“ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง" (ยน. 8:31)

"พระคริสตเจ้าทรงเป็นผู้ใดสำหรับข้าพเจ้า" อธิบายพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก โดย บาทหลวงฟรังซิส ไก้ส์
“ท่านไม่เข้าใจอุปมานี้ แล้วจะเข้าใจอุปมาอื่นๆ ได้อย่างไร”

18. พระเยซูเจ้าทรงอธิบายอุปมาเรื่องผู้หว่าน (2 ) 
 -เมล็ดที่ตกบนหินหมายถึงบุคคลที่ได้ฟังพระวาจาและมีความยินดีรับไว้ทันที นี่เป็นบุคคลเป้าหมายกลุ่มที่ สองที่พระพระวาจาของพระเจ้ากล่าวถึง เขาไม่เพียงฟังด้วยหูเท่านั้น แต่เขามีความกระตือรือร้น ยอมรับพระวาจาด้วยความยินดี เห็นว่าพระวาจาสวยงามและพยายามปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
-แต่เขาไม่มีรากในตัว จึงไม่มั่นคง หมายความว่าเขามีความกระตือรือร้นอย่างผิวเผิน เมล็ดซึ่งหมายถึงพระวาจาไม่เข้าในจิตใจ เปรียบเทียบกับเมล็ดในพื้นหินที่มีดินน้อย เมล็ดพืชก็งอกขึ้นทันทีเพราะดินไม่ลึก และต้นอ่อนก็ถูกแดดเผา

-เมื่อเผชิญความยากลำบากหรือถูกข่มเหงเพราะพระวาจานั้น คำว่า “ความยากลำบาก" กับคำว่า “ถูกข่มเหง” เป็นคำเฉพาะของพระศาสนจักรสมัยแรก ๆ บรรยายประสบการณ์คริสตชนที่ถูกอำนาจทางการเมืองเบียดเบียนไม่เพียงจากภายนอก แต่ยังเป็นการเบียดเบียนภายในคือ ความกังวลใจของคริสตชน นักบุญเปาโลและพระศาสนจักรแรกเริ่มสอนเสมอเช่นกันว่า ความยากลำบากและการถูกข่มเหงเป็นโอกาสให้ความเชื่อของคริสตชนเข้มแข็งมากขึ้น

-เขาก็ยอมแพ้ทันที  คำภาษากรีกหมายถึง "สะดุดล้ม" หรือ "ถูกขัดขวาง" หมายความว่าพระวาจาของพระเจ้าเข้าใจยาก เมื่อฟังพระวาจาแล้วเขาอาจเปลี่ยนใจไม่ยอมรับคำสั่งสอนของพระเยซูเจ้า ดังที่เราพบในพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์นว่า เมื่อพระเยซูเจ้าทรงเทศน์สอนเรื่องปังที่ลงมาจากสวรรค์ คือศีลมหาสนิท"ศิษย์หลายคนเปลี่ยนใจ ไม่ติดตามพระองค์อีกต่อไป"(ยน 6:66)นักบุญมาระโกเล่าว่าในสวนเกทเสมนีเมื่อพระเยซูเจ้าทรงถูกจับกุม"ศิษย์ทุกคนทิ้งพระองค์ แล้วหนีไป"(มก 14:50)หมายถึงความท้อแท้ของบรรดาศิษย์

-เมล็ดที่ตกในพงหนามหมายถึงบุคคลที่ฟังพระวาจา นี่เป็นกลุ่มเป้าหมายกลุ่มที่สามคือผู้ที่ฟังพระวาจาของพระเจ้า และพยายามประนีประนอมการเรียกร้องระหว่างการลับใจกับความสะดวกสบายของตน

         พงหนามหมายถึงสิ่งที่ทำให้กังวลใจ หรืองสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง จนกระทั่งครอบงำความปรารถนาของจิตใจ เป็นรูปเคารพที่เราบูชาแทนพระเจ้าเมื่อพระองค์ไม่ทรงเอกในจิตใจนักบุญมาระโกอ้างรูปเคารพสามรูปแบบคือ
1. ความวุ่นวายในทางโลก หมายถึงความห่วงใย ความกังวลใจในสภาพชีวิต การต่อสู้เพื่อความอยู่รอดในชีวิตประจำวัน
2. ความลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ คือความปรารถนาแรงกล้าที่จะเป็นเจ้าครอบครองสิ่งต่าง ๆ เพื่อจะนำมาซึ่งความสุขและความมั่นคั่งทุกรูปแบบ
3. ความโลภในสิ่งอื่น ๆ หมายถึงกิเลสที่กระตุ้นมนุษย์ให้แสวงหาความสุข ความเพลิดเพลิน ความพึงพอใจ พระเยซูเจ้าทรงตักเตือนเรื่องทรัพย์สมบัติเป็นพิเศษ เพราะผู้ใดไม่พร้อมที่จะสละทุกสิ่งก็เป็นศิษย์ของพระองค์ไม่ได้ น่าสังเกตว่าคนทั่วไปคิดว่า รูปเคารพทั่งสามรูปแบบนี้ ไม่เป็นพงหนามสำหรับตน  เป็นสิ่งน่าปรารถนา แต่พระเยซูเจ้าทรงสอนว่า สิ่งเหล่านี้เข้ามาปกคลุมพระวาจาไว้ จึงไม่เกิดผล

-ส่วนเมล็ดพืชที่ตกในที่ดินดี หมายถึงบุคคลที่ฟังพระวาจาแล้วรับไว้
นี่เป็นกลุ่มเป้าหมายกลุ่มที่สี่  คือผู้ที่ฟังพระวาจาอย่างดีและนำไปปฏิบัติ แต่น่าสังเกตว่า เขาจะเกิดผลได้ไม่เพียงเพราะรับพระวาจาเท่านั้น แต่เพราะพลังที่มาจากพระวาจา เป็นพระวาจาที่ทำให้เกิดผลไม่ใช่มนุษย์ดังนั้น ถ้าคนหนึ่งยิ่งฟังพระวาจาและรับไว้ใจจิตใจก็ยิ่งจะบังเกิดผล

-จึงเกิดผลสามสิบเท่า หกสิบเท่า และร้อยเท่า
”ดูเหมือนว่าพระวาจาจะเกิดผลแบบไม่น่าเชื่อ ไร้ขีดจำกัด เพราะเงื่อนไขเดียวที่ทำให้เกิดผลคือการฟังพระวาจา และพระวาจาไม่มีขอบเขตเช่นเดียวกับพระเจ้าปิตาจารย์บางคนอธิบายข้อความนี้ โดยแยกการดำเนินชีวิตจิตของคริสตชนเป็น 3 สถานภาพ เช่น นักบุญซีเปรียนเขียนว่าผู้ฟังพระวาจาและเกิดผล 100 เปอร์เซ็นต์คือบรรดามรณสักขี ผู้ฟังพระวาจาและเกิดผล 60 เปอร์เซ็นต์หมายถึงหญิงพรหมจารี ผู้ฟังพระวาจาและเกิดผล 30 เปอร์เซ็นต์หมายถึงคริสตชนทั่วไป ส่วนนักบุญเยโรมอธิบายว่า ผู้ฟังพระวาจาและเกิดผล100 เปอร์เซ็นต์หมายถึงหญิงพรหมจารี  ผู้ฟังพระวาจาและเกิดผล 60 เปอร์เซ็นต์หมายถึงหญิงม่ายและผู้ดำเนินชีวิตบริสุทธิ์  ผู้ฟังพระวาจาและเกิดผล 30 เปอร์เซ็นต์หมายถึงบุคคลที่แต่งงานแล้ว

            อย่างไรก็ตาม การอธิบายเช่นนี้เป็นความคิดในสมัยต่อมา เป็นการประยุกต์ความคิดในสมัยของนักบุญมาระโกอีกทอดหนึ่ง แต่ถ้าเราพิจารณาความหมายของอุปมาเมื่อพระเยซูเจ้าทรงเล่าพระองค์คงทรงพระประสงค์ที่จะอธิบายว่า แม้ทรงเอาพระทัยใส่ในการประกาศพระวาจาและอาณาจักรสวรรค์ที่กำลังมาถึงแก่ทุกคนแล้ว แต่ผู้ฟังหลายคนจงใจไม่ยอมรับคำสั่งสอนของพระองค์ โดยอ้างว่าเครื่องหมายอัศจรรย์ยต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงกระทำมาจากอำนาจของปีศาจเอลเบลซาอูล(เทียบ มก 3:22)บางคนฟังพระวาจาแต่ไม่เกิดผลเช่นชาวเมืองคาเปอรนาอุม (เทียบ มธ 11:20-22)มีเพียงไม่กี่คนที่ฟังพระวาจาและปฏิบัติตาม(เทียบ มธ 7:21; รม 2:13; ยก 1:22)

เช้าวันใหม่ใส่ใจพระวาจา

Lectio Divina-Daily 2022

เช้าวันเสาร์เราคิดถึงพระวาจา

Video อบรมพระคัมภีร์

ความรู้พื้นฐานพระคัมภีร์และหนังสือปฐมกาล

หนังสืออพยพและเลวีนิติ

หนังสือกันดารวิถีและเฉลยธรรมบัญญัติ

หนังสือโยชูวา ผู้วินิจฉัยและนางรูธ

หนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2

หนังสือพงศาวดาร เอสราและเนหะมีย์

หนังสือโทบิต ยูดิธ เอสเธอร์และมัคคาบี 1 และ 2

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกาศกและประกาศกอาโมส

หนังสือประกาศกโฮเชยาและมีคาห์

หนังสือประกาศกอิสยาห์

หนังสือประกาศกโยนาห์และประกาศกเศฟันยาห์

หนังสือประกาศกนาฮูมและฮาบากุก

หนังสือประกาศกเยเรมีห์-เพลงคร่ำครวญ-บารุค

หนังสือประกาศกเอเสเคียลและดาเนียล

บทเทศน์บนภูเขา มธ. 5-7

พระวรสารนักบุญมัทธิว 10,13,18

พระวรสารนักบุญมาระโก

หนังสือกิจการอัครสาวก