“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

"พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ใดสำหรับข้าพเจ้า" อธิบายพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก โดย บาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์
“ความเชื่อของท่านช่วยท่านให้รอดพ้นแล้ว”

24. พระเยซูเจ้าทรงรักษาหญิงตกเลือด ทรงปลุกบุตรหญิงของไยรัสให้คืนชีพ (3 )
-"จงไปเป็นสุข” เป็นสูตรการอำลาที่เราพบบ่อย ๆ ในพระคัมภีร์(เทียบ วนฉ18:6;1 ซมอ1:17; 29:7; 2 ซมอ 15:9;กจ 16:36;ยก 2:16)
-หายจากโรคเถิด" พระองค์ทรงรับรองว่าหญิงตกเลือดหายจากโรคแล้ว จึงไม่ต้องเป็นห่วงพฤติกรรมผิดปกติของนาง นางต้องมีความกล้าหาญที่มาจากความเชื่อตามตำนานโบราณเล่าว่าหญิงคนนี้ได้ชื่อเบอร์นิสหรือเวโรนิกาซึ่งในภายหลัง นางจะเช็ดพระพักตร์ของพระเยซูเจ้าระหว่างการเดินทางแบกไม้กางเขนไปสู่ภูเขากัลวารีโอต่อมานางได้สร้างรูปปั้นในเมืองของตนคือเมืองซีซารียาแห่งฟีลิป เพื่อระลึกถึงอัศจรรย์ที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำกับนาง


ขณะกำลังตรัสอยู่นั้น เรื่องหญิงตกเลือดก็เข้ามาแทรกแซงในเรื่องไยรัสหัวหน้าของศาลาธรรม เขายังอยู่ในหมู่ประชาชนของพระเยซูเจ้า แต่ไม่พูดอะไรเลย

- มีคนมาจากบ้านหัวหน้าศาลาธรรม บอกเขาว่า “บุตรหญิงของท่านตายแล้ว ขณะที่ไยรัสกำลังเดินทางพร้อมกับพระเยซูเจ้าและพระองค์ทรงรักษาหญิงตกเลือก บุตรหญิงของไยรัสก็เสียชีวิต เขาต้องตัดสินใจว่าจะเชื่อผู้ใด จะเชื่อผู้ที่มาจากบ้านและพูดว่า

-ไปรบกวนพระอาจารย์อีกทำไม” หรือจะเชื่อพระวาจาของพระเยซูเจ้า เป็นที่ชัดเจนว่า ความคิดของประชาชนคือพระเยซูเจ้าทรงมีอำนาจรักษาโรคได้ก็จริงแต่เป็นอำนาจที่จำกัด ไม่สามารถทำได้มากกว่านี้ และเมื่อคนตายแล้วพระอาจารย์ไม่สามารถทำอะไรได้ เขามีทัศนะว่าพระเยซูเจ้าทรงมีอำนาจด้อยกว่าประกาศกเอชียาห์และเอลีชาที่เคยปลุกคนตายให้กลับมีชีวิต

-แต่พระเยซูเจ้าทรงได้ยินเขาพูดดังนั้น จึงตรัสแก่หัวหน้าศาลาธรรมว่า “อย่ากลัวเลย จงมีความเชื่อไว้เถิด”
นี่เป็นคำสั่งที่แสดงการเปิดเผยของพระองค์ว่าความเชื่อเป็นวิธีเดียวที่เอาชนะความผิดหวัง ไยรัสไม่ตอบอะไรเลย แต่จากเรื่องที่เล่าต่อไป แสดงว่าเขาเชื่อพระวาจาพระเยซูเจ้าและเดินทางต่อไปพร้อมกับพระองค์

-พระองค์ไม่ทรงอนุญาตให้ใครติดตามไปนอกจากเปโตร ยากอบ และยอห์นน้องชายของยากอบ เป็นครั้งแรกที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำอัศจรรย์ห่างจากประชาชน พระองค์ทรงเลือกเพียงศิษย์สามคน เพราะเขาทั้งสามคนจะเป็นพยานแม้ในเหตุการณ์อื่น ๆ เช่น เมื่อพระเยซูเจ้าทรงสำแดงความรุ่งโรจน์บนภูเขา (เทียบ 9:2)และในการอธิษฐานภานาที่สวนเกทเสมนี (เทียบ 14:33 ) บางคนคิดว่าพระองค์ทรงเลือกศิษย์เพียงสามคนเพราะในบ้านของไยรัสก็มีความวุ่นวายอยู่แล้ว พระองค์จึงทรงต้องการเพียงให้มีบรรยากาศสงบ โดยแท้จริงแล้ว จุดประสงค์ของพระเยซูเจ้าคือ พระองค์ทรงต้องการให้มีบุคคลเป็นพยานรับรองในภายหลัง  ว่า พระเยซูเจ้าทรงกระทำอัศจรรย์นี้อย่างแท้จริง

-เมื่อทุกคนมาถึงบ้านหัวหน้าศาลาธรรม พระเยซูเจ้าทรงเห็นความวุ่นวาย และเห็นผู้คนร่ำไห้พิลาปรำพันเป็นอันมาก นอกจากญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่เศร้าโศกแล้ว เสียงพิลาปรำพันยังมาจากธรรมเนียมของคนโบราณที่จ้างมืออาชีพมาเป่าปี่และร้องร่ำครวญเพื่อไว้อาลัยให้กับผู้ตาย

-พระองค์เสด็จเข้าไป ตรัสแก่คนเหล่านั้นว่า “วุ่นวายและร้องไห้ไปทำไม เด็กคนนี้ไม่ตาย เพียงแต่นอนหลับไปเท่านั้น” น่าสังเกตว่า พระเยซูเจ้าตรัสอย่างผู้ทรงอำนาจให้เลิกสร้างความวุ่นวาย ไม่ทรงทนให้มีเครื่องหมายแห่งความตายเลยทั้งการร้องไห้และความวุ่นวายของผู้ถูกจ้างมา การกระทำเช่นนี้ไม่มีประโยชน์ใดเลยเพราะเด็กหญิงไม่ตายเขาเพียงนอนหลับเท่านั้น  แน่นอน พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าเด็กตายจริง ๆ  แต่ทรงใช้ประโยค "เด็กคนนี้ไม่ตาย เพียงแต่นอนหลับ" เพราะสำหรับพระองค์ ความตายไม่เป็นเหตุการณ์ถาวรที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่เป็นเหมือนกับการนอนหลับ ตั้งแต่สมัยแรก ๆ พระศาสนจักรได้ใช้สำนวน "ผู้ล่วงหลับ" ในความหมายที่ว่า "ผู้ตาย" เพราะคริสตชนที่ตายก็เปรียบเทียบกับ "ผู้ล่วงหลับในพระคริสตเจ้า" (เทียบ กจ 7:60, 13:36, 1 คร 7:39 ,11:30) เหมือนกับว่าเขารอคอยการกลับคืนชีพเมื่อสิ้นพิภพความตายจึงเปรียบได้กับการนอนหลับ

-เขาต่างหัวเราะเยาะพระองค์ ผู้ที่หัวเราะเยาะพระเยซูเจ้าไม่ใช่ญาติพี่น้องของเด็กแน่ ๆ  แต่เป็นผู้ที่ไม่เข้าใจพระวาจาของพระองค์ บางทีอาจเป็นผู้ต่อต้านพระองค์อีกด้วย เพราะเขาเหล่านั้นไม่มีความเชื่อว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นประกาศก เพราะประกาศกบางองค์ยังได้รับอานุภาพที่จะทำให้คนตายกลับคืนชีพได้ เช่น เรื่องของประกาศกเอลียาห์และเอลีชาเคยทำอัศจรรย์นี้(1 พกษ 17:17-24; 2 พกษ 4:32-37)

-พระองค์ทรงไล่เขาออกไปข้างนอก พระเยซูเจ้าทรงทนไม่ได้ที่มีเครื่องหมายแห่งความตายพระองค์ทรงปรารถนาให้มีชีวิตจึงทรงขับไล่เขาออกไปอยู่ข้างนอกบ้าน

-ทรงนำบิดามารดาของเด็กและศิษย์ที่ติดตามเข้าไปยังที่ที่เด็กนอนอยู่ พระองค์ทรงต้องการให้พ่อแม่และศิษย์สามคนเข้าในห้องเพื่อเป็นพยานถึงอัศจรรย์ที่ทรงกระทำ

-ทรงจับมือเด็ก ตรัสว่า “ทาลิธาคูม” แปลว่า “หนูเอ๋ย เราสั่งให้หนูลุกขึ้น” พระเยซูเจ้าทรงจับมือพยุงเด็กให้ยืนขึ้น เช่นเดียวกับเหตุการณ์ในบ้านของนักบุญเปโตร เมื่อพระเยซูเจ้าทรงรักษามารดาของภรรยานักบุญเปโตร (มก 1:29-31)โดยทรงพยุงนางให้ลุกขึ้น  พระองค์ตรัสว่า “ทาลิธาคูม” และนักบุญมาระโกแปลคำภาษาอาราเมอิกนี้เป็นภาษากรีก เขาแปลความหมายทันทีเพื่อผู้อ่านจะไม่เข้าใจผิดว่าพระวาจาของพระเยซูเจ้าเป็นคาถาหรือเวทมนต์ แต่เป็นคำธรรมดา ๆ เหมือนพ่อแม่ปลุกเด็กตอนเช้าโดยพูดว่า“ทาลิธาคูม” จึงไม่เป็นคำแปลก ๆ ที่มีความหมายลึกลับ ดังที่คนวิเศษในสมัยโบราณมักใช้กันเพราะเป็นคำที่ไม่มีผู้ใดเข้าใจ เพื่อแสดงว่าตนมีอำนาจเหนือผู้อื่น แต่พระองค์เพียงแสดงพระประสงค์ให้เด็กลุกขึ้นมีชีวิตต่อไป

-เด็กหญิงนั้นก็ลุกขึ้นทันที และเดินไปมา นักบุญมาระโกต้องการบอกชัดเจนว่า การคืนชีวิตเกิดขึ้นทันทีและอย่างสมบูรณ์ เพราะเด็กเดินและกินอาหารได้

 


เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก