“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

"พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ใดสำหรับข้าพเจ้า" อธิบายพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก โดย บาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์
““เอฟฟาธา” แปลว่า “จงเปิดเถิด” ”

35. พระเยซูเจ้าทรงรักษาคนใบ้หูหนวก (2)
- ทันใดนั้นหูของเขากลับได้ยิน พระวาจาของพระเยซูเจ้าเกิดผลทันทีทันใด (เทียบ 1:42; 2:12; 5:29)   โรคภัยไข้เจ็บซึ่งทำให้สิ่งสร้างของพระองค์บิดเบือนก็ได้รับการซ่อมแซมจนปรากฏงดงามดังเดิม อัศจรรย์นี้เป็นเครื่องหมายของการสร้างใหม่ที่พระเจ้าจะทรงริเริ่มในอนาคต แรกเริ่มเมื่อพระเจ้าทรงเนรมิตสร้างโลก ทุกสิ่งปรากฏว่าดี (เทียบ ปฐก 1) ในวันที่สุดท้ายพระองค์จะทรง "ทำทุกสิ่งขึ้นใหม่" (วว 21:5)


     
- สิ่งที่ขัดลิ้นอยู่ก็หลุด เขาพูดได้ชัดเจน คำว่า "สิ่งที่ขัดลิ้น" ชวนให้คิดว่านี่เป็นเหตุผลที่ทำให้คนหูหนวกพูดไม่ได้ ไม่ใช่เพราะเขาหูหนวกตั้งแต่กำเนิด  เพราะทันทีเมื่อลิ้นได้รับการรักษาก็พูดได้ชัดเจน เราจึงสันนิษฐานว่าเมื่อเป็นเด็กเขาคงเคยได้ยินและพูดได้ แล้ววันหนึ่งอาจจะป่วยมีสิ่งมาขัดที่ลิ้นและเกิดโรคที่ให้หูหนวก 
   
- พระเยซูเจ้าทรงห้ามประชาชนเหล่านั้นมิให้พูดเรื่องนี้กับผู้ใด นี่เป็นพระบัญชาของพระเยซูเจ้าสำหรับประชาชนทุกคนผู้อยู่บริเวณนั้น ไม่ใช่เพียงคนที่เคยเป็นใบ้หูหนวก นักบุญมาระโกเน้นบ่อย ๆ ว่า พระเยซูเจ้าไม่ทรงพระประสงค์ให้ประชาชนประกาศว่าพระองค์เป็นพระเมสสิยาห์ (เทียบ 1:34; 1:44; 5:43; 8:26) ยิ่งกว่านั้น พระองค์ประทับอยู่ในเขตแดนของคนต่างศาสนา และไม่ทรงพระประสงค์ให้ประชาชนคิดว่า พระองค์ทรงเป็นผู้วิเศษที่ใช้เวทย์มนต์คาถารักษาโรคเช่นเดียวกับพวกพ้องคนในบริเวณนั้น 
 
- แต่ยิ่งห้าม ก็ยิ่งเล่าลือกันมากขึ้น ทุกครั้งที่พระเยซูเจ้าทรงห้ามผู้ใดไม่ให้ประกาศอัศจรรย์ของพระองค์แก่ผู้อื่น ผู้นั้นมีความกระตือรือร้นที่จะเล่าเหตุการณ์อัศจรรย์ที่เกิดขึ้นให้ผู้อื่นฟัง  

- ต่างก็ประหลาดใจมาก ความประหลาดใจและความงงงันเป็นปฏิกิริยาทั่วไปของมนุษย์ เมื่อเขาต้องเผชิญหน้ากับการกระทำอัศจรรย์ของพระเยซูเจ้า หรือการเทศนาสั่งสอนของพระองค์ (เทียบ 1:22; 6:2; 10:26; 11:18)  แต่ยังไม่เป็นความเชื่อที่พระองค์ทรงต้องการให้เกิดขึ้น

- กล่าวว่า “คนคนนี้ทำสิ่งใดดีทั้งนั้น เขาทำให้คนหูหนวกกลับได้ยิน และคนใบ้กลับพูดได้” ถ้อยคำเหล่านี้ที่แสดงความประหลาดใจของประชาชน ชวนเราให้คิดถึงข้อความจากพระคัมภีร์ 2 ตอน คือ วลีที่ว่า “คนคนนี้ทำสิ่งใดดีทั้งนั้น"  คล้ายคลึงกับคำตัดสินของพระเจ้าเมื่อทรงสร้างโลก "พระเจ้าทรงเห็นว่าทุกสิ่งที่ทรงสร้างนั้นดีมาก" (ปฐก 1:31) อีกวลีหนึ่งที่ว่า "เขาทำให้คนหูหนวกกลับได้ยิน และคนใบ้กลับพูดได้” ชวนให้คิดถึงข้อความจากหนังสือประกาศกอิสยาห์ที่ว่า "แล้วนัยน์ตาของคนตาบอดจะมองเห็น หูของคนหูหนวกจะได้ยิน...และคนใบ้จะร้องตะโกนด้วยความยินดี" (อสย 35:5-6)  พระเยซูเจ้าจะทรงอ้างถึงข้อความนี้เมื่อบรรดาศิษย์ของนักบุญยอห์นผู้ทำพิธีล้างมาทูลถามพระองค์ว่า เป็นพระเมสสิยาห์หรือไม่ (เทียบ มธ 11:5-6; ลก 7:22) ดังนั้น  แม้ชาวทศบุรีจึงใช้ถ้อยคำเหล่านี้เพื่อแสดงเพียงความประหลาดใจในอำนาจการรักษาโรคของพระคริสตเจ้าเท่านั้น คริสตชนผู้ได้อ่านคำยืนยันนี้เข้าใจว่า เป็นการประกาศความเชื่อในศักดิ์ศรีพระเมสสิยาห์ของพระเยซูเจ้า ดังที่คนต่างศาสนาจะได้รับการเปิดเผยในอนาคต   

b)    ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
1.    พระเจ้าเป็นพระวาจา ทรงถ่ายทอดพระองค์และทรงมอบพระองค์เองเป็นของประทานแก่ผู้อื่น มนุษย์ที่รับฟังพระวาจาของพระองค์ ก็สามารถตอบสนองและสนทนากับพระองค์ได้ ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาแห่งพระวาจา และการฟังพระวาจานั้นคือความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้าผู้ตรัสกับเรา ดังนั้น การเป็นคนใบ้หูหนวกเป็นเหตุร้ายแรงที่สุดสำหรับมนุษย์

2.    บุคคลนึ่งเป็นใบ้เพราะเกิดมาหูหนวก เมื่อใดเขาหายจากหูหนวกก็จะพูดได้ เราสนทนากับผู้อื่นได้ถ้าเราฟังเขาก่อน แต่น่าเสียดาย มนุษย์ส่วนใหญ่ชอบพูดมากกว่าฟัง เขาจึงอยู่นิ่งเฉยต่อหน้าพระวาจาของพระเจ้า ทั้ง ๆ ที่พระวาจานั้นทำให้เป็นบุตรของพระองค์ และถ่ายทอดพระเมตตากรุณาของพระองค์แก่เรา

3.    โดยปกติแล้ว พระเยซูเจ้าทรงทำอัศจรรย์ต่อหน้าประชาชนที่มาพบพระองค์ แต่ในกรณีนี้ พระเยซูเจ้าทรงนำคนใบ้หูหนวกออกจากผู้คนไปอยู่ตามลำพัง ทรงรักษาเขา พระองค์ทรงไวต่อความรู้สึกของผู้พิการ ทรงแสดงอากัปกริยาเพียงสองต่อสองเพราะไม่ทรงต้องการให้เขาอับอายผู้อื่น พระเยซูเจ้าทรงเป็นตัวอย่างของผู้ที่มีใจสุภาพอ่อนโยน แม้ขณะที่กำลังประทานพระพรแก่ผู้อื่น

4.    บางครั้งเราปฏิบัติตนเหมือนคนใบ้ เพราะไม่ประกาศพระวาจาแก่ผู้อื่น สิ่งที่ขัดขวางลิ้นของเราไม่ให้พูดก็คือ ความเเก่ห็นแก่ตัว ความขลาดเขลา ความหวาดระแวง ซึ่งทำให้เราไม่กล้าพูดอย่างตรงไปตรงมาถึงพระเจ้าและความอยุติธรรมของสังคม

5.    ประสบการณ์ชีวิตสอนเราว่า ไม่มีวันที่เราจะปฏิบัติตามพระวาจาของพระเยซูเจ้าในพระวรสารได้ทั้งหมด พระองค์ทรงท้าทายเราให้มีความรัก ความรอดพ้น ความเรียบง่ายและความเข้มแข็งที่มนุษย์มองข้ามไปเพราะติดใจในทรัพย์สมบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ ของโลกนี้

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก