“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

พระวาจาของพระเจ้าและหน้าที่เพื่อความยุติธรรมในสังคม

100.    พระวาจาของพระเจ้าผลักดันมนุษย์ให้สร้างความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนความดีและยุติธรรม ทั้งยังยืนยันถึงคุณค่าประเสริฐของความพยายามทุกอย่างของมนุษย์ ที่จะทำให้โลกนี้มีความยุติธรรมและน่าอยู่ยิ่งขึ้น[1] พระวาจาของพระเจ้ากล่าวอย่างชัดเจนตำหนิความอยุติธรรมและส่งเสริมความร่วมมือร่วมใจกันและความเสมอภาค[2] อาศัยแสงสว่างจากพระวาจาขององค์พระผู้เป็นเจ้า ขอให้เรารู้จัก "เครื่องหมายของกาลเวลา" ที่อยู่ในประวัติศาสตร์ เราจะได้ไม่ละทิ้งหน้าที่ที่เราต้องมีต่อผู้มีความทุกข์และเป็นเหยื่อของความเห็นแก่ตัว สมัชชากล่าวเตือนว่าหน้าที่สร้างความยุติธรรมและเปลี่ยนแปลงโลกเป็นรากฐานสำคัญของการประกาศพระวรสาร ดังนั้น ดังที่สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ได้ตรัสไว้ "พลังของพระวรสารจึงต้องสัมผัสและพลิกผันมาตรการตัดสิน ค่านิยมที่สำคัญมากกว่า รวมทั้งความสนใจและเหตุผลความคิด, แรงบันดาลใจและแบบอย่างชีวิตของมวลมนุษย์ ที่ขัดแย้งกับพระวาจาของพระเจ้าและกับแผนการความรอดพ้น"[3]

เพราะเหตุนี้ บรรดาพระสังฆราชแห่งสมัชชาจึงคิดถึงเป็นพิเศษถึงผู้ทำงานด้านการเมืองและสังคม การประกาศพระวรสารและเผยแผ่พระวาจาของพระเจ้าต้องชวนให้เขาปฏิบัติงานในโลกเพื่อแสวงหาผลประโยชน์แท้จริงของทุกคน โดยรักษาและส่งเสริมศักดิ์ศรีของแต่ละคนไว้ด้วย ใช่แล้ว พระศาสนจักรไม่มีหน้าที่โดยตรงที่จะสร้างสังคมที่มีความยุติธรรมมากขึ้น แต่พระศาสนจักรก็ยังมีหน้าที่ตัดสินเรื่องจริยธรรมและศีลธรรมที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของปัจเจกชนและประชาชนส่วนรวม การปฏิบัติงานด้านสังคมและการเมืองโดยตรงเป็นบทบาทเฉพาะของบรรดาฆราวาสผู้มีความเชื่อที่ได้รับการอบรมสั่งสอนจากพระวรสาร ดังนั้น สมัชชาจึงขอร้องให้คนเหล่านี้ได้รับการศึกษาอบรมอย่างเหมาะสม ตามหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร[4]

101.    ข้าพเจ้ายังปรารถนาเชิญชวนทุกคน ให้คิดถึงความสำคัญของการปกป้องและส่งเสริมสิทธิของมนุษย์แต่ละคน สิทธินี้อิงอยู่กับกฎธรรมชาติที่จารึกอยู่ในใจของมนุษย์ จึงนับว่าเป็นกฎ "สากล ไม่อาจล่วงละเมิดหรือโอนให้ผู้อื่นได้"[5] พระศาสนจักรปรารถนาอย่างยิ่งให้การรับรองสิทธิเช่นนี้ช่วยให้ศักดิ์ศรีของมนุษย์ได้รับการยอมรับอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นสากลยิ่งขึ้น[6] ให้เป็นเสมือนเอกลักษณ์ที่พระผู้สร้างทรงสลักไว้ในสิ่งที่ทรงเนรมิตสร้าง ซึ่งพระเยซูคริสตเจ้าทรงรับและทรงกอบกู้โดยการรับธรรมชาติมนุษย์ การสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ เพราะฉะนั้น พระวาจาของพระเจ้าที่ได้รับการเผยแผ่จึงต้องยืนยันและเคารพสิทธิเหล่านี้อย่างมั่นคงอยู่เสมอ[7]



[1] Cfr Propositio 39.

[2] Cfr Benedictus XVI, Nuntius de Dei mundiali Pacis 2009 (8 Decembris 2008): Insegnamenti IV, 2 (2008), 792-802.

[3] Adhor.ap. Evangelii nuntiandi (8 Decembris 1975), 19: AAS 68 (1976), 18.

[4] Cfr Propositio 39.

[5] Ioannes XXIII, Litt.enc. Pacem in terris (11 Aprilis 1963), I: AAS 55 (1963), 259.

[6] Cfr Ioannes Paulus II, Litt.enc. Centesimus annus (1 Maii 1991), 47: AAS 83 (1991), 851-852; Id., Allocutio ad Nationum Unitarum Legatos (2 Octobris 1979), 13: AAS

[7] Cfr Compendid della dottrina sociale della Chiesa, 152-159.

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก