“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

รำพึงพระวาจาประจำวัน โดยคุณพ่อสมเกียรติ  ตรีนิกร
วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2017
สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา
มก 7:31-37…
31พระองค์เสด็จออกจากเขตเมืองไทระผ่านเมืองไซดอน ไปยังทะเลสาบกาลิลีกลางดินแดนทศบุรี 32มีผู้นำคนใบ้หูหนวกคนหนึ่งมาเฝ้าพระองค์ ทูลขอร้องให้พระองค์ทรงปกพระหัตถ์ 33พระองค์ทรงแยกคนใบ้หูหนวกคนนั้นไปจากกลุ่มชน ทรงใช้นิ้วพระหัตถ์ยอนหูของเขา ทรงใช้พระเขฬะแตะลิ้นของเขา

34ทรงเงยพระพักตร์ขึ้นเบื้องบน ถอนพระทัย แล้วตรัสว่า “เอฟฟาธา” แปลว่า “จงเปิดเถิด” 35ทันใดนั้นหูของเขากลับได้ยิน สิ่งที่ขัดลิ้นอยู่ก็หลุด เขาพูดได้ชัดเจน 36พระเยซูเจ้าทรงห้ามประชาชนเหล่านั้นมิให้พูดเรื่องนี้กับผู้ใด แต่ยิ่งห้าม ก็ยิ่งเล่าลือกันมากขึ้น 37ต่างก็ประหลาดใจมาก กล่าวว่า “คนคนนี้ทำสิ่งใดดีทั้งนั้น เขาทำให้คนหูหนวกกลับได้ยิน และคนใบ้กลับพูดได้”

อรรถาธิบายและไตร่ตรอง
• ก่อนอื่นใด มีข้อสังเกตนิดหน่อยจากพระสารนักบุญมาระโก เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จไปนอกเขตของชาวยิว และเข้าไปเขตแดนคนต่างชาติ การทำอัศจรรย์ของพระองค์จะเป็นการประทำแบบผู้วิเศษคล้ายๆบรรดาคนมีความสามารถพิเศษ เช่นพวกมีอำนาจพิเศษ
o ถ้าในแผ่นดินชาวยิว พระองค์ส่วนใหญ่ใช้อำนาจแห่งพระวาจาสั่งให้หายจากโรคร้ายต่างๆ อาศัยเพียงพระวาจาก็พอ ไม่ต้องการอะไรมากกว่า “พระวาจา”
o นอกแผ่นดินชาวยิว พระองค์จะกระทำด้วยกิจการเช่นที่เราอ่านวันนี้ เอานิ้วยอนที่หูของเขา และเอาพระเขฬะแตะที่ลิ้นของเขา

• นี่เป็นข้อสังเกตครับ..
o สำหรับศิษย์พระเยซู สำหรับพระศาสนจักร พระเยซูเจ้าคือบุคคลแห่งพระวาจา และอำนาจของพระองค์อยู่ที่พระวาจาของพระองค์เท่านั้นเพียงพอ เหมือนที่ชาวยิวเชื่อในพระวาจาขอพระเจ้า คือ คำสั่งของพระเจ้า
o แต่เพราะวันนี้พระองค์อยู่กลางแดนทศบุรี คือ เขตเมือบสิบเมืองที่แบ่งโดยชาวโรมัน และเป็นดินแดนของคนต่างชาติ ไม่ใช่ชาวยิว การกระทำของพระองค์จึงเป็นอัศจรรย์ แต่มีลักษณะการกระทำแบบผู้วิเศษแบบคนต่างชาติเขาทำกัน

• ทรงเงยพระพักตร์ขึ้นเบื้องบน ถอนพระทัย แล้วตรัสว่า “เอฟฟาธา” แปลว่า “จงเปิดเถิด” วันนี้พ่ออยากกล่าวถึงลักษณะของพระเยซูเจ้าสองประการในพระวาจาประโยคนี้

• “ทรงถอนพระทัย”...
o พ่อมีความรู้สึกว่า พระวรสารทำให้เราได้เห็นถึงความรู้สึกของพระเยซูเจ้า ต่อความหนวกใบ้ของคนๆนั้น
o หนวกกับใบ้เป็นสองอาการที่ไปด้วยกันเสมอ ถ้าไม่สามารถได้ยินหรือเสียความสามารถในการฟัง คนๆนั้นก็จะพูดไม่ได้เพราะเขาไม่ได้ยินเสียงที่ตนเองเปล่งออกมา...
o พี่น้องเคยสังเกตไหมว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นศัตรูกับความหนวกใบ้เสมอ คือ ทรงพบและทรงรักษาความหนวกใบ้บ่อยมากๆ

• ในพระวรสารนั้นพ่อได้ศึกษาและได้พบประเด็นสำคัญว่าพระเยซูคือ “พระวาจา” หรือ “พระวจนาตถ์” (“dabar” ในภาษาฮีบรู “Logos” ในภาษากรีก หรือ “The Word” ในภาษาอังกฤษ) พระวาจาของพระเจ้าที่ประชาชนต้องฟังเสมอ ได้รับอากายมาบังเกิดเป็นมนุษย์ พระเยซูเจ้านั่นเอง พระองค์คือพระวาจาของพระเจ้าที่มีไว้เพื่อมนุษย์จะได้ฟัง ได้ยินพระประสงค์ของพระเจ้าและปฏิบัติตาม ดังนั้น พระองค์เสด็จมาเพื่อมนุษย์จะได้ยินพระสุระเสียงของพระเจ้า ได้ยิน ได้ฟัง และได้รับความรอด... พระองค์คือพระวาจาของพระเจ้าที่มนุษย์ต้องฟังเพื่อรับความรอด จึงเห็นได้ชัดเจนว่า “อาการหนวก (ฟังไม่ได้ มีอุปสรรค์) และอาการใบ้ ประกาศต่อไม่ได้” คือ อุปสรรคหรือเรียกว่าเป็นคู่อริกับพระเยซูเจ้าจริงๆ
o พ่อจึงสรุปว่า... การที่พระองค์ทรง “ถอนพระทัยเพื่อได้พบคนที่หนวกและเป็นใบ้นั้น คำแปลภาษาอังกฤษใช้คำว่า “and looking up to heaven, he sighed, and said to him, "Ephphatha," that is, "Be opened."” (Mar 7:34 RSV) จึงเป็นอาการที่เราน่าไตร่ตรองมากๆ
o ประหนึ่งว่า พระเยซูเจ้าไม่ทรงพอพระทัย ทรงเบื่อหน่าย กับการไม่ยอมรับ การไม่ฟัง การไม่ได้ยิน และการเป็นหนวกเป็นใบ้กับพระวาจาของพระเจ้า คือ การฟังพระองค์นั่นเองเพราะทรงเป็น “พระวาจา” และเราเห็นมาตลอดกับพวกฟาริสีว่าพวกเขารู้แต่ทำหูทวนลมและไม่ยอมฟังพระองค์จริงๆ คือ ไม่เชื่อฟังพระองค์จริงๆ

• “เอฟฟาธา” (จงเปิดเถิด)
o ดูคำแปลภาษาอังกฤษอีกทีครับ “Ephphatha," that is, "Be opened.” สังเกตได้ว่า ผู้แปลในภาษาอังกฤษนั้นได้เน้นการแปลให้ตรงกับต้นฉบับที่บันทึกเป็นภาษากรีก โดยใช้ “ตัวอักษรตัวใหญ่” (Capital letter) กับคำว่า “เอฟฟาธา” น่าเสียดายที่ภาษาไทยเราไม่มีตัวอักษรใหญ่แบบภาษาอังกฤษจึงไม่เห็นพลังของคำพูดของพระเยซูเจ้าที่ผู้นิพนธ์พระคัมภีร์บันทึกโดยเจตนาด้วยภาษากรีก ดูภาษากรีกสิครับ (Ἐφφαθά, ὅ ἐστιν, Διανοίχθητι. (Mar 7:34)) สามารถเห็น ตัวอักษรใหญ่ คือ ตัว Ἐ (eta) และตัว Δ (delta)
o พ่อสรุปได้เลยว่า เจ๋งจริงกับต้นฉบับภาษากรีกที่พระจิตเจ้าดลใจให้มาระโกบันทึก และภาษาอังกฤษก็พยายามแปลด้วยตัวอักษรใหญ่ได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นกัน
o ความหมาย คือ เหมือนกับเสียงพระเยซูเจ้าตรัส “เอฟฟาธา ที่แปลว่า จงเปิดเถิด” นั้นกล่าวได้ว่าพระองค์ตรัสแบบมีอาการกระแทกเสียงอย่างแรงๆ (การเขียนใช้ตัวอักษรใหญ่บันทึก) จุดประสงค์เพื่อจะบอกว่า พระองค์ถอนพระทัย ไม่พอพระทัยกับความหนวก ความใบ้ ต่อพระองค์จริงๆ ทรงออกเสียงเป็นคำสั่งแบบดุดันต่อความหนวกใบ้ของเขา... ชัดเจน พระองค์กำชัดสั่งให้ต้อง “เปิดออก” (เอฟฟาธา) เลิกหนวก หายใบ้ได้แล้วต่อพระองค์

• ใครก็ตามที่ได้พบพระเยซู ได้พบพระวาจาของพระเจ้า เขาต้องฟังพระองค์ และประกาศถึงพระองค์สุดกำลัง... ดังนั้น เราจึงเห็นผลจากพระวาจาชัดเจนเช่นกันว่า “พระเยซูเจ้าทรงห้ามประชาชนเหล่านั้นมิให้พูดเรื่องนี้กับผู้ใด แต่ยิ่งห้าม ก็ยิ่งเล่าลือกันมากขึ้น”

• ภาษาตรงนี้เป็นภาษาแบบ “irony” คือ “ประชดประชันทางภาษาวรรณกรรม” เพื่อจะบอกว่า ยิ่งห้ามยิ่งยุละทีนี้ ห้ามไม่ให้พูดถึงพระองค์ ห้ามไม่ให้ประกาศไม่ได้แล้ว ไม่หนวก ไม่ใบ้ อีกต่อไปเลย...
o สรุป การได้พบพระคริสตเจ้า ได้พบพระวาจาของพระเจ้า ประชาชนต้องฟัง และประกาศถึงพระองค์อย่างไม่มีวันหยุดยั้งได้เลย...
o การประกาศข่าวดี การประกาศพระวาจา เป็นธรรมชาติของศิษย์ของพระเยซู เป็นคุณภาพของศิษย์ของพระเยซูเสมอไปครับ

• พี่น้องที่รัก ลูกๆที่รักของพระเจ้าครับ “พระเยซูคือพระวาจาของพระเจ้า คือ พระวจนาตถ์” เราทราบ เราเชื่อมิใช่หรือครับ... เราเชื่อว่าพระองค์พระวจนาตถ์ผู้ทรงรับเอากายมาประทับท่ามกลางเรา...

• บัดนี้พ่อขอเชิญชวนเราให้เป็นศิษย์พระคริสต์จริงๆ
1. ขอทรงช่วยเราให้ทำตามพระบัญชาคือไปประกาศความรัก
2. ให้เราประกาศพระวาจาของพระองค์
3. ให้เราฟัพระวาจาจริงจังเพื่อรู้จัก เพื่อรักมากขึ้น และเพื่อกล้าออกไปบอกเล่าถึงพระองค์ให้โลกรู้ครับ
4. พ่อขอให้เราอย่าได้หนวก อย่าได้ใบ้ และอย่าได้บอด ต่อพระองค์เลยนะครับ
5. ให้เราช่วยกันสั่งใจตนเองดังๆ “เอฟฟาธา” (จงเปิดหัวใจเดี๋ยวนี้ ใจเปิดใจ เปิดหูฟังและเปิดปาก เปิดประสบการณ์ ประกาศพระเยซูเจ้าด้วยกันนะครับ)

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก