“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

ข้อคิดจากพระวาจาประจำวัน  โดย..คุณพ่อฉลองรัฐ สังขรัตน์

วันอาทิตยที่ 5 กุมภาพันธ์ 2017
สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา
บทอ่านจากพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว   ( มธ5:13-16 )          
เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาอัครสาวกว่า

          “ท่านทั้งหลายเป็นเกลือดองแผ่นดินถ้าเกลือจืดไปแล้วจะเอาอะไรมาทำให้เค็มอีกเล่าเกลือนั้นย่อมไม่มีประโยชน์อะไรนอกจากจะถูกทิ้งให้คนเหยียบย่ำ

       ท่านทั้งหลายเป็นแสงสว่างส่องโลกเมืองที่ตั้งอยู่บนภูเขาจะไม่ถูกปิดบังไม่มีใครจุดตะเกียงแล้วเอามาวางไว้ใต้ถัง แต่ย่อมตั้งไว้บนเชิงตะเกียงจะได้ส่องสว่างแก่ทุกคนในบ้านในทำนองเดียวกันแสงสว่างของท่านต้องส่องแสงต่อหน้ามนุษย์เพื่อคนทั้งหลายจะได้เห็นกิจการดีของท่านและสรรเสริญพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์”

​(พระวาจาของพระเจ้า)

------

​เรื่อง “เกลือ” ในวัฒนธรรมต่างๆ ได้เปรียบเทียบ “คุณค่า” หรือ “ลักษณะชี้ทาง” เอาไว้ต่างๆ นานา แล้วแต่มุมมองในสถานการณ์ที่พบพาน
​เรื่องต่างๆ เหล่านี้ เรา “ไตร่ตรอง” เรื่องความเชื่อได้
เริ่มต้นในนิทานเซน ได้เล่าเรื่อง อาจารย์ได้สอนศิษย์เรื่อง “เกลือ” โดยให้ศิษย์นำเกลือหนึ่งถุงมาใส่ในน้ำหนึ่งแก้ว แล้วละลายในน้ำให้หมด แล้วส่งให้ศิษย์ดื่ม ปรากฎว่า เมื่อได้ดื่มแล้ว เกลือในน้ำแก้วหนึ่ง “เค็มจนขม”

ต่อมา ก็ให้ศิษย์นำเกลือหนึ่งถุงอีกเช่นกัน นำไปละลายในแมน้ำ แล้วก็ให้ตักน้ำมาดื่ม ปรากฎว่าศิษย์บอกว่า น้ำในแม่น้ำที่ผสมกับเกลือแล้ว ไม่มีรสเค็ม หวานสดชื่นดี
อาจารย์บอกว่า “เกลือก็ยังมีคุณสมบัติเค็มเหมือนเดิมนั่นแหละ แต่เปลี่ยนที่ภาชนะบรรจุและปริมาณน้ำที่ใส่ต่างหาก

      อาจารย์เซนได้ฟัจึงผงกศีรษะเล็กน้อย ยิ้มพลางเอ่ยสืบไปว่า “ความทุกข์ในชีวิตคนเราก็เป็นดั่งเกลือ มันจะมีรสเค็มหรือรสจืด ล้วนขึ้นอยู่กับภาชนะที่รองรับ ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าจะเป็นน้ำหนึ่งแก้ว หรือเป็นลำน้ำสายหนึ่ง”

เราพูดเรื่องความทุกข์ไปทำไม? ก็เพราะว่า ความทุกข์ทำให้ “ชีวิตมีรสชาติ แรงบันดาลใจ มีการกระตุ้นสู้
มุมมองความทุกข์ ถ้าเป็นการย่ำยี ทำร้าย เบียดบัง ทำให้ตกต่ำ ไม่ใช่มุมมองเรื่องความทุกข์ยาก แต่เป็น ความข่มเหง ทำร้าย ทีไม่ใช่ความทุกข์ เป็น เป็นการทำให้ทุกข์ด้วยมนุษย์ที่เบียดเบียน ไม่รักมนุษย์

มุมมองความทุกข์ในศาสนา เป็น “มิติความเชื่อ” ที่พระเจ้าให้ผ่าน ให้เรียนรู้ ให้เติบโต โดย “เพิ่มรสชาติ” เหมือน
“เกลือเพิ่มรสชาติให้อาหาร”
“เกลือถนอมอาหาร รักษาเนื้อไม่ให้เน่า”

“เกลือบำบัด เยียวยา เป็นส่วนประกอบของยารักษา”

ดังนั้น ความทุกข์ เป็น ดังเกลือ ที่มีรสชาติ ทำให้ชีวิตคนเรียนรู้ บากบั่น อดทน ผ่านพ้น ความทุกข์กลายเป็น “คุณค่า” ความทุกข์ไม่ได้ “ฆ่าคุณ”

ในหนังสือประกาศกอิสยาห์ ได้มีมุมมองไตร่ตรองความทุกข์ยาก ที่ประชากรชาวอิสราเอล ได้ผ่านกระบวนความทุกข์ในชีวิต จนบรรลุ เข้าใจ และพบกับพระคริสตเจ้าที่คำทำนายบอกไว้ คือ พระผู้ไถ่ ที่ใช้เวลาผ่านเรื่องราวต่างๆในชีวิต “บ่มเพาะ” ความเชื่อ ว่า “แบ่งปันอาหารกับผู้หิวโหยนำคนยากจนไร้ที่อยู่อาศัยเข้ามาในบ้าน ให้เสื้อผ้าแก่ผู้ที่ท่านเห็นว่าไม่มีเสื้อผ้าสวม และไม่หันหน้าหนีจากญาติพี่น้อง แล้วความสว่างของท่านจะขึ้นมาเหมือนรุ่งอรุณ แผลของท่านจะหายอย่างรวดเร็ว”

ความเชื่อที่เติบโตขึ้นจากกระบวนการชีวิต ที่ถูกบ่มเพาะ เป็นขั้นเป็นตอน ไม่ได้โหมเร่งให้โต เป็นเหมือนกระบวนการ “ใส่เกลือ” เข้าไปชีวิต ให้มีรสชาติ ให้เรียนรู้รส ให้กลมกล่อมผ่านการโรยเล็กน้อย ให้ถนอมเอาไว้ด้วยการใส่เกลือ
ดังนั้น เราไม่ควรปฎิเสธความทุกข์ เสพแต่ความสุข เพราะว่า การขัดเกลา การทำให้เกิดปัญญาและปรีชาญาณฝ่ายจิต ต้องผ่านคน ผ่านเวลา ผ่านเรื่องราว ผ่านประสบการณ์ ไม่ใช่ “เร่ง โหม เร้า เอาให้เสร็จ” อาจต้องการ “บ่มเพาะ ขัดเกลา ล้างขัด จัดการ” ที่เรารู้จักวิธีที่เรียกรวมว่า “ตกทุกข์ ได้ยาก”
ภาชนะที่นิทานเซน ได้พูดถึง ก็คือ “ชีวิตคนเรา” นั่นเอง
เราจะเป็น “น้ำหนึ่งแก้ว”
หรือ จะเป็น “แม่น้ำหนึ่งสาย”
ที่จะ “จมเกลือ” หรือ “ละลายเกลือ”
​ในบทอ่านที่สองจากนักบุญเปาโลถึงชาวโครินทร์ ฉ.1
“ข้าพเจ้าตัดสินใจว่าจะไม่สอนเรื่องใดแก่ท่านนอกจากเรื่องพระเยซูคริสตเจ้า คือพระองค์ผู้ทรงถูกตรึงกางเขนข้าพเจ้ายังอยู่กับท่านด้วย

ความอ่อนแอ มีความกลัวและหวาดหวั่นมาก
วาจาและคำเทศน์ของข้าพเจ้ามิใช่คำพูดชวนเชื่ออย่างชาญฉลาดแต่เป็นถ้อยคำแสดงพระอานุภาพของพระจิตเจ้าเพื่อมิให้ความเชื่อของท่านเป็นผลจากปรีชาญาณของมนุษย์แต่เป็นผลจากพระอานุภาพของพระเจ้า”

ชีวิตที่ผ่านความทุกข์ ความสงสัย ความไม่เข้าใจ
การไม่ลงตัว ไม่เฉลยตามขั้น ไม่ไปตามแบบที่วางไว้
กลับเพิ่ม “พละกำลังฝ่ายจิต” ที่เราจะ “วางใจในพระเจ้าได้มากขึ้น”
​เพราะเมื่อเราจะสู้ทุกข์จนสุดกำลัง
​เราจะฝ่าฟันด้วยลำแข้ง จนสุดปลายเท้า
​เราจะไป ด้วยลำขาและสองมือ จนสุดปลายทาง
​เราจะพบว่า ถ้าสำเร็จ เราก็อดให้ คะแนนบวกกับตัวเอง
แต่ถ้าล้มเหลว เราก็รู้สึก ลบ ท้อ ว่างเว้น โดดเดี่ยว
 ปลีกตัว ล้มหายไป

​นี่เอง “เป็นภาวะไม่เติบโต ภาวะสูญญากาศ ภาวะห่างเหินจากพระ ที่เป็นเครื่องหมายของการ “ขาดความสัมพันธ์” และ อ้างอิงว่า ทุกข์มาก
พระไม่ช่วย ล้มเหลวมาก พระไม่ยื่นมือ แต่เราไม่ได้ใช้โอกาสทุกข์ยาก มองเห็นความสัมพันธ์กับพระเจ้าที่แน่นแฟ้น แต่กลับทำให้ “ห่างเหิน”

​ดังนั้น ความอ่อนแอ หรือ เวลาทุกข์ยาก มี “คุณค่า” เพราะ “ไม่ได้ฆ่าคุณ”

​เกื้อหนุน ทำให้เกิดปัญญา ไตร่ตรองคิด
​ค้ำจุน ทำให้เกิดการพึ่งพา และเพื่อนพ้อง
​เจือจุน ทำให้เกิดการแบ่งปัน มากกว่า หวงหักตักตวง
​ความทุกข์ เป็น มุมบวก ที่พระเจ้า แตะต้อง สัมพันธ์กับเรา ผ่านทางพี่น้อง
​ความทุกข์จึง “เกลือดอง” เป็น “แสงสว่าง” ไม่ใช่ “มืดมน”

​ดังนั้น พระวาจาวันนี้จึงพูดถึงสองสิ่ง คือ เกลือ และแสงแสงสว่าง
​จากพระวรสารนักบุญมัทธิว
​“ท่านทั้งหลายเป็นเกลือดองแผ่นดินถ้าเกลือจืดไปแล้วจะเอาอะไรมาทำให้เค็มอีกเล่าเกลือนั้นย่อมไม่มีประโยชน์อะไรนอกจากจะถูกทิ้งให้คนเหยียบย่ำ”

​“ท่านทั้งหลายเป็นแสงสว่างส่องโลก”

​ให้เรา “มีเกลือ” และ “มีแสงสว่าง” ในชีวิต เราจะได้มีรสชาติแห่งความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับพระเจ้า และ มีแสงสว่างบ่งบอกว่าพระเจ้าอยู่กับเราเสมอ

​ขอพระเจ้าองค์ความรอดดุจดั่งเกลือและแสงสว่าง ในชีวิตของพี่น้องเสมอ

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก