บทเทศวันอาทิตย์ โดย ฯพณฯ ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์
สัปดาห์ที่  14  เทศกาลธรรมดา
วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม  2011
บทอ่าน
  : ศคย. 9:9-10  ;  รม. 8:9, 11-13  ;  มธ. 11:25-30
จุดเน้น  มิใช่แก่บรรดาผู้ปรีชาฉลาด  แต่แก่บรรดาผู้ต่ำต้อย


เป้าหมายของการเผยแสดง  (ความจริง)
           พระวรสารวันอาทิตย์นี้  เราพึ่งฟังในวันสมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าด้วยบริบทเป็นการภาวนาและขอบพระคุณ  คำถามคือ  ทำไมต้องภาวนาขอบพระคุณ  คำว่า  บรรดาผู้มีปรีชาและรอบรู้  (วรรคที่  25) หมายถึง  อาจารย์กฎหมาย  บรรดาสมณะและคัมภีราจารย์  กล่าวคือ  บรรดาชนกลุ่มน้อยที่มีอิทธิพลในศาสนาและสังคมในสมัยพระเยซูเจ้า  พวกเขาเป็นผู้ที่นั่งบนธรรมาสน์ของโมเสส  (มธ. 23:2)  และถือกุญแจไขความรู้  (ลูกา  11:52)  พวกเขาดูถูกคนยากจน  พวกเขาถือว่าเป็นผู้ได้รับการเผยแสดงจากพระเจ้า  และเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตีความพระคัมภีร์  พระเยซูเจ้ากำลังท้าทายอำนาจของพวกเขา

         อีกด้านหนึ่ง  เรามีบรรดาผู้ต่ำต้อย  (ว. 25)  หมายถึง  คนธรรมดา  นักบุญมัทธิวหมายถึงคนด้อยความรู้  แต่มิใช่ในความหมายสภาพทางชีวิตจิตและศีลธรรม  คนธรรมดา  (Simple)  ด้อยการศึกษา  ไม่สามารถช่วยตัวเอง  ต้องการให้อาจารย์กฎหมายช่วยเหลือ  คำว่าผู้ต่ำต้อย  (infants)  หมายถึง  ผู้ยากจน  ผู้หิวกระหาย  ผู้พิการ  คนบาป  ผู้ป่วย  และที่ไร้ผู้เลี้ยงดูแล  เด็กๆ  คนที่ไม่ได้รับเชิญในพระวรสาร  เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ  คนยากจนของชาติ
 การเผยแสดงความจริงของพระเจ้า  มีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรดาผู้ต่ำต้อย  ฉะนั้น  ในโลกศาสนาในสมัยนั้น  เน้นที่พื้นฐานมากๆ  คือ  ผู้มีสิทธิ์ได้รับพระวาจาของพระเจ้า

พระประสงค์ของพระบิดา
           เรามิได้กล่าวว่า  การด้อยการศึกษาเป็นคุณธรรม  และการมีความรู้  การเป็นคนฉลาด  เป็นข้อบกพร่อง  คนฉลาดมิได้หมายความว่าจำเป็นต้องหยิ่ง  และคนด้อยการศึกษา  มิได้เป็นคนสุภาพเสมอไป  จุดเน้นมิใช่เงื่อนไขด้านศีลธรรมหรือศาสนา  แต่จากสภาพมนุษย์ที่พระเป็นเจ้าทรงเผยแสดงพระองค์เอง  เป็นคุณค่าและหลักการ  คนที่โลกดูหมิ่น  กลับเป็นผู้ที่พระเป็นเจ้าพอพระทัย  ดังที่พระเยซูเจ้าทรงกล่าวว่า  “ไม่มีใครรู้จักพระบิดา  นอกจากพระบุตร  และผู้ที่พระบุตรเปิดเผยให้รู้”  (ข้อ  27)  บทเรียนที่ดีสำหรับทุกคนที่พยายามใช้พระวาจาของพระเจ้า  ต้องนำเราให้บริการ  ไม่ใช่นำไปสู่ความมัวเมาในอำนาจ  นี่เป็นพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า  พระบิดาพอพระทัยเช่นนี้  (ข้อ  26)  นี่จึงเป็นแรงจูงใจในบทขอบคุณของพระเยซูเจ้า

            การภาวนาของพระเยซูเจ้า  “ข้าแต่พระบิดา  เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน  ข้าพเจ้าสรรเสริญพระองค์”  (ข้อ  25)  เป็นการเชิญเราให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน  ความรักของพระเป็นเจ้าเป็นรากฐานของทุกสิ่ง  ในมุมมองเช่นนี้  เราจึงสามารถเข้าใจได้ว่า  พระองค์สั่งสอนเราให้อุทิศตน  มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับผู้อื่น  “แอกของเราอ่อนนุ่ม  (easy)  และภาระที่เราให้ท่านแบกก็เบา”  (ข้อ  30)  เพราะมีความรักของพระเยซูเจ้าเป็นรากฐาน  (ในใจ)  พระองค์มีใจสุภาพอ่อนโยนและถ่อมตน  มิใช่ประทับบนหลังม้า  เหมือนคนหยิ่งผยอง  แต่ทรงประทับบนลาของคนยากจน  (ศคย. 9:9)  พระเจ้าทรงเตรียมเรา  สอนเราให้ดำเนินชีวิตด้วยความเมตตาและรักชีวิต  มากกว่าดำเนินชีวิตฝักใฝ่ทางเนื้อหนัง  ทำบาป  และนำไปสู่ความตาย  (รม. 8:11-13)

แปลจาก  Sharing  the  Word  through  the  liturgical  year  ของ  Gustavo  Gutierrez  (2004)  หน้า  177-178