“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

"พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ใดสำหรับข้าพเจ้า" อธิบายพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก โดย บาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์
“บางเมล็ดตกในที่ดินดี จึงงอกขึ้น เติบโต และเกิดผล”

16.  อุปมาเรื่องผู้หว่าน (2)
- พระองค์ทรงสอนเขาหลายเรื่องเป็นอุปมา นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักบุญมาระโกชี้แจงว่า วิธีการสั่งสอนของพระเยซูเจ้าคือการเล่าอุปมา(เทียบ 3:23)ในสมัยของพระองค์ บรรดาธรรมาจารย์ก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน อุปมาหมายถึงการเปรียบเทียบเรื่องง่าย ๆ ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ในโลกปัจจุบันซึ่งมีความหมายเรื่องสวรรค์พระเยซูเจ้าทรงใช้วิธีการเล่าอุปมาไม่เพียงเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ฟังเพราะเขาคุ้นเคยวิธีสอนของบรรดาธรรมาจารย์อยู่แล้ว แต่เพื่อทำให้ประชาชนซึ่งไม่เข้าใจคำสอนแบบนามธรรม จะได้ใช้ภาพที่เป็นรูปธรรมเพื่อคิดและรู้จักสรุปความหมายของคำสอนด้วยตนเอง ความจริงที่พระองค์ทรงต้องการสั่งสอนคือเรื่อง "พระอาณาจักรของพระเจ้า" พระอาณาจักรนี้เป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏแจ้งต่อสายตามนุษย์ จึงไม่บังคับผู้ใดให้รับรู้ว่ามีอยู่จริง แต่เรียกร้องให้มนุษย์กลับใจเพื่อจะยอมรับ ดังนั้น พระเยซูเจ้าทรงใช้ภาพเปรียบเทียบของความจริงที่สายตามนุษย์มองไม่เห็น เพื่อทำให้ผู้ฟังเข้าใจความจริงนั้น

-ในการสอนนั้นพระองค์ตรัสว่า นักบุญมาระโกย้ำอีกว่า การเล่าอุปมาไม่มีจุดประสงค์ให้ผู้ฟังเกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน แต่เพื่อสั่งสอนความจริงเกี่ยวกับชีวิตเหนือธรรมชาติที่จะต้องแสวงหาอยู่เสมออุปมาเรื่องที่นักบุญมาระโกบันทึกไว้มักเรียกกันว่า "อุปมาเรื่องผู้หว่าน" เพราะชายผู้หว่านเป็นบุคคลเดียวที่ปรากฏในเรื่อง แต่น่าจะเรียกว่า "อุปมาเรื่องพื้นดินต่าง ๆ " เพราะนี่เป็นประเด็นที่เรียกร้องความสนใจของฟัง ไม่ใช่งานของผู้หว่าน น่าสังเกตว่า ผู้เขียนได้แยกแยะคำสอนของพระเยซูเจ้า (4:3-9) จากคำอธิบายอุปมาที่พระองค์ทรงเล่าแก่บรรดาศิษย์ในภายหลัง (4:10-20)ครั้งนี้ เราจึงจะพยายามเข้าใจคำสั่งสอนของพระเยซูเจ้าในอุปมาโดยไม่คำนึงถึงคำอธิบายที่นักบุญมาระโกบันทึกไว้ในข้อความต่อไป

-“จงฟังเถิด" การเล่าอุปมาเริ่มต้นและจบลงโดยการเชิญชวนประชาชนให้ตั้งใจอย่างใจจดใจจ่อ (เทียบ 4:23) แม้คำพูด "จงฟังเถิด" เป็นวลีธรรมดาที่ประชาชนใช้สนทนากันเพื่อดึงดูดความสนใจฟังของอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ยังชวนให้คิดถึงคำเริ่มต้นบทประกาศยืนยันความเชื่อของชาวยิว ซึ่งเป็นบทภาวนาประจำวันว่า "ชาวอิสราเอลเอ๋ย จงฟังเถิด"(เทียบ ฉธบ 6:4-9)

- "ชายคนหนึ่งออกไปหว่านเมล็ดพืช" พระคัมภีร์ใช้ภาพของการหว่านบ่อย ๆ เพื่อกล่าวถึงการถ่ายทอดคำสั่งสอน พระเยซูเจ้าทรงเป็นทั้งผู้หว่านและเมล็ดพืชคือพระวาจาของพระเจ้า น่าสังเกต ต้นฉบับภาษากรีกเขียนว่า "ดูซิ ผู้หว่านคนนั้นออกไปหว่าน" พระองค์ทรงคิดถึงบุคคลเฉพาะเจาะจง ซึ่งจะทรงเปิดเผยในภายหลัง ไม่มีบอกว่าเขาหว่านเมล็ดพืชชนิดใด แต่เมื่อพูดถึงการหว่านในปาเลสไตน์ก็หมายถึงการหว่านเมล็ดข้าวสาลีอย่างแน่นอน เพราะเป็นธัญพืชธรรมดาที่สุดในแผ่นดินนั้น ตามปกติชาวยิวหว่านเมล็ดพืชหลังฤดูใบไม้ร่วงเมื่อเริ่มมีฝนตก คือเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม

-ขณะที่เขากำลังหว่านอยู่นั้นพระเยซูเจ้าทรงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นตัวอย่างของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตจิต ผู้หว่านเดินบนผืนนาเล็ก ๆ แถบเนินเขา เต็มไปด้วยหินและพงหนามเพื่อหว่านเมล็ดพืช เขาก็รู้ว่าการโปรยเมล็ดทำให้บางเมล็ดตกอยู่ริมทางเดิน บนพื้นหินที่มีดินเล็กน้อย หรือในพงหนาม แต่ก็มั่นใจเมล็ดส่วนใหญ่จะตกบนดินดี ซึ่งจะได้ผลผลิตคุ้มค่าเมื่อเทียบกับเมล็ดที่หว่านลงไป

-บางเมล็ดตกอยู่ริมทางเดินนกก็จิกกินจนหมด"ริมทาง" อาจหมายถึงทางเดินเล็ก ๆ ระหว่างทุ่งนาสองผืน หรือทางในผืนนาที่ผู้คนใช้เดินในช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวแล้วจนถึงการปลูกใหม่  ชาวยิวยังไม่ไถนาก่อนที่จะหว่านพืช เมื่อหว่าพืชแล้ว เขาจึงจะไถกลบดังนั้น ไม่ว่าจะเข้าใจ "ริมทาง"  ความหมายใดในสองกรณีดังกล่าว ผู้หว่านซึ่งมีถุงเมล็ดพืชแขวนที่คอหรือผูกไว้ที่เอว แม้เขาจะหว่านเมล็ดด้วยความตั้งใจสักเพียงใด ก็จะระวังมิให้บางเมล็ดตกในทางเดินไม่ได้เลย แล้วนกในอากาศก็มาจิกกินเมล็ดนั้น

-บางเมล็ดตกบนพื้นหินที่มีดินอยู่เล็กน้อยโดยทั่วไปสภาพภูมิประเทศของปาเลสไตน์เป็นหินและมีดินปกคลุม ขนบประเพณีของชาวยิวคือหว่านเมล็ดพืชก่อนแล้วจึงไถกลบ ก่อนที่จะไถนาผู้หว่านก็ไม่รู้ว่าบริเวณนั้นมีดินหนาสักเพียงใด เขาจึงหว่านเมล็ดพืชไปทุก ๆ ที่ ดังนั้น ในพื้นหินที่มีดินน้อย หินขัดขวางมิให้น้ำไหลซึมลงไป เมล็ดพืช ก็งอกขึ้นทันทีเพราะดินไม่ลึกและมีความชื้น แต่เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นในต้นฤดูร้อนเมื่อรัศมีดวงอาทิตย์ฉายแสงมายังเมล็ดพืชที่กำลังงอกขึ้น ต้นข้าวสาลีก็ถูกแดดเผาและเหี่ยวแห้งไปเพราะไม่มีราก

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก