บทเทศน์โดยพระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์  วีระ  อาภรณ์รัตน์

อาทิตย์ที่ 2  เทศกาลปัสกา
(หรือวันอาทิตย์ฉลองพระเมตตา)
27
เมษายน 2014
 
บทอ่าน     กจ 2: 42-47 ;   1 ปต 1: 3-9  หรือ  ยน 20: 19-31
พระวรสารสัมพันธ์กับ  คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (CCC)    442, 448, 514, 575, 643, 659, 730, 788, 858, 976, 1087, 1120, 1287, 1441, 1461, 1485, 2839,
ประมวลคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร  (CSDC)   491
จุดเน้น        บรรดาศิษย์ได้ชื่นชมยินดี  เมื่อได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้า
    บรรดาศิษย์ได้ชื่นชมยินดีเมื่อพวกเขาได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้า  แล้วเราล่ะ  ถ้าบางคนไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับศาสนาคริสต์  เผอิญเขาไปร่วมมิสซาเช้าวันอาทิตย์  ซึ่งเป็นพิธีกรรมเฉพาะของเราคาทอลิก  แขกคนนี้จะประทับใจในความปีติยินดีของเรา (เวลาร่วมพิธีมิสซา) ไหม  ถ้าพี่น้องตอบว่า “ไม่” ทำไมถึงไม่ล่ะครับ  เหตุผลส่วนหนึ่ง คือ เราเน้นว่ามิสซาวันอาทิตย์เป็นเหมือนข้อบังคับ


    พี่น้อง  มิสซาวันอาทิตย์มีความหมายมากกว่าเป็นข้อบังคับ คือ เป็นการฉลอง  บทอ่านพระวรสารวันนี้บอกเราเกี่ยวกับวิธีที่พระเยซูเจ้าได้ฉลองสองอาทิตย์แรกอย่างไร  พร้อมกับบรรดาเพื่อนสนิทที่สุด  หลังจากที่พระองค์ทรงกลับคืนพระชนมชีพ “ค่ำวันนั้นซึ่งเป็นวันต้นสัปดาห์”  วันปัสกา  บรรดาเพื่อนสนิทที่สุดตกใจ  คาดหวังที่เห็นพระเยซูเจ้าเป็นสิ่งสุดท้ายหลังจากเรื่องเศร้าใจที่เขากัลวาริโอก่อนหน้านั้นสองวัน  พวกเขาได้พบว่าร่างกายของพระเยซูเจ้าไม่ได้อยู่ที่พระคูหา  กลัวอันตรายที่อาจเกิดขึ้น  บรรดาศิษย์จึงได้ปิดประตูห้องที่พวกเขาได้ชุมนุมกัน

    พวกเขาเต็มเปี่ยมด้วยความปีติยินดีอย่างไร  ที่พระเยซูเจ้าต้องได้ทำให้บรรดาเพื่อนแปลกใจ  แม้ประตูถูกปิดล็อคอยู่ก็ไม่สามารถขัดขวางพระองค์ในบัดนั้นได้  พระเยซูเจ้าได้กลับมีชีวิตเดิมที่ได้จบลงที่เขากัลวารีโอ  พระองค์ได้ถูกยกสู่ชีวิตใหม่และสูงค่ากว่า  พระวรสารได้บอกเราว่าพระเยซูเจ้าได้เสด็จกลับมายังห้องเดิมนั้น “แปดวันต่อมา” จึงตกเป็นวันอาทิตย์  วันต้นสัปดาห์อีก

    พระเยซูเจ้าทรงทักบรรดาศิษย์ที่กำลังตกใจกลัว  ด้วยคำทักทายของชาวยิว คือ “ซาโลม  สันติสุขจงสถิตอยู่กับท่าน”  สันติสุขที่พระองค์ทรงมอบให้มีคุณค่ามากกว่าเพียงการไม่มีใครเอาใจใส่และปราศจากความกังวล  ก่อนถูกตรึงไม้กางเขน  พระเยซูเจ้าตรัสกับพวกเขาว่า “เรามอบสันติสุขไว้ให้ท่านทั้งหลาย  เราให้สันติสุขของเรากับท่าน  เราให้สันติสุขกับท่านไม่เหมือนกับที่โลกให้  ใจของท่านอย่าหวั่นไหวหรือมีความกลัวเลย” (ยน 14:27)  โลกไม่สามารถให้ของขวัญนี้ได้เพราะสันติสุขที่พระเยซูเจ้ามอบให้มิได้มาจากโลกนี้  แต่มาจากพระเจ้า  ผู้ใดที่พร้อม  ผู้ที่มีความสัมพันธ์  มีความรัก  ไว้วางใจในพระเยซู
คริสตเจ้าเท่านั้นจึงจะได้รับ

    อย่างไรก็ตาม  เพื่อรับของขวัญทุกชิ้นขององค์พระผู้เป็นเจ้า  มีเงื่อนไขเข้มงวดประการเดียว คือ สิ่งที่เราได้รับเปล่าๆ เราต้องแบ่งปันกับผู้อื่นเปล่าๆ ด้วย  ดังนั้นทันทีที่พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า 
“พระบิดาทรงส่งเรามาฉันใด  เราก็ส่งท่านทั้งหลายไปฉันนั้น”  และเพื่อช่วยพวกเขาให้ปฏิบัติได้สำเร็จ  พระองค์ทรงมอบพระพรอีกอย่างหนึ่ง คือ พระจิตเจ้า  พระองค์ทรงเป่าลมเหนือเขาทั้งหลาย  เหมือนพระเจ้าทรงเป่าลมแห่งชีวิตเข้าในจมูกของอาดัม  มนุษย์คนแรกในการเนรมิตสร้าง (ปฐก 2:7)  พระเยซูเจ้าทรงบอกเรื่องพระจิตเจ้าและเรื่องอำนาจการอภัยบาปอาศัยพระจิตเจ้า  อำนาจนี้อยู่ในพระศาสนจักรปัจจุบัน  ในศีลแห่งการคืนดีนั่นเอง

    ในเย็นวันปัสกาครั้งแรก  บรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้าในห้องที่ปิดอยู่นั้น  ได้เปี่ยมไปด้วยความปีติยินดีที่เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าอีก  และได้ยินเสียงของพระองค์ที่คุ้นเคย  เราที่ไม่สามารถเห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพ  หรือไม่สามารถได้ยินเสียงของพระองค์  เราได้รับความรอด  อาศัยดวงตา  และหูแห่งความเชื่อ  เราสามารถร่วมมีส่วนในความปีติยินดีของบรรดาศิษย์  พระเยซูเจ้ามีของขวัญและพระพรมิใช่สำหรับบรรดาเพื่อนกลุ่มแรกเท่านั้น  แต่สำหรับเราด้วย  ดังพระวาจาของพระองค์ที่ตรัสกับเราในวัดนี้ว่า “ผู้ที่เชื่อ  แม้ไม่ได้เห็นก็เป็นสุข”  หมายความว่า  ความสุขและความปีติยินดีเป็นของทุกคน  แม้ไม่ได้เห็นแต่มีความเชื่อ

พระสังฆราชวีระ  อาภรณ์รัตน์  แปล
จาก  Homilies  โดย Catholic  Diocese  of  Lansing,
(เมษายน – มิถุนายน 2014), หน้า 175-176.