“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

"พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ใดสำหรับข้าพเจ้า" อธิบายพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก โดย บาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์
“พระองค์ทรงแปลกพระทัยที่เขาเหล่านั้นไม่มีความเชื่อ”

25. พระเยซูเจ้าเสด็จกลับมาที่เมืองนาซาเร็ธ (มก 6:1-6ก )
      6 1 พระเยซูเจ้าเสด็จออกจากที่นั่นกลับไปยังถิ่นกำเนิดของพระองค์บรรดาศิษย์ติดตามไปด้วย 2 ครั้นถึงวันสับบาโตพระองค์ทรงเริ่มสั่งสอนในศาลาธรรมผู้ฟังจำนวนมากต่างประหลาดใจและพูดว่า “เขาเอาเรื่องทั้งหมดนี้มาจากไหนปรีชาญาณที่เขาได้รับมานี้คืออะไรอะไรคืออัศจรรย์ที่สำเร็จด้วยมือของเขา 3 คนนี้เป็นช่างไม้ลูกนางมารีย์เป็นพี่น้องของยากอบโยเสทยูดาและซีโมนไม่ใช่หรือพี่สาวน้องสาวของเขาก็อยู่ที่นี่กับพวกเรามิใช่หรือ” คนเหล่านั้นรู้สึกสะดุดใจและไม่ยอมรับพระองค์ 4 พระเยซูเจ้าตรัสแก่เขาว่า “ประกาศกย่อมไม่ถูกเหยียดหยามนอกจากในถิ่นกำเนิดท่ามกลางวงศ์ญาติและในบ้านของตน” 5 พระองค์ทรงทำอัศจรรย์ที่นั่นไม่ได้นอกจากทรงปกพระหัตถ์รักษาผู้เจ็บป่วยบางคนให้หายจากโรคภัย6พระองค์ทรงแปลกพระทัยที่เขาเหล่านั้นไม่มีความเชื่อ 


a) อธิบายความหมาย
             การเล่าเรื่องพระเยซูเจ้าเสด็จกลับมาที่เมืองนาซาเร็ธในพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโกเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคนละเวลาต่างจากการเล่าเรื่องในพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกาและนักบุญมัทธิวนักบุญลูกาเล่าว่า การที่พระเยซูเจ้าเสด็จกลับไปเมืองนาซาเร็ธเกิดขึ้นในตอนแรกของการประกาศข่าวดีที่แคว้นกาลิลี (เทียบ ลก4:16-30) ทำให้การประกาศพระวาจาในศาลาธรรมเป็นเสมือนการเปิดเผยโครงการศาสนบริการของพระองค์ ส่วนนักบุญมัทธิวเล่าเรื่องพระเยซูเจ้าเสด็จกลับไปเมืองนาซาเร็ธหลังจากทรงเทศนาสั่งสอนเป็นเวลานานพอสมควรและเชื่อมโยงกับบทที่พระองค์ทรงใช้อุปมาต่าง ๆ ประกาศพระอาณาจักรของพระเจ้า (เทียบ มธ13:53-58)

               สิ่งที่เราควรคำนึงเมื่ออ่านข้อความนี้คือ พระเยซูเจ้าคงจะเสด็จไปเมืองนาซาเร็ธมากกว่าหนึ่งครั้ง มิฉะนั้นแล้ว เราจะไม่เข้าใจว่าเหตุใดชาวนาซาเร็ธจึงรู้สึกประหลาดใจในพระปรีชาญาณและอัศจรรย์ที่พระองค์ทรงกระทำถ้าเขาไม่รู้เห็นด้วยตนเอง แต่เพียงได้ยินผู้อื่น ๆ พูดถึงพระองค์ ข้อความนี้ชวนเราให้คิดถึงเรื่องพระประยูรญาติพร้อมกับพระมารดาไปเยี่ยมพระเยซูเจ้าและพระองค์ทรงประกาศว่าผู้ปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระบิดาเป็นพระประยูรญาติแท้หรือครอบครัวใหม่ของพระองค์(มก 3:20-35) นักบุญมาระโกได้เล่าแล้วว่า พระเยซูเจ้าทรงเผชิญหน้ากับบุคคลที่ขาดความเข้าใจ คือสมาชิกในครอบครัวของพระองค์และประชากรอิสราเอลโดยทั่วไป ทรงสอนหลายเรื่องเป็นอุปมา ทรงกระทำอัศจรรย์บางประการ เช่น พระเยซูเจ้าทรงบังคับพายุให้สงบ ทรงรักษาชาวเกราซาที่ถูกปีศาจสิง ทรงรักษาหญิงตกเลือด และทรงปลุกบุตรหญิงของไยรัสให้คืนชีพบัดนี้ ผู้คนในเมืองนาซาเร็ธ ไม่เข้าใจและไม่มีความเชื่อในพระองค์การเล่าเรื่องตามลำดับนี้ต้องการเน้นความแตกต่างระหว่างชาวนาซาเร็ธผู้ไม่ยอมมีความเชื่อกับบุคคลที่เพิ่งเล่าว่ามีความเชื่อคือหญิงตกเลือดและไยรัส

                การที่ชาวนาซาเร็ธไม่มีความเชื่อก็เป็นสัญลักษณ์ และเป็นการประกาศล่วงหน้าถึงอิสราเอลที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับพระคริสตเจ้า ดังนั้น การประกาศข่าวดีเรื่องพระอาณาจักรของพระเจ้าต้องเกิดขึ้นด้วยความถ่อมตนและความอ่อนแออาศัยการรับทรมานบนไม้กางเขน

-พระเยซูเจ้าเสด็จออกจากที่นั่น วลีนี้ไม่กำหนดเวลาอย่างเจาะจงจึงไม่หมายความว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเรื่องที่พระเยซูเจ้าทรงทำให้บุตรสาวของไยรัสกลับคืนชีพ

-กลับไปยังถิ่นกำเนิดของพระองค์ น่าสังเกตว่า นักบุญมาระโกไม่จำเป็นต้องบอกชื่อถิ่นกำเนิดของพระเยซูเจ้าว่าเป็นเมืองนาซาเร็ธ เพราะเหตุผลสองประการคือก) นักบุญมาระโกได้เล่าแล้วว่าพระเยซูเจ้าเสด็จมาจากเมืองนาซาเร็ธและทรงรับพิธีล้างจากยอห์นในแม่น้ำจอร์แดน (1:9)ข) ผู้อ่านพระวรสารเป็นคริสตชนที่รู้แล้วว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นชาวนาซาเร็ธ

             การที่นักบุญมาระโกบอกว่าถิ่นกำเนิดของพระเยซูเจ้าคือเมืองนาซาเร็ธไม่ใช่เมืองเบธเลเฮมก็ไม่เป็นปัญหาเพราะแม้นักบุญมัทธิวเอง ผู้เล่าว่าพระเยซูเจ้าประสูติที่เมืองเบธเลเฮม ก็ยังบันทึกไว้ว่า ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ไปอาศัยอยู่ในเมืองหนึ่งชื่อนาซาเร็ธ "ทั้งนี้ เพื่อให้พระดำรัสที่ตรัสทางประกาศกเป็นความจริงว่า พระองค์จะได้รับพระนามว่าชาวนาซาเร็ธ" (มธ 1:23) ดังนั้นคำว่า "ถิ่นกำเนิด" อาจหมายถึงสถานที่ของบรรพบุรุษหรือที่อาศัยของบุคคลที่เจริญเติบโตที่นั่นก็ได้

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก