ้าแห่งสวรรค์ได้ประทานอาณาจักรทั้งสิ้นบนแผ่นดินแก่เรา และพระองค์ทรงบัญชาเราให้สร้างพระวิหารถวายพระองค์ที่กรุงเยรูซาเล็มในแคว้นยูดาห์ 3ผู้ใดในหมู่ท่านทั้งหลายเป็นประชากรของพระองค์ ขอพระเจ้าสถิตอยู่กับผู้นั้น และให้เขากลับขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็มในแคว้นยูดาห์ และสร้างพระวิหารของพระยาห์เวห์ พระเจ้าแห่งอิสราเอลขึ้นใหม่ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงพำนักอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็ม 4ขอให้ทุกคนที่เหลือรอดชีวิต ไม่ว่าจะพำนักอยู่ ณ ที่ใด ได้รับความช่วยเหลือจากจากประชาชนที่นั่น เป็นเงิน ทองคำ สิ่งของและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งเครื่องบูชาตามใจสมัคร สำหรับพระวิหารของพระเจ้าที่กรุงเยรูซาเล็ม’”

       5หัวหน้าตระกูลยูดาห์และเบนยามินจึงออกเดินทาง พร้อมกับบรรดาสมณะและชนเลวี คือทุกคนที่พระเจ้าทรงดลใจให้กลับขึ้นไปสร้างพระวิหารของพระยาห์เวห์ขึ้นใหม่ ที่กรุงเยรูซาเล็ม 6เพื่อนบ้านทุกคนช่วยเหลือเขา ให้เงิน ทองคำ ข้าวของ สัตว์เลี้ยง และของมีค่า นอกเหนือจากเครื่องบูชาที่แต่ละคนถวายตามใจสมัคร 7กษัตริย์ไซรัสทรงบัญชาให้นำเครื่องใช้ของพระวิหารแห่งพระยาห์เวห์ออกมา เครื่องใช้เหล่านี้กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ทรงยึดจากกรุงเยรูซาเล็ม นำมาเก็บไว้ในวิหารของเทพเจ้าของพระองค์ 8กษัตริย์ไซรัสแห่งเปอร์เซียทรงบัญชาให้มิทเรดาท ขุนคลัง นำภาชนะเหล่านี้ออกมาจากที่นั่น ตรวจสอบจำนวนมอบให้แก่เชชบัสซาร์ เจ้านายแห่งยูดาห์ 9รายการสิ่งของต่างๆมีดังนี้ อ่างทองคำสามสิบใบ อ่างเงินหนึ่งพันใบ มีดยี่สิบเก้าเล่ม 10ชามทองคำสามสิบใบ ชามเงินคุณภาพรองสี่ร้อยสิบใบ ภาชนะอื่นๆหนึ่งพันใบ 11รวมภาชนะทองคำและภาชนะเงินทั้งสิ้นห้าพันสี่ร้อยใบ เมื่อบรรดาผู้ถูกเนรเทศกลับจากกรุงบาบิโลนขึ้นไปกรุงเยรูซาเล็ม เชชบัสซาร์ก็นำภาชนะเหล่านี้ทั้งหมดกลับมาด้วย

อรรถาธิบายและไตร่ตรอง
• เวลานี้เรากลับมาที่หนังสือพันธสัญญาเดิม หลังจากที่เราได้อ่านจดหมายของนักบุญเปาโลมาหลายสัปดาห์ วันนี้พิธีกรรมพาเรากลับมาที่หนังสือพันธสัญญาเดิม หมวดประวัติศาสตร์ และเราได้อ่านหนังสือเอสรา

• เรามาทำความรู้จักกับประวัติศาสตร์ของชนชาติอิสราเอล เมื่อครั้งอาณาจักรยูดาห์ต้องเณรเทศไปอยู่ที่บาบิโลน ในปี 587 ก่อนคริสตกาล... พระวิหารที่สร้างสมัยซาโลมอนถูกทำลายราบคาบ เครื่องใช้ในพระวิหารถูกกวาดเก็บไปสิ้น บรรดาคนชั้นสูงเจ้านาย คนที่สำคัญๆ ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยที่บาบิโลนเป็นเวลาสี่สิบกว่าปี พ่อคิดว่าเรามาทบทวนประวัติศาสตร์กันหน่อยดีกว่าครับ
o จากข้อมูลของพระคัมภีร์เราทราบว่าราชอาณาจักรทั้งสองนี้ตกเป็นเมืองขึ้นในที่สุด อิสราแอลโดยอัสซีเรียในปี 712 ก่อนคริสตกาล และ
o อาณาจักรยูดาห์ถูกทำลายและถูกกวาดต้อนโดยเนบูคัสเนสซาร์แห่งบาบิโลนในปี 587 ก่อนคริสตกาล ประชากรถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย และยุคนี้เป็นยุคที่เราเรียกว่า “ยุคเนรเทศ” (The Period of the exile)
o หลังจากนั้นเมื่อมาถึงยุคของอาณาจักรเปอร์เซียเรืองอำนาจเข้ามาแทนอำนาจของบาบิโลน โดยในยุคนี้เองกษัตริย์ไซรัส แห่งเปอร์เซียได้ออกกฤษฎีกาอนุญาตให้บรรดาผู้นำชาวยิวในที่เนรเทศกลับไปบ้าน คือกลับไปยังแผ่นดินของตน เพื่อสร้างพระวิหารและฟื้นฟูนครเยรูซาเล็มขึ้นใหม่

• โดยกฤษฎีกานี้เองเป็นยุคใหม่ที่เรียกว่ายุค “กลับจากเนรเทศ” (period of the return from exile) มีพวกยิวกลุ่มใหญเดินทางกลับมายังปาเลสไตน์หรือแผ่นดินคานาอัน แต่มีชาวยิวจำนวนมากเช่นกันไม่เดินทางกลับมา แต่ต้องการตั้งรกรากอยู่ต่อไปนอกปาเลสไตน์ ซึ่งกลุ่มนี้เรียกว่า “ยิวโพ้นทะเล” (Diaspora) การเดินทางกับมานี้เองคือจุดเริ่มต้นของหนังสือ “เอสรา” ผู้นำการเดินทางกลับจากการเนรเทศ....

• เรามาทำความรู้จักกับเอสรากันสักหน่อยนะครับ... คงได้ยินชื่อนี้กันมานานแล้ว บัดนี้เป็นโอกาสดีที่เราจะอ่านและรู้จักเรื่องราวของเอสราในหนังสือเอสรากันดีๆสักครับครับ
o เอสรา: เป็นคัมภีราจารย์ ผู้เชี่ยวชาญในกฎหมายของโมเสส (อสร 7:6) และได้เป็นเจ้าหน้าที่ของศาลแห่งเปอร์เซีย
o เขาถูกส่งกลับมาพร้อมกับชาวยิวเพื่อนำชาวยิวให้กับไปเยรูซาเล็ม เพื่อเป็นผู้นำในการฟื้นฟูบัญญัติและการถือธรรมเนียมบัญญัติของโมเสส “กฎหมายของโมเสส”
o นี่เป็นนโยบายของเปอร์เซียโดยตรงที่จะอนุญาตให้ประเทศราชใต้อำนาจในอาณาจักรของเปอร์เซีย มีอิสรภาพพ่อสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรักษากฎศาสนา และธรรมเนียมของชาติของตนเองในแผ่นดินที่เปอร์เซียครอบครอง ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ไม่เคยได้รับอนุญาตเลยในสมัยบาบิโลน และที่สำคัญกฎบัญญัติของโมเสส ธรรมเนียมทางศาสนา ได้ถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปจนหมดระหว่างการเนรเทศที่บาบิโลน... การต้องไปร้องไห้ริมฝั่งน้ำที่บาบิโลนอยู่อยาวนาน บัดนี้ได้กลับนำนครเยรูซาเล็มกันเสียที...
o เอสรา ได้กลับมาและได้ฟื้นฟูบัญญัติที่พระเจ้าได้มอบให้กับบรรพบุรุษ เป็นการฟื้นฟูที่จุดเริ่มต้นอย่างแท้จริง “ฟื้นฟูธรรมบัญญัติ” และนี่เป็นพันธกิจของเอสราโดยตรง

• เอสราได้เน้นให้มุ่งศึกษาโตราห์ ในฐานะที่เป็นกฎหมายพื้นฐานของชีวิตในทุกมิติในการฟื้นฟูความเป็นยิว ในการเจริญชีวิตเป็นหมู่คณะชาวยิว และโดยทางกฎหมายเดียวกันนี้เอง.. ทำให้ชีวิตหมู่คณะกลับมาเป็น “น้ำหนึ่งและจิตใจเดียวกัน” อย่างแท้จริง

• สิ่งที่เอสราสนใจและใส่ใจที่สุดคือ พิธีกรรมทางศาสนาและการฟื้นฟูความเป็นยิว... เช่น
1. ความซื่อสัตย์ต่อโตราห์
2. การกลับมาฟื้นฟูและปฏิบัติวิถีชีวิตของยิวแท้ๆ

• โดยสรุป บทบาทของเอสรา คือ การทำให้ชาวยิวสามารถจริงๆ ที่จะรักษาความเป็นยิว รักษาอัตลักษณ์ของตน แม้ในยามที่ยากที่สุดที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ ที่จะฟื้นฟูความเป็นชาติและศาสนายิว...

• พี่น้องที่รัก ประเด็นที่พ่อเสนอให้ไตร่ตรอง ให้คิดจริงในหนังสือเอสราคือ “ความหวัง” ที่ได้กลับบ้านเสียที การได้กลับบ้านนั้นเป็นเวลาดีที่สุดแล้ว การได้กลับแผ่นดินมารดาของประชากรของพระเจ้า.. ช่างเป็นเวลาดีจริงๆ กษัตริย์ไซรัสแห่งเปอร์เซียก็เป็นเครื่องมือที่ดีของพระเจ้าปลดปล่อยให้ประชากรของพระองค์ได้กลับบ้าน โอน่าอัศจรรย์ใจเป็นที่สุด...

• พ่อคิดว่าวันนี้เราไตร่ตรองสั้นๆ อ่านเอสราและคิดถึงการกลับบ้าน
o อาจจะถึงเวลาที่เราต้องกลับบ้าน กลับใจ เปลี่ยนแปลงชีวิตของเรากันจริงๆ เพื่อฟื้นฟูซากปรักหักพังของสังคม ของครอบครัว ของชีวิต ให้มีสันติสุขในความรักกันจริง
o ขอพระเจ้าอวยพร อ่านเอสรานะครับ และตระหนัก ถึงความสุขที่เราต้องกลับไป ไปสู่ความรัก สู่คนรัก สู่คอรบครัว กลับสู่พระเจ้าครับ.... ขอพระเจ้าอวยพรครับ

………………………………………
เกล็ดความรู้ประวัติศาสตร์ของการเดินทางความเชื่อ

            เริ่มต้นจากปีประมาณ 1850 ก่อนคริสตกาล กล่าวถึงพวกกึ่งเร่ร่อนอันเป็นบรรพบุรุษของอิสราแอล ซึ่งตามข้อมูลจากพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมนั้นกล่าวถึงอัยกาซึ่งได้ละจากดินแดนแถบเมโสโปเตเมีย และออกเดินทางไปตามเส้นทางที่อุดุมสมบูรณ์ที่เรียกว่าดินแดนสมบูรณ์รูปจันทร์เสี้ยว (Fertile Crescent) โดยเริ่มจากบริเวณที่แม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสไหลมาบรรจบกัน มุ่งหน้าขึ้นไปทางเหนือเล็กน้อยโดยมุ่งไปทางตะวันตกเส้นทางไปสู่ อารารัต (Ararat) และจากนั้นก็มุ่งลงทางใต้ไปสู่คานาอัน (Canaan) โดยระหว่างเดินทางเร่ร่อนนี้เอง บรรพบุรุษของอิสราแอลย่อนำพระเจ้าของบรรพบุรุษ หรือพระเจ้าประจำครอบครัวที่เรียกว่า “พระเจ้าของบิดา” (God of my fathers) ติดไปด้วย โดยกลุ่มของอัยกาที่อพยพเร่ร่อนเหล่านี้ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมนั้นทราบกันในนามของยุคอัยกา (Patriarchal Period) ซึ่งเรื่องเหล่านี้พบในหนังสือปฐมกาล ในนามของ อับราฮัม อิสอัค ยาโคบและลูก ๆ

       ลูกหลานของบรรดาอัยกาภายหลังได้ละจากดินแดนคานาอัน และมุ่งหน้าลงใต้ไปสู่ประเทศอียิปต์ ซึ่งโดยรวมน่าจะเป็นผลของจากการกวาดต้อนพวกอิกซอส ซึ่งพวกนี้คือกลุ่มนำอารายธรรมเซมิติก และอินโดยูโรเปียน ซึ่งน่าจะมาจากทางแถบเมโสโปเตเมียภาคเหนือ หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครอง บรรดาลูกหลานของอัยกากลับกลายเป็นทาสของชาวอียิปต์ และหลังจากนั้นพวกเขาได้อพยพออกจากแผ่นดินอียิปต์กลับไปสู่แผ่นดินคานาอันอ่านทางทะเลทรายและคาบสมุทรซีนาย ในยุคนี้บทบาทส่วนใหญ่ที่บันทึกในพระคัมภีร์นั้นเน้นที่โมเสส ยุคนี้จึงมักเรียกว่า “Mosaic Period”

         ลูกหลานของบรรดาอัยกานั้นโดยรากฐานแล้วพวกเขาตั้งรกรากอยู่กันเป็นเผ่า ๆ แยกจากกันซึ่งเป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบพวกเซมิติกทั่วไป ซึ่งพวกเขาน่าจะแยกกันอยู่เป็นเผ่า ๆ อยู่แล้วตั้งแต่ในประเทศอียิปต์ โดยมีความผูกพันธ์ต่อกันแบบหลวมแม้เวลาที่พวกเขาอพยอออกมาแล้วก็ยังคงอยู่กันเป็นเผ่าแบบนั้นเอง และแน่นอนแต่ละเผ่าน่าจะมีความต้องการเป็นปึกแผ่น และมีความปรารถนาที่จะมีผู้นำหรือเรียกว่ากษัตริย์ปกครอง แม้ยังไม่มีกษัตริย์จริง แต่คงมีความต้องการเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ในขณะที่พวกเขาเดินทางกลับไปยังแผ่นดินคานาอันพวกนั้นสิ่งที่จำเป็นสำหรับพวกเขาในแต่ละเผ่าคือ สันติภาพ ความสงบ และความอยู่รอด ซึ่งโดยเหตุนี้บรรดาผู้นำตามสถานการณ์ (Charismatic leader) ที่เรียกว่า “ผู้วินิจฉัย” ได้ถือกำเนิดมาในเผ่าต่าง ๆ ตามสถานการณ์เรียกร้องในยามถูกรุกราน ทั้งนี้เพื่อปกป้องจากการโจมตีของศัตรูต่อเผ่าต่าง ๆ บรรดาผู้นำเหล่านี้ทำให้เผ่าต่าง ๆ หลายครั้งต้องรวมตัวกันเป็นการเฉพาะกิจเพื่อต่อต้านศัตรู ยุคนี้เองเป็นยุคที่เราเรียกว่า “ยุคผู้วินิจฉัย” (Period of the judges)

        วันเวลาผ่านไป เผ่าต่าง ๆ ต่างสะสมประสบการณ์ในการร่วมตัวกันโอกาสต่าง ๆ จนว่าเผ่าต่าง ๆ เหล่านี้ทีละเล็กทีละน้อยรวมตัวกันเป็นอาณาจักร พวกเขามีกษัตริย์ของพวกเขาเอง โดยที่ซาอูลเป็นคนแรก จากนั้นเป็นดาวิด และต่อมาคือซาโลมอน ซึ่งยุคนี้เองเป็นยุคที่เรียกว่า “ยุคกษัตริย์” (Monarchy) อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าเสียดายที่ราชอาณาจักรนี้ไม่ยั่งยืนเป็นปึกแผ่นไปไกลกว่าสมัยของซาโลมอน เพราะว่าราชอาณาจักรถูกหั่นเป็นสอง ราชอาณาจักรอิสราแอลคือราชอาณาจักรทางภาคเหนือ และราชอาณาจักรยูดาห์ซึ่งอยู่ทางภาคใต้

       เวลาผ่านไป จากข้อมูลของพระคัมภีร์เราทราบว่าราชอาณาจักรทั้งสองนี้ตกเป็นเมืองขึ้นในที่สุด อิสราแอลโดยอัสซีเรียในปี 712 ก่อนคริสตกาล และยูดาห์โดยบาบิโลนในปี 587 ก่อนคริสตกาล ประชากรอิสราแอลถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย และยุคนี้เป็นยุคที่เราเรียกว่า “ยุคเนรเทศ” (The Period of the exile)

    หลังจากนั้นเมื่อมาถึงยุคของอาณาจักรเปอร์เซียเรืองอำนาจเข้ามาแทนอำนาจของบาบิโลน โดยในยุคนี้เองกษัตริย์ไซรัส แห่งเปอร์เซียได้ออกกฤษฎีกาอนุญาตให้บรรดาผู้นำชาวยิวในที่เนรเทศกลับไปบ้าน คือกลับไปยังแผ่นดินของตน เพื่อสร้างพระวิหารและฟื้นฟูนครเยรูซาแล็มขึ้นใหม่ โดยกฤษฎีกานี้เองเป็นยุคใหม่ที่เรียกว่ายุก “กลับจากเนรเทศ” (period of the return from exile) มีพวกยิวกลุ่มใหญเดินทางกลับมายังปาเลสไตน์หรือแผ่นดินคานาอัน แต่มีชาวยิวจำนวนมากเช่นกันไม่เดินทางกลับมา แต่ต้องการตั้งรกรากอยู่ต่อไปนอกปาเลสไตน์ ซึ่งกลุ่มนี้เรียกว่า “ยิวโพ้นทะเล” (Diaspora)

คำประกาศให้กลับบ้านเพื่อสร้างพระวิหารขึ้นใหม่....
• “ผู้ใดในหมู่ท่านทั้งหลายเป็นประชากรของพระองค์ ขอพระเจ้าสถิตอยู่กับผู้นั้น และให้เขากลับขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็มในแคว้นยูดาห์ และสร้างพระวิหารของพระยาห์เวห์ พระเจ้าแห่งอิสราเอลขึ้นใหม่ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงพำนักอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็ม

• ขอให้ทุกคนที่เหลือรอดชีวิต ไม่ว่าจะพำนักอยู่ ณ ที่ใด ได้รับความช่วยเหลือจากจากประชาชนที่นั่น เป็นเงิน ทองคำ สิ่งของและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งเครื่องบูชาตามใจสมัคร สำหรับพระวิหารของพระเจ้าที่กรุงเยรูซาเล็ม’”

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก