บทเทศน์โดยพระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์  วีระ  อาภรณ์รัตน์

อาทิตย์ ที่ 2 เทศกาลปัสกา
ฉลองพระเมตตา
7 เมษายน  2013
บทอ่าน   กจ  5:12-16 ; วว 1: 9-13,17-19;  ยน 20:19-31
พระวาสารสัมพันธ์กับ  (CCC)  442 , 448  514  575   643-5  659  730,788
                    858   976  1087  1120  1287  1441 1461  1485  2839
                    CSDC  491
จุดเน้น    พระเมตตาของพระเจ้ายืนยงคงอยู่นิรันดร์   ดังนั้นพระเจ้าสอนเราให้แบ่งปันความเมตตาต่อผู้อื่นเช่นกัน


ครั้งหนึ่งมีนักเทศน์ผู้หนึ่งไม่รู้จะหยุดเทศน์เมื่อไร   ชายคนหนึ่งจึงเดินเข้าไปหาหลังพิธี  พูดว่า  “บทเทศน์ของคุณพ่อเช้านี้ น่าฟังเหมือนนำสันติภาพ  และพระเมตตาของพระ”  โปรดฟังต่อ นักเทศน์เข้าใจผิดที่ถามว่า  “จริงๆแล้วหมายความอะไร”   เขาตอบว่า  “ที่ผมว่าเหมือนสันติภาพของพระเจ้าเพราะว่า  ไม่มีใครเข้าใจ     และที่ว่าเหมือนพระเมตตา   เพราะผมคิดว่ามันยาวนานไม่มีวันจบสิ้น”

วันอาทิตย์ที่สอง  เทศกาลปัสกา  เราเฉลองพระเมตตาของพระเจ้ายืนยงคงอยู่นิรันดร์  บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่  2  ได้  ประกาศวันฉลองพระเมตตานี้  ที่พระองค์มอบเป็นของขวัญแก่พระศาสนจักร  เมื่อวันที่ 30  เมษายน  ค.ศ.2000   และ (พระองค์เองทรงสิ้นพระชนม์ในวันฉลองพระเมตตาวันที่  2   เมษายน  ค.ศ. 2005)

เมื่อพูดถึงความเมตตา  เราสามารถวาดมโนภาพปฏิกิริยาของบรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้าที่มีต่อโทมัส  เมื่อเขาไม่ยอมเชื่อเมื่อบรรดาศิษย์เล่าให้ฟังว่าพระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ  ค่ำวันต้นสัปดาห์    หลังจากนั้นขณะที่ทุกคนอยู่ในห้อง  พระเยซูเจ้าทรงแสดงพระองค์กับพวกเขา  มีใครบางคนไม่อยู่ที่นั่น   ก็คงเชื่อยาก

พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชมมชีพ   เป็นยิ่งกว่าบรรดาศิษย์ที่ขาดความอดทนต่อ  โทมัสผู้น่าสงสาร   พระองค์มิได้เพียงเชิญโทมัสให้เอามือคลำที่ด้านข้างพระวรกายของพระองค์   และดูรอยตะปูที่พระหัตถ์เท่านั้น  แต่พระองค์ค่อยๆช่วยให้โทมัสมีความเชื่อ   ความเชื่อที่ช่วยเขาได้ก้าวข้ามความสงสัย  และความกลัว   และรับพระจิตเจ้าองค์เดียวกับที่พระเยซูเจ้าทรงเป่าลมเหนือบรรดาศิษย์ (ตรัสว่า  จงรับพระจิตเจ้าเถิด )

เราแต่ละคนก็เหมือนโทมัสด้วย  ที่ต่อสู้กับความสงสัย  และความไม่แน่ใจ  บางครั้งเราก็มีเวลาลำบากทำให้เชื่อยากเพราะเราไม่สามารถมองเห็น   ดังนั้นการเชื้อเชิญของพระเยซูเจ้าต่อโทมัสก็แผ่ขยายมาถึงเราด้วย  พระองค์ทรงเมตตามอบหมายความรัก  และความเห็นอกเห็นใจ  ช่วยสนับสนุนในเวลาที่เราต้องเผชิญอุปสรรคความยากลำบากในชีวิต   เราสามารถตอบสนองด้วยหัวใจที่เปี่ยมด้วยความรัก   และกตัญญูรู้คุณพระองค์เท่านั้น

อย่างไรก็ดี   ยังไม่พอที่เราเพียงแต่รับพระเมตตา  พระเยซูเจ้าทรงเรียกเราให้พยายามเป็นช่องทางแห่งพระเมตตาในชุมชนที่ต้องการพระเมตตาอย่างมาก  เมื่อเราแสดงพระเมตตาต่อผู้อื่น  ดังที่พระเยซูเจ้าทรงสอน  เมื่อเราให้อภัยผู้อื่นดังที่เราได้รับการอภัย   แต่เราต้องปฏิบัติกิจการดีทุกวัน  แก่ผู้ที่อยู่รอบข้างเรา

เมื่อเราพยายามแสดงพระเมตตาต่อผู้อื่น ก็ทำให้เราเข้าใจความหมายของความเมตตาลึกซึ่งยิ่งขึ้น   เราต้องสุภาพ    ปฏิบัติความรัก  เมตตา  ต่อทุกคนเสมอภาคกัน   ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง  รู้จักให้อภัย   คืนดีกับพระเจ้า   และต่อกันและกัน   เป็นการตอบรับการเรียกของพระเจ้า  ให้บรรดาศิษย์ปฏิบัติในชีวิตปัจจุบัน

อย่าเป็นเหมือนบทเทศน์ที่เราเกริ่นนำ    พ่อต้องไม่เทศน์นานเกินไป    แต่พระเมตตาของพระเจ้ายืนยงคงอยู่นิรันดร์   ให้เราแบ่งปันพระเมตตาต่อกัน   และกัน    เป็นการตอบรับพระพรสะท้อนคำทูลของโทมัสว่า  “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้า  และพระเจ้าของข้าพเจ้า”       

พระสังฆราชวีระ   อาภรณ์รัตน์   แปล
จาก  Homilies  (เมษายน –  มิถุนายน  2013)  หน้า 132-134