บทเทศน์โดยพระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์  วีระ  อาภรณ์รัตน์

อาทิตย์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา
23 กุมภาพันธ์ 2014 
บทอ่าน    ลนต  19: 1-2, 17-18 ;  1 คร  3: 16-23 ;   มธ  5 : 38 -48
พระวรสารสัมพันธ์กับ    คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (CCC)   443, 1693, 1825, 1933, 1968, 2013, 2054, 2262, 2303, 2443, 2608, 2828, 2842, 2844
ประมวลคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร  (CSDC)   40
จุดเน้น    การยอมรับปรีชาญาณของพระเจ้าที่โลกถือว่าเป็นความโง่  การอยากได้อำนาจ


วิกตอร์  ฮูโก  ชาวฝรั่งเศส  ในศตวรรษที่ 19  ได้ประพันธ์เรื่อง Les Miserables (ความทุกข์ยาก)  ยัง  วาลเชียน  ได้เป็นผู้กลับใจยิ่งใหญ่จากผู้เคยถูกตัดสินว่ากระทำผิด  เขามีโอกาสขจัดผู้การจาแวร์  ตำรวจผู้ควบคุมตัวเขาหลายสิบปี

ในระหว่างการลุกฮือของนักศึกษาในกรุงปารีส  กลุ่มปฏิวัติได้จับจาแวร์  ที่เป็นผู้สอดแนมแก่ทหาร  ได้มอบตัวจาแวร์ให้วาลเชียนผู้ร่วมปกป้องมารีอุสอย่างลับๆ  ชายหนุ่มผู้หลงรักโคเซ  หญิงสาวที่วาลเชียนได้สัญญาว่าจะดูแล   วาลเชียนสามารถฆ่าจาแวร์ได้โดยไม่มีใครสงสัย  แต่เขาปล่อยตัวจาแวร์ไป  เขาไม่ทำบาปต่อพระเจ้าผู้ได้ประทานชีวิตกลับคืนให้เขา

จาแวร์ตัวสั่นที่ได้รับความเมตตาที่เขาไม่สมควรได้รับ  เขาเป็นคนเคร่งกฎหมายและเขาเชื่อว่าใครทำผิดกฎหมายไม่สมควรได้รับการช่วยเหลือ  ไม่ควรเมตตา  ไม่น่าช่วยเหลือให้รอด  เขาคิดว่าโลกเป็นแต่อำนาจต่อสู้ระหว่างคนรักกฎหมาย  รักษาระเบียบ  กับพวกฆาตกร  ผู้ร้ายทั้งหลาย    ดังนั้นเมื่อคนมีความคิดมองสังคมเช่นนี้ได้รับความเมตตาของวาลเชียน  จาแวร์ผู้ไม่รู้จักความเมตตาเลย  คงไม่สามารถปรากฏตัว (ต่อสังคม) เพราะได้เบียดเบียนชายผู้บริสุทธิ์ (ปราศจากความผิด) เป็นเวลานานเช่นนั้น  ดังนั้นเขาได้ไปกระโดดสะพานฆ่าตัวตายในแม่น้ำแซน

เราเห็นความขัดแย้งในเรื่องนี้  ระหว่างการมองโลกแบบวาลเชียนและจาแวร์  ก็เป็นความขัดแย้งที่เราเห็นในบทอ่านจากพระคัมภีร์ในวันนี้

ในบทอ่านวันนี้  โมเสส  นักบุญเปาโล  และพระเยซูเจ้าสอนเราเกี่ยวกับทางของพระเจ้าแตกต่างกับทางของโลก  กล่าวคือ  ทางของพระเจ้า  เรามองโลกด้วยสายตาแห่งความรัก  ความเมตตาและการให้อภัย   แต่ทางของโลก  มองทางของพระเจ้าว่าโง่  ในสายตาของพระเจ้าถือว่าเป็นความเฉลียวฉลาด  นักบุญเปาโลได้ขอให้คริสตชนชาวโครินธ์ละทิ้งความเฉลียวฉลาดแบบโลก  และให้กลายเป็นคนโง่เฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้าตั้ง 2000 ปีมาแล้ว

แต่ใน 200 ปีที่ผ่านมา  มีแนวคิดปรัชญาในการมองโลก  ที่คนต่างความเชื่อพยายามแสวงหาอำนาจและสิ่งของฝ่ายวัตถุ  ดังที่นักบุญเปาโลได้สอนให้สละนานมาแล้ว  นักคิดอย่างอาเธอร์  โชเปนฮาวเออร์  และเฟอเดอริก  นิทเช่  สอนเรื่องความหมายของชีวิตว่า  ในตอนสุดท้ายการถือเจตนาส่วนบุคคลอยู่เหนือและต่อต้านเจตนาของผู้อื่น  อาจเป็นสิ่งถูกต้องก็ได้

เราเห็นว่าจริยธรรมแบบนี้ปรากฏในวัฒนธรรมแห่งความตายในปัจจุบัน  เช่น การทำแท้ง  การวิจัยปลูกเซลเอมบริโอ  และ การุญยฆาตกรรม  วัตถุนิยมที่นำประชาชนตีคุณค่าของวัตถุสิ่งของมากกว่ามนุษย์  นี่คือความฉลาดของโลก  แบบที่นักบุญเปาโลสอนเราให้ปฏิเสธ  รักศัตรูแทนการแก้แค้น  การช่วยคนจน  ซึ่งอาจขัดกับธรรมชาติของเรา

อาจเป็นการขัดแย้งธรรมชาติของเรา  ขัดแย้งธรรมชาติที่ตกต่ำของเรา  แต่โดยอาศัยพระหรรษทานจากพระเจ้า  เราสามารถลุกขึ้นออกจากการมองโลกมืด (มองสังคม) โหดร้าย  และลุกขึ้น  ทีละก้าว  กลับมาสู่พระสิริรุ่งโรจน์ซึ่งอาดัม  เอวา  บิดามารดาเดิมของเราเคยได้รับ  แต่ได้ปฏิเสธไป

แน่นอน  พระคริสตเจ้าเป็นพระปรีชาของพระเจ้า  ซึ่งโลกมองว่าเป็นความโง่เขลา  เมื่อพระองค์ทรงรักศัตรู  ผู้มีอำนาจทำศีลธรรมที่ถูกต้องได้  แต่พวกเขาได้จับพระองค์  ทรมานพระองค์  แต่ตัดสินอย่างไม่ยุติธรรมให้ถูกตรึงตายบนไม้กางเขน  พระเยซูเจ้าสามารถบดขยี้บรรดาศัตรูด้วยอำนาจพระเจ้าได้  แต่พระองค์กลับได้เลือกหนทางแห่งความเมตตา  การให้อภัย  และความรัก  เมื่อพระองค์ได้สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน  หนทางที่โลกดูเหมือนว่าพวกเขาได้ชัยชนะแล้ว

แต่การกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์บอกว่า  เรื่องนี้เป็นชัยชนะของพระเจ้า  เป็นพระปรีชาของพระเจ้า  ต่อมาในบทจดหมายถึงชาวโครินธ์ฉบับแรก  นักบุญเปาโลกล่าวว่า  ถ้าพระคริสตเจ้ามิได้ทรงกลับคืนชีพจากความตาย  เราก็เป็นคนที่น่าสงสารที่สุด  ถ้าไม่มีการกลับคืนชีพ  ก็ไม่มีความน่าสงสาร  แต่เรามั่นใจอาศัยความเชื่อว่าพระคริสตเจ้าทรงพระชนม์จริงๆ  ไม่มีความตายอีกต่อไป

อาศัยศีลล้างบาป  เรามีส่วนในชีวิตนิรันดร  เราได้รับเรียกและเสริมกำลัง  โดยอาศัยพระหรรษทานให้ดำเนินชีวิตที่พระคริสตเจ้าได้มีชีวิต  มีความคิดถึงชีวิตตามที่เราได้ยินจากพระวรสารวันนี้    พี่น้อง  มีความคิดมองโลก 2 แบบที่ดูเหมือนทำให้เกิดการต่อสู้ในสังคม  ไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่ง  เราต้องต่อสู้ในชีวิตประจำวัน  ขอให้พี่น้องยอมรับพระปรีชาญาณของพระเจ้าที่บางคนในโลกถือว่าโง่เขลา (แต่พระเจ้าถือว่า  เฉลียวฉลาดอย่างแท้จริง)

พระสังฆราชวีระ  อาภรณ์รัตน์  แปล
จาก  Homilies  โดย Catholic  Diocese  of  Lansing,
(มกราคม – มีนาคม 2014), หน้า 76-78.