บทเทศน์โดยพระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์  วีระ  อาภรณ์รัตน์

อาทิตย์ที่ 5  เทศกาลปัสกา
18  พฤษภาคม  2014
บทอ่าน  กจ 6 :1-7 ; 1 ปต 2: 4- 9; ยน 14 : 1 -12
พระวรสารสัมพันธ์กับ  CCC  74  151  459  470  516  661 1025  1698  2466  2614  2795  
 CSDC 28
จุดเน้น      งานที่เราทำสำเร็จ  ต้องมาจากความสัมพันธ์ของเรากับพระคริสตเจ้า


    บทอ่านทั้งสามบทวันนี้  ให้ข้อคิดถึง  กิจการ  ขบวนการ  โดย  พระศาสนจักร  และภายใน พระศาสนจักร
    บทอ่านจากหนังสือกิจการอัครสาวก  ผู้เขียนชี้ให้เราเห็นว่าบรรดาแม่ม่ายถูกละเลยมิได้รับแจกทานประจำวัน  อะไรคือการแจกประจำวัน  ตามคำสอนของพระเยซูเจ้าเรื่องการเลี้ยงอาหารผู้หิวโหย  และการเอาใจใส่ผู้ขัดสน  บรรดาอัครสาวกควรเอาใจใส่บรรดาแม่ม่ายท้องถิ่น  ในสิ่งที่พวกเขาจัดให้ได้กล่าวคือสิ่งของต่างๆที่รวบรวมได้จากความใจดี  ของชุมชนคริสตชน

    จำนวนคริสตชนมีมากขึ้นอย่างรวดเร็ว  จนกระทั่งบรรดาอัครสาวกไม่สามารถประกาศพระวาจา  และแจกจ่ายทานแก่แม่ม่ายคริสตชน    เพราะเหตุนี้จึงเกิดตำแหน่งสังฆานุกร   เพื่อรับผิดชอบงานของบรรดาอัครสาวกสำหรับคนยากจน    สเตเฟนถูกเลือกเป็นสังฆานุกรคนแรก   และมรณสักขีคนแรกในสมัยนั้น

    ในจดหมายของนักบุญเปโตร    ท่านได้เตือนเราว่าความพยายามทุกอย่างที่เรากระทำ  ต้องมีรากฐานประการแรกในพระเยซูคริสตเจ้า   พระองค์เป็นศิลาหัวมุมซึ่งเราไว้วางใจ

    ที่สุด  ในพระวารสารนักบุญยอห์น    เราได้รับบทสอนใจเช่นกัน  พระเยซูเจ้าพูดถึงบรรดาอัครสาวกในระหว่างอาหารค่ำมื้อสุดท้าย    พวกเขาอยากรู้ว่าเจริญชีวิตชอบธรรมเป็นอย่างไร   พระเยซูเจ้าตอบว่า  “เราเป็นหนทาง  ความจริง  และชีวิต”  พระองค์มิได้เป็นแค่รากฐานเท่านั้น   นักบุญเปโตรสอนในบทอ่านที่สองว่า  พระองค์เป็นศิลาหัวมุม    พระเยซูเจ้าสอนว่าพระองค์เป็นหนทาง 

    นี่เป็นความจริงที่สำคัญมากสำหรับสมัยของเรา  การตระหนักรู้สังคมเป็นข้อมูลธรรมดาในปัจจุบัน  การเอาใจใส่สภาพแวดล้อมจนถึงการตระหนักรู้ตัวเราว่าไปซื้อของที่ไหน  วัฒนธรรมที่ตื่นตัวยิ่งขึ้นว่ากิจการของเรา (สิ่งที่เราทำ) มีผลต่อสภาพแวดล้อมเพียงไร

    คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรคาทอลิกช่วยสอนเราให้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม  และมีสติ  แต่การสอนด้านสังคมของคาทอลิกแตกต่างจากงานสังคมสงเคราะห์ของสังคมโลก  เพราะงานของเราสำหรับคนจน  และความรับผิดชอบด้านสังคม  ต้องมาจากความสัมพันธ์ของเรากับพระเยซูเจ้าเป็นอันดับแรก

    ใครช่วยคนจนได้อย่างไร  คำตอบคือพระเยซูเจ้าทรงมอบพระองค์เอง  ชีวิตภาวนาเป็นกุญแจก็มีรากในพระเยซูคริสตเจ้า  ในพระคัมภีร์  และในศิลศักดิ์สิทธิ์  นี่คือเหตุผลที่บรรดาอัครสาวกต้องการให้มีสังฆานุกรกลุ่มแรกที่เป็นบุรุษแห่งความเชื่อ  มีชื่อเสียงดี และเปี่ยมด้วยพระจิตเจ้า  เพราะปราศจากพระคริสตเจ้า  ก็ไม่มีกิจการดี  ที่สามารถรับใช้ตนเอง  หรือรับใช้แนวคิดที่ตรงกับพระวรสาร

    เป้าหมายต้องมีพระเยซูเจ้าเป็นดังศิลาหัวมุม  แห่งชีวิตของเรา  เพื่อกิจการดีทุกประการมาจากความสัมพันธ์ของเรากับพระเยซูเจ้า  ขอให้พี่น้องรู้จักวิธีดำเนินชีวิตในความรักของพระคริสตเจ้า  และเอาใจใส่บรรดาผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ
    พระสังฆราชวีระ    อาภรณ์รัตน์ แปล
   จาก  Sunday Homilies โดย Catholic  Diocese of Lansing,
   ( เมษายน – มิถุนายน 2014 ) หน้า 207- 209