คุณครูมารีอา วิลาวรรณ  สุขชัยประสบการณ์ผู้เข้าอบรม Bibliodrama
คุณครูมารีอา วิลาวรรณ  สุขชัย  

หัวหน้าฝ่ายจิตตาภิบาลโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์
แบ่งปันว่าหลังจากเข้าอบรม Bibliodrama แล้วคุณครูได้นำ Bibliodramaไปใช้ในการเรียนการสอน ดังนี้

กิจกรรมองค์กรคาทอลิก : Y C S


    ได้นำประสบการณ์ไปใช้สอนกับนักเรียนกลุ่ม วาย ซี เอสซึ่งเป็นนักเรียนคาทอลิกระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ตามกระบวนการของ วาย ซี เอส ได้แก่
ตื่นตัว (SEE)
    ๑.ระดมพลังสมอง : หัวข้อ “จะภาวนาให้สนุกได้หรือไม่ อย่างไร”
     ๒. วิเคราะห์ : การภาวนาคืออะไร ทำไมต้องภาวนา และจะภาวนาให้สนุกได้หรือ
    ๓. สรุป : นักเรียนสรุปประเด็นของหัวข้อที่กำลังวิเคราะห์
ไตร่ตรอง (JUDGE)
     นักเรียนไตร่ตรองพระวาจาที่สอดคล้องกับหัวข้อเรื่องที่กำลังวิเคราะห์
    -ยก ๑: ๕-๘การอธิษฐานภาวนาด้วยความเชื่อมั่น
-แบ่งปันจากพระวาจา
    -นำเสนอรูปแบบของการภาวนาในวิธีที่หลากหลาย ได้แก่ การภาวนาด้วยรูปแบบ Bibliodrama
ตอบโต้ (ACT)
นักเรียนฝึกปฏิบัติด้วยการภาวนาด้วยรูปแบบ Bibliodrama
นักเรียนสรุปประสบการณ์ของการภาวนาในรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า แบบBibliodrama- รู้สึกสนุกที่ได้ออกท่าทาง  ได้ยิ้ม ได้สัมผัสกับเพื่อนในขณะที่ภาวนา
        -ได้สัมผัสกับพระในแบบแปลกๆ มีคำถามในใจว่า ขณะที่ออกท่าทาง พระไม่ว่าเราหรือที่สวดภาวนาแล้วได้หัวเราะ มีท่าทางที่หลากหลาย เคยนั่งพับเพียบ หรือนั่งตัวตรงแล้วก็สวด

การสอนคำสอนภาคฤดูร้อน
          เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จัดให้กับนักเรียนคำสอนภาคฤดูร้อน ซึ่งเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษา ซึ่งนักเรียนจะยังไม่เข้าใจความหมายของการภาวนาด้วยรูปแบบ Bibliodrama มากนัก แต่นักเรียนจะสนุกกับการได้ออกท่าทางในการภาวนา มีคำถามก็คือ ทำไมการสวดถึงให้สนุกได้

         ประสบการณ์ที่ได้รับจากการสอนก็คือ การแสดงความคิดเห็นหรือคำถามของเด็กๆ ที่มีหลากหลาย  การทำให้นักเรียนได้มีความใกล้ชิดกับพระมากขึ้น โดยผ่านทางกิจกรรมที่จัด และที่สำคัญตัวครูผู้สอน ได้เจริญเติบโตขึ้นทางจิตใจ พระรักเรา และสัมผัสกับเราโดยผ่านทางลูกศิษย์ที่เราสอน
ความรักของพระเจ้าเปรียบเสมือนต้นไม้ที่เขียวชอุ่มตลอดปี ซึ่งยืนต้นอยู่ได้ทุกฤดูกาลGod’s love is like an evergreen tree; it thrives through every season.


bibliodrama038bibliodrama036
bibliodrama037