บทเทศวันอาทิตย์ โดย ฯพณฯ ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์
อาทิตย์ที่  26  เทศกาลธรรมดา
วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน  2011
บทอ่าน
: อสย. 18:25 - 28 ;    ฟป. 2:1 – 11, 27ก ;    มธ. 21:28 - 32
จุดเน้น พระคริสตเจ้าทรงแสดงหนทาง  เพื่อยอมรับพระประสงค์ของพระบิดาในชีวิตของเราหนทางแห่งความชอบธรรม

               พระเยซูเจ้าประทับอยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม  เวลากำลังหมดแล้ว  บางคนแสดงตัวเป็นปฏิปักษ์กับพระองค์  และคำสอนของพระองค์ชัดเจนรุนแรงขึ้น  อุปมาเรื่องบุตรสองคน  เป็นเรื่องธรรมดาและท้าทายให้คิด  ก่อนพระองค์จะทรงเปรียบเทียบ  พระองค์ทรงถามความเห็นของบรรดาผู้ฟัง  “ท่านทั้งหลายคิดเห็นอย่างไร?”  พวกเขาเป็นผู้ตัดสิน  (มธ. 21:28)  ให้เราลองพิจารณาระดับความประพฤติของลูกชายทั้งสอง  ตีความว่าลูกชายคนแรกเป็นชาวอิสราเอล  และลูกคนที่สองคือพระศาสนจักร  (วรรคที่ 28-30)  ไม่ได้คิดถึงเรื่องเวลา  มีอะไรที่สอนเราเกี่ยวกับชีวิตคริสตชน  คือ  การทำตามพระประสงค์ของพระบิดา

              เราจะไม่หาเหตุผลสำหรับความประพฤติ  2  แบบนี้  เพราะได้อธิบายแล้ว  เรามาพิจารณาแบบที่สาม

              บุตรคนแรกทำตามพระประสงค์ของพระบิดา  (วรรคที่ 29)  ถึงแม้เขาบอกว่า  “ลูกไม่อยากไป”  แต่กิจการสุดท้ายคือ  “ไปทำงาน”  ตรงกันข้าม  บุตรคนที่สองพูดโกหก  เขาบอกว่า  “ครับพ่อ”  ในทฤษฎีแต่ปฏิเสธในการกระทำ  (วรรคที่ 30)  เขาไม่มั่นคง  การติดตามพระเยซูเจ้าเป็นเรื่องการกระทำ  ซึ่งมีผลต่อชะตากรรมของเราต่อหน้าพระเจ้า  การกระทำมีคุณค่ามากกว่าคำพูด  คำถามของพระเยซูเจ้ามิได้ทิ้งช่องว่างให้หนี  แต่เรียกร้องให้เราใส่ใจ  “สองคนนี้ใครทำตามใจพ่อ”  (วรรคที่ 31)  ไม่เพียงพอที่จะตอบว่า  “คนแรก”  บรรดาผู้ที่กำลังฟังพระเยซูเจ้ารู้ว่าพระองค์กำลังท้าทายพวกเขาว่า  “ในสองคนนี้  คุณเปรียบได้กับลูกคนใด?”  ท่านคิดอย่างไรว่า  หนทางแห่งความชอบธรรมเป็นทางใด

การสละตนเองจนหมดสิ้น
            ให้เราถามตนเองว่า  เราเป็นแบบลูกที่กล่าวว่า  ใช่  ก็เพียงพอจะเข้าอาณาจักรสวรรค์ใช่ไหม?  พระเยซูเจ้าทรงสอนเรื่องศิษย์แท้ว่า  “มิใช่ทุกคนที่กล่าวว่า  พระเจ้าข้า  พระเจ้าข้า  จะได้เข้าสู่อาณาจักรสวรรค์  แต่ผู้ที่ปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระบิดาของเรา  นั่นแหละจะเข้าสู่สวรรค์ได้”  (มธ. 7:21)

           การตอบตามทฤษฎี  แม้เป็นนักบวช  ก็มีโอกาสมากกว่า  เมื่อเราติดตามกฎเกณฑ์ที่มีอิทธิพลของสังคม  เราพยายามหลีกเลี่ยงปัญหาของเราเอง  และเราคิดไตร่ตรองอย่างดี  แต่มิได้เป็นสิ่งที่ถูกต้องยุติธรรมตามทัศนะของพระเยซู  พระองค์กล้าบอกเราว่า  คนเก็บภาษีและหญิงโสเภณีที่ถูกสังคมประนามว่าเป็นคนบาป  จะเข้าสู่อาณาจักรของพระเจ้าก่อนบรรดาผู้ที่อ้างว่าปฏิบัติตามกฎ  (วรรคที่ 31)  นี่เป็นข้อความของพระเยซูเจ้าที่เสียดแทงใจเรามากที่สุดอีกตอนหนึ่ง  ยืนยันว่าอาณาจักรสวรรค์เรียกร้องให้เรายุติธรรม  ให้ปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระบิดาเจ้าผู้ทรงรักทุกคน  เป็นพิเศษผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ  และถูกเหยียดหยามมากที่สุด

           ประกาศกเอเสเคียลสอนเราให้  “มาปฏิบัติความยุติธรรมและความชอบธรรม”  (อสค. 18:27)  เราทุกคนไม่มีใครได้รับการยกเว้น  ต้องกลับใจอย่างสม่ำเสมอมาสู่ความชอบธรรมนี้  ซึ่ง “จะรักษาชีวิตของตนไว้”  (วรรคที่ 28)  คำสั่งนี้เป็นการตัดสินชีวิตของเรา  บางคนอาจทะนงตนคิดในใจว่า  เราเป็นผู้ชอบธรรมแล้ว  คนอื่นที่มีความประพฤติ  และความเชื่อต่างจากเราต่างหากที่ต้องกลับใจ

           จงทำตามพระประสงค์ของพระบิดา  พระเยซูเจ้าแสดงหนทางแห่งความสุภาพแก่เรา  “ทรงสละพระองค์จนหมดสิ้น  ทรงรับสภาพดุจทาส”  (ฟป. 2:7)  พระองค์ทรงละอภิสิทธิ์ต่างๆ ไว้ข้างหลัง  เงื่อนไขในฐานะคริสตชนผู้มีส่วนร่วมรับผิดชอบในพระศาสนจักร  คือ  “อย่าทำการใดเพื่อชิงดีกัน  หรือเพื่อโอ้อวด  แต่จงถ่อมตนคิดว่าผู้อื่นดีกว่าตน”  (ฟป. 2:3)  ซึ่งทรรศนคติเช่นนี้  นำพาไปสู่ความเป็นปึกแผ่นในหนทางนี้เท่านั้น  เราจะเป็นหนึ่งเดียวกันในพระจิตเจ้า  (ฟป. 2:1)

           ข้อความงดงามที่นักบุญเปาโลเขียนถึงชาวฟิลิปปี  เตือนใจเราว่า  การจุ่มตัว  (การมีใจจดจ่อ)  ในประวัติศาสตร์  เป็นหนทางซึ่งพระบุตรของพระเจ้า  ได้ทรงเลือกทำให้เราเป็นเพื่อนของพระองค์

พระสังฆราชวีระ  อาภรณ์รัตน์ แปล
จาก  Gustavo  Gutiérrez, Sharing  the  Word, หน้า  230-231.