ไตร่ตรองพระวาจา  โดย..คุณพ่อชวลิต  กิจเจริญวันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2017
สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา
บทอ่าน ปฐก 17:1,9-10,15-22 / มธ 8:1-4
          เมื่ออาบราฮัมก้มหน้าลงกับพื้น ได้หัวเราะและได้พูดกับตัวเองว่า “ชายผู้นี้อายุ 100 ปีแล้ว จะมีบุตรได้หรือ? นางซาราห์ผู้มีอายุ 90 ปีแล้วจะคลอดบุตรหรือ?” ทั้งสองได้รับการเรียกในปัจจุบันว่า “เป็นผู้อาวุโส” แต่พระเป็นเจ้าเป็นพระเป็นเจ้า ที่สามารถทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้ สามารถทำให้สิ่งที่เป็นหมัน สามารถให้ผลผลิต สามารถทำให้สิ่งที่ว่างเปล่าเต็ม และสามารถยกย่องผู้ที่ต่ำต้อย ความเชื่อหมายถึงการที่วางใจกับพระเป็นเจ้า การที่เราเชื่อในพระเป็นเจ้า เมื่อเราทำอย่างนี้ พระองค์ก็คือพระเป็นเจ้า ซึ่งสร้างความประหลาดใจ และสามารถที่จะทำสิ่งอัศจรรย์ได้.

เรื่องของอาบราฮัม ได้เป็นแบบอย่างของความเชื่อ ที่มนุษย์ทุกสมัยจะเลียนแบบ เมื่อข่าวดีได้ถูกประกาศออกไปในจักรวรรดิโรมัน  ก็ปรากฏว่ามีการต่อต้าน เช่นเดียวกับที่พระเยซูเจ้าได้ถูกต่อต้าน และมี คริสตชนจำนวนมาก ที่ได้เริ่มติดตามพระองค์ไป และมีส่วนร่วมในพระมหาทรมานความตายของพระองค์ แต่ไม่มีอำนาจของมนุษย์คนใด สามารถที่จะต่อต้านอำนาจของพระจิตเจ้า เลือดของบรรดามรณสักขี ได้เป็นเมล็ดพันธุ์ เป็นเมล็ดพันธุ์ และจะเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความเชื่อต่อไป

         จำนวนคริสตชนที่กรุงโรมได้เพิ่มจำนวนขึ้น หลังจากความตายของพระเยซูเจ้า แม้ว่าพวกท่านเหล่านั้นไม่ได้กลับใจ กับผลของการประกาศข่าวดีของเปาโล (รม15:20 ) เพราะนักบุญเปาโลเองก็ยังไม่ได้ไปเยี่ยมพวกเขา ขณะที่ท่านเขียนจดหมายในปี 57-58  มีจำนวนประชากรชาวยิวจำนวนมากที่ในกรุงโรม อาจจะเป็นผลพวงมาจากความขัดแย้ง ระหว่างชาวยิวและชาวยิวที่เป็นคริสตชน จักรพรรดิคลาวดีอุสจึงได้ขับไล่ชาวยิวออกจากกรุงโรมในปี 49-50
ทำให้เกิดความวุ่นวายในตัวเมือง มีคริสตชนมากมายได้กลับเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง หลังความตายของจักรพรรดิในปี 54 และในเดือนกรกฎาคมปี 64
มากกว่าครึ่งหนึ่งของกรุงโรมได้ถูกไฟไหม้ เพราะจักรพรรดิเนโร ซึ่งต้องการที่จะขยายพระราชวังของพระองค์ และได้โยนความผิดให้คริสตชน คริสตชนจำนวนมากได้ถูกประหารชีวิต ทั้งเปโตรและเปาโลก็คงจะตกเป็นเหยื่อเช่นเดียวกัน..