“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

ข้อคิดจากพระวาจาประจำวัน  โดย..คุณพ่อฉลองรัฐ สังขรัตน์

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2016

อาทิตย์สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

บทอ่านจากพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา  ( ลก 17:5-10 )

    เวลานั้น บรรดาอัครสาวกทูลองค์พระผู้เป็นเจ้าว่า “โปรดเพิ่มความเชื่อให้พวกเราเถิด” องค์พระผู้เป็นเจ้า จึงตรัสว่า “ถ้าท่านมีความเชื่อเท่าเมล็ดมัสตาร์ด และพูดกับ ต้นหม่อนต้นนี้ว่า ‘จงถอนรากแล้วไปขึ้นอยู่ในทะเลเถิด’ ต้นหม่อนต้นนั้นก็จะเชื่อฟังท่าน

    ท่านผู้ใดที่มีผู้รับใช้ออกไปไถนา หรือไปเลี้ยงแกะ เมื่อผู้รับใช้กลับจากทุ่งนา ผู้นั้นจะพูดกับผู้รับใช้หรือว่า ‘เร็วเข้า มานั่งโต๊ะเถิด” แต่จะพูดมิใช่หรือว่า ‘จงเตรียม อาหารมาให้ฉันเถิด จงคาดสะเอว คอยรับใช้ฉัน ขณะที่ฉันกินและดื่ม หลังจากนั้นเจ้าจึงกินและดื่ม’ นายย่อมไม่ขอบใจผู้รับใช้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งมิใช่หรือ ท่านทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน เมื่อท่านได้ทำตามคำสั่ง ทุกประการแล้ว จงพูดว่า ‘ฉันเป็นผู้รับใช้ที่ไร้ประโยชน์ เพราะฉันทำตามหน้าที่ที่ต้องทำเท่านั้น’”

​(พระวาจาของพระเจ้า)

--------------------

​คำว่า “รับใช้”
1.ผู้รับใช้

1) ความหมายของผู้รับใช้
ในพระคัมภีร์เราพบว่า พระเจ้าทรงเรียกหลายคนว่า "ผู้รับใช้" หรือผู้ปรนนิบัติ (servant) ในภาษากรีกใช้ 3 คำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันคือ diakonos, diakonia, diakoneo ปรากฎอยู่ 111 ครั้งในพระคัมภีร์ใหม่ หมายถึงคนรับใช้ คนเดินโต๊ะอาหาร สงเคราะห์คนอื่น บรรเทาทุกข์ พันธกร มัคนายก ปรนนิบัติ ช่วยเหลือเกื้อกูล

2) ผู้รับใช้ของพระเจ้า
ปฐก. 26:24 อับราฮัมเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า อพย. 14:31 โมเสสเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า ยชว. 24:29 โยชูวาเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า 2 ซมอ. 7:5-8 ดาวิดเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า อสย. 41:8-9 พระเจ้าทรงเรียกอิสราเอลทุกคน (คริสเตียน)ว่าเป็นผู้รับใช้ของพระองค์
มธ. 12:18 กจ.4:30 พระเยซูคริสต์เป็นผู้รับใช้ที่บริสุทธิ์ของพระเจ้า รม. 1:1 เปาโลผู้รับใช้ของพระเยซูคริสต์ 1 ธส. 3:2 ทิโมธีเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า 1 ทธ. 4:6 คริสตชนทุกคนเป็นผู้รับใช้ที่ดีของพระเจ้า!

​หนังสือประกาศก ฮาบากุก ได้พูดถึงลักษณะของผู้รับใช้แบบหนึ่ง การรับใช้แบบจิตตารมณ์ หรือ การยืนหยัด มั่นคง เลือกทาง เดินตามอุดมการณ์​

“ผู้มีจิตใจไม่ซื่อตรงก็จะล้มลง แต่ผู้ชอบธรรมจะมีชีวิตเพราะความซื่อสัตย์”

คนรุ่นเก่า จะพูดเรื่อง “ทำซ้ำๆ ทำสม่ำเสมอๆ มั่นคง ยาวนาน” ว่าเป็นความซื่อสัตย์ในอุดมการณ์
เครื่องหมายของการรับใช้ก็คือ “การทำบ่อยๆ ด้วยความมั่นคง ไม่ใช่ ประเดี๋ยวประด๋าวเลิกราง่าย ล้มเลิกง่าย รามือง่ายๆ”
สัญญาณของความมั่นคง จะทำให้เรา จดจ่อ สนใจ เอาใจใส่ ที่เป็น เรื่องที่ดีของ รับใช้

การรับใช้ ไม่ใช่ “งานของคนรับใช้”
เพราะ การรู้ใจ เอาใจ มาถูกจังหวะ เข้าได้กาลเทศะ เป็นศิลปะในการคนใช้ คนงาน คนเป็นเหมด maid ไม่ใช่ servant

servant เป็นเรื่องที่เราเปลี่ยนแปลงการรับใช้ เพราะ “หัวใจ” และ “ตัวตน”
เรายอมอุทิศตัว เพราะเห็นแก่หัวใจ
​เหมือน “ฉากในละคร” คนใช้สุมหัว นินทาเจ้านาย แต่แม่นม ปกป้องเจ้านายสารพัด
​“มองเห็นส่วนดี” มากกว่า ส่วนเสีย
​“มองข้าม” มากกว่า จับจ้อง
​“สนใจ” มากกว่า จับตามอง

​ข้อดี ของคนใช้ เป็นคุณสมบัติสำคัญของรับใช้ ที่สะท้อนรูปแบบในจดหมายนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่สองที่บอกว่า
“ข้าพเจ้าจึงเตือนความจำของท่านเพื่อให้พระพรพิเศษ ของพระเจ้าเป็นไฟที่รุ่งโรจน์ขึ้นอีก ท่านได้รับพระพรนี้โดยการปกมือของข้าพเจ้า พระเจ้าไม่ได้ประทานจิตที่บันดาลความขลาดกลัว แต่ประทานจิตที่บันดาลความเข้มแข็ง ความรักและการควบคุมตนเองแก่เรา”

คุณสมบัติ ความกล้าหาญในการตัดสินใจ ความเข้มแข็งในการยืนหยัด
ความรัก ทุ่มเท เทใจ ให้ใจ และรู้จักฐานะ ความรับผิดชอบ ทำให้ “ความเป็นผู้รับใช้”
ผู้รับใช้ “ขาดหัวใจไม่ได้”
หมายความว่า ขาดทักษะในหัวใจไม่ได้ จึงไม่มีคำว่า “ซังกะตาย” “ไปวันวัน” ที่ความกระตือรือร้น ในการทุ่มเทต่อการเปลี่ยนแปลง การพยายามยกระดับการบริการและการให้การบริการ ที่เรียกว่า
“ทำด้วยใจ ให้ด้วยความรักการบริการ”
เหมือนคำพูดที่ห้างสรรพสินค้า มักบอกกับพนักงานว่า “ลูกค้าคือพระเจ้า”
เมื่อลูกค้า แปลงร่าง เป็นพระเจ้า กลับไม่ได้เป็น พระเจ้า แต่กลับเป็น “เจ้าพ่อ” “มาเฟีย” มากกว่าพระเจ้า
แต่การรับใช้ ในฐานะ ลูกค้าคือพระเจ้า ก็คือ การมองเห็นความต้องการในใบหน้าลูกค้า เหมือนพระเจ้าทรงต้องการจากเรา ที่หมายความว่า
การรอคอยให้เป็นไม่เป็นการเร่งรัดเอาแต่ใจ
การต้องการการอธิบายชี้แนะจากความรู้ความสามารถ ของเรา การบริการช่วยเหลือเพราะความสัมพันธ์ ไม่ใช่แค่หน้าที่
การบริการไม่ใช่หวังแก่อามิจสินจ้าง แต่ด้วยหัวใจ และรักองค์การ สถาบันที่เราทำงานบริการนั้น
จึงจะสามารถเห็น “หน้าลูกค้าคือพระเจ้า”

​การรับใช้ในความหมายพระคัมภีร์ในวันนี้ จึง “เริ่มต้นจากพระวรสารนักบุญลูกา” ที่คำว่า “โปรดเพิ่มความเชื่อให้พวกเราเถิด” และพระเยซูเจ้าก็เริ่มต้นด้วยคำว่า “ท่านผู้ใดที่มีผู้รับใช้ออกไปไถนา หรือไปเลี้ยงแกะ”
และบทสรุปก็คือ
‘ฉันเป็นผู้รับใช้ที่ไร้ประโยชน์ เพราะฉันทำตามหน้าที่ที่ต้องทำเท่านั้น’
จึงบอกว่า การทำตามหน้าที่ เป็นได้แค่ ผู้รับใช้ที่ไร้ประโยชน์
แต่การ ทำด้วยใจ ให้เต็มกำลัง ดุจดังเห็นพระพักตร์ของพระเจ้าในหน้าตาของผู้คน พี่น้องเหล่านั้นแหละ จึงจะแสดงศักยภาพของผู้รับใช้ ที่ไม่ได้เป็นแค่คนใช้ เด็กเสริฟ เด็กส่งของ แมสเสนเจอร์ หรือ อื่นที่เราใช้บริการทั่วไป ที่อาจมีภาพของการทำงานแต่ขาดหัวใจ การขับเคลื่อนแต่ขาดอุดมการณ์ การอยู่ท่ามกลางแต่ขาดความรัก ที่ไม่เป็น “จิตตารมณ์การรับใช้แบบคริสตชน” ที่พระวาจาวันนี้กำลังบอกกับเรา

ขอพระเจ้าประทานพระพรให้เราเป็น ผู้รับใช้ที่ดี เพิ่มความเชื่อให้กับเรา ขอพระเจ้าอวยพร

 

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก