“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

"พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ใดสำหรับข้าพเจ้า" อธิบายพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก โดย บาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์
“ทุกคนจะถูกดองด้วยเกลือและไฟ”

49.บำเหน็จรางวัลและการชักนำผู้อื่นให้ทำบาป(มก 9:41-50)
9 41”ผู้ใดให้น้ำท่านดื่มเพียงแก้วหนึ่งเพราะท่านเป็นคนของพระคริสตเจ้าเราบอกความจริงกับท่านว่าเขาจะได้บำเหน็จรางวัลอย่างแน่นอน”


42”ผู้ใดเป็นเหตุให้คนธรรมดาๆที่มีความเชื่อเหล่านี้ทำบาปถ้าเขาจะถูกผูกคอด้วยหินโม่ถ่วงในทะเลก็ยังดีกว่ากระทำดังกล่าว43ถ้ามือข้างหนึ่งของท่านเป็นเหตุให้ท่านทำบาปจงตัดมันทิ้งเสียท่านจะเข้าสู่ชีวิตนิรันดรโดยมีมือข้างเดียวยังดีกว่ามีมือทั้งสองข้างแต่ต้องตกนรกในไฟที่ไม่รู้ดับ(44)45ถ้าเท้าข้างหนึ่งของท่านเป็นเหตุให้ท่านทำบาปจงตัดมันทิ้งเสียท่านจะเข้าสู่ชีวิตนิรันดรโดยมีเท้าข้างเดียวยังดีกว่ามีเท้าทั้งสองข้างแต่ถูกโยนลงนรก

(46)47ถ้าตาข้างหนึ่งของท่านเป็นเหตุให้ท่านทำบาปจงควักมันออกเสียท่านจะเข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้าโดยมีตาข้างเดียวยังดีกว่ามีตาทั้งสองข้างแต่ต้องถูกโยนลงนรก48ที่นั่นหนอนไม่รู้ตายไฟไม่รู้ดับ49เพราะทุกคนจะถูกดองด้วยเกลือและไฟ50เกลือเป็นสิ่งดีแต่ถ้าเกลือจืดท่านจะนำสิ่งใดมาทำให้เกลือเค็มได้อีกจงมีเกลือไว้ในท่านเถิดและจงอยู่อย่างสันติกับผู้อื่น”
a)    อธิบายความหมาย
ข้อความนี้ดูเหมือนรวมพระวาจาหลายประโยคของพระเยซูเจ้าไว้ด้วยกันโดยบังเอิญ แต่ถ้าวิเคราะห์ความคิดนี้อย่างละเอียดก็เห็นว่าน่าจะมีโครงสร้างดังต่อไปนี้ พระวาจาในข้อแรกกล่าวถึงการแสดงความใจดีต่อศิษย์ของพระองค์ เป็นการรับใช้ผู้อื่นรูปแบบหนึ่ง พระวาจาตอนต่อ ๆ มากล่าวถึงการชักชวนผู้อื่นให้ทำบาป เป็นกิจการตรงกันข้ามกับการรับใช้ดังนั้นพระเยซูเจ้าจึงทรงเชิญชวนเราให้วินิจฉัยว่าจะต้องตัดสิ่งที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นทำบาป เช่น มือเท้าตา เพื่อจะไม่ต้องทิ้งชีวิตลงไปในไฟนรก คำว่าไฟชวนให้คิดถึงพระจิตเจ้า ผู้ประทานเกลือซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระปรีชาญาณ ที่ช่วยเราให้ดำเนินชีวิตอย่างสันติกับผู้อื่น น่าสังเกตว่า สำเนาโบราณฉบับดีที่สุดละเว้นข้อ 44 และ 46 เพราะมีเนื้อหาซ้ำกับข้อ 48 คือ “ที่นั่นหนอนไม่รู้ตาย ไฟไม่รู้ดับ”

-“ผู้ใดให้น้ำท่านดื่มเพียงแก้วหนึ่ง”พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิวเสริมว่าน้ำที่ให้ผู้อื่นดื่มนั้นเป็นน้ำเย็น(เทียบ มธ 10:42)บุคคลใดยอมรับใช้ผู้อื่นแม้ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ โดยมีเจตนาที่ดีก็จะได้รับบำเหน็จรางวัลจากพระเจ้า นักบุญมาระโกคงจะคิดว่า ผู้ปฏิบัติเช่นนี้อาจหมายถึงคนที่ไม่เป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า ทั้งไม่เป็นศัตรูกับพระองค์และกับบรรดาศิษย์

-เพราะท่านเป็นคนของพระคริสตเจ้า ประโยคนี้ชวนให้คิดถึงสำนวนที่นักบุญเปาโลใช้บ่อย ๆ ว่า “พวกท่านเป็นของพระคริสตเจ้า” (1 คร  3:23; เทียบ รม 8:9; 1 คร:1:12; 2 คร 10:7)ต้นฉบับภาษากรีกใช้ว่า “ในนามที่ท่านเป็นคนของพระคริสตเจ้า” บางคนจึงแปลว่า “ในนามของเราเพราะท่านเป็นคนของพระคริสตเจ้า” ดังนั้น วลีที่ว่า “เพราะท่านเป็นคนของพระคริสตเจ้า” ทำให้ วลี “ในนาม” มีความหมายชัดเจนขึ้นคือ  เพราะความเคารพรักต่อพระคริสตเจ้า ผู้ทรงส่งบรรดาศิษย์ออกไปปฏิบัติภารกิจการประกาศข่าวดีทั่วโลก

-เราบอกความจริงกับท่านว่า เขาจะได้บำเหน็จรางวัลอย่างแน่นอน”พระเยซูเจ้าจะทรงระลึกถึงผู้กระทำเช่นนี้ในวันพิพากษา (เทียบ มธ 25:31-46)

-“ผู้ใดเป็นเหตุให้...ทำบาป ในพระคัมภีร์ “เหตุให้ทำบาป” ไม่เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีหรือการกระทำที่น่ารังเกียจแต่ตามรากศัพท์เดิมหมายถึงอุปสรรค ตาข่าย(เทียบ สดด 124:7) หินขวางทางที่ทำให้ล้มลง(เทียบ อสย 8:14-15) หรือหินที่ทำให้สะดุด (รม 9:33; เทียบ 1 ปต 2:8)

-คนธรรมดาๆ ที่มีความเชื่อเหล่านี้ “คนธรรม ๆ” ในพระวาจานี้คงจะเป็นบุคคลเดียวกับภาพ “เด็กเล็ก ๆ ” ที่พระองค์ทรงใช้ก่อนหน้านั้น(9:37) หมายถึงผู้ต่ำต้อย ผู้ต้องการความช่วยเหลือหรือต้องการผู้นำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคคลผู้ที่ขาดวุฒิภาวะในการตัดสินใจด้วยตนเอง เขาจึงพร้อมเสมอที่จะรับอิทธิพล ถ้อยคำและแบบอย่างจากผู้อื่นได้อย่างง่ายดายเพราะเป็นผู้ไม่มีความเชื่อที่มั่นคง ส่วนผู้ทำบาปต่อเขาและทำร้ายมโนธรรมที่อ่อนไหวก็ทำบาปต่อพระคริสตเจ้าด้วย(เทียบ 1 คร 8:12)  

-ถ้าเขาจะถูกผูกคอด้วยหินโม่ถ่วงในทะเลก็ยังดีกว่ากระทำดังกล่าว“หินโม่”แปลตามตัวอักษรได้ว่า ”หินโม่ที่ใช้ลาลาก” เป็นหินก้อนใหญ่ที่ตั้งอยู่ในโรงสีและลาลากเป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกา เมื่อชาวโรมันเข้าปกครองปาเลสไตน์ก็นำการประหารชีวิตด้วยวิธีถ่วงนักโทษให้จมลงในน้ำ โดยผูกหินก้อนใหญ่ไว้ที่คอ

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก